งานมหกรรม R2R ครั้งที่2 ; ความเสมอภาค และความสุขจากการทำ R2R


การขับเคลื่อนการทำ R2R ต้องไม่ละทิ้งหนทาง "แห่งความสุขและความเสมอภาค" ปราศจากกรอบของความเป็นวิชาการมาปิดกั้นความเป็นคนหน้างาน

 

“อาจารย์...อาจารย์...ใช่อาจารย์กะปุ๋มไมครับ”

“ผมเป็นแฟนติดตามการเขียนของอาจารย์ใน Gotoknow ครับ”

“อาจารย์รู้ไหมว่า...ผมอ่านที่อาจารย์เขียนตลอดเลยครับ”

 

เป็นคำกล่าวทักทายจากสุภาพบุรุษท่านหนึ่งที่วิ่งถลามาแต่ไกล...ใบหน้าที่เปื้อนไปด้วยรอยยิ้ม ณ ขณะนั้นรู้สึกดีใจที่ได้รับการทักทาย เหมือนคนคุ้นเคย...แล้วชายหนุ่มนั่นก็ชี้ชวนให้ข้าพเจ้าและน้องหนุ่ยไปที่บูธ...

 

“ผมมาแบบโนเนมมากเลยครับอาจารย์ส่งงานเข้ามาแบบไม่รู้จักใครเลย แล้วงานผมก้ได้รับเลือก"

 

“ผมดีใจมากเลยที่ได้เจออาจารย์”... ข้าพเจ้าก็ดีใจเช่นกันที่ได้เจอ ได้แต่นึกตอบในใจเพราะด้วยความดีใจบุรุษท่านนี้ก็ไม่ได้เว้นช่องให้ข้าพเจ้าได้พูดเลยอารามด้วยความตื่นเต้นและดีใจ...

 

ความดีใจนี้ได้เผื่อแผ่ไปถึงเพื่อนๆ ที่มาด้วยกัน วิ่งไปบอก...ว่าได้เจอข้าพเจ้า ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกดีใจที่ได้เจอทางทีมวิจัยนี้เช่นกัน...

 

จนพอมีช่องว่าง ข้าพเจ้าถึงได้ทราบว่า สุภาพบุรุษท่านนี้คือ คุณอดิเรก เร่งมานะวงศ์ เจ้าของผลงานวิจัยเรื่อง แรงงานอ้อยกับการดื่มสุรา กรณีศึกษาหมู่บ้านแห่งหนึ่งในภาคอีสาน เป็นประสบการณ์ทำงานในพื้นที่มากว่าสิบปี ที่สถานีอนามัยโอโล อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ...ได้สัมผัสสภาพปัญหา รวมถึงผลกระทบทั้งทางสังคมและสุขภาพของแรงงานอ้อยอย่างต่อเนื่อง ก่อเกิดเป็นแรงบันดาลใจในการทำงานชิ้นนี้ โดยการยกระดับการสร้างความรู้ในการทำงานประจำด้วยการกระโดดลงไปศึกษา ด้วยกระบวนการวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ...

 

 

ที่สำคัญคุณค่าของงานวิจัยชิ้นนี้คือ ... ที่ผ่านมาเป็นการทำงานที่ละทิ้งข้อมูลแต่เมื่อเกิดประกายการทำ R2R ทำให้หันมามองข้อมูลอย่างมีคุณค่ามากขึ้นพร้อมทั้งคืนกลับข้อมูลสู่ชุมชน...นำไปสู่การแก้ไขปัญหาทางด้านสุขภาพอย่างจริงจัง

 

คุณอดิเรก...ได้จัดทำ สมุด electronic นำมาเป็นสื่อในการบอกเล่าเรื่องราวของการศึกษาครั้งนี้ด้วย...

 

การได้พบกับคุณอดิเรกทำให้ข้าพเจ้าสัมผัสได้ถึงพลังแห่งความสุข และชอบมากต่อคำบอกเล่าที่ว่า “ผมมาแบบโนเนมไม่รู้จักใครเลย แล้วงานผมก็ได้รับเลือก” ภายใต้คำพูดเหล่านี้บ่งบอกถึงความภูมิใจแห่งภายใน...ที่ปิดไม่มิด มันคือ พลังแห่งความสุข และความเสมอภาคที่ได้รับ

 

ทำให้ข้าพเจ้าได้ย้อนกลับมามองว่า... เวทีมหกรรม R2R นี้เป็นพื้นที่แห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ไม่มีการปิดกั้น เป็นพื้นที่ของโอกาสที่ทุกคนได้เข้าถึงกันและกันตั้งแต่คนทำงานในระดับพื้นที่ปฐมภูมิไปจนถึงในระดับอาจารย์ในโรงเรียนแพทย์ต่างๆ...การมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันแบบไม่มีช่องว่าง

 

และแล้วงานมหกรรมครั้งนี้ก็ทำได้ โดยเฉพาะในลานเวทีเสวนา ที่นำพาตั้งแต่คนหน้างานที่ทำงานในพื้นที่เชื่อมโยงมาสู่โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป และอาจารย์ในโรงเรียนแพทย์ มานั่งเล่าการทำงานวิจัย R2R สู่กันฟัง...นี่แหละการลดความเหลื่อมล้ำทางความรู้

 

ข้าพเจ้ารู้สึกขอบคุณคุณอดิเรกกับการได้พบเจอ...ทำให้ข้าพเจ้าได้เห็นภาพของความสุข ความเสมอภาคของการทำ R2R...และการขับเคลื่อนได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

 

 

เรื่องเล่าความประทับใจในงานมหกรรม R2R

วันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๒

 

 

หมายเลขบันทึก: 277905เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2009 22:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ

ติดตามเรื่องราวของ R2R ตอนที่ 1 มาเรียนรู้ต่อค่ะ

ยินดีที่ได้พบกับยาณมิตร G2K

ขอบคุณค่ะพี่ ครูอรวรรณ

เป็นเรื่องที่ดีเสมอกับการได้พบเจอค่ะ...ในงานนี้ได้พบกับเครือข่าย R2R เกือบทุกที่ที่กะปุ๋มไปช่วยและไปเชียร์ค่ะ...เหมือนเป็นเวทีที่ได้มีโอกาสมานั่งจับเข่าคุยกันเลยค่ะ...

(^___^)

เยี่ยมค่ะ เสียดายไม่เจอกัน แอบอ่านในหนังสือแล้ว ผู้พัฒนา R2R in Thailand มี ดร. กระปุ๋มด้วย พี่เกศดีใจด้วยกับรางวัล Blogger of the month ค่ะ

ขอบคุณค่ะพี่เกศ...

ดีใจได้ร่วมงานแม้เป็นการร่วมกันแบบไม่ได้เจอกันแบบ F2F แต่เราก้ได้เจอกันแบบ B2B นะคะ...การทำงานหากเรามีเป้าหมายเดียวกัน คือ ร่วมกันทำสิ่งดีงามเพื่อโลกนั้น...ปิติสุขจะเกิดขึ้นเสมอค่ะ

ขอบคุณค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท