การเตรียมอุปกรณ์สำหรับหัตถการทางรังสีวิทยาหลอดเลือด


Preparation

การเตรียมอุปกรณ์สำหรับหัตถการทางรังสีวิทยาหลอดเลือด

Angiogram Preparation

 

ยุพิน จงศักดิ์สกุล    พย.บ.

วิธวัช หมอหวัง       วท.บ. รังสีเทคนิค

ตองอ่อน น้อยวัฒน์ ป.รังสีเทคนิค

คง บุญคุ้ม            ป.รังสีเทคนิค

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

 

ยุพิน จงศักดิ์สกุล,วิธวัช หมอหวัง, ตองอ่อน น้อยวัฒน์, คง บุญคุ้ม . การเตรียมอุปกรณ์สำหรับหัตถการทางรังสีวิทยาหลอดเลือด. วารสารชมรมรังสีเทคนิคและพยาบาลเฉพาะทางรังสีวิทยาหลอดเลือดและรังสีร่วมรักษาไทย, 2550; 1(1) : 26-31

 

บทคัดย่อ

หัตถการทางรังสีวิทยาหลอดเลือดที่พร้อมเพียงจะเกิดขึ้นได้เมื่อบุคลากรที่เกี่ยวข้องมีความรู้และทักษะในการจัดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ และเข้าใจต่อสิ่งที่ทำอย่างบูรณาการทั้งในเรื่องของ angiographic basic set , additional equipments, catheter-guide wire composition และ contrast media โดยจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือจะต้องให้คำแนะนำในการใช้แก่แพทย์ผู้ทำหัตถการได้

การตรวจหลอดเลือด (angiogram) หัตถการทางรังสีวิทยาที่เกิดขึ้นบนพื้นฐานของการปลอดเชื้อ ดังนั้นการจัดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ จึงต้องใช้เทคนิคการปลอดเชื้อเป็นมาตรฐาน สิ่งสำคัญก็คือการจัดเตรียมอุปกรณ์นั้นจะต้องมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องว่าอุปกรณ์นั้นมีจำนวนเท่าไร มีไว้เพื่อสิ่งใด และใช้ทำอะไร สำหรับหัตถการทางรังสีวิทยาหลอดเลือดทั่วไปจะต้องมีการจัดเตรียมอุปกรณ์ สำหรับหน่วยตรวจรังสีวิทยาหลอดเลือด สาขาวิชารังสีวินิจฉัย ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้มีการกำหนดมาตรฐานในการจัดเตรียมอุปกรณ์ไว้ โดยมีอุปกรณ์หลักๆ ได้แก่
1. angiographic basic set
2. additional equipments
3. Catheter-guide wire composition
4. contrast media


อย่างไรก็ตามผู้ปฏิบัติงานในการจัดเตรียมอุปกรณ์จะต้องศึกษาและทำความเข้าใจต่ออุปกรณ์แต่ละชิ้น เพื่อการจัดเตรียมอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถตรวจจัดความผิดปกติของการจัดเตรียมไว้ได้ เพื่อเป็นมาตรฐานในการจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับการตรวจ angiogram พื้นฐาน ทั้ง 4 กลุ่ม



กลุ่มที่ 1 อุปกรณ์ที่จัดเตรียมไว้ใน Angiogram Basic Set
Angiographic basic set ประกอบด้วยอุปกรณ์จำนวน 18 ชนิด บรรจุไว้ในถาดสแตนเลสขนาดใหญ่ ที่ห่อไว้ด้วยผ้า ซึ่งผ่านการปราศจากเชื้อไว้แล้ว ภายในประกอบด้วยอุปกรณ์ชนิดต่างๆ จำนวนและการใช้ ดังตาราง

 

 

กลุ่มที่ 2 อุปกรณ์ที่ต้องเปิดเพิ่มในการเริ่ม case
เมื่อเปิด angiographic basic set แล้ว ผู้จัดเตรียมยังต้องเปิดอุปกรณ์เพิ่มเติมอีก ดังตาราง 

 

 

กลุ่มที่ 3 การเลือก Catheter-guide wire composition

เมื่อเริ่มหัตถการ การเลือกเปิด catheter และ guide wire เป็นสิ่งที่จะต้องทำลำดับถัดไป ในการปฏิบัติไม่ควรที่จะเปิดซองอุปกรณ์ไว้ล่วงหน้า ควรเปิดเมื่อรังสีแพทย์เรียกเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม การจัดเตรียมไว้ล่วงหน้าโดยไม่เปิดซอง เป็นสิ่งที่ทำได้ โดยในการเลือกใช้ catheter-guide wire นั้นมีหลักในการเลือกอุปกรณ์ขึ้นอยู่กับอายุของผู้ป่วย ดังตาราง

กลุ่มที่ 4 การเลือกใช้ contrast media
การเลือกใช้สารทึบรังสีจะต้องเลือกใช้สารทึบรังสีในกลุ่ม non-ionic contrast media กลุ่ม monomer หรือ dimer ก็ได้ ส่วนการเลือกใช้สารทึบรังสี กลุ่ม ionic contrast media นั้นจะต้องใช้ด้วยความระมัดระวังโอกาสในการแพ้สารทึบรังสีของผู้ป่วย การเลือกใช้ความเข้มข้นเป็นไปตาม ตาราง

 

สรุป

การจัดเตรียมอุปกรณ์เพื่อการตรวจหลอดเลือดต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่ตกลงร่วมกันของหน่วยงานนั้นๆ ทั้งในส่วนของ angiographic basic set , additional equipments, catheter-guide wire composition และ contrast media ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามแต่ละแห่ง อย่างไรก็ตามสิ่งที่เป็นข้อคำนึงที่สำคัญก็คือ เมื่อเปิดอุปกรณ์เรียบร้อยแล้วนั้น หากยังไม่ได้เริ่มทำหัตถการในทันที ควรที่จะนำผ้าสะอาดมาคลุมโต๊ะอุปกรณ์ไว้ และเปิดเมื่อแพทย์ผู้ทำหัตถการพร้อมแล้วเท่านั้น ผู้ปฏิบัติงานยังต้องจดบันทึกอุปกรณ์ที่เปิดเพื่อเป็นหลักฐานในการคำนวณค่าตรวจอีกด้วย



บรรณานุกรม

1. สุทธิศักดิ์ สุทธิพงศ์ชัย Contrast Media . slide presentation
2. วิธีปฏิบัติ การเตรียมอุปกรณ์สำหรับตรวจรังสีวิทยาหลอดเลือด หน่วยรังสีวิทยาหลอดเลือด สาขาวิชารังงสีวินิจฉัย ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล 

 

 

หมายเลขบันทึก: 161947เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2008 18:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 07:56 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท