ดั่งแม่น้ำแห่งความกรุณา


น้ำใจ...ที่เราพึงมีต่อการเสียสละ...

เปรียบได้ดั่ง แม่น้ำ...ที่ไหลผ่านไปอย่างมีเป้าหมาย

ระหว่างเส้นทางแห่งการเดินทางนั้น เรานั้นพึงน้อมใจเราลง...ดั่งแม่น้ำ

ที่เมื่อไหลผ่าน...บางที่บางแห่ง สิ่งที่ผู้คนเททิ้งลงในแม่น้ำ อาจเป็นดั่งปฏิกูล... แต่แม่น้ำนั้น หาได้ตั้งข้อรังเกียจหรือเดียดฉันท์ไม่ แม่น้ำก็ยังคงทำหน้าที่ หน้าที่ที่ให้ความชุ่มชื่น  และให้ประโยชน์ต่อผู้คนได้ใช้สอยได้ใช้ประโยชน์ต่อไป

แม่น้ำกรุณาต่อผู้คนอย่างที่ไม่เคย...รังเกียจในการกระทำของผู้คน

น้ำใจ...ที่เรามี ...

ให้ยึดดั่งแม่น้ำ...แม่น้ำแห่งความกรุณา แม่น้ำแห่งความเสียสละ

แม่น้ำที่ทำหน้าที่เพื่อสรรพสิ่งในโลกนี้ อย่างไม่เคยเกี่ยงงอน...

พึงนำพา "ใจ" ของเราเป็นดั่งแม่น้ำ...

ทำให้ข้าพเจ้าได้นึกย้อนไปที่คำสอนแห่งพระพุทธองค์...ที่เมตตาสอนสั่งแด่พระราหุล

"เมื่อมีความพอใจหรือไม่พอใจเกิดขึ้น อย่าให้ความรู้สึกเหล่านั้นครอบงำหรือสร้างความรำคาญใจ...ให้แก่เธอ"...

"ราหุล เธอจงเจริญเมตตากรุณา เพื่อเอาชนะความโกรธ ความเมตตากรุณาสามารถสร้างความสุขแก่ผู้อื่น โดยไม่เรียกร้องสิ่งใดใดตอบแทน เธอจงเจริญมุฑิตา เพื่อเอาชนะความเกลียด มุฑิตาจิตย่อมเกิดขึ้นเมื่อเราชื่นชมยินดีในความสุขของผู้อื่น และปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสำเร็จความมั่นคง เธอจงเจริญอุเบกขา เพื่อเอาชนะความลำเอียง อุเบกขาเป็นวิธีการพิจารณาสิ่งต่างๆ อย่างเปิดเผยและเท่าเทียมกัน สิ่งนี้เพราะมีสิ่งนั้นมี สิ่งนั้นมีเพราะสิ่งนี้มี ตัวฉันและผู้อื่นมิได้แยกออกจากกัน จงอย่าปฏิเสธสิ่งหนึ่งเพียงเพื่อไขว้คว้าอีกสิ่งหนึ่ง"

บทเรียนของแผ่นดิน

หน้า ๑๙๘

คือเมฆสีขาว ทางก้าวเก่าแก่ เล่ม ๒

บทวันนี้ข้าพเจ้าได้ทบทวนต่อตนเอง...

ใจเรานั้น...อุเบกขาพอหรือยัง หรือยังเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง...

ด้านแห่งความพอใจและความไม่พอใจ... "สติ" เท่านั้นจะเป็นตัวกำกับข้าพเจ้าเพื่อให้ดำรงอยู่อย่างไม่เอียงไปฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด...

ความกรุณา...อันมีแต่ความปรารถนาดีต่อสรรพสิ่งต่างๆ นั้นมีมากหรือยัง หรือยังตั้งแง่รังเกียจสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่หรือไม่ การที่ใจเรานั้นจะกรุณาอันเปี่ยมล้นด้วยความปรารถนาดีต่อผู้อื่นได้นั้น เราต้องมีความเข้าใจเข้าใจในเหตุ เข้าใจในสิ่งที่เขาเป็น อยากให้เขาดีขึ้น อยากให้เขาหายไปจากอาการของโรคกิเลสหรือไม่ ...หรือเพียงเพื่อแค่เห็นแล้วก็ปล่อยมือเขาไป ... นั้นน่ะปล่อยมือไปด้วยเหตุอันใดเล่า ปล่อยมือไปเพราะใจนี้มันคอยแต่จะเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง...ด้านของความชอบใจ-ไม่ชอบใจ

เมื่อใด...หากว่าใจเราอ่อนโยนลง...

ใจเรานั้นจะเปิดประตูรับสรรพสิ่งต่างๆ ด้วยความเข้าใจ เข้าใจในสิ่งที่เป็นไป ....

นั่นน่ะใจเราจะเมตตาและกรุณา...ได้

ในทุกๆ ชีวิต ทุกกิจวัตรประจำ ทุกสรรพสิ่งที่ได้เข้ามาสัมพันธ์กับเราต่างเป็นครู ต่างเป็นแบบฝึกให้เราได้ฝึกฝนตนเอง ให้มีใจ...ที่เปรียบดั่ง "แม่น้ำ" ...แม่น้ำแห่งเมตตาและกรุณา 

 

หมายเลขบันทึก: 295547เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2009 20:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

แวะมาเยี่ยมครับ

พอใจ ไม่พอใจ

ยินดี ยินร้าย ให้คอยรู้สึกตัว

เห็นการเกิดขึ้นต ตั้งอยู่ ดับไป แบบเป็นกลาง จิตจะมีปัญญาครับ

ขอบคุณครับสำหรับบันทึกดีดี

เรียนเชิญเข้าร่วมการประชุมวิชาการจิตตปัญญาศึกษาครั้งที่ 2

ระหว่างวันที่ 2-4 ธค.2552 ณ รร.รามาการ์เดนท์

วิทยากรที่น่าสนใจเพียบ อาทิ คุณหมอประเวศ วะสี ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล

อ.ประมวล เพ็งจันทร์ ครูสุรินทร์ กิจนิตย์ชีว์ เป็นต้น

ดูรายละเอียดที่ ce.mahidol.ac.th

สวัสดีค่ะ

เข้ามาน้อมรับ...ความรู้และบทความดีๆ...

เพื่อพัฒนาตัวเองค่ะ

ขอบพระคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท