สายน้ำเซ สายน้ำของ มองแบบใช้ ดวงตาที่สาม


 




สายน้ำเซ 

ยามเมื่อแลงลงแล้ว แลล่ำลำเซ
เห็นเป็นโงเงคด ป่องทางเทียวน้ำ
แนมล่องลำเซกว้าง กางวังใสส่อง
ลมไล่ฟองเฟือดน้ำ แนมแล้วเล่าซะออน
มีทั้งคอนทั้งแก้ง หินโง่นงามตา
ฝูงหมู่ปาล่องลอย เลียบ นทีเทียวน้ำ
เสียงสาวลำเลาะน้ำ หาควายแคมฝั่ง
ควายหลั่งลงแมบน้ำ นอนซ้องแซ่เย็น
เซหากเป็นแปวน้ำ ไหลผ่าลงมา
ผ่าท่งนาโนนภู ผ่านกายกางบ้าน
บางด่านกายพากพื้น ภูเพียงไกแก่ว
น้ำหากใสเกิ่งแก้ว กินใช้สะอาดดี


จากหนังสือ "หัดอ่านชั้น ป.3" กะซวงสึกสา ส.ป.ป.ลาว หน้า 110 (1)


ลักษณะคำประพันธ์ เป็นร่าย วรรคสุดท้าย จบด้วยโคลงสอง



ลำน้ำเซบายเป็นแม่น้ำสายเล็ก ๆ เกิดจากภูเขาในเขตอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร ไหลผ่าน พื้นที่อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ อำเภอม่วงสามสิบ อำเภอเขื่องใน อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ไหลลงสู่แม่น้ำมูล มีความยาวทั้งหมด 230 กิโลเมตรบางปี มีปริมาณฝนตกน้อย บางแห่งสามารถเดินข้ามได้ และพบเกาะแก่งหิน ตามที่ต่าง ๆ มากมาย เป็นช่วง ๆ ต่อมาทางราชการ โดยกรมชลประทาน ช่วงระหว่างปีพ.ศ. 2545-2548 จึงได้ก่อสร้างฝายกั้น ลำน้ำเซบาย 2 แห่ง คือบริเวณบ้านสร้างถ่อน้อย อำเภอหัวตะพาน และบริเวณบ้านวังถ้ำ อำเภอเขื่องใน ทำให้พื้นที่ลำน้ำ เหนือเขื่อนมีบริมาณน้ำสูงขึ้น ตลอดปี เกาะแก่งต่าง ๆ ที่พบ ก็ไม่มีให้เห็น ยกเว้นที่แก่งเจริญ ทางตอนใต้ของฝายวังถ้ำ ในหน้าแล้งก็จะยังมีเหมือนเดิม (2)

 

หลังจากอ่าน ร่ายสายน้ำเซ ผู้เขียนมีความซาบซึ้งใจในระดับหนึ่ง แต่ก็รู้ได้ทันทีว่ากวีใช้ จักษุธรรมดาในการมองภาพ ลำน้ำเซ หาได้ใช้ มโนมยจักษุ   ในการมองไม่ ผู้อ่านคงจะนึกในใจว่า แล้วอย่างไรจึงจะเรียกว่ามองแบบใช้ มโนมยจักษุ ? คำเฉลยอยู่ด้านล่าง หากท่านผู้อ่านติดตามอ่านใน ย่อหน้าถัดๆ ไป



ของสองฝั่ง

ตลิ่งของ สองข้าง ทางน้ำของ                    แม้ยืนมอง ดู ยัง คอตั้งบ่า
เขาหาบน้ำ ตามขั้น บันไดมา-                    แต่ตีนท่า  ลื่นลู่ ดั่ง ถู เทียน
เหื่อที่กาย ไหลโลม ลงโทรมร่าง                 แต่ละย่าง ตีนยัน สั่นถึงเศียร
อันความทุกข์ มากมาย หลายเล่มเกวียน     ก็วนเวียน อยู่กับของ สองฝั่งเอย


“ นายผี ”
จากหนังสือของ วิมล พลจันทร.รำฤกถึงนายผีจากป้าลม. กรุงเทพฯ : ทะเลหญ้า, 2533. หน้า 120


น้ำของ (เป็นภาษาถิ่น) หมายถึง แม่น้ำโขง

แม่น้ำของ หรือ โขง ( ของเป็นภาษาเรียกน้ำโขงของคนท้องถิ่น) เป็นแม่น้ำที่มีต้นกำเนิดมาจากภูเขาจี้ฟูซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัยบนที่ราบสูงธิเบต เขตจังหวัดหยู่ซู่ มลฑลฉิงไห่ ประเทศจีน โดยมีแม่น้ำจาคูและแม่น้ำอาคูไหลมารวมกัน คนจีนทั่วไปเรียก “ แม่น้ำหลานซาง ” ซึ่งมีความหมายว่า แม่น้ำที่ไหลเชี่ยวกราก แต่คนชนชาติลื้อในแคว้นสิบสองพันนาหรือสิบสองปันนาเรียกแม่น้ำสายนี้ว่าแม่น้ำ “ล้านช้าง” แม่น้ำของไหลผ่าน 6 ประเทศ คือ จีน พม่า ลาว ไทย เวียตนาม กัมพูชาและไหลออกสู่ทะเลจีนใต้ที่เวียตนาม มีความยาวทั้งสิ้น 4,909 กิโลเมตร มีความยาวเป็นอันดับ 10 ของโลก มีจำนวนพันธุ์ปลาที่สำรวจพบ 1,245 ชนิด มีพื้นที่ชุ่มน้ำ 795,000 ตารางกิโลเมตร แม่น้ำของตอนบนจะได้รับน้ำจากการละลายของหิมะเป็นส่วนใหญ่ ส่วนตอนล่างได้รับน้ำจากเทือกเขาต่าง ๆ ที่ไหลลงสู่แม่น้ำสาขาของแม่น้ำของ บริเวณประเทศไทยที่แม่น้ำสายนี้ไหลผ่านมีแม่น้ำสาขาที่ไหลลงสู่แม่น้ำสายนี้ดังนี้ ในภาคเหนือของไทยมีแม่น้ำกก แม่น้ำอิง ในภาคอีสานมีแม่น้ำมูน และแม่น้ำสงคาม ในลาวมี แม่น้ำยอน แม่น้ำงาว แม่น้ำงึม แม่น้ำเทิน แม่น้ำเซกอง ในกัมพูชามีโตนเลสาป หรือทะเลสาบเขมร ซึ่งต้นน้ำส่วนหนึ่งต่อเนื่องมาจากเทือกเขาสอยดาวฝั่งตะวันออกของจังหวัดจันทบุรี และในเวียตนามมีแม่น้ำเซซานสำหรับผู้คนที่อาศัยอยู่ตามริมฝั่งแม่น้ำของ แม่น้ำสายนี้เปรียบเหมือนเส้นเลือดหลักที่หล่อเลี้ยงชีวิตของพวกเขา ประชาชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากกว่า 60 ล้านคน มีชีวิตผูกพันธุ์อยู่กับแม่น้ำสายนี้ซึ่งเป็นทั้งแหล่งอาหาร เป็นแหล่งน้ำที่ใช้ทำการเกษตร การเดินทาง การขนส่ง ตลอดจนใช้ดื่มกิน และสันทนาการ (3)



ข้าพเจ้าติดใจตรงที่นายผีใช้คำว่า ตีน คู่กับ เศียร ซึ่งถือเป็น ภัคครีติโทษ (จำคำของ ดร.ล้อม เพ็งแก้ว มาใช้) เพราะ ตีน ต้อง ใช้คำที่ระดับเดียวกันคือ หัว จึงจะถือเป็นคำที่เสมอกัน

โบราณราชกวีมักไม่นิยมใช้คำต่างศักดิ์ (คือใช้คำไม่เสมอกัน เช่นพูดว่า มึงแต่งตัวสวยจังครับ ฟังแล้วย่อม แสลงหูเป็นที่สุด ที่ถูกควรพูดว่า คุณแต่งตัวสวยจังครับ)

แต่เมื่อดูภาพรวมแล้ว บทกวีบทนี้ไพเราะจับใจเหลือเกิน ต้องถือเป็น กวียานุโลม (Poetic License) ไปโดยปริยาย

นายผี นั้นมี ดวงตาที่สาม สมชื่อ นายผี ดังโคลงที่นายผี อรรถาธิบาย ที่มาของนามปากกา นายผีโคลงบทนี้มีเจตนาเพื่อที่จะบอก หลวงบุญยมานพพาณิชย์ (ผู้ใช้นามปากกา นายสาง) ว่าชื่อนายผี ไม่ใช่ให้หมายถึง ผี ที่เป็นเพศชาย หรือ Mr. ผี)


ดังนั้นการตั้งนามปากกาว่า นายสาง ( Mr.สาง) จึงเป็นการเลียนแบบจากความเข้าใจผิด โคลงบทนั้นมีใจความว่า


นายผีใช่ภูตเพื่อ             ผลีผลาม
เพราะใช้ชื่อนายผี          ผิดแท้
คือองค์อิศวรสาม           เนตรนั่น นะพ่อ
นายพวกผีเพื่อแก้          เก่งผี



-ชื่อนายผีไม่ใช่ชื่อ ภูติผีธรรมดา (และไม่ได้เอาไว้เพื่อให้พูดผลีผลาม)
-ด้วยเหตุเพราะใช้ชื่อว่านายผี
-แต่นายผี คือชื่อ ของพระอิศวร ผู้มีสามเนตร
-พระอิศวรเป็นเจ้านายของพวกภูติผี จึงได้ชื่อว่า ภูเตศวร (ภูติ+อิศวร) นายผี มีหน้าที่ แก้เผ็ด ผี/ยักษ์ที่ เก่งๆ (ที่ไม่มีคนปราบ)


นายปวงปีศาจต้อง          ภูเต ศวรแฮ
ปีศาจบดีทวี                   ภูตไหว้
กบาลเหล่ากเล-              วรห้อย คอฮา
รุทรากษ์เล็งร้ายให้          ฉิบหาย



-นายของปวงปีศาจก็คือ ฉายา ภูเตศวร/ปีศาจบดี/ไปศาจบดี
(ปีศาจบดี=เจ้านายของภูติผี)
-ผีมากมายจึงกราบไหว้
-เพราะพระอิศวรชอบสถิต ณ ป่าช้า และเอากบาลของซากผี (กเลวร/กเฬวราก)มาห้อยคอ (โปรดอ่านหนังสือ เทวกำเนิด ของพระยาสัจจาภิรมย์ ว่าด้วยเรื่อง พระอิศวร ประกอบ)
-รุทรากษ์=รุทร(เทวดา)+อักษ(ตา) หมายถึงตาของเทวดา (คือตาที่สามของพระอิศวร) ยามลืมขึ้นเล็งแล ทุกอย่างก็จะฉิบหายวายป่วงไป



ผิเป็นผีเพื่อผู้                      บาปผละ
เป็นภาพผีฟ้าผาย               แผ่นฟ้า
ผินโกรยแก่บุณยสะ            สมบาป
คือพวกผีข้าอ้า                   อดสู


-นายผี/พระอิศวร คือผู้กำราบคนบาป (ผู้บาป) ให้ผละหนีไป
-เป็นผีฟ้า เจ้าแห่งผี ผึ่งผายอยู่บนสวรรค์ชั้นฟ้า
-ผินหลัง (โกรย ภาษาเขมร แปลว่า หลัง) ไม่สนใจในบุณยกุศล ที่คนอุทิศให้ และไม่สะสมบาป คือไม่ทำบาป

สำนวนที่ว่า กวีนั้นมีดวงตาที่สาม ข้าพเจ้า ขอใช้เรียก นายผี ( ปีศาจบดี/ภูเตศวร/ พระอิศวร/ เพราะมี สามตาพระแพร่ง แต่ไม่ได้แกว่งเพชรกล้า)


ทรรศนะเกี่ยวกับ ร่าย สายน้ำเซ และกลอน ของสองฝั่ง

เนื้อหาของ ร่าย สายน้ำเซ กวีได้บรรยายภาพ ความงดงามของลำน้ำเซว่ามีลักษณะเป็นเกาะแก่งหิน ฝูงปลาแหวกว่ายเล่นในลำน้ำ สตรีชาวลาวลงเล่นในลำน้ำเซอย่างสนุกสนาน ฝูงควายก็เช่นกัน พวกมันลงนอนแนบในน้ำอย่างสำราญใจ สายน้ำเซเกิดจากแหล่งน้ำธรรมชาติบนเทือกเขาสูง น้ำจึงใสสะอาดดี เหมาะแก่การดื่มกิน

สำหรับกลอน ของสองฝั่ง กวีได้บรรยายไว้ว่า แม่น้ำของ/โขง กว้างใหญ่ไพศาล  หากยืนอยู่ริมฝั่งแม้นยืดคอแล้วก็ยังมองไม่เห็นฝั่งตรงข้าม (คอตั้งบ่า) มีชาวบ้านหาบน้ำจากแม่น้ำของ/โขง เอาไปใช้ดื่ม ใช้กิน ตลิ่งเป็นมันวับ เหมือนกับถูด้วยเทียน (เทียนผสมน้ำมันก๊าช ใช้ขัดไม้จะทำให้เกิดความเงางาม กวีจึงเปรียบเปรย ตลิ่งแม่น้ำ ของ/โขง ว่าเป็นมันวับเหมือนกับ ถูเทียน) คนหาบน้ำ เหงื่อ/เหื่อ ไหลเต็มร่างกาย เหนื่อยยากแสนเข็ญ (คนในเมืองคงไม่ต้องลำบากถึงขนาดนี้แค่เปิดก๊อกน้ำ ก็มีน้ำใช้ในพริบตา) ความทุกข์ยากลำเค็ญเข็ญ มีอยู่มากมาย สามารถมองเห็นได้จากวิถีชีวิตของคนริมสองฝั่ง ของ/โขง  นี้

จะเห็นได้ว่ากวีสองท่าน บรรยายภาพแห่งสายน้ำและภูมิประเทศไว้ด้วยกวีนิพนธ์ ทว่ามีความแตกตางกันในเชิงความคิด เพราะเหตุใด? เหตุเพราะพื้นฐานทางความคิดของกวีบวกกับ สภาพแวดล้อมที่กวีได้ประสบพบเจอ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้กวีสะท้อนภาพที่เห็น ออกมาเป็นตัวอักษรที่แตกต่างกัน

อย่างไรก็ดี คำกล่าวที่ว่า กวีคือผู้มีดวงตาที่สาม นี้ ควรนำไว้ใช้เรียกก็แต่ กวีผู้มองเห็นความทุกข์ยากของมวลชน กวีผู้มองเห็นความลำเค็ญเข็ญของมวลชนผู้ทุกข์ยาก แล้วทำการสรรเสริญ ไม่ก็ประณามความยากไร้อยุติธรรมนั้น ด้วยบทกวี..ดวงตาที่สาม หาใช่มีไว้เพื่อมองอย่างอื่น สรรเสริญหรือประณามอย่างอื่นไม่  



(1) http://ubon.obec.go.th/school/swws/laos/laosread01.htm
(2) http://ubon.obec.go.th/school/wangtum/se-bye%20river.htm
(3) http://www.skyd.org/html/activity/khong47-shallow-1.html

คำสำคัญ (Tags): #ลำเซ#ลำโขง
หมายเลขบันทึก: 177659เขียนเมื่อ 19 เมษายน 2008 17:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

มาลงชื่อก่อนครับ ภาษาลาวคลาสสิกดี

ลงชื่ออ่านเก็บเกี่ยวความรู้ด้วยคนค่ะ

  • สวัสดีครับ คนโรงงาน 
  • สวัสดีครับคุณ กัญญา
  • ขออนุญาตแก้ไขบทความเพิมเติมในตอนท้ายนิดนึงนะครับ ผม
  • สวัสดีค่ะคุณกวิน
  • เข้ามานั่งอ่านตามหน้าที่แฟนคลับที่ดีค่ะ..อิอิอิ...
  • พยัญชนะลาวสวยนะคะ
  • ได้ความรู้เรื่อง ดวงตาที่สาม เพิ่งทราบว่า นายผี ไม่ใช่ ผี
  • แต่เป็น นายของผี หรือ พระอิศวร นั่นเอง
  • ขอบคุณค่ะสำหรับความรู้ใหม่ ๆ

สวัสดีค่ะ

ลงชื่อตามคุณพี่คนไร้รากมาติดๆ

อักษรลาวสวยจังค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ

มาอ่านเรื่องแม่น้ำลำเซ

กวีมักบรรยายถึงธรรมชาติ สุขใจทั้งคนเขียน ทั้งคนอ่าน

อากาศร้อนๆ อย่างนี้

อ่านเรื่องน้ำเย็นๆ สบายใจดีครับ

  • สวัสดีค่ะ
  • มาอ่านแล้วได้ความรู้หลายเรื่อง
  • มาบล็อกนี้แล้วได้ความรู้สึกจากเพลงที่จับใจ
  • บรรยายไม่ถูกว่าเป็นความรู้สึกแบบไหน..ประมาณรู้สึกถึงความเก่า..ความเหงา..ของทุ่งแล้งร้าง..
  • ไม่รู้สึกถึงสีทองส่องใส..เลยนะ
  • ถ้าเพลงสร้างความรู้สึกได้..ก็แสดงว่าเป็นบทเพลงและดนตรีที่ได้ทำหน้าที่สื่ออารมณ์สินะคะ
  • เข้ามาฟังหลายทีแล้ว..รู้สึกแบบนี้แหละค่ะ
  • เอ๊..หรือว่าอากาศมันร้อนนนนน...^_^
  • ระวังพระอิศวรเปิดตาที่สามนะ หลบให้ดีก็แล้วกัน! อิ..อิ..

สวัสดีค่ะคุณกวิน

ไปอ่าน http://gotoknow.org/blog/nongji/177763

ดูนะคะ น้องจิน่ารักมากมาย

  • อ่านเรื่องนี้แล้ว
  • ทำไมไม่ได้คิดถึงนายผี
  • แต่คิดถึงอาจารย์เสกสรรค์
  • อิอิๆๆ
  • คนไม่มีราก ขอบคุณครับ ที่ติดตามอ่านผมก็เพิ่งทราบไม่กี่ปีมานี้ครับ
  •  jaewjingjing  ใช่ครับ อักษรลาวสวยมากๆ พยามอ่าน ดู ก็อ่านรู้เรื่องเหมือนกันนะครับ เหมือนอักษรไทยแต่เขียหวัดๆหน่อย
  •  ธ.วั ช ชั ย  ใช่แล้วครับ เป็นคำประพันธ์ที่อ่านแล้ว เย็นใจ ไปกับสายน้ำ กวีใช้คำง่าย แต่งดงาม
  •  dd_L คงเป็นที่เสียงขลุ่ยครวญ สำเนียงเศร้าๆ เหงาๆ ในความแล้วเพราะความร้อนแห่งดวงตะวันทำให้กายใจเราอ่อนล้า เพลงบอกให้เรา  เฉิดแสงแรงฝัน กลางรวีตะวัน สีทองส่องใส
  • เพลงนี้เหมาะกับหน้าร้อนยามเมื่อเรา ต้อง (ทน)ทาน(แสง)ตะวัน
  • ใบไม้ย้อนแสง หลบที่ไหนดี..หลบที่บ้าน  ใบไม้ย้อนแสง ได้มั้ยครับ ฮา..
  • jaewjingjing ขอบคุณครับเข้าไปดูแล้วกำลังจะตอบน้องจิ ฮา..ขอบคุณครับ
  • ขจิต ฝอยทอง สวัสดีครับอาจารย์ นึกว่าอาจารย์จะนึกถึงปลาเทศบาล ที่อยู่ในบ่อปลา ...อะจึ๊ย..

ว่าจะพักแล้วเชียวนะคะ คลิกมาแล้วต้องอ่านจนจบ ตัวอักษรลาวดูนุ่มนวลอ่อนช้อยดีนะคะ

ได้ความรู้หลากหลาย

ขอบคุณค่ะที่ช่างคิด ช่างเขียนถ่ายทอดแบ่งปันความรู้เช่นนี้

แวะมาบันทึกนี้ เพิ่งเห็นว่าพี่นุชมาคอมเม้นไว้ ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมชมครับ

อ่านแล้วเพลินค่ะ ชอบโคลงกลอนมาตั้งแต่เด็กๆ มีกวีไม่มากนักที่เขียนแล้วเสียดแทงความรู้สึก อ่านแล้วเหมือนสัมผัสได้

อาจารย์แม่

เย้ ๆ ขอบคุณที่อาจารย์แม่มาเยี่ยมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท