นับถอยหลังอาจไม่ทันได้กินข้าวทีละคำ เพราะเร่งรีบสู่งานมหกรรม R2R ครั้งที่ 3


นี่ก็กลางเดือนมิถุนายน แล้ว... หากว่าไม่นับถอยหลัง ก็อาจจะเป็นนับไปข้างหน้า เพราะอีกไม่ถึงเดือนดีนัก ก็จะเข้าสู่เทศกาล ...

งานมหกรรม R2R ครั้งที่ 3

14 - 16 กรกฎาคม พ.ศ.2553

ปีนี้ช่วงแรกอาจจะดูเงียบๆ เพราะสถานการณ์ของสีมีผล แต่หากว่าไปแล้วสำหรับข้าพเจ้าเองคิดว่า ยังไม่มีผลเท่าไร เพราะสำหรับคนหน้างาน R2R ต่างหัวใจเกินร้อยกันอยู่แล้ว ...

คณะกรรมการจัดงาน เตรียมการประมาณแบบปีชนปี...นี่ก็ยังไม่ได้หยุดพักกันเลย ตั้งแต่ปี 2550 ไหลเลื่อยมาดั่งกระแสน้ำไหลเชี่ยวทีเดียว

ความเติบโต...ของ R2R เป็นความเติบโตที่มีจุดเริ่มต้นจาก "คนหน้างาน" อย่างแท้จริง ไม่ใช่ระดับนโยบายสั่งการ หากแต่เป็นความคึกคักในหัวใจ ที่หลายคนได้มาเรียนรู้ ได้มาสัมผัส ได้มาช่วยกัน ได้มาแบ่งปัน กันคนละไม้คนละมือ ขับเคลื่อนกระบวนการ R2R มาใช้ในการทำงาน

"R2R ไม่ใช่ให้มาทำงานวิจัย แต่เป็นกระบวนการสร้างความรู้..." เป็นคำพูดของท่าน Prof. Vicharn Panich  P เมื่อหลายปีก่อน ซึ่งทำให้เกิดความชัดเจนในทิศทางของการขับเคลื่อนที่ปราศจากความเครียดหรือความกดดัน เป็นพื้นที่ว่างอันเป็นอิสระสำหรับคนหน้างานได้สร้างสรรค์กระบวนการทางปัญญา ด้วยหัวใจ...

จนมาวันนี้เป็นก้าวย่างแห่งปีที่ 3 ที่สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (http://r2r.hsri.or.th/ ) อาสาเป็นแกนหลักสำคัญร่วมกับเครือข่ายต่างๆ ทั่วทั้งประเทศ มาช่วยกันคนละไม้คนละมือ ขับเคลื่อน R2R นำพาคนหน้างานออกจากวิกฤติแห่งความเป็นหุ่นยนต์คนทำงานให้แปรเปลี่ยนมาเป็น "พลังสร้างสรรค์...พลังความสุข"

สามปีที่ผ่านมานี่...

เป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่า ... คนหน้างาน R2R เมื่อได้มาเจอกันจะเป็นพลังบางอย่างที่ทำให้ใจฮึกเหิม อ่อนน้อม อ่อนโยน เกื้อกูล หลอมรวมพลังทั้งสิ้นทั้งปวงเป็นพลังแห่งการทำงานเพื่อ "ผู้อื่น"... ดังจะเห็นได้ว่า เกิดเป็นเครือข่ายแทบทุกย่อมหญ้าทั้งที่เป็น "ทางการ" และ "ไม่เป็นทางการ" เป็นเครือข่ายที่เป็น Blog to Blog (B2B)  http://gotoknow.org/post/tag/R2R หรือเป็นเครือข่าย Face to Face (F2F) ดั่งเครือข่าย R2R ภาคตะวันออก Eastern R2R หรือเครือข่าย R2R ภาคใต้ เครือข่ายR2Rภาคใต้ หรือเครือข่ายที่เข้มแข็งทั้งทางภาคอิสาน และภาคเหนือ ...

ข้าพเจ้ามองว่านี่คือ ปรากฏการณ์...อันงดงามของ "คนหน้างาน" ที่ลุกขึ้นมาทำงานแบบนอกกรอบ หากแต่เป็นความนอกกรอบในเชิงสรรค์ ที่ว่านอกกรอบ ก็คือ ว่าไม่ใช่เป็นการทำงานตามกระแส หรือทำงานตามคำสั่ง หรือตามนโยบายจนเป็น Routine จนเราลืมไปว่า "ตัวเรา" นั้นมีกระบวนการแห่งความสร้างสรรค์ทางปัญญา

ปีนี้...จึงไม่พลาดแน่นอน ที่จะต้องเข้าร่วม

และนับถอยหลัง...(บางคนอาจถนัดนับไปข้างหน้า)

ความเป็นเครือข่ายเข้มแข็ง...ความรู้จักมักคุ้นมีมากขึ้น

เรื่องราวที่นำมาแบ่งปันกันก็ช่างเป็นอะไรที่แตกต่างไม่ซ้ำเดิม

 

หากท่านใดเขียนถึงงานมหกรรม R2R ครั้งที่ 3 นี้

อย่าลืมใส่คำสำคัญ "งานมหกรรม R2R ครั้งที่ 3 " และคำว่า "R2R" นะคะ

 

หมายเลขบันทึก: 368359เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2010 21:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

พี่จะไปอเมริกา 4-12 กค 53

กลับมาพบกันนะคะ 14-15 กค 53 ค่ะ

ได้โอกาสนำเรื่องดีดี จากอเมริกามาเล่าสู่กันฟังด้วยนะคะ

ขอให้มีความสุขกับการเดินทางค่ะพี่แก้ว..อุบล จ๋วงพานิช

Zen_pics_007 

ขอบคุณน้องกะปุ่มมากค่ะที่ช่วยประชาสัมพันธ์งานมหกรรม R2R ครั้งที่ 3

ตอนนี้พี่แต้มกำลังเตรียมความพร้อมงานR2R เพราะต้อง clear หลายเรื่องให้พร้อมไว้ เนื่องจากต้องไปประชุม Regional Seminar on Decentralization of Health Care services ที Indonesia (5-9 July 2010) กลับมาจะได้พร้อมรับกับการประชุมมหกรรมR2Rที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี ตอนนี้มีคนสนใจลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมเป็นจำนวนมากค่ะ

คนคอR2R อย่าลืมไปฟัง ดร.กะปุ่ม ชวนคิดชวนคุยห้อง Happiness R2R นะคะ

น่าสนใจนะค๊ะ R2R

ขอบคุณ คุณกะปุ่มนะ ที่ให้รายละเอียด

เอ... ว่าแต่งานนี้ใครเป็นเจ้าภาพค๊ะ ก.สาธารณสุข?

จะแวะไปนะ พอดีบ้านพักอยู่แถวๆ นั้น

ทำงานเหมือนต่อขบวนรถไฟเลยนะคะ อ.แต้ม 

นี่แหละค่ะ "ต้นแบบ" ของหญิงแกร่ง มือก็ไกวดาบก็ก็แกว่ง ตัวจริงเสียงจริง...

Zen_pics_007 

ขอบพระคุณค่ะคุณเพลินวาน ที่ให้ความสนใจ

เชิญนะคะ...หากว่าอยู่ไม่ไกล งานนี้หัวใจของคนทำงานเกินร้อยค่ะ

  • สำหรับเจ้าภาพคือ โครงการสนับสนุนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยระดับประเทศ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ร่วมกับภาคีเครือข่ายค่ะ

Zen_pics_007 

 

*** น่าสนใจมากนะคะ  แต่ต้องไปเคลียร์คิวก่อนว่าตรงกันไหม  บางครั้งก็มีงานเข้าแบบกระทันหันค่ะ ***
       
                                                                     
                                                             
                                                                     
                                                                                                

ขอบคุณ...คุณK.Puallyที่ให้ความสนใจนะคะ หวังว่าจะได้พบกันที่งานนะคะ ==> ลองคลิกเข้าไปดูรายละเอียดดูนะคะ

Zen_pics_007 

น่าสนใจนะคะ แต่ไม่มีโอกาสได้เข้ร่วมประชุมเลยซักครั้ง สนใจเนื้อหาประชุมสามารถ downloadได้ที่ไหนค่ะ

ปีนี้ลองไปร่วมซึมซับบรรยากาศดีไหมคะคุณ ยามีละ จะประทับใจอย่างมิรู้ลืมค่ะ

บรรยากาศไม่ใช่วิชาการคร่ำเครียดนะคะ...

ส่วนข้อมูลในปีก่อนๆ ลองคลิกไปที่เวบ http://r2r.hsri.or.th/

หรือในส่วยรายละเอียดของปีนี้ก็ลองคลิกไปที่

งานมหกรรม R2R ครั้งที่ 3

14 - 16 กรกฎาคม พ.ศ.2553

ขอบพระคุณค่ะ

Zen_pics_007 

ชื่อเรื่อง :ประสิทธิผลของโปรแกรมการบริบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะไตวายเรื้อรังแบบเข้มข้นโดยเภสัชกร

Effectiveness of Intensive Diabetic nephropathy patients care program by pharmacist

รายชื่อผู้วิจัย : นายศุภรักษ์ ศุภเอม

ชื่อหน่วยงาน: โรงยาบาลอุบลรัตน์ อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น

บทคัดย่อ

ผู้ ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ถือว่าเป็นผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงมากในการเสียชีวิต โดยมีการศึกษาเชิงเปรียบเทียบพบว่าเภสัชกร สามารถจัดระบบบริการในผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะไตวาย จนส่งผลให้ผู้ป่วยมีแนวโน้ม จะมีอัตราการเสียชีวิตลดลงได้ การศึกษาครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบ การบริบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีไตวายโดยเภสัชกร ที่สามารถชลอ การเพิ่มของระดับซีรั่มครีเอตินิน เป็นวัตถุประสงค์หลัก ในส่วนการควบคุมระดับระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว น้ำหนักตัว และการเพิ่มคะแนนคุณภาพชีวิต ของผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นไตวายเป็นวัตถุประสงค์รอง โดยเป็นการศึกษาชนิด Randomized Controlled trial โดยติดตามผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะไตวายนาน 6 เดือน จำนวน 2 กลุ่ม กลุ่มละ 20 คน โดยกลุ่มศึกษา จะเป็นกลุ่มที่เภสัชกร เข้าไปดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การบริบาลทางเภสัชกรรม และ การบริบาลด้านอื่นๆ ที่จำเป็น ส่วนในกลุ่มควบคุมคือกลุ่มผู้ป่วยไตวาย ที่ได้รับการรักษาและดูแลแบบปกติทั่วไป หลังจากการติดตามผู้ป่วยนาน 6 เดือน พบว่า ผู้ป่วยในกลุ่มศึกษามีระดับซีรั่มครีเอตินินเฉลี่ยเท่ากับ 3.81 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ซึ่งสูงกว่า กลุ่มศึกษาที่มีระดับซีรั่มครีเอตินินเฉลี่ยเท่ากับ 2.60 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในส่วนของค่าระดับฮีโมโกลบินเอวันซีเฉลี่ย ของกลุ่มควบคุมคือ 9.56 % กลุ่มศึกษาคือ 7.84 % ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวเฉลี่ย ของกลุ่มควบคุมคือ 145.88 มิลลิเมตรปรอท กลุ่มศึกษาคือ 128.60 มิลลิเมตรปรอท น้ำหนักตัวเฉลี่ยของกลุ่มควบคุมคือ 63.18 กิโลกรัม กลุ่มศึกษาคือ 62.45 กิโลกรัม ซึ่งถือว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในส่วนคะแนนคุณภาพชีวิต นั้นกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 93. 76 คะแนน กลุ่มศึกษาเป็น 102.60 คะแนน ซึ่งถือมีคะแนนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในการศึกษาครั้งสามารถสรุปได้ว่า โปรแกรมการบริบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะไตวายเรื้อรังแบบเข้มข้นโดยเภสัชกร ที่พัฒนาขึ้นมานั้น มีประสิทธิผลดีกว่า ระบบการรักษาพยาบาลแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 พลังทางสถิติร้อยละ 80

คำสำคัญ: เภสัชกร การบริบาลทางเภสัชกรรม การบริบาลผู้ป่วย ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะไตวาย

คุณ นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม  ไปร่วมงานครั้งนี้ไหมคะ...

หากได้ไป เชิญที่ห้อง Jupeter 6-7 วันที่ 15 กค 53 ช่วงเวลา 13.00 - 16.00 น. นะคะ

Zen_pics_007 

เสียดาย ไม่ได้ไปร่วมงาน รอติดตามข่าวคะ ลืมขออนุมัติและสมัครเข้าวประชุม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท