สันนิษฐานที่มาของชื่อ กลบทถอยหลังเข้าคลอง


กลบทถอยหลังเข้าคลอง@184456  มีกฎข้อบังคับทางการประพันธ์ คือ บังคับให้กลอนตั้งแต่วรรคที่ ๒ (กลอนรับ)   ซ้ำคำถอยหลังจากวรรคแรก ทุกบาท ดังแผนผังต่อไปนี้


                                     0 0 0 0 0 0 0 0
1 2  3 4 5 6 7  8            8 7 6 5 4  3 2 1
A B C D E F G H            H G F E D C B A
ก ข ค ง จ ฉ ช ซ            ซ ช ฉ จ ง ค  ข ก

ยกตัวอย่างเช่น 

                                                                 เจ้างามสรรพสรรพางค์ดังนางสวรรค์             
โพยมแจ่มจันทร์เปรียบพอเทียบทัน                ทันเทียบพอเปรียบจันทร์แจ่มโพยม 
โฉมชะอ้อนอัปสรทรงเสมอสมร                       สมรเสมอทรงอัปสรชะอ้อนโฉม  
ฤๅทัยโทมโทรมเศร้าประเล้าประโลม               ประโลมประเล้าเศร้าโทรมโทมฤาทัย 

ถอยหลังเข้าคลอง@สัมมนาเชิงเวิร์กช็อป บทความ-สารคดี โดย  สุดสงวน : สกุลไทย ฉบับที่ 2469 ปีที่ 48 ประจำวันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ 2545

สำนวน “ถอยหลังลงคลอง” นั้น โบราณใช้เมื่อนำเรือ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นเรือขนาดเล็ก) ออกจากคลองเล็กๆ สู่แม่น้ำใหญ่ ซึ่งอาจจะมีคลื่นลมแรงจากอากาศในธรรมชาติหรือจากเรือขนาดใหญ่ที่ทำให้เกิดฟองคลื่นลูกโตๆ ที่อาจจะกระทบเรือขนาดเล็กให้ได้รับอันตราย คนใช้เรือเล็กจึงตัดสินใจถอยหลังเรือเข้าคลองดีกว่าเพื่อความปลอดภัย ในความหมายที่ว่าเมื่อเห็นว่าสถานการณ์ข้างหน้าดูจะเป็นอันตรายควรหันกลับไปทบทวนหรือตั้งต้นให้รอบคอบก่อน ไม่ควรเสี่ยงผลีผลามต่อไป

            แต่คนปัจจุบันไม่ค่อยคุ้นกับการคมนาคมสัญจรทางน้ำอย่างในสมัยโบราณ จึงนึกถึงแต่การสัญจรทางบกโดยใช้รถยนต์ ซึ่งเมื่อถอยรถยนต์อย่างไม่ระมัดระวังก็จะพลอยตกลงไปในคูหรือคลอง (ข้างถนน) ไม่ได้มีจินตนาการนึกถึง “คลอง” ในสมัยก่อนที่ในบ้านเมืองของเราใช้เป็นทางสัญจรกันเป็นประจำ

            สำนวนที่ว่า “ถอยหลังเข้าคลอง” จึงกลายเป็น “ถอยหลังลงคลอง” ไปด้วยประการฉะนี้ ซึ่งความหมายอาจจะเพี้ยนไปจากการกลับไปทบทวนให้รอบคอบเพื่อความปลอดภัยกลายเป็นถอยหลังแล้วอันตราย!

ถอยหลังลงสระ@พระเวสสันดรชาดก

 ครั้นชูชกเห็นได้เวลาแล้ว จึงมุ่งมาที่อาศรม ได้พบพระชาลีพระกัณหาทรงเล่นอยู่หน้าอาศรม ก็แกล้งขู่ ให้สองพระองค์ตกพระทัยเพื่อข่มขวัญ ไว้ก่อน แล้วชูชกพราหมณ์เฒ่าก็เข้าไปเฝ้า พระเวสสันดร กล่าว วาจากราบทูลด้วยโวหาร อ้อมค้อมลดเลี้ยว ชักแม่น้ำทั้งห้า เพื่อทูลขอ พระโอรสธิดาไปเป็นข้าช่วงใช้ ของตน

ชักแม่น้ำทั้งห้า@
166228

ชูชก นำแม่น้ำทั้งห้า สายในอินเดีย ได้แก่ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู และ มหิ มาเปรียบกับน้ำพระทัยของพระเวชสันดร ว่า แม่น้ำทั้งห้าสายของประเทศอินเดีย แผ่สาขาเป็นประโยชน์แก่ฝูงชนฉันใด น้ำพระทัยของพระเวสสันดรก็ฉันนั้น

พระเวสสันดรทรงมีพระทัยยินดีที่จะทรง กระทำบุตรทาน คือการบริจาคบุตรเป็นทาน อันหมายถึงว่า พระองค์เป็นผู้สละกิเลส ความหวงแหนในทรัพย์สมบัติทั้งปวง แม้กระทั่งบุคคลอันเป็นที่รัก ก็สามารถสละ เป็นทานเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นได้ แต่พระองค์ทรงผัดผ่อนต่อชูชกว่า ขอให้ พระนางมัทรีกลับมาจากป่า ได้ร่ำลาโอรสธิดา เสียก่อนชูชกก็ไม่ ยินยอม กลับทูลว่า "หากพระนางกลับมา สัญชาตญาณแห่งมารดา ย่อมจะทำให้พระนางหวงแหนห่วงใย พระโอรสธิดา ย่อมจะไม่ทรงให้พระโอรส ธิดาพรากจากไปได้ หากพระองค์ทรง ปรารถนาจะบำเพ็ญทานจริง ก็โปรดยก ให้หม่อมฉันเสียแต่บัดนี้เถิด"

พระเวสสันดรจนพระทัยจึงตรัสเรียกหา พระโอรสธิดา แต่พระชาลีและพระกัณหาซึ่งแอบฟัง ความอยู่ใกล้ๆ ได้ ทราบว่า พระบิดาจะยกตน ให้แก่ชูชก ก็ทรงหวาดกลัว จึงพากันไปหลบ ซ่อน โดยเดินถอยหลังลงสู่สระบัว เอาใบบัว บังเศียรไว้ ชูชกเห็นสองกุมารหายไป จึงทูล ประชดประชันพระเวสสันดรว่า ไม่เต็ม พระทัย บริจาคจริง ทรงให้สัญญาณสอง กุมารหนีไปซ่อนตัวเสียที่อื่น พระเวสสันดร จึงทรงต้องออกมาตามหาพระชาลีกัณหา ครั้นทอดพระเนตรเห็นรอยเท้าเดินขึ้นมา จากสระ จึงตรัสเรียกพระโอรสธิดาว่า "ชาลีกัณหา เจ้าจงขึ้นมาหาพ่อเถิด หากเจ้า นิ่งเฉยอยู่ พราหมณ์เฒ่าก็จะเยาะเย้ยว่าพ่อนี้ ไร้วาจาสัตย์ พ่อตั้งใจจะบำเพ็ญทานบารมี เพื่อสละละกิเลสให้บรรลุพระโพธิญาณ จะได้เป็นที่พึ่งแก่สัตว์โลกทั้งหลาย ในภาย ภาคหน้า ให้พ้นจากทุกข์แห่งการเวียนว่าย ตายเกิด เจ้าจงมาช่วยพ่อประกอบการบุญ เพื่อบรรลุ ผล คือ พระโพธิญาณนั้นเถิด" ทั้งสองกุมารทรงได้ยินพระบิดาตรัสเรียก ก็ทรงรำลึกได้ถึงหน้าที่ของบุตรที่ดี ที่ถึง เชื่อฟังบิดามารดา รำลึกได้ถึงความ พากเพียรของพระบิดาที่จะประกอบ บารมีเพื่อความหลุดพ้นจากกิเลส ทั้งยังรำลึกถึง ขัตติยมานะว่าทรงเป็น โอรสธิดากษัตริย์ ไม่สมควรจะหวาดกลัว ต่อสิ่งใด จึงเสด็จขึ้นมาจากสระบัว พระบิดาก็จูงทั้งสองพระองค์มาทรงบริจาค เป็นทานแก่ชูชก

 วิเคราะห์
การพระชาลี และพระกัณหา ทรงเดินถอยหลังลงสระก็เพื่อหวังลวงให้ผู้พบเห็นรอยเท้าสำคัญผิดว่าเป็นรอยเท้าที่พึ่งขึ้นมาจากสระ นั่นเอง แต่การกระทำเช่นนี้ก็มิสามารถตบตาพระเวสสันดรผู้เป็นพระราชบิดาได้

สันนิษฐานที่มาของชื่อ กลบทถอยหลังเข้าคลอง

เนื่องจากกลบทถอยหลังเข้าคลอง บังคับให้กลอนตั้งแต่วรรคที่ ๒ (กลอนรับ)   ซ้ำคำถอยหลังจากวรรคแรก ทุกบาท ดังนั้นกวีผู้ที่จะนิพนธ์ กลบทถอยหลังเข้าคลอง จึงต้องใช้การพินิจพิเคราะห์ เลือกสรรอักขระ และเนื้อให้ สอดรับกัน อย่างละเอียดถี่ถ้วน จึงสอดคล้องกับสำนวน ถอยหลังเข้าคลอง ที่ว่า ทบทวนหรือตั้งต้นให้รอบคอบก่อน ไม่ควรเสี่ยงผลีผลาม(แต่ง)ต่อไป

อีกทั้งพฤติกรรมความเฉลียวฉลาดของพระชาลีและพระกัณหา ในพระเวสสันดรชาดก ที่ทำกลอุบายหวังหลอกพระราชบิดา โดยทรงเดินถอยหลังลงสระนี้ ก็ถือเป็นพฤติกรรมที่ควรได้รับการยกย่องถึงความเฉลียวฉลาด (รู้หลบเป็นปีกรู้หลีกเป็นหาง ฮา) ต่อมาพฤติกรรมการถอยหลังลงสระ นี้อาจถูกนำมาใช้เรียกขาน กลบทถอยหลังเข้าคลอง ซึ่งเป็นกลบทที่ต้องอาศัยความเฉลียวฉลาดในการแต่ง  ก็เป็นไปได้


บทส่งท้าย


วราภรณ์ ธรรมทิพย์สกุล ได้อรรถาธิบายเกี่ยวกับสำนวน "ถอยหลังเข้าคลอง" ว่า เป็นตัวอย่างของความเปลี่ยนแปลงด้านสำนวนซึ่งเปลี่ยนไปยุคสมัยและกาลเวลา  ยังมีสำนวนที่เปลี่ยนแปลงถ้อยคำแต่ความหมายเดิมอื่น ๆ เช่น

ล่มหัวจมท้าย  เป็น  ร่วมหัวจมท้าย
ขนมพอสมน้ำยา เป็น  ขนมผสมน้ำยา
กลิ้งครกขึ้นภูเขา  เป็น เข็นครกขึ้นภูเขา

ในส่วนของสำนวนที่เปลี่ยนแปลงด้านความหมายที่น่าสนใจ เช่น

ปากหอยปากปู   เดิม  มีปากแต่พูดไม่ได้  ใหม่  ชอบนินทา
เทครัว เดิม  กวาดต้อนเชลยศึก ปัจจุบัน  เอาเป็นภรรยาทั้งแม่และลูก

หมายเลขบันทึก: 184579เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2008 16:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 20:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

เพลงทานตะวันเพราะมาก  ได้ถอยหลังลง/เข้าคลอง

  • สวัสดีครับท่าน ผอ.ประจักษ์
  • ขอบคุณครับที่แวะมาอ่าน
  • กำลังแก้ๆ เกลาๆ บทสรุปท้ายๆอยู่ครับ

สวัสดีครับ น้องกวิน

  • แวะมาเยี่ยมครับมาอ่านบันทึก
  • รักษาสุขภาพด้วยครับ

ผมไม่เคยเห็นเลยว่ามีลูกเล่นของบทกลอน

ที่สร้างความกดดันให้ผู้เขียน(แหะๆอันนี้คิดเอาเอง)

และสร้างความไพเราะให้ผู้ฟังผู้อ่านได้มากขนาดนี้้

ขอบคุณที่นำความรู้มาให้ครับ จะลองเขียนดูครับ

                         รพี

 

 

กวีระดับ ด๊อกเตอร์แน่ๆ

สวัสดีค่ะคุณกวิน

อืม...เคยได้ยิน แต่ไม่เคยรู้เกณฑ์ หรือลืมไปแล้วไม่รู้นะคะ

รู้แต่ว่า...สลับซับซ้อน ไพเราะดี

บ้านเมืองและวิถีชีวิตในยุคนั้นคงไม่ต้องแข่งขัน ฟาดฟันกัน

กวีในยุคนั้นคงมีเวลาที่จะคิดประดิษฐ์คำและมีสุนทรีย์มากกว่าผู้คนในยุคนี้มากมาย

ขอบคุณค่ะ

  • ตามคุณแจ๋วมาอ่านค่ะ เรื่องราวสนุกและสอนใจค่ะ
  • ส่วนกลบทถอยหลังเข้าคลองนั้นผู้ประพันธ์คงต้องมีความสามารถมากนะคะ จึงจะแต่งได้อย่างไพเราะและได้อรรถรสที่ดีค่ะ
  • สวัสดีครับคุณพี่ ครูโย่ง ขอบคุณครับ
  • สวัสดีครับคุณ มะขามอ่อน/ครูมิม ขอบคุณครับ
  • สวัสดีครับคุณพี่  รพี  ลองแต่งดูนะครับ จะรออ่านครับกระผม
  • สวัสดีครับคุณพี่  คนโรงงาน แฮ่ะๆ ใช่ครับผมก็ว่างั้น
  • สวัสดีครับคุณ jaewjingjing ก็คิดว่าอย่างนั้นน่ะครับคุณแจ๋ว แต่ สำหรับ ร.3 ตามประวัติท่านเป็นพระมหากษัตริย์ ที่ทรงงานหนัก แม้แต่ในยามฝนตกท่านก็ออกว่าราชการ ในความคิดเห็นส่วนตัวคิดว่าการแต่งกลอน ก็ถือเป็นการ ผ่อนคลาย ในยามเครียดๆ ได้เหมือนกันนะครับ 
  • สวัสดีครับคุณ  คนไม่มีราก ใช่แล้วครับกระผมสมัย ร.3 ก็ถือเป็นยุคทองแห่ง โคลงกลอน นะครับ เพราะพระเจ้าแผ่นดินทรง รวบรวมนักปราชญช์ราชบัณฑิต แต่ง โคลงโลกนิติ แต่ง กลอนกลบท ฯลฯ แล้วให้จารึกไว้ที่วัดโพธิ์ เป็นเรื่องที่คนรุ่นหลังควรศึกษาทำความเข้าใจแนวคิดของคนโบราณ ที่ฝงไว้ใน โคลงกลอน นะครับกระผม

มาเยี่ยม...

ชม...กลอนดี...ที่นี่เอย ฮิ ฮิ ฮิ

  • สวัสดีครับท่านอาจารย์ umi ขอบพระคุณครับ

เขียนยากจังอยากบอกว่า ...... เจ้าเกิดมาบุญมากล้นคนเนาว์โลก

หนอสุขกับโศกพ้นเศร้าเขลาไฉน ไฉนเขลาเศร้าพ้นโศกกับสุขหนอ

ความเพียงพอถวิลหาจนตาคลอ คลอตาจนถวิลหาพอเพียงความ

ฤา.. ฤทัยงาม ความดีอาจติดตาม ตามติดอาจความดีงามฤทัย..ฤา

......ถอยหลังลงคลองตกน้ำป๋อมแป๋ม....

  • สวัสดีครับคุณพี่ nussa-udon ขอเรียกพี่นะครับ เพราะผมเพิ่งอายุ 27 เกิด 2524
  • เอ่อ เดินธรรมดาก็ได้ครับ เดินถอยหลังเดี๋ยวหกล้ม นะครับ
  • ขอบคุณสำหรับกลอนเพราะๆ นะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท