รักสนุกไม่ผูกพัน (จิตว่างปลง)


ใน พาหิยสูตร พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพาหิยะ เพราะเหตุนั้นแล ท่านพึงศึกษา อย่างนี้ว่า เมื่อเห็น จักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง เมื่อทราบจักเป็น สักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง ดูกรพาหิยะ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล ดูกร พาหิยะ ในกาลใดแล เมื่อท่านเห็นจักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง เมื่อทราบจักเป็นสักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มีในกาลใด ท่านไม่มี ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มีในโลกนี้ ย่อมไม่มีในโลกหน้าย่อมไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ ครั้งนั้นแล เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน  แม่โค ลูกอ่อนขวิดพาหิยทารุจีริยะให้ล้มลงปลงเสียจากชีวิต (1)

นั่นคือพระพุทธองค์สอนให้ เราหมั่นทำ จิตให้ว่าง ปลง แต่ย่อมไม่ใช่การว่างแบบ อุจเฉททิฏฐิ

คําว่า  อุจเฉททิฏฐิ ประกอบมาจากคําสองคําคือ อุจเฉทะ (ขาดสูญ, ขาดสิ้น, ตัวขาด)และ ทิฏฐิ  (ความเห็น, การเห็น, ลัทธิ , ทฤษฎี , ทัศนะ) อุจเฉททิฏฐิ หมายความวา ทัศนะที่ เชื่อว่าอัตตาและโลกขาดสูญ ในความเห็นว่าขาดสูญ หมายความวา เห็นว่าหลังจากตาย อัตตาและโลกจะพินาศสูญหมด กล่าวคือ หลังจากตายแลว อัตตาทุกประเภทไม่มีการเกิดอีก ในคัมภีร์ธรรมสังคณี อภิธรรมปิฎก นิยามความหมายของอุจเฉททิฏฐิ ไวว่าอุจเฉททิฏฐิ คือแนวคิดที่ถือว่า อัตตาและโลกขาดสูญ อีกนัยหนึ่ง อุจเฉททิฏฐิ หมายถึง การปฏิเสธความไมมีแห่งผลของการกระทําทุกอย่าง คือ ไม่ยอมรับว่ามี ผลย้อนกลับมาถึงตัวผู้ทําทุกอย่างจบสิ้นเพียงแคเชิงตะกอน  (2) 

 
คำว่าจิตว่างนี้ทำได้ยากนะจะบอกให้ พระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท)  เทศนาไว้ ปรากฎอยู่ในหนังสือ กุญแจใจ ความว่า มันจะเกิดยินร้ายก็เป็นสังขาร มันอยากจะไปโน่นไปนี่ก็เป็นสังขาร ถ้าไม่รู้เท่าสังขารก็วิ่งตามมันไป เป็นไปตามมัน เมื่อจิตเคลื่อนเมื่อใดก็เป็นสมมติสังขารเมื่อนั้น ท่านจึงให้พิจารณาสังขารคือจิตมันเคลื่อนไหวนั่นเองเมื่อมันเคลื่อนออกไปก็เป็นอนิจจังทุกขังอนัตตา ท่านให้พิจารณาอันนี้ ท่านจึงให้รับทราบสิ่งเหล่านี้ไว้ ให้พิจารณาสังขารเหล่านี้ ปฏิจจสมุปบาทธรรมก็เหมือนกัน อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูปฯลฯ เราเคยเล่าเรียนมาศึกษามาก็เป็นจริงคือท่านแยกเป็นส่วนๆไปเพื่อให้นักศึกษารู้ แต่เมื่อมันเกิดมาจริง ๆ แล้วท่านมหานับไม่ทันหรอก อุปมาเหมือนเราตกจากยอดไม้ก็ตุ๊บถึงดินโน่น ไม่รู้ว่ามันผ่านกิ่งไหนบ้าง จิตเมื่อถูกอารมณ์ปุ๊บขึ้นมาถ้าชอบใจก็ถึงดีโน่น อันที่ติดต่อกันเราไม่รู้มันไปตามที่ปริยัติรู้นั่นเองแต่มันก็ไปนอกปริยัติ ด้วย มันไม่บอกว่าตรงนี้เป็นอวิชชาตรงนี้เป็นสังขารตรงนี้เป็นวิญญาณตรงนี้เป็นนามรูปมันไม่ได้ให้ท่านมหาอ่านอย่างนั้นหรอกเหมือนกับการตกจากต้นไม้ท่านพูดถึงขณะจิตอย่างเต็มที่ของมันจริงๆ  อาตมาจึงมีหลักเทียบว่าเหมือนกับการตกจากต้นไม้เมื่อมันพลาดจากต้นไม้ไปปุ๊บมิได้คณนาว่ามันกี่นิ้วกี่ฟุตเห็นแต่มันตูมถึงดินเจ็บแล้ว ทางนี้ก็เหมือนกันเมื่อมันเป็นขึ้นมาเห็นแต่ทุกข์โสกะปริเทวะทุกข์โน่นเลยมันเกิดมาจากไหนมันไม่ได้อ่านหรอกมันไม่มีปริยัติที่ท่านเอาสิ่งละเอียดนี่ขึ้นมาพูดแต่ก็ผ่านไปทางเส้นเดียวกันแต่นักปริยัติเอาไม่ทัน (3)

และหากทำจิตว่างปลง แบบผิดวิธี ก็อาจจะ เป็นแบบกลอน จิตว่าง ของท่าน สมเจตน์ เมฆพายัพ (4)

ยังสงสัยได้คำตอบไม่ค่อยชัด         ยังข้องขัดค้างคาว่าไฉน
รู้ทั้งรู้ว่าบาปกรรมทำลงไป             ท่องทำไมเล่าหนอข้อปาณาฯ
อ้างว่าเป็นกลเล่ห์เทวทัต                ขอบัญญัติห้ามสิ้นกินมังสา
จึงกินได้ควายหมูทั้งปูปลา             เพราะเชื่อว่าพุทธองค์ไม่ทรงตาม
แต่เมื่อศึกษาไปในคำสอน              มีบางตอนน่าสงสัยในใจถาม
ศีลข้อหนึ่งบัญญัติชัดถ้อยความ     เป็นข้อห้ามฆ่าสัตว์ตัดชีวิน
พิจารณาข้อความตามบัญญัติ       ชี้ไว้ชัดสัตว์บกน้ำห้ามทั้งสิ้น
อนุญาตเหลือเดนสัตว์ถูกกัดกิน      หรือสัตว์สิ้นชีวาถึงคราตาย
แต่จะหาที่ไหนตายเองบ้าง            เนื้อทุกอย่างถูกฆ่าเอามาขาย
ทั้งเป็ดไก่ทุกตัวทั้งวัวควาย            ถูกฆ่าตายเชือดเถือเพื่อลิ้นคน
แม้มิได้ฆ่าเองเพราะเกรงบาป         แต่ก็ทราบบาปเวรย่อมเป็นผล
เหมือนรับซื้อของเก่าเข้ามาปน       ของโจรปล้นแม้เพียงนิดผิดอาญา
คดีโลกยังบ่งชี้มีความผิด              ปล้นชีวิตผิดบัญญัติศาสนา
ศีลข้อหนึ่งปาณาติปาตาฯ              เจตนาเน้นย้ำธรรมทาน
มีบางคนพูดง่ายว่าใจว่าง              กินทุกอย่างถือเสียว่าเป็นอาหาร
ไม่ติดรสชาติใดใกล้นิพพาน          ขมเผ็ดหวานผ่านรู้อยู่ที่ใจ
ข้อมุสากามาสุรานั้น                     คงคล้ายกันว่างปลงไม่หลงใหล
รู้ทั้งสิ้นพฤติกรรมทำลงไป             ลูกเมียผัวใครก็ไม่ผิดจิตว่างปลง


ก็แล้วอย่างเราๆ ท่านๆ จะทำ จิตว่างปลง ได้อย่างไร ถ้าทำจิตว่างปลงกันง่ายก็คง ได้บรรลุอรหันต์ แบบท่าน พาหิยะ กันหมดแล้ว พูดไปพูดมาก็ต้อง วกกลับมาถึงเรื่อง ศีล คนเราจะมี สมาธิ (สมถะ/วิปัสสนา) ได้ ก็ต้องมี ศีล เสียก่อน

ศีล นั้น คือการ เว้นจาก การประพฤติผิดทางกาย วาจา และใจ ผู้มีศีลหนักแน่นดีแล้ว จึงจะเกิดสมาธิ และเกิดปัญญา

ศีล » สมาธิ »  ปัญญา

แม้นว่า เรายัง ทุศีล อยู่เนืองๆ แต่กลับต้องการ มีปัญญาพ้นทุกข์ พยายามบำเพ็ญ สมถะ หรือ วิปัสสนากรรมฐาน (จนตายก็ย่อมไม่บังเกิดผล) ศีล นั้น คือการ เว้นจาก กิเลส อันส่งผลกระทบต่อ ตาหู จมูก ลิ้น กายใจ หากไม่เว้น จากกิเลส ก็ย่อมยากที่จะทำให้จิตว่างได้ พระโพธิญาณเถร ก็เทศนา ไว้แล้วว่า จิตเมื่อถูกอารมณ์ปุ๊บขึ้นมาถ้าชอบใจก็ถึงดีโน่น อันที่ติดต่อกันเราไม่รู้มันไปตามที่ปริยัติรู้นั่นเอง แต่มันก็ไปนอกปริยัติด้วย มันไม่บอกว่าตรงนี้เป็นอวิชชาตรงนี้เป็นสังขารตรงนี้เป็นวิญญาณตรงนี้เป็นนามรูป เมื่ออารมณ์มัเกิดขึ้นมามันเห็นแต่ทุกข์โสกะปริเทวะทุกข์โน่นเลย ฉะนั้นเครื่องมือกำกับอารมณ์ ก็คือ ศีล เพราะถ้าไม่เว้นก็จะเหมือนดังคำกลอนที่ว่า

ข้อมุสากามาสุรานั้น                     คงคล้ายกันว่างปลงไม่หลงใหล
รู้ทั้งสิ้นพฤติกรรมทำลงไป             ลูกเมียผัวใครก็ไม่ผิดจิตว่างปลง

ถ้า คนเรา มีจิตว่าง แบบนี้หลายๆ คน ก็จะกลายเป็นเรื่อง โอละพ่อ นะ

อ้างอิง

(1) พระไตรปิฎกเล่มที่ 25 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 17 [cited 2009 january 20]. Available from:  http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=25&A=1607&Z=1698

(2)  วนิดา เศาภายน . การศึกษาเชิงวิเคราะห์อุจเฉททิฏฐิในพระพุทธสาสนาเถรวาท ศึกษาเฉพาะกรณีที่ปรากฏในวรรณคดีไทย. ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พุทธศักราช   2547 อ้างใน

(3) ปฏิจจสมุปบาทแบบคนตกต้นไม้  [cited 2009 january 20]. Available from:  http://www.agalico.com/board/showthread.php?t=14646

(4) อาหาเรปฏิกูลสัญญา  [cited 2009 january 20]. Available from:  http://gotoknow.org/blog/kelvin/175756

คำสำคัญ (Tags): #จิตว่าง
หมายเลขบันทึก: 236343เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2009 17:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 00:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

"คนเราจะมี สมาธิ (สมถะ/วิปัสนา) ได้ ก็ต้องมี ศีล เสียก่อน"

แวะมารับ "ศีล" ก่อนไปทำ "สมาธิ" จดจ่อกับการทำงานค่ะ

ถ่ายภาพพระวัดใหญ่สุวรรณารามที่เพชรบุรีมาฝากค่ะ ไปทำบุญไหว้พระมาค่ะ

 

 

สวัสดีค่ะ

* รู้จักห้ามทำได้...คือรู้หยุดนิ่ง....สมาธิก็มา

* เข้ากันไหมนั่น...แบบว่ามาเรียนรู้ค่ะ

* ยังไงก็สุขกายสุขใจนะคะ

  • ขอบคุณครับคุณ Sila Phu-Chaya สำหรับภาพ ภาพพระวัดใหญ่สุวรรณารามที่เพชรบุรี ขอให้มีความสุขกับการทำงาน มีใจที่มั่นคง ในความดี นะครับ
  • ขอบคุณคุณพี่อจารย์ พรรณา ผิวเผือก  เขียนเตือนตัวเองในวันที่ สีล ง่อนแง่น ครับ :)    

สวัสดีค่ะคุณกวิน

ยินดีต้อนรับกลับสู่ครอบครัว G2K ค่ะ

มีความสุขมาก ๆ นะคะ

(^___^)

สวัสดีค่ะ

  • ดีใจค่ะที่ได้พบกันอีกครั้ง
  • การปลงแบบอนิจจัง  ทุกอย่างไม่เที่ยง
  • ไม่มีเราเขาก็ทำได้
  • แต่เราพอใจในที่เราเลือก
  • แบบนี้เรียกว่าปลง  แต่ขัดแย้งกับจิตว่างไหมคะ
  • เพราะมีสาเหตุแห่งอนิจจังค่ะ

สวัสดีครับครูคิม ถ้าทำได้แบบนั้นจริง คงถึงแค่ขั้น เนวสัญญานาสัญญายตนะ คือจิตปล่อยอารมณ์ทั้งหมดแล้ว อยู่ในความว่างจะว่ามีสัญญา (ความจำ) ก็ไม่ใช่ เพราะจิตในขณะนั้นไม่ได้รำลึกอดีตเลย จะว่าไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่เพราะจิตขณะนั้นรู้ตัวอยู่(1)

 กาต้มน้ำ คือใจ และ เตาไฟ คือ กิเลสต่างๆ ตราบใดที่ยังมีกา และยังมีเตา มันก็คือ ปลง(กาลงจากเตา) แล้วจึงว่างได้ชั่วครูชั่วขณะ

อ้างอิง

(1)  พจนานุกรม ไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร ฉบับออนไลน์. เวปไซต์สนุกดอทคอม. เนวสัญญานาสัญญายตนะ [cited 2009 march 21].Available from: URL; http://guru.sanook.com/search/knowledge_search.php?select=1&q=%E0%B9%C7%CA%D1%AD%AD%D2%B9%D2%CA%D1%AD%AD%D2%C2%B5%B9%D0

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท