น้ำเคี้ยวยูงว่าเงี้ยวยูงตาม


โคลงโลกนิติ

น้ำเคี้ยวยูงว่าเงี้ยว                 ยูงตาม
ทรายเหลือบหางยูงงาม        ว่าหญ้า
ตาทรายยิ่งนิลวาม                พรายเพริศ
ลิงว่าหว้าหวังหว้า                 หว่าดิ้นโดดตาม

  

  • แม่น้ำคดเคี้ยว นกยูงบินอยู่บนฟ้าหลงคิดว่าแม่น้ำเป็น "งูเงี้ยว(เขี้ยวขอ)" ก็เลยบินลงไปจะจิกกิน (นกยูงกินงูเป็นอาหาร) นกยูงจึงจมน้ำตาย

  • กวางทราย เห็นหางนกยูง สีเขียวๆ ก็นึกว่าเป็น ยอดหญ้า กวางทรายอยากกินหญ้าจึงกระโดดลงแม่น้ำ (หมายจะไปกินหางนกยูงที่เขียวๆ เหมือนยอดหญ้า) กวางจึงจมน้ำตาย

  • ขณะที่กวางทรายใกล้จะจมน้ำตาย มีอาการตาเหลือก ดวงตาของกวางทรายมีสีนิลเหมือนลูกหว้า

  • ลิงเห็นดวงตาของกวางทราย ก็หลงนึกว่าเป็น ลูกหว้า ลิงจึงกระโดด ลงไปในแม่น้ำ จึงจมน้ำตายตกไปตามๆ กัน

    โคลงบทนี้สอนสอนอะไร

  •  


    นกยูง บินอยู่บนฟ้าอันสูง มีสายตาที่ยาวไกล ทว่าเมื่อใดก็ตามที่นกยูงถูกถูกกิเลสคือความอยาก (อยากกินงู) เข้าครอบงำ สุดท้ายก็ต้องพบกับความพินาศ สายตาอันยาวไกลและปีกที่ทำให้บินสูงนั้น ก็กลับนำพานกยูงมุ่งไปสู่แม่น้ำสายมรณะ มนุษย์ปุถุชนเช่นเราๆ ท่านๆ แม้นสำคัญตนว่า ตนมีความรู้ที่สูงส่ง มีสายตาที่ยาวไกล  (Bird's Eye View) แต่ถ้าปล่อยให้กิเลสฝ่ายต่ำเข้าครอบงำ เสียแล้ว ความรู้ที่สูงส่ง และสายตาที่ยาวไกลนั้นก็อาจนำพาไปสู่ความพินาศ ได้เช่นเดียวกัน กับ นกยูง

     

    กวาง เป็นสัตว์ที่มี ความระแวงระวังภัย มีความว่องไว ปราดเปรียว มีสมรรถนะสามารถกระโดดไปข้างหน้าได้ไกลๆ  ทว่าเมื่อใดก็ตามที่กวางถูกกิเลสคือความอยาก (อยากกินหญ้า) เข้าครอบงำ สุดท้ายก็ต้องพบกับความพินาศ สมรรถนะคือความสามารถในการกระโดดได้ไกลๆ นั้น กลับพากวางกระโดดลงสู่แม่น้ำสายมรณะ  มนุษย์ปุถุชนเช่นเราๆ ท่านๆ แม้นสำคัญตนว่า มีความรู้ (Knowledge)  และมีสมรรถนะ (Competency)  แต่ถ้าหากปล่อยให้กิเลสฝ่ายต่ำเข้าครอบงำ เสียแล้ว ความรู้   และสมรรถนะ ที่มีนั้นก็อาจนำพาไปสู่ความพินาศ ได้เช่นเดียวกันกับกวาง

     

    ลิง เป็นสัตว์ที่ เฉลียวฉลาด มีทักษะในการปีนต้นไม้ เวลามีภัยลิงก็มักจะหนีขึ้นต้นไม้ ศัตรูที่น่ากลัวของลิง ก็คงจะเป็น สัตว์จำพวกงูเหลือม ทว่าเมื่อใดก็ตามที่ลิงถูกกิเลสคือความอยาก (อยากกินลูกหว้า) เข้าครอบงำ ทักษะในการปีนต้นไม้ นั้นก็กลับพาลิงไปสู่ปลายกิ่งไม้ที่อยู่เหนือริมแม่น้ำสายมรณะสุดท้ายลิงก็ต้องพบกับความพินาศตกลงสู่แม่น้ำสายมรณะนั้น มนุษย์ปุถุชนเช่นเราๆ ท่านๆ แม้นสำคัญตนว่า มีมีทักษะ (Skill) ในด้านใดด้านหนึ่ง หรือหลายๆ ด้านก็ดี แต่ถ้าหากปล่อยให้กิเลสฝ่ายต่ำเข้าครอบงำ เสียแล้ว ทักษะ (Skill) ที่มีนั้นก็อาจนำพาไปสู่ความพินาศ ได้เช่นเดียวกันกับลิง

    ดร.อุทัย เอกสะพัง รองหัวหน้าภารกิจด้านการจัดการศึกษา สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ อรรถาธิบาย  โคลงโลกนิติบทนี้ไว้ความว่า

    ยูง...ผู้ปฏิบัติธรรมสูงแต่หลงกลกามคุณ
    ทราย..ผู้มีปัญญา..แต่ไร้แวว..
    ลิง...ผู้มีสติ...แต่มีชั่วขณะ...
    ทั้งหมดเลยตกอยู่ในวังวนวัฏฏะ...

    ในหนังสือเรื่อง พระเถระผู้มีวาทะบริบูรณ์ อาจารย์ ตูลย์ อตุโล (พระราชวุฒาจารย์) ซึ่งเรียบเรียงโดบ สายธาร ศรัทธาธรรม หน้า 170-173 ได้กล่าวถึงเรื่อง ปัญจทวาราวัชชนจิต ไว้ความว่า

    ปัญจทวาราวัชชนจิต นี้คือกิริยาจิตที่แฝงอยู่กับทวารทั้ง 5 ได้แก่ ตา หู จมก ลิ้น กาย เป็นกิริยาที่ทำหน้าที่ประจำรูปกายอาศัยอยู่ตามทวารทั้ง 5 เป็นทางที่ติดต่อเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างสิ่งภายนอก หรืออารมณ์ภายนอก เป็นกิริยาจิตที่มีอยู่อย่างนั้น เป็นอยู่อย่างนั้น ห้ามไม่ได้บังคับไม่ให้เป็นไปไม่ได้ แต่อาจเป็นพาหะให้เกิดทุกข์ และที่ตื่นเต้นใจก็คือ ให้กิริยาจิตเหล่านี้เป็นไปโดยประการที่ทุกข์จะเกิดขึ้นไม่ได้ก็ได้

    อันนี้แหละน่าสนใจน่าสำเหนียกศึกษามากที่สุด ว่าทำอย่างไรเมื่อตาเห็นรูปแล้วรู้ว่าสวยว่างาม หรือน่ารังเกียจอย่างไร และก็หยุดเพียงเท่านั้น เมื่อหูได้ยินเสียงรู้ว่า ไพเราะ หรือรำคาญอย่างไร แล้วก็หยุดเพียงเท่านั้น เมื่อลิ้นได้ลิ้มรสรู้ว่าอร่อย หรือไม่อร่อย เปรี้ยวหวานมันเค็มอย่างไร แล้วก็หยุดเพียงเท่านั้น เมื่อจมูกได้กลิ่นหอม หรือเหม็นอย่างไร แล้วก็หยุดเพียงเท่านั้น เมื่อกายสัมผัสโผฏฐัพพะ รู้ว่าอ่อนแข็งอย่างไร แล้วก็หยุดเพียงเท่านั้น 

    ครั้นเมื่อศึกษาถึงขั้นนี้แล้ว ก็จะปรากฎเหตุอันน่าอัศจรรย์ที่เรียกว่า หัสสิตุปปาทะ คือกิริยาที่จิตยิ้มขึ้นมาเองโดยไม่มีต้นสายปลายเหตุ หาสาเหตุไม่ได้ อัน หัสสิตุปปาทะ หรือกิริยาที่จิตยิ้มขึ้นเองนี้ ย่อมไม่ปรากฎมีในสามัญชนโดยทั่วไป ดังนั้นนักปฏิบัติธรรมทั้งหลายควรกระทำไว้ในใจ ในอันที่จะสำเหนียกศึกษาทำความกระจ่างแจ้งใน อเหตุกจิต อันนี้เพื่อเป็นบรรทัดในการปฏิบัติต้องเข้าใจให้ถ่องแท้ว่า เมื่อปฏิบัติไปถึงลำดับนี้แล้ว จิตจะยิ้มขึ้นมาเอง ไม่มีการกระทำ ไม่มีการบังคับให้เกิดขึ้น ย่อมเป็นไปเองโดยไม่รู้ตัว

     อนึ่งเมื่อปฏิบัติตามหลัก จิตเห็นจิต อันมีการ หยุดคิด หยุดนึก เป็นลักษณะ ถ้าใช้ปัญญาอันยิ่งสอดส่องสำรวจตรวจตาดูทวารทั้ง 5 เหล่านี้ เพื่อจะหาวิธีป้องกันการที่จิตจะแล่นไปหาเรื่องใส่ตัวในภายนอก ก็จะเห็นและเข้าใจได้ว่าเป็นธรรมดาอยู่เองที่คนเราจำเป็นต้องใช้ทวารทั้ง 5 นั้นกระทำการอันสัมพันธ์กับภายนอก

    เมื่อพิจารณาให้ถี่ถ้วนยิ่งขึ้นก็จะได้อุบายอันแยบคายว่าในขณะที่เกิดสัมพันธภาพกับภายนอก จิตก็ควรกำหนดให้อยู่ในจิต เมื่อเห็นก็กำหนดให้รู้เท่าทันว่าเห็น แต่ไม่ถึงกับต้องรำพึงรำพันออกมาว่า เห็นแล้วนะ เห็นแล้วหนอ อะไรดอกเพราะขณะจิตหนึ่งๆ นั้น มันไม่กินเวลาอะไร เมื่อรู้เท่าทันแล้วก็ไม่ต้องไปรำพึงรำพันเป็นการปรุงแต่งเพิ่มอีก

    ในการกำหนดให้รู้เท่าทันนั้น อย่าได้ถูกลวงด้วยสัญญาแห่งภาษาคนภาษาโลก ดังเช่นการรู้เท่าทันคนที่จะมาหลอกเราเป็นต้น การรู้เท่าทันอารมณ์ในภาษาธรรมนั้น หมายความว่า ความรู้จะต้องทันๆ กัน กับการรับอารมณ์ของทวารทั้ง 5 เช่น จะต้องมีสติรู้อยู่อย่างเต็มสมบูรณ์ มีความรู้ตัวพร้อมอยู่ตลอดเวลา โดยไม่จำเป็นต้องรู้อะไร เมื่อเป็นเช่นนี้ ทุกข์อันอาศัยปัจจัยคือการเห็นเป็นต้นนั้นย่อมไม่เกิด และเราก็จะมองอะไรอย่างอิสระเสรี โดยที่รูปหรือสิ่งที่เรามองเห็น ไม่อาจมีอิทธิพลอันใดเหนือเราเลยแม้แต่น้อย

    ปัญจทวาราวัชชนจิต หรือ กิริยาจิต ที่แล่นอยู่ตามทวารทั้ง 5 ย่อมสัมพันธ์กับมโนทวาร ในมโนทวารนั้นมี มโนทวาราวัชชจิต อันเป็นจิตที่แฝงอยู่ มีหน้าที่คิดนึกต่างๆ สนองตอบอารมณ์ที่มากระทบเป็นธรรมดา ดังนั้นในทางปฏิบัติ จะให้หยุดคิด หยุดนึกทุกกรณีไปไม่ได้ แต่ก็ด้วยอาศัยอุบายวิธีการดังกล่าวแล้วนี้แหละ เมื่อจิตตริตรองนึกคิดอันใดออกมา เมื่อรู้ความรู้พร้อมทันๆ กันกับการรับอารมณ์ดังนี้แล้ว ปัญญาที่รู้เท่าเอาทันย่อมตัดวัฏจักรให้ขาดออกจากกัน ไม่อาจเกิดสืบเนื่องหมุนเวียนต่อไปได้ กล่าวคือ การก่อรูปก่อร่างต่อไปของจิต ย่อมไม่อาจเกิดขึ้นและความไม่ยึดมั่นถือมั่นก็มีอยู่เองโดยไม่ต้องมีอาการลวงๆ ว่าไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรเลย ความไม่ยึดมั่นถือมั่นนั้นก็เป็นเพียงแต่ชื่อ นำมาใช้เรียกขานกันให้รู้เรื่องเมื่อวัฎฎะ มันขาดไปเท่านั้น

    โดยนัยนี้จึงน่าศึกษาให้เข้าใจในอันที่จะกำหนดรู้อย่างไรจึงจะถูกต้อง เมื่อจิตกระทบเข้ากับอารมณ์ภายนอกอย่างไรก็ให้หยุดอย่างนั้น อย่าไปทะเลาะวิวาทโต้แย้ง อย่าไปเอออวยเห็นดีเห็นงาม ให้จิตได้มีโอกาสก่อรูปก่อร่างเป็นตุเป็นตะเป็นเรื่องยืดยาวต่อไป อย่าไปวิพากษ์วิจารณ์ต่อ พอกันเพียงรู้อารมณ์เท่านี้ หยุดกันเพียงเท่านี้

     

     สายธาร ศรัทธาธรรม .พระเถระผู้มีวาทะบริบูรณ์ อาจารย์ ตูลย์ อตุโล.--พิมพ์ครั้งที่ 1.--กรุงเทพฯ : สร้อยทอง,2540.

    คำสำคัญ (Tags): #โคลงโลกนิติ
    หมายเลขบันทึก: 171136เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2008 12:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 19:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (18)

    สวัสดีเจ้าค่ะ พี่กวิน

             แอะๆๆๆๆ  เอามาจากครูพรรณาอ่ะ คิคิ....แวะมาเป็นกำลังใจให้เด้อ คิคิ

             รักษาสุขภาพด้วยเจ้าค่ะ ------> น้องจิ ^_^..(เดี๋ยวจะฟ้อง)

    • หวัดดีน้อง จิ รักษาสุขภาพเช่นเดียวกันนะครับ

    %e0%b8%9e%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%81%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%99 

              สวยอ่ะเปล่า 5555++ เอิกๆๆ

    สวัสดีครับ

    นึกถึง ขนมจีนน้ำเงี้ยว ครับ

     

    สวัสดีครับอาจารย์ ธ.วั ช ชั ย อืมทำไมเรียกขนมจีนน้ำเงี้ยวก็ไม่รู้นะครับ

    มาเยี่ยม...

    ยูง...ผู้ปฏิบัติธรรมสูงแต่หลงกลกามคุณ

    ทราย..ผู้มีปัญญา..แต่ไร้แวว..

    ลิง...ผู้มีสติ...แต่มีชั่วขณะ...

    ทั้งหมดเลยตกอยู่ในวังวนวัฏฏะ...ฮา ๆ เอิก ๆ

    โอ จริงครับอาจารย์มองได้ลุ่มลึกครับ ขอบพระคุณมากๆครับ เหมือนแหวกม่านมองเห็นตะวัน ขอบคุณครับๆๆ นับถือๆๆๆๆ

    สวัสดีค่ะ

    - แวะมาดูนกยูง..ทราย..ลิง...และลูกหว้า...วิเคราะห์แจ่ม

    - คุณ อุทัย...สรุปดีค่ะ

    - เข้ากันกับ....ในนิทานขี้เมาเล่าว่าที่ว่าลิงไม่กล้าลงน้ำเพราะกลัวจระเข้..กินหัวใจ..จากเรื่องหลอกกินหัวใจลิง....ลิงเห็นลูกหว้า...ความอยากชั่วขณะ...ทำให้สติแตก....

    - ผลไม้อื่นมีกินมากมาย......แต่ที่ล่อตาล่อใจอยู่ตรงหน้านี่ซิ...มันเด็ดนัก

    • สวัสดีครับอาจารย์ อุทัย ขอยก ข้อคิดเห็น ของอาจารย์  ไปแปะไว้ในบทความเลยนะครับ   อิ ๆ ก็มันสั้นอ่านแลวเข้าใจปั๊บ
    • สวัสดีครับอาจารย์พรรณา ของล่อตาล่อใจ ไม่รีบคว้าเดี๋ยวหมาคาบไปแด๊กนะครับ แต่ก่อนจะคว้าต้องดูตาม้าตาเรือ ไม้งั้นเดี๋ยวโดนรุกฆาต ครับ

    สวัสดีค่ะ

    - คำตอบของคุณ..เป็นห่วงโซ่อาหารจ้า......

    - ว่าแต่คุณกวิน...จับล่อตาล่อใจ...ใส่กรงไว้ดีหรือเปล้า????......

    ขอบคุณครับอาจารย์พรรณา ที่เสนอแนวคิดวิเคราะห์ที่ว่า โคลงบทนี้ สะท้อนเรื่องห่วงโซ่อาหาร อืมใช่เลยครับ ...ล่อตาล่อใจ...ผมจะจับใส่กรง แต่ตอนนี้บินหนีไปแล้วครับ พูดถึงแล้ว depress

    สวัสดีค่ะ

    - บินหนีไป...ก็เรียกกลับมาได้...ใช้วิธีต่อนกที่ไม่ใช่นกเราไงคะ

    - สาเหตุที่บินหนีไป....ให้ข้าวให้น้ำไม่ดี...ไม่ดูแล...ดูแลดีแต่บังคับใจสตรีไม่ได้...๕๕๕๕๕

    อาจารย์พรรณา ครับ จะว่าๆ นกไร้ไม้โหด ใช่มะครับ แงๆๆๆๆๆๆๆ

    \\(^o^)//

    สวัสดีค่ะแวะเข้ามาชมค่ะ

    เห็นตัวอย่างความปึกตามๆกัน ... จากโคลงที่คุณกวินได้ยกมา

    สวัสดีครับคุณ ณัฐธิดา

    ว่าโดยสรุป โคลงน้ำเคี้ยวยูงว่าเงี้ยว ยูงตาม นี้สอนเรื่อง ปัญจทวาราวัชชนจิต

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท