โคลงโลกนิติ สำนวนเก่า : ทำ วัยวัยวัยวัย? (ทำวัยๆๆ) วัยๆๆ ที่ควรทำ


โคลงโลกนิติ สำนวนเก่า : โคลงดั้นมหาสินธุมาลี ซึ่งมีลักษณะเป็นโคลงจัตวาทัณฑี 


วัยหนึ่งไป่เรียนรู้     วิทยา
วัยสองไป่หาทรัพย์ สิ่งแก้ว
วัยสามไป่รักษา     ศีลสืบ บุญนา
วัยสี่เกินแก่แล้ว      ก่อสร้างสิ่งใด

โคลงโลกนิติสำนวนเก่านี้ วิเคราะห์แล้ว ถือเป็นโคลงประเภท โคลงดั้นมหาสินธุมาลี เพราะไม่เคร่งครัดในข้อบังคับ เอกโท ให้ท่านผู้อ่านสังเกตที่ ตัวอักษรสีน้ำเงิน ในโคลง ซึ่ง ตามฉันทลักษณ์โคลงบังคับให้ใช้คำ เสียงเอก แต่กวีผู้ประพันธ์ ใช้คำว่าเรียน (เสียงสามัญ) และคำว่า สอง (เสียงจัตวา) ในที่ๆ ต้องใช้ เสียงเอก  โคลงที่ไม่เน้นเรื่องเอกโท ตรงตามลักษณะเช่นนี้ ร.6 ท่านทรงเรียกว่า โคลง มหาสินธุมาลี แปลว่าโคลงที่มีลีลา(น้ำเสียง)เหมือนกับการไหลที่เป็นระเบียบของแม่น้ำสายใหญ่ อนึ่ง นอกจากนี้แล้วโคลงบทนี้ยัง มีลักษณะเป็นโคลง จัตวาทัณฑี อีกด้วย เพราะในบรรทัดที่สอง (บาท สอง) ของวรรคแรก ใช้คำพยางค์ที่ 4 (หา) รับสัมผัสกับ คำในพยางค์ที่ 2 วรรคที่ 2 ของบรรทัดที่ 1 (บาทที่ 1) (ยา) นั่นเอง

เนื้อหาของโคลง :

ผู้เขียนตีความได้ว่า ผู้ประพันธ์แบ่งช่วงชีวิตคนไว้เป็น 4 ช่วง อันได้แก่ วัยหนึ่ง วัยสอง วัยสาม วัยสี่ ถ้าอายุคนเราโดยเฉลี่ย อยู่ที่ประมาณ 80 ปี เมื่อหารด้วย 4 เราก็จะสามารถแบ่งช่วงชีวิตคน ได้ตรงตามโคลงโลกนิติ สำนวนเก่า ได้ดังนี้

อายุ   1-20 ปี (วัยหนึ่ง:หาความรู้)
อายุ 21-40 ปี (วัยสอง:หาเงิน หาคู่/หาสิ่งแก้วไว้กับตน)
อายุ 41-60 ปี (วัยสาม:หาศีลธรรมบุญกุศล)
อายุ 61-80 ปี (วัยสี่:หายนะ และรอวันตาย)

โคลงโลกนิติสำนวนเก่าบทนี้ ถอดความได้ว่า เมื่อยังเป็นเด็ก (วัยหนึ่ง) หากไม่รู้จักแสวงหาความรู้ใส่ตน กระทั่งเติบโตขึ้น (วัยสอง) ก็ยังไม่รู้จักแสวงหา ทรัพย์สมบัติ และคู่ครอง (หา) สิ่งแก้ว อันได้แก่ ผัวแก้ว เมียแก้ว ทว่าควรหา แต่ไม่ควรสะสม แก้ว ไว้หลายๆ ใบ เพราะหากมีแก้วหลายใบไว้กรึ้บ จะทำให้เมามัว จนโงหัวไม่ขึ้น อาโกว์ ชื่อ เล้ง (โกวเล้ง) กล่าวไว้ว่า  "ข้าพเจ้ามิได้ชมชอบสุรา แต่ชมชอบบรรยากาศในวงสุรา บัดนี้ เมื่อไม่มีเพื่อนร่วมดื่มที่รู้ใจ  ก็มีค่าเท่ากล้ำกลืนน้ำเปล่าจืดจาง"  อาโกวเล้ง แกพูดทำนองของคนเมาที่ว่า ไม่ได้กินเหล้า แต่กินบรรยากาศโว้ย หรือถ้าให้พูดกลับกันหน่อย ก็คือ แม้นไม่มีเหล้า กินน้ำเปล่าๆ ก็เมาได้โว้ย จะเห็นได้ว่า วัยสองนี้เป็น วัยที่หาแก้ว (เหล้า) เอาไว้มอมเมาตัวเอง พอหายเมาแล้ว ก็น่าจะเริ่มคิดได้ (ถ้าไม่เป็นตับแข็งตายเสียก่อน) พอสร่างเมาแล้ว ก็ย่อมจะเริ่มเห็นพิษ เห็นภัยของ แก้วเหล้า แต่ถ้ามีใครลองทะลึ่งถามว่า จำเหตุการณ์ในตอนที่ท่านเมาได้มั้ย คนเมาหลายคนก็คงจะส่ายหัว แล้วบอก เหมือนๆ กันว่า จำไม่ได้อ่ะ (ก็ตอนที่เมาเละเทะ ใครจะไปอยากจำ หรือให้จำอะไร ได้อย่างไร) ต้องถามคนที่ไม่เมา ว่า เขาเห็นท่านเมื่อตอนเมา แล้วเขารู้สึกอย่างไร ชื่มชม หรือสมเพช ถ้าคนเมาผู้นั้นไม่ใช่ญาติโกโหติกาของเรา เราก็คงจะเฉยๆ ไม่ก็รู้สึกสมเพชเวทนาอยู่ลึกๆ แล้วก็เดินผ่านไป  แต่ถ้าคนเมาคนนั้นเป็นญาติพี่น้องของเรา เราคงอาย และเราคงอยากให้เขาเลิกกินเหล้าเมายา และอยากให้เขาสร่างเมาไวๆ (แนะว่าควรปลูกต้นลางจืดเอาไว้แก้เมา) สรุปก็คือ วัยสองพอหาเงินได้แล้ว ก็มักจะเมา เพราะเอาเงินที่หามาได้ไปซื้อ (สิ่ง)แก้ว (สิ่ง)เหล้า เพื่อมอมเมาตัวเอง

แต่พอเริ่มแก่ตัว คนเมาบางคนอาจจะเริ่ม ตะหนักรู้ และเริ่มกลัวว่าจะ ตกนรก ตกกระทะทองแดง โดนหอกแหลมแทง ทุกวัน ทุกวัน คนแก่ส่วนใหญ่จึงเริ่มเข้าวัด ฟังเทศน์ ฟังธรรม แต่การเข้าวัดตอนแก่ หูตา ย่อมฝ้า ย่อมฟาง มอง หรือฟัง พระเทศน์ ก็ย่อมที่จะ ได้มอง ได้ยิน ไม่ค่อยถนัดถนี่นัก ฉะนั้น อย่ารอให้แก่ ให้เฒ่า แล้วจึงค่อยหันหน้าเข้าวัดกันเลยนะท่าน ควรเข้าวัดกันตั้งแต่ Yongหนุ่ม Yongสาว
เพราะหูตา นั้นยังไม่ฝ้า ไม่ฟาง สังขารยังเอื้อ ยังอำนวย วัยที่คนเริ่ม เฒ่าชแร แก่ชรา นี้ คนโบราณท่านเรียกว่า วัยสาม 

พอถึงวัยสี่ อายุ 61-80 ปี วัยนี้จะให้ไปหาความรู้ ก็หาได้ยากเพราะเริ่มหลงๆ ลืมๆ ท่องจำอะไรก็ท่อง ก็จำได้ไม่เหมือนเมื่อตอนที่ยังหนุ่มๆ สาวๆ ครั้นจะให้ไป แสวงหาเงิน แสวงหาทอง แสวงหาเมีย แสวงหาผัว นั้นก็ย่อมที่จะแสวงหาได้ยาก เพราะสังขารไม่เอื้ออำนวย หรือหาได้แล้วก็ไม่แน่ว่าจะมีเรี่ยว มีแรงในการใช้เงิน ใช้ทอง ใช้ผัว ใช้เมีย (ใช้สิ่งแก้ว สิ่งเหล้า) นั้นหรือไม่? ฉะนั้นคนโบราณท่านจึงแต่งโคลงโลกนิติ (สำนวนเก่า) นี้ ไว้เพื่อสั่งสอนอนุชนรุ่นหลัง ว่า ให้หัดมองสังขารร่างกายว่าเป็นของไม่เที่ยงหนอ เมื่อมีเกิด ก็มีแก่ มีเจ็บ มีตายหนอ ควรใช้ชีวิต ให้คุ้มค่าหนอ ใช้ชีวิตให้ถูกทำนองคลองธรรมหนอ (ดังเช่นที่คนโบราณท่านแบ่ง วัย เอาไว้ 4 วัย ดังที่ได้กล่าวมา) เอวังก็มีด้วยประการะฉะนี้

หมายเลขบันทึก: 204001เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2008 12:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 23:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดีค่ะ

* มาอ่านโคลงโลกนิติ(สำนวนเก่า)

* ขอคารวะ ๑ จอก (เปล่า)

* อิอิ

สวัสดีครับอาจารย์ นึกถึง กลอน หนทางหอยทาก ของลุงเนาว์ ที่ว่า
ในหญ้ารกนั้นมีทาง                    เปลี่ยวอ้างว้างไร้คนเดิน
ทากน้อยจึงทาเงิน                     เป็นเงางามวะวามไว้
รอว่าสักวันหนึ่ง                        ซึ่งตะวันอันอำไพ
จะเกรี้ยวกราดและฟาดไฟ           ประลัยหญ้าลงย่อยยับ
เมื่อนั้นแหละเงินงาม                  ระวีวามจะตามจับ
เพชรผกายจะฉายวับ                  ขับเงินยวงแห่งช่วงทาง
และทากน้อยจะถมเนื้อ                เพื่อภาวะแห่งผู้สร้าง
ระเหิดหายละลายร้าง                  อย่างเคยเคยทุกคราวครั้ง
ทางนั้นจึ่งปรากฏ                       ทอดไปจรดที่ใจหวัง
ตราบใดที่หญ้ายัง                       ก็บังใจที่ไขว่คว้า
การเกิดต้องเจ็บปวด                   ต้องร้าวรวดและทรมา
ในสายฝนมีสายฟ้า                     ในผาทึบมีถ้ำทอง
มาเถิดมาทุกข์ยาก                      มาบากบั่นกับเพื่อนพ้อง
อย่าหวังเลยรังรอง                      จะเรืองไรในชีพนี้
ก้าวแรกที่เราย่าง                        จะสร้างทางในทุกที่
ป่าเถื่อนในปฐพี                          ยังมีไว้ให้รอเดิน

(ประชาธิปไตย , 13 ตุลาคม 2516)
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

  • อยู่ในวัย3""ต้องรีบทำบุญแล้วนะคะ..
  • ขอบคุณอย่างนัก นัก...ที่แจ้งเตือนมาให้ทราบ

มาเยี่ยมๆ  มอง ๆ

น้องกวิน

 

ครับท่านหัวหน้าแกงค์ อิๆ

สวัสดีค่ะ

* เข้ามาขอบคุณกลอนหอยทาก

* มีอาหารมากำนัลตามคำเรียกร้อง

* รายการนี้จัดให้เข้ากับบรรยากาศของกลอนหอยทาก

* ไก่ย่างเจ้าเดิมจากน้ำตกไทรโยค...กินแกล้มกับปลาร้าการ์ตูน มุกดาหาร...ปลาร้าแม้จะเก่า(หมักนานวัน) แต่ก็อร่อย

 

4หา

  • หาความรู้
  • หาเงิน คู่
  • หาศีลธรรม บุญ
  • หายนะ

เอา 5พ มา ลปรร.

  • พ1 พึ่ง      ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
  • พ2 เพียร   ศึกษาเล่าเรียน
  • พ3 พบ     มีอาชีพ มีครอบครัว
  • พ4 พัก      เกษียณอายุ
  • พ5 พราก   เสียชีวิต

ขอบคุณคุณพี่อาจารย์พรรณา ครับ สำหรับ ส้มตำ ไก่ย่าง

ขอบพระคุณอาจารย์ ผอ.ประจักษ์ มากๆ ครับ ที่สรุป ย่อใจความของโคลงไว้ ..เจ๊งไปเลยครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท