Q & A with Contrast Media in VIR


contrast

ถามตอบปัญหาสารทึบรังสี
Q & A with Contrast Media in VIR

วิธวัช หมอหวัง           วท.บ.รังสีเทคนิค
สมจิตร จอมแก้ว         อนุ.รังสีเทคนิค
กันยาวีร์ สัทธาพงษ์*    วท.บ.รังสีเทคนิค, บธ.ม.

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
*บริษัทที่ปรึกษาพยากรณ์ (EV3)

 

วิธวัช หมอหวัง, สมจิตร จอมแก้ว, กันยาวีร์ สัทธาพงษ์. ถาม-ตอบเกี่ยวกับสารทึบรังสี. วารสารชมรมรังสีเทคนิคและพยาบาลเฉพาะทางรังสีวิทยาหลอดเลือดและรังสีร่วมรักษาไทย.2550 ; 1(1): 88-91

 

เมื่อทำการตรวจ Angiogram หากตั้งการฉีดสารทึบรังสีด้วย Volume, Flow Rate, Pressure Rate เดียวกัน จาก Injector Setting ในบางครั้งภาพที่เห็นจะมีความชัดของเส้นเลือดไม่เท่ากัน เกิดจากสาเหตุของสารทึบรังสีได้หรือไม่?

จากคำถาม สิ่งที่เราต้องรู้ก่อนก็คือสารทึบรังสีที่ใช้เป็นอย่างไร สิ่งแรกก็คือสารทึบรังสีมีความเป็นมาอย่างไร? แล้วมีปัจจัยอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องบ้าง? ผู้เขียนขอสรุปดังนี้
สารทึบรังสีเป็นสิ่งที่ใช้เพื่อให้การเห็นภาพเอกซเรย์ชัดเจนขึ้น ซึ่งเกิดขึ้นในเวลาใกล้เคียงกับการค้นพบเอกซเรย์ในปี 1895 นั่นคือเมื่อปี 1896 Walter B. Cannon และ Albert Moser ได้ใช้ Bismuth subnitrite เพื่อเป็นสารทึบรังสีในการตรวจระบบทางเดินอาหาร ปี1920 มีการใช้ NaI ในงานรังสีวิทยาหลอดเลือด ในปี 1923 Sicard และ Forester ได้ใช้ Lipiodol ในงานรังสีวิทยาหลอดเลือด ต่อมาในปี 1932 Moniz ได้นำ thorium dioxide (Thorotrast) มาใช้ในงานรังสีวิทยาหลอดเลือดสมอง สารทึบรังสีได้รับการพัฒนาอย่างมากในช่วงปี 1950 นั่นคือการนำ organic iodinated compound มาใช้เป็นตัวหลักในการเป็นสารทึบรังสี โดยแบ่งออกได้เป็น ionic contrast media และ non-ionic contrast media

สำหรับ non-ionic contrast media ยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบคือ monomer และ dimer



สารทึบรังสีแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน ได้แก่
1. เภสัชกลศาสตร์ (pharmacokinetics)

1.1 โครงสร้างทางเคมี
1.2 น้ำหนักโมเลกุล
1.3 ความเป็น ionic

2. ความเข้มข้นของไอโอดีน (Iodine Concentration) โดยคิดเป็นร้อยละของไอโอดีนต่อมิลลิลิตร
3. ความหนืด (Viscosity) คำนวณจากอุณหภูมิ ความเข้มของไอโอดีน จำนวนและขนาดของอนุภาพ (particles)
4. แรงดันออสโมติก (Osmotic Pressure) คำนวณจาก mol/Kg water
5. ความทนทาน (Tolerance) โดยพิจารณาจาก lethal dose50 , อัตราการฉีดและความไม่บริสุทธิ์ (impurities)

 

สารทึบรังสีที่เป็น water soluble จะถูกกำจัดออกจากร่างกายผ่านทาง glomerular filtration ของระบบไต ส่วนหนึ่งราว 20% จะจับตัวกับโปรตีนพลาสมา 5-10% จับตัวกับเม็ดเลือดแดง และอีก 1-2% จับตัวกับเซลล์เล็กๆ ในพลาสมา

ข้อระมัดระวังในการใช้สารทึบรังสีกลุ่มละลายในน้ำ (water soluble iodinate contrast media)

1 ซักถามประวัติการแพ้สารทึบรังสี
2 ระมัดระวังโอกาสเกิดปฏิกิริยาการแพ้สารทึบรังสี
3 ระมัดระวังในผู้ป่วยที่มีอาการไม่ดี
4 จัดเตรียมอุปกรณ์กู้ชีวิตฉุกเฉินให้พร้อมเสมอ
5 ไม่ทดสอบการแพ้โดยการฉีดสารทึบรังสีเข้าไปบางส่วน
6 อาจให้ยากันแพ้ กลุ่ม steroid ได้


จากข้อมูลด้านบน ถ้าเราพิจารณาจากปัจจัยที่จะทำให้สามารถเห็นภาพเส้นเลือดชัดเจน ขึ้นกับ ปัจจัยดังต่อไปนี้

  1. ความเข้มข้นของ สารทึบรังสี (Contrast Media) ซึ่งขึ้นกับความเข้มข้นของไอโอดีน (ไอโอดีนทำให้เกิดความทึบต่อรังสี) ในสารทึบรังสีนั้น ส่วนใหญ่ในปัจจุบันมีอยู่หลายยี่ห้อ จะมีความเข้มข้นตั้งแต่ 300 mg/I-370 mg/I ยิ่งมีความเข้มข้นมากก็ยิ่งมีความทึบต่อรังสีมาก ภาพที่ปรากฎก็ยิ่งเห็นชัดเจนมากขึ้น ดังนั้น ตัวอย่างเช่นถ้าเราเลือกใช้สารทึบรังสีที่มีความเข้มข้น 370 mg/I เราก็จะเห็นภาพ X-Ray ชัดเจนกว่าที่เราเลือกใช้สารทึบรังสีที่มีความเข้มข้น 300 mg/I
  2. ส่วนประกอบของสารทึบรังสี OH Group ต่อความสามารถในการทำละลายของสารทึบรังสีในน้ำ (Hydrophilicity) จากการที่มีส่วนประกอบของ OH Group สารทึบรังสียี่ห้อที่มี OH Group มากก็จะทำให้สารทึบรังสีมีการแพร่กระจายไปตามหลอดเลือด แม้กระทั่งหลอดเลือดเล็กๆ ก็สามารถแพร่ไปได้ดีทำให้ภาพที่ปรากฎมีความชัดเจนสูงขึ้น
  3. สารละลายที่นำมาเจือจางสารทึบรังสี เช่น Normal saline, Heparin ถ้าสารทึบรังสีถูกเจือจางด้วย normal saline มาก จะทำให้สารทึบรังสี มีความเข้มข้นน้อยลง ภาพเห็นก็จะ ชัดเจนน้อยลง
  4. Resolution Intensifying Screen ของเครื่อง DSA มีค่าความละเอียดสูง ก็จะช่วยให้ภาพมีความชัดเจนสูงขึ้น
  5. รูปร่างของผู้ป่วย ซึ่งขึ้นกับน้ำหนักของผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยมีน้ำหนักมาก (ความหนาของลำตัวผู้ป่วยจะหนากว่าผู้ป่วยที่มีน้ำหนักน้อย) จึงมีผลต่อความชัดเจนของภาพน้อยลง ถ้าต้องการให้ภาพชัดเจน จึงต้องเพิ่มความเข้มข้นของสารทึบรังสีให้มากขึ้น


จึงสรุปได้ว่า เมื่อเรากำหนดปัจจัยที่คงที่ เช่น เลือกยี่ห้อสารทึบรังสี เครื่อง DSA ปริมาตรสารละลายที่มาเจือจางสารทึบรังสี และ Volume, Flow Rate, Pressure Rate เดียวกัน

ความชัดเจนของภาพ แปรผันโดยตรงกับ ความเข้มข้นของสารทึบรังสี
ความชัดเจนของภาพแปรผันโดยตรงกับ จำนวนของ OH Group ของสารทึบรังสี
ความชัดเจนของภาพแปรผกผันกับ น้ำหนักตัวผู้ป่วย


บรรณานุกรม
1. สุทธิศักดิ์ สุทธิพงศ์ชัย. สารทึบรังสี slide presentation. คณะแพทยศาสตร์
ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

 

 

คำสำคัญ (Tags): #contrast#สารทึบรังสี
หมายเลขบันทึก: 135857เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2007 14:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 22:09 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ทำไมต้องให้ NSS กับผู้ป่วยก่อนทำCT และทำไมต้องตรวจดูค่า BUN Cr เพื่อดูการทำงานของไต

สารทึบรังสีหรือสีสำหรับการตรวจทางเอกซเรย์หลอดเลือด หรือการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์มีองค์ประกอบหลักเป็น Iodine โดยมีโครงสร้างโมเลกุลที่ใหญ่ และมีวิถีการขับออกทางไต ดังนั้นหากไตทำงานไม่ดี ก็จะตกค้างในไต และทำให้เกิดปัญหาต่อไตได้ จึงต้องดูผลการทำงานของไต คือค่า BUN, และค่า Creatinine ว่าอยู่ในภาวะปกติหรือไม่ ถ้าค่าสูงจำเป็นต้องให้สารทึบรังสีที่เข้มข้นน้อยลง หรือควรเปลี่ยนเป็นตรวจอย่างอื่นทดแทน อีกทางเบี่ยงหนึ่งก็คือการให้น้ำเกลือ NSS ในผู้ป่วยที่มีผลการทำงานของไตค่อนข้างสูงแต่ยังไม่เกินกำหนด เพื่อให้มีน้ำในระบบเลือดสูง จะได้ช่วยเจือจางและทำให้ขับสารทึบรังสีออกทางไตได้ง่ายขึ้น โดยที่ไม่เป็นภาระหนักของไต

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท