Management of Emergency in Interventional Radiology : Siriraj expereinced in 2008


Emergency Angiogram

การจัดการผู้ป่วยฉุกเฉินทางรังสีร่วมรักษาของโรงพยาบาลศิริราชในปี 2551

Management of Emergency in Interventional Radiology : Siriraj expereinced in 2008

                                                                               

ตองอ่อน  น้อยวัฒน์               อนุ.รังสีเทคนิค

จุฑา        ศรีเอี่ยม                  อนุ.รังสีเทคนิค

คง           บุญคุ้ม                    อนุ.รังสีเทคนิค

สมจิตร    จอมแก้ว                 อนุ.รังสีเทคนิค

เอนก       สุวรรณบัณฑิต      วท.บ.รังสีเทคนิค

ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

 

ตองอ่อน น้อยวัฒน์, จุฑา ศรีเอี่ยม, คง บุญคุ้ม, สมจิตร จอมแก้ว, เอนก สุวรรณบัณฑิต. การจัดการผู้ป่วยฉุกเฉินทางรังสีร่วมรักษาของโรงพยาบาลศิริราชในปี 2551.วารสารชมรมรังสีเทคนิคและพยาบาลเฉพาะทางรังสีวิทยาหลอดเลือดและรังสีร่วมรักษาไทย, 2552; 3(1): 34-38

บทคัดย่อ

                มาตรฐานอย่างหนึ่งในการควบคุมคุณภาพการให้บริการทางรังสีวิทยาได้แก่การให้บริการในผู้ป่วยฉุกเฉิน ซึ่งจะต้องมีการกำหนเกณฑ์และการประเมินผู้ป่วย ซึ่งร.พ. ศิริราชได้มีการวางเกณฑ์ไว้เพียง 8 ภาวะหรือโรคเท่านั้น และในปี พ.ศ. 2551 ได้มีการให้บริการผู้ป่วยกลุ่มฉุกเฉินตามเกณฑ์ไปทั้งสิ้น 126 ราย และผู้ป่วยในหัตถการที่ไม่ยุ่งยากทาง non-vascular IR นอกคิวนัดจำนวน 111 ราย โดยพบว่าในผู้ป่วย SAH ตรวจพบเป็น Aneurysm จำนวน 23 ราย และได้ทำการรักษาด้วยวิธีการทางรังสีร่วมรักษาระบบประสาทสมองจำนวน 12 ราย  รักษาผู้ป่วย Hemoptysis จำนวน 14 ราย  รักษาผู้ป่วย rupture hematoma จำนวน 10 ราย และรักษาผู้ป่ว G.I. bleeding จำนวน  9 ราย

        การจัดการผู้ป่วยฉุกเฉินเป็นระบบที่จะต้องมีการวางแผนไว้ตามแนวทาพัฒนาคุณภาพ ซึ่งต้องมีการปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้มาตรฐานการบริการที่ดี สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งคือการกำหนดเกณฑ์ในการพิจารณา โดยผู้ป่วยฉุกเฉินในงานรังสีวิทยาหลอดเลือดและรังสีร่วมรักษานั้นได้มีการจำแนกไว้เป็นแนวทางในการประเมินเพื่อรับตรวจหรือทำหัตถการอย่างเร่งด่วน โดยทางหน่วยรังสีวิทยาหลอดเลือด สาขาวิชารังสีวินิจฉัย ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้กำหนดเกณฑ์ภาวะฉุกเฉินไว้ในปี 2551 ได้แก่ ภาวะฉุกเฉินในผู้ป่วยหลอดเลือดระบบประสาท ได้แก่

Emergency Level 1   หมายถึงผู้ป่วยที่ต้องทำการตรวจวินิจฉัยและ/หรือรักษาด้วยวิธีการทางรังสีร่วมรักษา ภายใน 24 ชั่วโมง  ได้แก่  ภาวะหรือโรคดังต่อไปนี้

- Subarachnoid Hemorrhage

- Active Epistaxis even uncontrolled by conventional treatment

- Vascular Injuries of Head and Neck region with active bleeding

- Thrombolysis in Acute Stroke (consider treatment within 6 hrs. after onset)

และภาวะฉุกเฉินในผู้ป่วยหลอดเลือดระบบลำตัว ได้แก่ Emergency Level  ผู้ป่วยที่ต้องทำการตรวจวินิจฉัยและ/หรือรักษาด้วยวิธีการทางรังสีร่วมรักษาภายใน 24 ชั่วโมงได้แก่ภาวะหรือโรคดังต่อไปนี้

- Uncontrolled Hemoptysis

- Ruptured Hepatoma

- Active G.I tract Bleeding

- Vascular Injuries with active bleeding

โดยได้มีการรวบรวมเพื่อการแจกแจงการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินหรือเร่งด่วนเหล่านี้อย่างเป็นระบบ

วัตถุประสงค์

การศึกษาแนวทางการดูแลในผู้ป่วยฉุกเฉินที่ต้องได้รับการบริการทางรังสีร่วมรักษาอย่างเร่งด่วน

วิธีวิจัย               

เป็นการศึกษาย้อนหลังในผู้ป่วยฉุกเฉินด้านรังสีร่วมรักษาที่ต้องได้รับการอย่างเร่งด่วน ระหว่าง มกราคม 2551-ธันวาคม 2551 ณ หน่วยรังสีวิทยาหลอดเลือดและรังสีร่วมรักษา สาขาวิชารังสีวินิจฉัย ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

 

ผลการวิจัย 

ในปี 2551 ผู้ป่วยฉุกเฉินกลุ่มหัตถการทางรังสีวิทยาหลอดเลือดระบบประสาทมี 51 ราย เป็นการตรวจ cerebral angiography 44 ราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วย subarachnoid hemorrhage และการรักษาด้วยวิธีการทางรังสีร่วมรักษาระบบประสาท 7 ราย  หัตถการทางรังสีวิทยาหลอดเลือดส่วนลำตัว มี 75 ราย เป็นหัตถการarteriography/venography จำนวน 24 ราย , embolization of rupture hematoma จำนวน 10 ราย , embolization of G.I. Bleeding จำนวน 9 ราย, Embolization of Hemoptysis จำนวน 14 ราย ,การอุดหลอดเลือดต่างๆ อีก 18 ราย และหัตถการทางด้าน Non-Vascular IR จำนวน 111 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นหัตถการ PTBD และที่เกี่ยวเนื่องเช่น revised PTBD จำนวน 31 ราย, หัตถการ image guided drainage และหัตถการที่เกี่ยวเนื่องเช่น irrigated /off drainage จำนวน 59 ราย และ หัตถการ image guided biopsy จำนวน 13 ราย ซึ่งสามารถวิเคราะห์แยกได้ตามกราฟที่ 1-5 ดังนี้

จากกราฟ 1 แสดงจำนวนผู้ป่วยฉุกเฉินในแต่ละเดือน พบว่าเดือนกุมภาพันธ์มีจำนวนผู้ป่วยฉุกเฉินมากที่สุด (29 ราย) และเดือนกรกฎาคมมีจำนวนผู้ป่วยฉุกเฉินน้อยที่สุด (12 ราย) โดยมีจำนวนผู้ป่วยฉุกเฉินเฉลี่ย 19.75 รายต่อเดือน

จากกราฟ 2 แสดงจำนวนผู้ป่วยฉุกเฉินในแต่ละเดือนแยกตามกลุ่มหัตถการ พบว่าหัตถการทางรังสีร่วมรักษาหลอดเลือดระบบประสาทนั้น มีจำนวนผู้ป่วยฉุกเฉินมากที่สุดในเดือนสิงหาคม (9 ราย) และต่ำสุดในเดือนมกราคม กรกฎาคมและพฤศจิกายน  (2 ราย) โดยมีจำนวนผู้ป่วยฉุกเฉินเฉลี่ย 4.25 รายต่อเดือน หัตถการทางรังสีร่วมรักษาระบบหลอดเลือดลำตัวนั้น มีจำนวนผู้ป่วยฉุกเฉินมากที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ (13 ราย) และต่ำสุดในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม  (3 ราย) โดยมีจำนวนผู้ป่วยฉุกเฉินเฉลี่ย 6.25 รายต่อเดือน หัตถการทางรังสีกลุ่ม Non-Vascualr นั้น มีจำนวนผู้ป่วยฉุกเฉินมากที่สุดในเดือนสิงหาคม (14 ราย) และต่ำสุดในเดือนมิถุนายน  (4 ราย) โดยมีจำนวนผู้ป่วยฉุกเฉินเฉลี่ย 9.25 รายต่อเดือน

ปริมาณสูงสุดในเดือนมิถุนายน ส่วนหัตถการทางรังสีร่วมรักษาอื่นๆ นั้นมีปริมาณผู้ป่วยใกล้เคียงกันในแต่ละเดือน 

จากกราฟ 4 แสดงจำนวนผู้ป่วยฉุกเฉินในแต่ละเดือนแยกตามเกณฑ์กำหนดผู้ป่วยฉุกเฉิน พบว่าหัตถการทางรังสีร่วมรักษาหลอดเลือดระบบประสาทนั้น มีจำนวนผู้ป่วยฉุกเฉินมากที่สุดในเดือนสิงหาคม (9 ราย) และต่ำสุดในเดือนมกราคม กรกฎาคมและพฤศจิกายน  (2 ราย) โดยมีจำนวนผู้ป่วยฉุกเฉินเฉลี่ย 4.25 รายต่อเดือน หัตถการทางรังสีร่วมรักษาระบบหลอดเลือดลำตัวนั้น มีจำนวนผู้ป่วยฉุกเฉินมากที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ (13 ราย) และต่ำสุดในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม  (3 ราย) โดยมีจำนวนผู้ป่วยฉุกเฉินเฉลี่ย 6.25 รายต่อเดือน ซึ่งเท่ากับจำนวนผู้ป่วยของแต่ละกลุ่มหัตถการ มีเพียงหัตถการทางรังสีกลุ่ม non-vascular ซึ่งไม่ตรงตามเกณฑ์พิจารณา

จากกราฟ 5 แสดงจำนวนผู้ป่วยฉุกเฉิน cerebral angiography ในแต่ละเดือน พบว่า ในเดือนสิงหาคมซึ่งมีจำนวนหัตถการ 9 ครั้ง มีผู้ป่วยที่พบว่าเป็นหลอดเลือดสมองโป่งพองเพียง 4 ราย (44.44%) แต่ในเดือนมีนาคม พฤษภาคม กรกฎาคม และพฤศจิกายนที่พบว่าทุกรายเป็นหลอดเลือดสมองโป่งพอง (100%) อย่างไรก็ตามพบว่าหัตถการนี้มีค่าเฉลี่ยการพบหลอดเลือดสมองโป่งพอง 23 รายจากจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 44 ราย (52.27%)

 

สรุปผลการวิจัย 

            จากแนวทางการพิจารณาผู้ป่วยฉุกเฉินของทางรังสีวิทยาหลอดเลือดนั้น ได้มีการให้บริการในหัตถการที่สำคัญอย่างเป็นระบบ และมีปริมาณผู้ป่วยเร่งด่วนในเดือนกุมภาพันธ์และสิงหาคมอยู่ในเกณฑ์สูง ราว 25-30 รายต่อเดือน  และในเดือนมีนาคม เมษายน ตุลาคมและธันวาคมมีผู้ป่วยเร่งด่วนมากในระดับ 20-25 ราย ต่อเดือน โดยที่ผู้ป่วยกลุ่ม non-vascular IR ซึ่งไม่ถือเป็นความเร่งด่วนแต่เป็นหัตถการที่ไม่ซับซ้อนมาก จะได้การจัดการแบบผู้ป่วยฉุกเฉิน นั่นคือรับทำหัตถการนอกตารางนัดหมาย ดังนั้นในการจัดการระบบจะต้องพิจารณาความเป็นไปได้ของการเปิดหัตถการเร่งด่วยให้ทันต่อความเร่งด่วนของผู้ป่วย โดยที่หัตถการส่วนที่เป็น non-vascular IR จะเข้ามามีส่วนใช้เวลาห้องเป็นสัดส่วนที่สูงขึ้น ขณะเดียวกันจะต้องมีเวลาสำรองของห้องเพื่อการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินอย่างแท้จริงด้วย

 

บรรณานุกรม

  1. เกณฑ์พิจารณารับการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยฉุกเฉิน สาขาวิชารังสีวินิจฉัย ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, 2551
  2. anonymous. ACR Appropriateness Criteria®. http://www.acr.org 
คำสำคัญ (Tags): #angiogram#ฉุกเฉิน
หมายเลขบันทึก: 385268เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2010 13:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท