สองปีกับการหาคำตอบต่อ ดร.แสวง...ที่ไม่อยากตอบเพียงแค่ "วิชาการ"


จากบันทึก... การเดินทาง : ประตู

เมื่อดูจากระยะเวลาก็ล่วงเลยมาได้ประมาณสองปีเจ็ดเดือน ที่ข้าพเจ้าใช้ในการเรียนรู้เพื่อหาคำตอบ ที่อาจไม่ถูกหรืออาจไม่ผิด แต่เป็นภาพคำตอบที่กลั่นออกมาจากความรู้สึกภายในของข้าพเจ้าเอง หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นเพียงแค่การตกผลึกในทัศนะที่เป็น mental model ของผู้หญิงที่ชื่อว่า Ka-Poom เท่านั้นเอง

ทำไมข้าพเจ้าจึงต้องใช้เวลาเนิ่นนานในการตอบขนาดนี้ เพียงเพราะเหตุผลที่ว่า ข้าพเจ้าไม่อยากไปจดจำตัวความรู้อันเป็น Data หรือข้อมูลของคนอื่นมาตอบเท่านั้น แต่เข้าใจอยากตอบตามความเข้าใจในมิติแห่งความเข้าใจของตนเอง

คำตอบต่อคำถามที่ ท่าน ดร.แสวง ชวนคิดชวนมองนี้ อาจไม่เหมือนกับคำตอบที่อาจมีขึ้นในอีกสองปีเจ็ดเดือนก็ได้ ... แต่ทำไมต้องเป็นสองปีเจ็ดเดือนในวันนี้ ก็นับตั้งแต่ ดร.แสวงถามข้าพเจ้านั้น ตนเองได้มีสมมติฐานที่ตั้งไว้ในใจตนเองอยู่แล้ว แต่ภาพคำตอบไม่ชัดเจน ในขณะเดียวกันช่วงเวลาที่ผ่านมาข้าพเจ้าใช้เส้นทางแห่งการเรียนรู้ภายใน...โดยลึกๆ เชื่อว่าน่าจะเป็นเส้นทางหนึ่งที่ไปสู่คำตอบหรือพิสูจน์สมมติฐานของตนเองได้ ...

บันทึกนี้ คือ การเขียนตามทัศนะที่ข้าพเจ้าเป็นคนนอกใช้กระจกแห่งใจส่องเข้าไปดู ผ่านร่องรอยแห่งการแกะสลักที่เป็นฝีมือของมนุษย์...ที่ได้ลงมือทำ เส้นทางการค้นหาคำตอบของข้าพเจ้าไม่ได้กำหนดด้วยเงื่อนของเวลา เมื่อใดก็คือเมื่อนั้น และแล้ววันหนึ่งข้าพเจ้าก็ได้มีโอกาสได้เจอน้องสาวของช่างและภรรยาคู่ทุกข์คู่ยากที่ร่วมกันทำงานชิ้นนี้

"พระครูที่วัด เคยไปเห็นผลงานแกะสลักที่วัดแถวเชียงใหม่ ท่านก็เลยให้ตามตัวมาพบ และชวนมาทำที่วัดนี้ ท่านบอกว่าไม่มีใครทำได้นอกจากช่างคนนี้" เป็นคำบอกเล่าจากป้าผู้เป็นภรรยาของลุงที่เป็นช่าง (ข้าพเจ้าลืมถามชื่อ ทราบแต่ชื่อน้องสาวท่านคือ คุณป้าอาภรณ์ สุวรรณจันทร์ ซึ่งก็เป็นช่างแกะสลักเช่นเดียวกัน)

"ไม่มีใครทำได้" ==> ในความหมายโดยนัยที่ว่า  ไม่มีใครทำได้นี้ กินความหมายที่ลึกซึ้งมากกว่าการแกะสลักได้ หรือแกะสลักเป็น หากแต่เต็มไปด้วย "จิตวิญญาณ" ที่ทุ่มลงไปขณะที่แกะสลักชิ้นไม้แต่ละชิ้น แต่ละทุกๆขั้นตอน ที่ผสมและเจือด้วยความคิด ความรู้สึก ความมุ่งมั่น มันเป็นภาพผืนใหญ่ที่อยู่ภายใต้ภาพภายนอก "ช่างคนหนึ่งกำลังแกะสลัก" ซึ่งภาพภายในได้บอกเล่าเรื่องราวและความรู้สึกนึกคิดที่สั่งสมมาจากรอยความทรงจำเกินกว่าจะพรรณาออกมาได้...

ข้าพเจ้าได้ชวนพูดคุยถึงเรื่องแรงบันดาลใจที่รับทำงานชิ้นนี้...

ภรรยาของคุณลุงที่แกะสลัก...ซึ่งเป็นหนึ่งทีมด้วย ยิ้มและหัวเราะอย่างขำขำก่อนตอบว่า "ไม่มีใครทำได้ แต่เราทำได้" - น้ำเสียงไม่ได้บ่งบอกอาการหลงหรือทะนงตนเองเลย แต่เจือปนด้วยความขบขันอย่างอารมณ์ดี ยิ้มนิดหนึ่งพร้อมบอกเล่าว่า "มันคือความภูมิใจนะ งานนี้เป็นของสูงที่ทำต่อสถานที่ที่คนมากราบไหว้ เราได้เป็นส่วนหนึ่งของสถานที่แห่งนี้ด้วย"

"เกิดมาได้ทำ ถึงตายไปก็คุ้ม"

ขณะที่บอกเล่านั้น น้ำเสียงและแววตาสะกดและตรึงให้ข้าพเจ้านั่งฟังและสัมผัสพลังแห่งใจที่ลุ่มลึกของช่างผู้ค่อยๆ เพียรพยายามแกะสลักงานไม้แต่ละชิ้นๆ ที่เป็นส่วนประกอบของเจดีย์แห่งนี้

คำพูด ภาษา ท่าทาง แววตา เป็นเพียงสื่อแสดงออกภายนอกเท่านั้นแต่ที่ลึกลงไป คือ แรงผลักอันมหาศาลที่ทำให้ช่างลงมือทำงานชิ้นนี้...

แรงผลักอันมหาศาลนี้ ข้าพเจ้าขอใช้คำว่า "แรงบันดาลใจ" ก่อน แรงบันดานใจนี้จัดว่าเป็นขุมพลังที่หลอมจิตกับกาย ==> รูปกับนามเข้าด้วยกัน

มีมากน้อยแต่ละคนแตกต่างไปตามการสั่งสม เชิงการเรียนรู้และประสบการณ์

คือ การสั่งสม...ความคิด (สังขารขันธ์)

                     ความรู้สึก (เวทนาขันธ์)

                     การรับรู้ (วิญญาณขันธ์)

                     ความทรงจำ (สัญญาขันธ์)

เป็นความสั่งสมที่พอกพูน เหมือนเป็นกลุ่มก้อนพลังงานที่มีอานุภาคมากพอให้คนๆ หนึ่งอยู่เหนือความท้อ ความขี้เกียจ ความยากลำบาก ความอยากได้ค่าตอบแทน ==> หรืออื่นๆ อีกมากมายที่จะมาเป็นอุปสรรคในการทำงานให้ไม่สำเร็จ

พลังงานนี้ ผลักดัน...ให้ช่างคนหนึ่งได้ลงมือทำงานชิ้นนี้ ภายใต้ "ความเชื่อ ความไว้วางใจ" ที่เป็นส่วนหนึ่งของ "ความศรัทธา" จากพระครูที่ท่านชักชวนมาทำ...

---------------------------------------------

สำหรับการถอดบทเรียนในเรื่องนี้...

สักวันหนึ่ง...ความลุ่มลึกอาจมากขึ้นกว่านี้ หรืออาจไม่ใช่ตามแนวทางที่ตอบนี้ก็ได้....

ขอบพระคุณครู ดร.แสวง รวยสูงเนิน...

ที่สอนอะไรแก่ข้าพเจ้าหลายอย่าง...เป็นการสอนที่เป็นไปในรูปแบบที่ท่านให้โอกาสข้าพเจ้าได้เรียนรู้ผ่านบันทึกของท่าน ผ่านภาพจริงที่ได้ลงไปเห็น ผ่านการไปเรียนรู้ที่บ้านท่าน ท่านและภรรยาของท่านได้สอนเรื่องราวหลายๆ แก่ข้าพเจ้า...สักวันเมื่อตกผลึกมากกว่านี้ในตัวข้าพเจ้าเอง จะนำมาทยอยถอดบทเรียนเก็บไว้

หมายเหตุ

ข้าพเจ้าได้ไปเจอคุณป้าอาภรณ์น้องสาวของช่าง และท่านก็เป็นช่างแกะสลักไม้ด้วย สักพักอย่างบังเอิญภรรยาคุณลุงก็เดินมาพร้อมลูกชาย...ช่างเป็นการลงตัวอย่างลงเวลาเสียจริง

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 273441เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2009 11:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะ

 *** แวะมาทักทาย...มีความสุขในวันหยุดนะคะ

สรุปว่าคำตอบยังอยู่ในคำสั่งของท่านเจ้าอาวาส และในใจของช่างใช่ไหมครับ

ผมเชื่อว่าแต่ละภาพมีความเชื่อมโยงกัน นั่นคือข้อที่ ๑

และภาพทั้งหมดสะท้อนพุทธประวัติ เป็นประเด็นที่ ๒

ทีนี้อะไรคือสิ่งที่แฝงอยู่ นอกเหนือจากจิตวิญญาณของผู้สั่ง และช่างที่ทำ

ผมมีคำตอบของตัวเองอยู่ในใจ ในหลายประเด็น เช่น

  • เส้นทางของพระพุทธเจ้า
  • อนิจจัง
  • กระบวนการเรียนรู้
  • การหลุดพ้น
  • ฯลฯ

หรือทุกอย่างปะปนกัน

เพราะที่นี่คือ แหล่งเรียนรู้ ในอีกหลายมิติ

สาธุ

 

มันมีมิติที่ลุ่มลึก...มากกว่านั้น มากกว่าการที่จะสั่งการออกมานะคะ ...หรือทำการตามการสั่งการ

การที่ช่างคนหนึ่ง...หรือพระคุณเจ้าออกแบบว่าแต่ละบานประตูจะเป็นภาพอะไร และในแต่ละชั้นของเจดีย์จะใส่เรื่องราวอะไรลงไป

กะปุ๋มมองว่ามันมีความหมายในมิติเชิงวิญญาณ ที่บางครั้งช่างเองก็อาจจะทำไปโดยไม่รู้ตัวแต่มีแรงผลักภายในที่ซ่อนลึกอยู่ ผลักดันให้คิดและทำ และตัดสินใจทำงานชิ้นนี้

คนคนหนึ่งที่ตัดสินใจทำงานเหล่านี้...มีพลังบางอย่างที่ผลักหรือน้อมนำให้ทำงานเช่นนี้ ...

"ความคิด ความเชื่อ ความศรัทธา" ==> ที่สุดแล้วคือ "จิตวิญญาณ" ที่ผลักและทำให้บุคคลนั้นได้ทำ

แรงผลักอันมหาศาลนี้ ข้าพเจ้าขอใช้คำว่า "แรงบันดาลใจ" ก่อน แรงบันดาลใจนี้จัดว่าเป็นขุมพลังที่หลอมจิตกับกาย ==> รูปกับนามเข้าด้วยกัน

มีมากน้อยแต่ละคนแตกต่างไปตามการสั่งสม เชิงการเรียนรู้และประสบการณ์

คือ การสั่งสม...ความคิด (สังขารขันธ์)

                     ความรู้สึก (เวทนาขันธ์)

                     การรับรู้ (วิญญาณขันธ์)

                     ความทรงจำ (สัญญาขันธ์)

ลึกๆ แล้วน่าจะเป็นคลังความรู้ที่ถูกฝังไว้ในระดับวิญญาณ (มโนวิญญาณหรืออาจลึกไปกว่านั้นในระดับอาลัยวิญญาณ) ที่ถูกเก็บสั่งสมมากี่ภพกี่ชาติตามการเวียนว่ายตายเกิดของช่างคนนั้นหรือเปล่า (อธิบายในแนวนี้ อาจเกินการยอมรับได้ของคนทั่วไปหรือไม่ไม่แน่ใจ) เพราะจริงๆ แล้วสิ่งหนึ่งที่มนุษย์ถูกนำติดตัวมาพร้อมการเกิดคือ ต้นทุนเดิมที่ถูกแฝงมาในสัญชาตญาณ(ฝรั่งใช้คำว่าสัญชาตญาณ แต่กะปุ๋มขออนุญาตใช้คำว่ามโนวิญญาณ และอาจเป็นมนัสวิญญาณ หรืออาลัยวิญญาณก็ได้) เพียงแต่กิจกรรมการเรียนรู้หรือกิจกรรมที่เกิดขึ้นในช่วงการเกิดมาเป็นมนุษย์นั้นเป็นกระบวนการกระตุ้นให้ "สิ่งที่มาพร้อมสัญชาตญาณ หรือวิญญาณ" ...แสดงหรือผลักให้กระทำ...

 

ความหมายของภาพ...เหมือนเป็นรหัสที่ทำไปสู่การถอดรหัส...เรื่องการเรียนรู้และสร้างความรู้ในสรรพชีวิตที่เกิดมาในนามว่า "มนุษย์" ได้...

การเรียนรู้นี้ยังไม่จบนะคะ แต่...ตามภูมิที่พอมีขออนุญาตบันทึกไว้ก่อน...การเรียนรู้นี้จบพร้อมกายกระปุ๋มดับค่ะ

 

แวะเข้ามาศึกษาธรรมะจากงานแกะสลักค่ะ

สัมผัสใจ

ขออภัยใจมันซน...

ศรัทธา......แรงบันดาลใจ.........ศรัทธา..........ทำหรือคิด......แรงบันดาลใจ

สาธุ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท