BAR โจทย์คำถามแห่งการเริ่มต้นปัญหาระบบสุขภาพ นราธิวาส


เมื่อวานระหว่างนั่งรถมาจากสนามบินหาดใหญ่ มีโอกาสได้สนทนากันกับคุณสุทัศน์ผู้ประสานงานและรับผิดชอบงานการขับเคลื่อน R2R ในภาพของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส...

ทำให้ข้าพเจ้าได้ครุ่นคิดและไตร่ตรองต่อว่า จะนำพากระบวนการให้ดำเนินไปอย่างไร ข้าพเจ้าเลยเสนอคุณสุทัศน์ไปว่าลอง grop ประเด็นของ R2R เป็นกลุ่มๆ แล้วเราจะพูดคุยกันตามประเด็นเป็นกลุ่มนั้นในวันนี้ (๒ กุมภาพันธ์) ทีแรกว่าจะเอาเป็นกลุ่มโรค แต่ข้าพเจ้าเปลี่ยนใจลองแยกเป็นกลุ่ม

  • R2R2P (Routine to Research to Policy)
  • R2R2HP (Routine to Research to Health Promotion)
  • R2R2C (Routine to Research to Clinical)

แรงผลักดันที่ทำให้คิดอยากจะแยกเช่นนี้ เพราะข้าพเจ้าอยากเห็นภาพความคิดของคนหน้างานที่นี่ที่มองต่อปัญหาระบบสุขภาพหรือปัญหาระบบสุขภาพที่เกิดขึ้น และคนหน้างานเผชิญอยู่นั้น เป็นไปในแนวโน้มใดมากที่สุด (นำไปพัฒนาเป็นโจทย์วิจัยต่อได้สำหรับผู้จัด)

มองเป็นภาพใหญ่และภาพเล็กซ้อนเข้าไป

เมื่อคืนก็เลยได้กลายเป็นการบ้านของคุณสุทัศน์ไปที่จะนำหัวข้อประเด็นกว่าเจ็ดสิบเรื่องมา group กันใหม่ นี่ก็น่าจะเป็นทั้งโจทย์และ R2R ของผู้จัดไปในตัวได้เช่นกันที่จะทำให้มองเห็นภาพของการพัฒนาเรื่องระบบสาธารณสุขของจังหวัดให้มีการดำเนินไปในทิศทางใด โดยอาศัยทักษะทางการวิจัยมาเป็นเครื่องมือเดินเรื่อง

๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๔

 

หมายเลขบันทึก: 423606เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2011 06:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 ตุลาคม 2013 06:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เป้าหมายแห่งการเรียนรู้...วันนี้ คือ การทำความรู้จัก R2R และพัฒนาการมองงานประจำไปสู่การตั้งคำถาม

เมื่อต่อมเอ๊ะ กระตุก ... นั่นน่ะทิศทางการพัฒนางานกำลังเริ่มต้น

การตอบรับในเช้าวันแรกนี้ดีมาก หลายๆ คนเริ่มคุ้นเคยกับคำว่า R2R มาพอสมควร

ประมวลความรู้สึกของผู้เข้าเรียนรู้ R2R

  • เนื่องจากครั้งนี้เป็นครั้งแรกทีได้มาประชุม R2R และจากการทำงานมาก็ยังไม่เคยได้ทำงานวิจัยสักครั้งเลยรู้สึกกลัวๆ งงๆ เหมือนกันค่ะ แต่ด้วยความที่ไม่รู้และอยากที่จะเรียนรู้ วันนี้เลยเปิดรับเต็มที่ค่ะ

อีกหนึ่งความรู้สึกที่อ่านแล้วประทับใจ

ไม่รู้จะอธิบายความรู้สึกในการมาประชุมครั้งนี้ยังไง มันมากกว่าคำว่าดีใจ เพราะโดยส่วนตัวแล้วอยากจะทำ R2R ไม่ได้หมายความว่าอยากทำวิจัย แต่เราอยากเอา R2R มาพัฒนางานที่ทำอยู่ อยากจะทำเพราะอยากจะทำให้งานของเราดีขึ้น แต่สิ่งที่ขาดตลอดมาคือ แรงกระตุ้น คำแนะนำและกำลังใจจากองค์กร เพราะไม่ค่อยจะรู้ concept R2R เลยทำให้เราที่ไม่ค่อยมีความรู้เรื่องวิจัยอยู่แล้วต้องหมดกำลังใจไปเลย การประชุมครั้งนี้น่าจะจุดประกายกำลังใจของผมขึ้นมาอีกครั้ง

ซึ่งความคาดหวัง คือ เพิ่มพลัง/วิญญาณของ R2R ให้กลับมาผงาดในใจผมอีกครั้งอย่างมั่นคงและยืนหยัดมากกว่าเดิม

นอกจากนี้ยังมีอีกหลายๆ ท่าน

รู้สึกดีใจที่ได้รับเชิญให้มางานนี้ เหมือนกับว่าเป็นคนสำคัญคนหนึ่งของหน่วยงาน

ชื่นชมผู้จัดและวิทยากร ที่มีความตั้งใจในการผลักดันให้เกิด "R2R นราธิวาส"

จากการเดินทางมาเข้าร่วมประชุมงาน R2R ในครั้งนี้เป็นความรู้ใหม่ๆ ในการมาร่วมคิดในการนำไปปรับปรุงในการทำงาน และดีใจที่ไม่มีเหตุการณ์ระเบิดในการเดินทางมาครั้งนี้

ตื่นเต้นก่อนมาประชุมเพราะเป็นครั้งแรก ประทับใจกับพิธีเปิดในวันนี้ และยินดีกับอาจารย์ประทับใจวิทยากรค่ะ

 

 

 

ผู้เข้าร่วมเรียนรู้มาจากทุกอำเภอในจังหวัดนราธิวาส มีทั้งทำงานในโรงพยาบาลชุมชม รพ.สต. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ...หลากหลายคละเคล้ากันไป เครือข่ายอำเภอตากใบยังเข้มแข็งเช่นเดิม ได้พี่นุช - คุณจิราวรรณ ที่ข้าพเจ้าสัมผัสได้ว่าเป็นอีกหนึ่งท่านที่ R2R ซึมเข้าไปในกระแสแห่งจิตวิญญาณ

และมีอีกหลายความรู้สึกที่สะท้อนให้ได้รับทราบที่ว่า...

รู้สึกดีใจและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มาประชุมเชิงปฏิบัติ R2R ประจำปี ๕๔ เพราะรอวันนี้มานานแล้ว ว่าเมื่อไรเขาจะจัดประชุมอีกครั้ง เพราะครั้งก่อนรู้สึกว่าช่วงเวลามันสั้นและกระทัดรัดมาก และเป็นครั้งแรกที่เข้าประชุมเวที R2R แต่ครั้งนี้เป็นครั้งที่ ๒ เชื่อว่าจะเก็บเกี่ยวความรู้ได้มาก และน่าจะไปใช้ประโยชน์ไม่มากก็น้อย

 หลายความรู้สึกสะท้อนถึงการตอบรับกระแสแห่งการพัฒนางานประจำด้วยการทำวิจัย หรือ R2R ไม่ว่าจะเป็นระดับผู้บริหารระดับสูง ระดับ กลาง หรือระดับต้น หรือแม้แต่คนหน้างานเองต่างมีทัศนะเชิงบวกต่อการทำ R2R

และปีนี้ก็เป็นปีที่สอง...ที่นำโดยสำนักงานสาธารณสุขนราธิวาสขับเคลื่อนนำพาคนหน้างานสาธารณสุขคิดสร้างสรรค์งานผ่านกระบวนการอันเป็นวิทยาศาสตร์ดั่ง R2R

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท