ความเรียง เรื่อง ยายของข้าพเจ้า



ข้าพเจ้าเมื่อครั้งยังเป็นเด็กน้อย มียายเป็นผู้เลี้ยงดูถนุถนอม ยายข้าพเจ้าชื่อ ตุ๊ สันนิษฐานว่า ตอนยายเป็นเด็กคงจะอ้วนตุ๊ต๊ะจ้ำม่ำ พ่อแม่ของยายคือนายอินและนางเพียร จึงตั้งชื่อยายว่า ตุ๊

 

พจนานุกรมฉบับ มานิต มานิตเจริญ พิมพ์ครั้งที่ 9 พ.ศ.2528 อรรถาธิบายคำว่า ตุ๊ ไว้ว่า

ตุ๊ : ว. ; อ้วน
: น. ; (คำพายัพ) พระ
ตุ๊ต๊ะ : ว. ;อ้วนมากจนอุ้ยอ้าย
ตุ๊ต๊ะตุ้มตุ้ย : ว. ; อ้วน

 

คำว่า ตุ๊ แปลว่าพระ เพราะคำว่า ตุ๊ กลายเสียงมาจากคำว่า ภิกษุ ตามหลักกฎการกลายเสียงของกริม

กฎของกริม พัฒนามาจากแนวความคิดของ ราสมุส คริสเตียน ราสก์ (Rasmus Christian Rask)  นักนิรุกติศาสตร์ชาวเดนมาร์กผู้สนใจแนวการกลายเสียงของคำและเขาได้พบว่าการกลายเสียงของพยัญชนะตัวหน้าของภาษาตระกูลเยอรมันกับเผ่าอื่นไม่ได้เพี้ยนไปตามยถากรรม

ราสก์ เขียนเรียงความ ชื่อ การค้นหาที่มาของภาษานอร์สเก่าและภาษาไอซแลนติก (Introduction to the Grammar of the Icelandic and other Ancient Northern Languages) ส่งให้ Danish Academy of Science เมื่อ พ.ศ. 2375 และชนะการประกวดแต่ความเรียงเรื่องนี้ไม่แพร่หลายเพราะเขียนเป็นภาษาเดนนิช

ต่อมา ยาคอบ ลุดวิก คาร์ล กริม (Jacob Ludwig Karl Grimm)  ชาวเยอรมันได้นำกฎของ ราสก์ มาเขียนใหม่เป็นภาษาเยอรมัน ใช้ชื่อหนังสือที่เขาเขียนว่า ไวยากรณ์เยอรมัน (Deutsche Grammatik) พิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2362

กฎการกลายเสียงนี้จึงแพร่หลายและรู้จักกันโดยทั่วไปว่ากฎของกริม (Grimm's law) ตามกฎของกริม เสียง (ต) จะกลายเป็น (ซ) หรือกลับกัน (เสียง ซ หมายถึงเสียง ศ ษ ส ด้วย) เช่น

สกุล กลายเสียงเป็น ตระกูล
ภิกษุ กลายเสียง เป็น ภิกตุ
ภิกตุ ถูกตัดเสียงให้สั้นลงเป็น ตุ
ตุ ออกเสียงตามสำเนียงล้านนาเป็น ตุ๊

กรณีคำว่า ภิกษุ ถูกตัดเสียง (Chipping) ให้สั้นเหลือเพียง ตุ/ตุ๊ (คำพายัพ) คล้ายกับกรณีคำว่า อักโขภินี ที่คนไทยมักพูดสั้นๆ ว่า อักโข และกร่อนเสียงลงไปอีกเหลือเพียงว่า โข (แปลว่ามาก เช่นพูดว่า “มากโข” แทนที่จะพูดว่า มากอักโขภิณี )

การตัดเสียง (Chipping) ในภาษา เทียบกับคำว่า

รับประทาน ตัดเสียงเหลือ ทาน
อุโบสถ (บาลี) ไทยใช้ โบสถ์
อัญชลี (บาลี) ไทยใช้  ชลี/ชุลี 
number (อังกฤษ) ไทยใช้  เบอร์ 
neck tie (อังกฤษ) ไทยใช้  ไท้ 
foot ball (อังกฤษ) ไทยใช้  บอล  
 

 อักโขภิณี นั้น เครือข่ายพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน ออนไลน์ ได้ให้คำจำกัดความว่า

ค้น : อักโขภิณี; อักโขเภณี
คำ : อักโขภิณี; อักโขเภณี
เสียง : อัก-โข-พิ-นี; อัก-โข-เพ-นี
คำตั้ง : อักโขภิณี; อักโขเภณี
ชนิด : น.
ที่มา : (ป.; ส. อกฺเษาหิณี)
นิยาม : จำนวนนับอย่างสูง คือ ๑ มีศูนย์ตาม ๔๒ ตัว, ใช้ว่า อักเษาหิณี ก็มี.
ปรับปรุง : 98/4/2


คำว่า "อักโขภิณี" เป็นหน่วย สังขยา (หน่วยในการ นับจำนวนทางคณิตศาสตร์) ของคนอินเดียเทียบเป็นสากลได้ว่า

สิบ สิบหน เป็น ร้อย 10*2
สิบร้อย เป็น พัน 10*3
สิบพัน เป็น หมื่น 10*4
สิบหมื่น เป็น แสน 10*5
ร้อยแสน เป็น โกฏิ 10*7
ร้อยแสนโกฏิ เป็น ปโกฏิ 10*7 X 10*7 = 10*14
ร้อยแสนปโกฏิ เป็น โกฏิปโกฏิ 10*7 X 10*14 = 10*21
ร้อยแสนโกฏิปโกฏิ เป็น นนุตหนึ่ง 10*7 X 10**21 = 10*28
ร้อยแสนนนุต เป็น นินนุตหนึ่ง 10*7 X 10*28 = 10*35
ร้อยแสนนินนุต เป็น อักโขภินีหนึ่ง 10*7 X 10*35 = 10*42
ร้อยแสนอักโขภินี เป็น พินทะหนึ่ง 10*7 X 10*42 = 10*49
ร้อยแสนพินทะ เป็น อัพภูทะหนึ่ง 10*7 X 10*49 = 10*56
ร้อยแสนอัพภูทะ เป็น นิรพุทะหนึ่ง 10*7 X 10**56 = 10*63
ร้อยแสนนิรพุทะ เป็น อหนะหนึ่ง 10*7 X 10*63 = 10*70
ร้อยแสนอหนะ เป็น อพพะหนึ่ง 10*7 X 10*70 = 10*77
ร้อยแสนอพพะ เป็น อฏฏะหนึ่ง 10*7 X 10*77 = 10*84
ร้อยแสนอฏฏะ เป็น โสคันธิกะหนึ่ง 10*7 X 10*84 = 10*91
ร้อยแสนโสคันธิกะ เป็น อุปละหนึ่ง 10*7 X 10*91 = 10*98
ร้อยแสนอุปละ เป็น กมุมะหนึ่ง 10*7 X 10*98= 10*105
ร้อยแสนกมุมะ เป็น ปทุมะหนึ่ง 10*7 X 10*105= 10*112
ร้อยแสนปทุมะเป็น ปุณฑริกะหนึ่ง 10*7 X 10*112= 10*119
ร้อยแสนปุณฑริกะ เป็น อกถานหนึ่ง 10*7 X 10*119= 10*126
ร้อยแสนอกถาน เป็น มหากถานหนึ่ง 10*7 X 10*126= 10*133
ร้อยแสนมหากถาน เป็น อสงไขยหนึ่ง10*7 X 10*133= 10*140


วกกลับเข้ามาเรื่องยายข้าพเจ้า ยายข้าพเจ้าครั้นเมื่อโตเป็นสาวแรกรุ่น ได้แต่งงานกับกับคุณตา เล็ก และมีลูกสาวหนึ่งคนซึ่งนั่นก็คือพี่สาวแม่ ชื่อป้าแตงอ่อน คุณตาเคยมีอาชีพเป็นนายตำรวจ และได้หันเหชีวิตมาประกอบธุรกิจเกี่ยวกับโรงเรื่อยไม้ ทว่าเกิดขัดแย้งผลประโยชน์บางประการ ต่อมาคุณตาเล็กเสียชีวิตลง  หลายปีต่อมายายแต่งงานใหม่กับคน จีน ชื่อนาย เฉ่าโก แซ่ฉั่ว ยายมีลูกสาวเพิ่มอีกหนึ่งคนชื่อ ทองย้อย ซึ่งก็คือแม่ของข้าพเจ้านั่นเอง ก๊งของข้าพเจ้าเป็นชาวจีน ฮากกา

โชติช่วง นาดอน อรรถาธิบายถึงประวัติของ จีนแคะ/จีนฮากกา/จีนเค่อเจี่ย ไว้ความว่า

ชาวจีน (หัวเฉียว) ที่อพยพมาอยู่เมืองสยามมีหลายกลุ่ม ได้แก่ แต้จิ๋ว ฮกเกี้ยนชาวจีนสาขาย่อยอื่นๆ นั้น ถูกเรียกชื่อกลุ่มตามชื่อดินแดนที่อยู่อาศัยก่อนที่จะอพยพอยู่เมืองสยาม เช่นอยู่ที่แต้จิ๋วก็เรียกว่า จีนแต้จิ๋ว อยู่กวางตุ้งก็เรียกว่าจีนกวางตุ้ง อยู่ไหหลำก็เรียกว่าจีนไหหลำมีแปลกอยู่ที่กลุ่มฮักกานี่แหละ ที่ไม่สามารถระบุบอกถิ่นที่มาได้คำว่า “ฮัก” หรือ “แคะ” สำเนียงจีนกลางว่า “เค่อ” มีความหมายตรงกับคำว่า “แขก” หรือ อาคันตุกะ ผู้มาจากที่อื่น ในภาษาไทยชาวไตในยูนนานเรียกชาวฮั่น (คนจีน) ว่า “แข่” ซึ่งก็คือว่า “แขก” นั่นเองส่วนคำว่า “กา” นั้น สำเนียงจีนกลางว่า “เจีย” แปลว่า พวก หมู่ชาวแคะ คือใคร โดยความเข้าใจของคนทั่วๆ ไปแล้ว จะตอบว่า ชาวแคะคือชาวฮั่นที่อพยพเคลื่อนย้ายจากตงง้วน ลงไปอยู่ในภาคใต้ และเนื่องจากมิใช่คนพื้นเมือง ดังนั้นจึงถูกเรียกว่า “แคะ” หรือ “พวกแคะ” (ฮักกา) ในพงศาวลี (บันทึกประวัติของตระกูลแซ่) ของทุกแซ่ มีบันทึกเล่าถึงการอพยพไว้ชัดเจน นักวิชาการปัจจุบันสรุปได้ว่ามีการเคลื่อนที่อพยพครั้งใหญ่ๆ หกระลอก

ก๊ง ของข้าพเจ้า มีอาชีพเป็นช่างทำทองรูปพรรณ ด้วยเหตุนี้แม่ข้าพเจ้าจึงชื่อทองย้อย ก๊งข้าพเจ้าอพยพมาจากเมืองจีนและได้มาอาศัยอยู่ที่ตลาดปากน้ำโพธิ์ จังหวัดนครสวรรค์ ก๊งท่านเป็นช่างทอง ท่านเก็บเงินได้มากพอสมควรและตระเตรียมที่จะเปิดร้านทอง แต่ทว่าท่านล้มป่วยและเสียชีวิตลงซะก่อน ขณะนั้นแม่ข้าพเจ้าอายุได้เพียง 2 ขวบ  ต่อมาพ่อแม่ของยาย พายายย้ายมาตั้งรกรากใหม่ ณ อำเภอเภอบรรพตพิสัย ห่างจากอำเภอเมืองประมาณ 36 กิโลเมตร
 
ยายของ ข้าพเจ้า ในสมัยเด็กไม่ได้มีโอกาสเรียนหนังสือเพราะค่านิยมคนสมัยก่อนไม่นิยมให้ลูกสาวเรียนหนังสือ แต่คุณยายก็อ่านหนังสือออกเขียนหนังสือได้เพราะน้องชายของยาย เป็นผู้สอนหนังสือให้ยาย

น้องชายของยายต่อมาทำงานค้าคดีความที่ศาลจังหวัด แม่ของข้าพเจ้าเคยเล่าให้ฟังว่าน้องชายของยายคนนี้ โกงที่ดินในเขตอำเภอเมืองของยายไปขายจนเกลี้ยง เพราะยายไว้ใจมอบที่ดินไว้ให้น้องชายเป็นคนดูแล  ในยามบั้นปลายชีวิต น้องชายของยายยกทรัพย์สินมรดกให้ลูกๆ จนครบถ้วนทุกคน แต่ไม่มีลูกๆ คนไหน ยอมเลี้ยงดู ผู้เป็นพ่อยามแก่ชรา 

สุดท้ายก็ต้องมาอาศัยอยู่กับพี่สาวคือยายของข้าพเจ้าจวบจนวาระสุดท้ายแห่งชีวิต (กรรมติดจรวด) ยายสอนข้าพเจ้าเสมอว่าพี่น้องต้องรักและสามัคคีกันรู้จักให้อภัยกัน สิ่งเหล่านี้นี่คือคุณธรรมของยายที่ท่านได้ปฏิบัติไว้เป็นตัวอย่างแก่ลูกๆหลานๆ

ยายของข้าพเจ้าเป็นคนใจบุญ ชอบฟังเทศน์ฟังธรรม ในสมัยที่ยายยังแข็งแรงท่านจะต้องชวนข้าพเจ้าและน้องชายไปทำบุญที่วัดทุกวันพระ เครื่องแบบของยายก็คือ เสื้อผ้าสีขาว ก่อนไปวัดยายก็จะตระเตรียมข้าวปลาอาหารอย่างดี เพื่อเตรียมไปทำบุญ ในตอนเช้ายายจะชวนพวกเราไปเด็ดดอกไม้ ก่อนเด็ดดอกไม้ยายจะพูดว่า

               "เจ้าดวงมาลา ไปวัดด้วยข้า   ทำบุญด้วยกัน
                 เด็ดเจ้าวันนี้  นำสู่สวรรค์   ทำบุญด้วยกัน เถิดเจ้าดวงมาลา"


สำหรับ เด็กๆ อย่างเราก็นุ่งชุดสุภาพ บรรยากาศที่วัดเป็นบรรยากาศที่ร่มรื่น กลิ่นของดอกจำปี แกมกลิ่นดอกลั่นทมหอมฟุ้งเต็มลานวัด ในยามเช้าแดดอ่อนอุ่นๆ ทำให้เรารู้สึกสดชื่น เสียงไก่แจ้ก่งคอขันเจื่อยแจ้ว

บนศาลาการเปรียญอุบาสกอุบาสีกา ยกมือ กรรพุ่ม ประหนึ่งฝักถั่ว พลางเปล่งเสียง สาธุพร้อมกัน ที่ผนังศาลาวัดข้าพเจ้าตื่นตะลึงกับโครงกระดูก 2 โครง ที่ผูกโยงไว้กับฝาผนังศาลา พ่อของข้าพเจ้าเล่าให้ฟังว่า หลายสิบปีก่อนเกิดอุบัติเหตุรถเมลชนกับรถบรรทุก ร่างไร้วิญญาณนอนตายเกลื่อนจมกองเลือด นับสิบๆ  ร่างไร้วิญญาณเหล่านั้นถูกนำมาเผาที่วัด เนื่องจากต้องเผาศพคราวละหลายๆ ศพ ในครั้งนั้นทำให้ เมรุเผาศพแตกร้าว เพราะการ เผาศพต้องเร่งทำทั้งวันทั้งคืน เพื่อแข่งกับกลิ่นเหม็นคละคลุ้งของอสุภศพ

สำหรับศพไร้ญาติสองศพ ที่มิได้ทำการเผา สมภารท่านสั่งให้บรรดาภิกษุอันเตวาสิก หนึ่งในนั้นก็คือพ่อของข้าพเจ้าสมัยที่ยังบวชอยู่  สมภารท่านสั่งให้นำร่างที่เหลือแต่โครงกระดูก มาร้อยรวด ตรึงเพื่อคงสภาพแห่งสรีระมนุษย์ แขวนไว้เตือนสติญาติโยม เพื่อรำลึกถึงหลัก มรณัสติ

ธรรมะว่าด้วยเรื่องมรณัสตินี้ กระทั่งข้าพเจ้าโตขึ้นก็ยังคงฝังจิตฝังใจซาบซึ้งถึงขั้นผูกไว้เป็นโคลงสี่สุภาพ ความว่า

ชื่อเสียงลาภยศเบี้ย                 บริวาร
ฤาอยู่ยั่งยืนนาน                     เที่ยงแท้
ย่อมอันตรธาน                       ทุกเมื่อ
ปราชญ์ไป่มัวเมาแล้                เลิศสร้างทางเขษม


(แปลจากคัมภีร์วุตโตทัย)

สมัยเด็กข้าพเจ้าไปวัดแล้วจะต้องแวะไปทักทาย บุญเหลือ และบุญทิ้ง โครงกระดูกทั้งสอง โดยการเอามือไปลูบๆ คลำๆ อย่างสนุกสนาน กระทั่งถูกยายดุ

สำหรับวันธรรมดาที่ไม่ใช่วันพระยายก็จะชวนข้าพเจ้าและน้องชายให้ลุกขึ้นมาตักบาตรทุกเช้า ตอนเย็นข้าพเจ้าและน้องขายจะรีบคะยั้นคะยอให้ยายเล่านิทานก่อนนอนให้ฟัง ซึ่งกว่าพวกเราจะได้ฟังนิทานจากยาย พวกเราจะต้องนั่งฟังยายสวดมนต์ และท่องบทอาขยานจนจบก่อน

บทสวดมนต์ของยายอาทิเช่น บทไตรสรณคมณ์ บทสวดมนต์ทำวัตรเย็น บทชุมนุมเทวดา สำหรับบทอาขยานของยายก็เช่น บท ที่ยายท่องว่า

"เกสา ผม โลมา ขน นขา เล็บ ทันตา ฟัน ตะโจ หนัง มังสัง เนื้อ นหารู เอ็น อัฏฐิ กระดูก อัฏฐิมิญชัง เยื่อในกระดูก วักกัง ไต หทยัง หัวใจ ยกนัง ตับ กิโลมกัง พังผืด ปิหกัง ม้าม ปับผาสัง ปอด อันตัง ไส้ใหญ่ อันตคุณัง สายรัดไส้ อุทริยัง อาหารใหม่ กรีสัง อาหารเก่า ปิตตัง น้ำดี เสมหัง น้ำเสลด ปุพโพ น้ำหนองน้ำเหลือง โลหิตัง น้ำเลือด เสโท น้ำเหงื่อ เมโท มันข้น อัสสุ น้ำตา วสา มันเหลว สิงฆานิกา น้ำมูก ละสิกา ไขข้อ มุตตัง มูตร"

พอโตขึ้นจึงรู้ว่าที่ยายท่องก็คือ ธาตุกรรมฐาน เวทนานุปัสสนาชั้นที่ 2 อาขยานอีกบทคือบทว่าด้วยหลักไตรลักษณ์ ที่ว่า

"พระไตรลักษณ์ หนักหน่วงพาดวงจิต
ให้ครุ่นคิดกรึกกรองเป็นหนักหนา
พิศะเพ่งเล็งดู พระอนัตตา
เป็นไม้เท้าก้าวหน้านำหนทาง..."

นอกจากนี้ก็จะเป็นบทอาขยานเกี่ยวกับ รอยพระพุทธบาท ฯลฯ บทอยานเหล่านี้ยายข้าพเจ้าท่องจำมาจากแม่ของยายอีกทอดหนึ่ง ......

หมายเลขบันทึก: 170673เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2008 12:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2012 23:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)
  • อึ้งกับหน่วยวัด โบราญ
  • ยายไม่สอนเลย สอนแต่เพลงนกขมิ้น
  • เพลงเกี่ยวข้าว
  • ชอบอันนี้
  • วัดเอ๋ยวัดโบสถ์
  • มีตาลโตนดอยู่เจ็ดต้น
  • เจ้าจันทร์ไปปล้น
  • ไม่เห็นกลับมา.....
  • ปล.  ปล้นค่ายพม่านะครับ

สวัสดีค่ะ

-เห็นบอกกลับบ้านรีบมาดูแต่เช้าบ้านก็ปิดอยู่

- กลับมาจากบ้านจริง ๆด้วย

- ยายได้แต่นั่ง แฮะอึมอือ ๆๆ  แล้วก็ล้วงห่อผ้าเช็ดหน้าเก่าแก่ที่สุดในโลกออกมาคลี่แล้วก็เรียก....อีพรรณเอ้ยมาเอาตังค์ไปกินหนมไหมเหว่...เหว่ต้องลากเสียงยาว ๆ.....

มาเยี่ยม...

อ่านแล้วได้เห็นสัจจะธรรมของชีวิตนะครับ...

  • สวัสดีครับอาจารย์ ขจิต  ครับ 1 อสงไขย คือ 1 ตามด้วยเลขศูนย์  140 ตัว โหเยอะจริงๆๆ
  • สวัสดีครับอาจารย์ พรรณา ยายของคุณพี่อาจารย์ใจดีจัง..
  • สวัสดีครับอาจารย์อุทัย umi  ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ

หลายหลากรส และความรู้แปลกใหม่เยอะดีค่ะ

ชอบคุณยาย ชวนดอกไม้ไปวัด

มิน่าเล่า อ่านบล็อก แล้ว ทึ่งทีเดียว

 ยีนส์ คุณยายในตัวคุณ ชัดเจน

สวัสดีค่ะ

ได้รู้จากคำว่า"ตุ๊" ไป "อสงไขย" เพิ่งทราบว่ามีเชื้อจีนแคะด้วย

ชอบคุณยายจังเลยค่ะ เจ้าบทเจ้ากลอน...หลานคงได้ไปเยอะนะคะ..

  • สวัสดีค่ะ
  • ทีแรกตกใจกับหน่วยวัดโบราณ งงไปเลยค่ะ
  • คุณยายของคุณน่ารักจังเลยค่ะ
  • ส่วนตัวไม่มีภาพความทรงจำถึงคุณยายแท้ๆ เลย เพราะท่านเสียไปตั้งแต่คุณแม่ยังเล็กๆ
  • แต่อ่านๆ ไปทำให้ตัวเองนึกถึงบรรยากาศที่เคยไปวัดกับคุณยาย(น้าสาวของคุณแม่)ทุกๆ วันพระเมื่อตอนเด็กๆ
  • ตอนนั้นรู้แต่ว่าทุกวันพระจะได้นั่งหัวเรือ มีพายด้ามจิ๋วๆ คอยช่วยคุยยายพายเรืออย่างสนุกสนาน 
  • และที่วัดจะมีขนมอร่อยๆ มีลุงป้าน้าอาใจดีแต่งตัวสวยๆ มาทำบุญ
  • เป็นชีวิตสุขสงบตามวิถีไทยที่เริ่มจางหายไปแล้วจากสังคมเมืองกรุง
  • สวัสดีครับคุณหมอ รวิวรรณ หาญสุทธิเวชกุล ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมชมครับ
  • สวัสดีครับอาจารย์  a l i n l u x a n a =) มีส่วนครับการอบรมของผู้ปกครองมีส่วนมากๆครับ
  • สวัสดีครับคุณ jaewjingjing ความทรงจำวัยเด็กเป็นความทรงจำที่สวยงามนะครับ

 

สวัสดีค่ะ ต้องอ่านเรื่องนี้ เพราะเป็นคนรักคุณยายมากค่ะ คุณยายพี่เป็นผู้ทำให้ได้คุ้นเคยกับการไปวัด ฟังเทศน์ ฟังธรรม ตอนเด็กๆไปกับท่านไม่ค่อยได้รู้เรื่องนักหรอกค่ะ แต่สนุกที่ได้ไปวัด วัดที่ท่านพาไปคือวัดเขาน้อย(พี่คนเมืองกาญจน์เหมือนอาจารย์ขจิตค่ะ) วัดอยู่บนเขา แต่ไม่สูงนัก ต้องเดินขึ้นบันไดไป จำได้ว่าวัดร่มรื่น ต้นไม้เยอะและสามารถเดินได้รอบวัด

การเตรียมของไปวัดคนสมัยก่อนจะประณีตมากนะคะ พี่คิดว่าได้นิสัยความประณีตมาจากการอบรมบ่มนิสัญโดยคุณยายค่ะ

คุณกวินทรากรนี่ช่างเป็นผู้มีความรอบรู้หลากหลาย ได้มาอ่านทีไรทึ่งในสิ่งที่คุณเขียนทุกครั้งเลยค่ะ

แวะมาอ่านค่ะ ทึ่งกับความเรียงที่ครบอรรถรส

คุณยายคงใจดีมากเลยนะคะ

แหมชอบอีกอย่างที่ทุกวันนี้ได้ทำเหมือนคุณยายของคุณกวินทรากรคือ เวลาจะเด็ดดอกไม้ไปวัด มักจะบอกขออนุญาตว่าจะพาไปวัดไปทำบุญ..อิอิ...เหมือนโดยบังเอิญจริงๆเลยนะคะ

สวัสดีครับ คุณนายด๊อกเตอร์ มารตอบช้านิดนึงนะครับพอดีไม่ได้ดูเมล ปกติใช้ hotmail แต่แจ้งเตือนการตอบกระทู้ แจ้งไว้ที่ gmail เพราะไม่ค่อยได้เข้า gmail เลยไม่ทราบว่าใครตอบกระทู้บ้าง ความรู้สึกสนุกที่ได้ไปวัด อืมเป็นความ ที่รู้สึกเหมือนกันเลยนะครับ ฟังความรู้สึก ของแต่ละท่านที่เล่าถึงวัยเด็กแล้วดีจังเลยครับ อิ่มเอมใจมากๆ ขอบคุณที่ติดตามอ่านนะครับ

สวัสดีครับอาจารย์ จันทรรัตน์ ดีจังครับ ...คนโบราณเป็นคนอ่อนโยน..แม้นกระทั่งเด็ดดอกไม้ก็ยังต้องบอกต้องกล่าว..เป็นการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ

สวัสดีค่ะคุณกวิน

  • เพิ่งมาไล่อ่านงานเก่า ๆ คุณกวิน เห็นหัวข้อก็รีบเข้ามาก่อนเลย ทำให้ได้ทราบว่าคุณกวินมีเชื้อสายจีนแคะนี่เอง
  • แม่เคยเล่าว่า จีนมีหลายเชื้อชาติ และจีนแคะจะเป็นกลุ่มที่ผู้ชายออกไปทำงาน/ค้าขายยังดินแดนไกล ๆ ผู้หญิงจีนแคะจึงเข้มแข็งและทำงานหนักทั้งงานบ้านและงานในทุ่งนา ส่งผลให้เป็นคนเก่งกล้ากว่าผู้หญิงจีนอื่น ๆ และยังเป็นกลุ่มจีนที่มีความสามารถด้านการช่าง ทั้งการทำทอง ช่างทำโลหะ รองเท้า เฟอร์นิเจอร์...อันนี้เป็นข้อมูลที่ฟังจากคุณแม่ค่ะ ..ยังไม่ได้หาข้อมูลด้านวิชาการอื่น ๆ มายีนยัน ...นะคะ
  • คนโบราณมีชีวิตอยู่กับธรรมชาติ จึงละเอียดอ่อน ประณีต แม้จะเด็ดดอกไม้ไปทำบุญก็ยังต้องประเล้าประโลม ชักชวนด้วยถ้อยคำที่อ่อนหวานเป็นมิตร...
  • ขอบคุณมาก ๆ ค่ะ กับสิ่งดี ๆ ที่นำมาให้ร่วมชื่นชมกัน

 

  • สวัสดีคนไม่มีราก
  • ขอบคุณมากๆ เข้ามาอ่านตั้งแต่เมื่อไร
  • ตอบช้าไปหน่อย อย่าว่ากัน

แวะมาทักทายครับ

มาอ่านและลงชื่อไว้

คิดถึงจึงมาหา

อยากบอกว่า เติมเอาเอง อิอิ

  • สวัสดีครับพี่โย่ง
  • วันนี้อีกสักประเดี๋ยวจะไปฟังพระธรรมเทศนา ครับ
  • ไปฟังด้วยกันมั้ยครับ ถ้าไปไม่ได้เดี่ญวฟังเผื่อนะครับ พี่
  • ชมรมพุทธธรรมที่ นครสวรรค์ เขาจัด...

คุณกวินคะ

  • อ่านบันทึกคุณกวินแล้ว...ชอบบันทึกนี้มากที่สุดค่ะ
  • ว่าง ๆ เขียนอีกนะคะ...^_^...

สวัสดีค่ะ คุณกวิน

  • ไม่ได้คุยกันตั้งนานแหน่ะค่ะ
  • เปิดเทอมแล้วไม่มีเวลา ต่ะแล๊ด แต๊ดแต๋ เหมือนปิดเทอมแล้วค่ะ
  • นาน ๆ จึงมีเวลาเข้ามาอึ้ง กับบันทึกที่มีประวัติ มีความรู้ท่วมท้น เช่นบันทึกของคุณกวินนะคะ
  • อิอิ ไม่ได้เตี๊ยมกับคุณ คนไม่มีรากนะคะ แต่คิดเหมือนกันเด๊ะ เลยค่ะ
  • เลื่อนเมาส์ลงมา กะจะพิมพ์ ว่าบันทึกนี้เป็นบันทึกที่ชอบทีสุด
  • ป๊าด เจอคนไม่มีรากเข้า นะ
  • รักษาสุขภาพด้วยนะคะ ^_^
  •  คนไม่มีราก สวัสดีครับ
  • วันนี้ไปที่พุทธธรรมฯ ปรากฎว่าจำวันผิด พระอาจารย์จะมาเทศน์ วันที่ 1-7-2551 ฮาๆเอิ๊กๆ
  • อดเลย แถมวันสองวันนี้ พี่ดาว พี่ที่ทำงานชวนไปหัดเรียนเต้นลีลาศ เพราะที่ โรงพยาบาลมีชมรมลีลาศ (เรียนวันจันทร์-อังคาร) ก็ไม่ได้ไป
  • แต่วันพุธ พี่ดาวชวนไปสวดมนต์ไหว้พระทึ่ตึกสงฆ์อาพาธ เขามีจัดกิจกรรมสวดมนต์ภาวนากันทุกวันพุธ ก็ว่าจะไปสักหน่อย เย้ หากิจกรรมทำได้แล้ว
  • สวัสดีครับ คุณครูปู ถ้าไม่บอกผมก็เกือบจะนึกนึกว่า ครูปูกับคนไม่มีรากนั่งรถคันเดียวกัน มาด้วยกัน ขอบคุณมากๆครับ รักษาสุขภาพกาย-ใจ ไว้ให้จงดี ครับ

ขอบคุณนะครับ สำหรับความเรียง

ผมต้องการจะศึกษาอยู่พอดี

ว่างๆผมแอดเมลไปถามงานพี่ได้มั้ยครับ ??

ผมเข้าใจ(เอง) ว่า ตุ๊ นามจะมาจาก สาธุ -สาธุคุณ
เวลาคนเหนือเรียกพระ จะใช้ว่า ตุ๊เจ้า (-ธุเจ้า)
คำว่าเจ้า ใช้ต่อท้ายเหมือน คะ ครับ ในปัจจุบัน
แต่ในอดีตใช้ทั้งหญิงชาย เช่น ข้าบาทเจ้า ไหว้สาเจ้า
(คำว่า สา จะกร่อนมาจาก สาธุ ด้วยหรือเปล่า?)
ทางหลวงพระบางปัจจุบันก็ยังใช้ เจ้า ทั้ง ชายหญิงเหมือนกัน
ดังนั้นคำเต็มเมื่อเรียกพระภิกษุในสมัยก่อน น่าจะว่า สาธุเจ้า เพื่อแสดงความเคารพ
นี้เป็นแค่ความเห็นส่วนตัวนะครับ
 
ส่วนทำไมจึงเป็นเสียง ต
เพราะใช้ไปนาน ๆ คนก็สับสนเหมือนกัน ระหว่าง เสียง ต-ท, จ-ช
โดยเฉพาะในระดับชาวบ้านทั่วไปที่ไม่ทราบหลักการเขียนและออกเสียง
ตามอักขรวิธีล้านนาที่แบ่งเป็น 5 วรรคตามแบบบาลี
 
ตัวอย่าง
อักษร ท ออกเสียงเป็น ต เช่น ทาสี อ่าน ตาสี, เทียว อ่าน เตียว, ถวายทาน อ่าน ถวายตาน
อักษร ต ออกเสียงเป็น ต๋  เช่น แก่นตา อ่าน แก่นต๋า (ลูกตา), ตองทึง อ่าน ต๋องตึง (ใบพลวง)
อักษร ธ ออกเสียงเป็น ท เช่น ธน อ่าน ทะนะ (ใช้กับบาลีเท่านั้น ภาษาไทดั้งเดิมทางเหนือไม่มีเสียง ท)
 
อักษร ก ออกเสียงเป็น ก๋ เช่น เวียกการ อ่าน เวียกก๋าน(การงาน), กางจ้อง อ่าน ก๋างจ้อง (กางร่ม)
อักษร กร ออกเสียงเป็น ข เช่น กราบ อ่าน ขาบ, กรน อ่าน ขน, กรุณา อ่าน ขุนนา (คำนี้น่าอ่านผิดเพราะสับสนตามรูปคำแต่ก็ใช้กันจนเป็นที่ยอมรับ)
อักษร ค ออกเสียงเป็น ก เช่น ไม้คาน อ่าน ไม้กาน, คิ้วคาง อ่าน กิ๊วกาง
อักษร คร ออกเสียงเป็น ค เช่น คราบ อ่าน คาบ, คราม อ่าน คาม
 
อักษร จ ออกเสียงเป็น จ๋ เช่น จืดจาง อ่าน จืดจ๋าง, จอมใจ อ่าน จ๋อมใจ๋
อักษร ช ออกเสียงเป็น จ เช่น แช่ช้าง อ่าน แจ้จ๊าง, ชุ่งชา อ่าน จุ้งจา (ชิงช้า), ชานเรือน อ่าน จานเฮือน
อักษร ฉ  ตัวนี้จะยากหน่อย คนสมัยก่อน ไม่ว่าเหนืออีสานออกเสียงไม่ได้ ใช้เสียง ส แทน เช่น ฉันใด ออกเป็น สันใด
แวะเข้ามานะครับ สวัสดีครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท