ความที่ปรากฏขึ้น...อันบ่งถึงความเข้าใจ


อะไรก็แล้วแต่...หากวาได้เริ่มต้นจากความคิดความเชื่อ พร้อมจะนำไปสู่การเกิดเป็นความศรัทธาได้ ซึ่งความศรัทธานั้นจุดพลิกผันออกจากความงมงายเพียงเส้นยาแดงผ่าแปดเท่านั้น แตกต่างกันนิดเดียว โดยทั้งสองอย่างนี้มี "ความเชื่อ" มาหนุนเป็นบาทฐาน ความเชื่อหากขาด "สติ" ก็อาจจะกลายเป็นความงมงาย แต่ถ้าหากว่ามีสติมาหนุนนำก็จะเกิดเป็น "ความศรัทธา" และขยายโครงสร้างเพิ่มขึ้นเกิดเป็นความเข้าใจและเกิดเป็นการสร้างความรู้ ซึ่งสะท้อนถึง...กระบวนการทางปัญญาได้เกิดขึ้น

เมื่อได้เรียนรู้ถึงความคาดหวัง ความคิดความเชื่อ และความเข้าใจ ต่อการทำ R2R แล้วนั้นข้าพเจ้าได้นำพาไปสู่กระบวนการเรียนรู้ ถึงความหมาย กระบวนการ R2R อันเป็นการเรียนรู้ผ่านวีดีทัศน์ที่ทาง สวรส.จัดทำขึ้น

จากนั้นก็ให้แต่ละกลุ่มได้ร่วมกันสกัดสภาวะแห่งการรับรู้ที่มีต่อเรื่องราวในวีดีทัศน์ว่าเป็นอย่างไร มีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง R2R อย่างไรบ้าง

"ได้รู้จัก R2R ว่าคืออะไร ถ้าเอามาใช้กับหน่วยงานของเราแล้วน่าจะดีขึ้น สามารถนำมาพัฒนาตัวเองได้ นำมาพัฒนาระบบงาน ในหน่วงงานของเรามีการขัดข้องหรือมีปัญหาถ้านำหลักการวิจัยมาใช้เราจะได้รู้ว่าปัญหาและการแก้อยู่ตรงไหน"

เป็นแนวคิดของพี่เปี๊ยก - supply ที่เป็นตัวแทนของกลุ่ม...มาบอกเล่าเรื่องราวของกลุ่มที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องของความหมายและแนวทางการทำ R2R

"นำงานประจำมาวิเคราะห์ถึงปัญหา และขั้นตอนในการปฏิบัติงานเพื่อพัฒนางานประจำให้ง่าย และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ปฏิบัติและผู้รับบริการ"

"งานวิจัยไม่จำเป็นต้องปฏิบัติในห้องทดลอง แต่สามารถนำงานประจำที่ปฏิบัติอยู่ทำการวิจัยได้ เช่น ตัวชี้วัดการปฏิบัติงานประจำ"

การพัฒนาคน..พัฒนาความคิดให้รู้จักเสียสละเพื่อองค์กร

"การนำวิถีชุมชนของผู้รับบริการมาทำการวิจัย เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการรักษาพยาบาลและการดูแลตนเอง"

เป็นอีกหนึ่งมุมมองที่ได้จากการเรียนรู้ต่อความหมายและแนวคิดของการทำ R2R

"จากการที่ได้ดูวีดีทัศน์นั้น...ทำให้ทราบแนวคิดเกี่ยวกับ R2R ว่าคืออะไร งานวิจัยสร้างได้จากงานประจำ การผูกเสี่ยวในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน การทำงานเป็นทีม/สหสาขา ...

ความรู้ไม่ได้มาจากหนังสืออย่างเดียว

และความอดทนในการทำงาน..."

และมีแถมท้ายจากกลุ่มที่เรียกว่า "R2R สาวน้อย..." ได้ความปรากฏว่า

"แนวคิดที่ได้จากการดูวีดีทัศน์ R2R คือ ดูที่ตัวเราก่อนว่าพร่องตรงไหน ในเมื่อบกพร่องก็จะได้มีการพัฒนาเหมือนตัวเราเป็นกระจกสะท้อนตนเอง...

พัฒนางานประจำให้มีคุณภาพ ให้ผู้อื่นได้ประโยชน์มากที่สุด เช่น เก็บข้อมูล อุบัติเหตุ หรือข้อมูลต่างๆ แล้วนำข้อมูลเหล่านี้มาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการทำวิจัย"

จากที่คนหน้างานได้สะท้อน (Reflect) จากการได้แปลความภายในกระบวนการทางปัญญาของตนเองออกมาจะทำให้รู้ซึ้งถึงความหมายแนวคิดในการทำ R2R ได้มากกว่าการเรียนรู้ผ่านการนั่งฟังบรรยายอย่างเดียว

ดังนั้นรูปแบบและกระบวนการเรียนรู้ค่อนข้างจะมีผลต่อการเกิดความคิด ความเชื่อ และก่อตัวขึ้นมาเป็นความศรัทธาที่มาพร้อมกับความเข้าใจ จากนั้นก็จะหมุนเกลียวเคลื่อนไปสู่เป็น "ความเข้าใจ" และเกิดปัญญาในที่สุด

 

 

หมายเลขบันทึก: 307626เขียนเมื่อ 22 ตุลาคม 2009 05:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท