Daily Calibration


DSA calibration

การตรวจวัดมาตรฐานของเครื่องเอกซเรย์หลอดเลือดประจำวัน 

Daily Calibration of DSA Machine

เอกลาภ     มานะกิจไพบูลย์                 วท.บ รังสีเทคนิค

วิธวัช           หมอหวัง                        วท.บ รังสีเทคนิค

วาทิต          คุ้มฉายา                         วท.บ รังสีเทคนิค

กฤตญา      สายศิวานนท์                    วท.บ รังสีเทคนิค

ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

 

เอกลาภ มานะกิจไพบูลย์, วิธวัช หมอหวัง, วาทิต คุ้มฉายา, กฤตญา สายศิวานนท์. การตรวจวัดมาตรฐานของเครื่องเอกซเรย์หลอดเลือดประจำวัน. วารสารชมรมรังสีเทคนิคและพยาบาลเฉพาะทางรังสีวิทยาหลอดเลือดและรังสีร่วมรักษาไทย, 2552 ; 3(2) : 102-107

คำนำ

            รังสีเทคนิคในงานด้านรังสีวิทยาหลอดเลือดเน้นการให้ความสำคัญกับการทำงานด้วยเครื่องเอกซเรย์หลอดเลือดที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันเครื่องเอกซเรย์หลอดเลือดมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดมีระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมอย่างละเอียดซับซ้อนมากขึ้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่รังสีเทคนิคจะต้องมีการตรวจสอบ การปรับค่ามาตรฐานและเตรียมความพร้อมทุกครั้งก่อนการทำงาน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะขัดข้องหรือไม่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างปฏิบัติงานเพื่อให้การวินิจฉัยและรักษาเพราะทุกวินาทีระหว่างทำหัตถการนั้นหมายถึงชีวิตผู้ป่วยที่รับการตรวจหรือรักษาอยู่

 

หลักการและเหตุผล 

เครื่องเอกซเรย์หลอดเลือด (DSA) เป็นเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในทศวรรษที่ 50  ประกอบด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆที่ซับซ้อนและมีราคาแพง เป็นไปได้ที่การเกิดข้อผิดพลาด และความคลาดเคลื่อนสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ดังนั้นจึงจำเป็นต้องดำเนินการให้แน่ใจว่า เครื่องมือที่ปฎิบัติการกับผู้ป่วย ให้ผลการตรวจที่มีความแม่นยำ ถูกต้อง และเชื่อถือได้ การตรวจวัดมาตรฐานของเครื่อง (Calibration) เป็นกิจกรรมที่จำเป็นสำหรับการทำให้แน่ใจว่าเครื่องมือที่ใช้งาน ยังสามารถทำงานได้อย่างแม่นยำตามที่ต้องการ และเมื่อนำผล จากการตรวจวัดมาตรฐานของเครื่อง (Calibration) มาวิเคราะห์จะสามารถกำหนดได้ว่า เครื่องมือควรจะใช้ต่อไปหรือจำเป็นต้องแก้ไข และบำรุงรักษา หรือไม่อย่างไร เริ่มตั้งแต่การเปิด-ปิดเครื่อง การทดสอบการเคลื่อนที่ของเตียงทั้ง 6 ทิศทาง การทดสอบการทำงานของหลอดเอกซเรย์ จนถึงการทำงานที่มีความซับซ้อนมากๆ เช่น การทำ Road Map, การทำระบบภาพ 3 มิติ (3DRA), การทำ Rotational CT เป็นต้น

 

ความหมายและความสำคัญของคำว่า Calibration

            Calibration หมายถึง การตรวจตรา, การวัด, การหาค่าแบ่งออกเป็นขีด ๆ , การทำให้เป็นมาตรฐาน ซึ่งในที่นี้เราจะหมายถึง การตรวจวัดมาตรฐานของเครื่องตามที่ผ่านการรับรองจากโรงงานผู้ผลิตซึ่งเป็นข้อแนะนำของเครื่องเอกซเรย์หลอดเลือดทุกเครื่อง การตรวจวัดมาตรฐานมีความสำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากหากไม่ทำ Calibration ทุกวันเป็นประจำจะทำให้เราไม่ทราบปัญหาที่อาจตรวจพบได้ก่อนการปฏิบัติงานจริง ซึ่งปัญหานั้นอาจเกิดหรือไม่เกิดปัญหาระหว่างการปฏิบัติงานได้ แต่หากเกิดปัญหาขึ้นไม่ว่าจะเป็นในด้านระบบโปรแกรม ระบบเครื่อง หรือระบบการทำงานบางประการล้วนทำให้เสียเวลา ทรัพย์สิน หรืออาจหมายถึงการเสียชิวิตของผู้ป่วยได้ ตัวอย่างเช่น ในการทำหัตถการผู้ป่วย Glue Embolization ในระหว่างที่แพทย์ทำการฉีด NBCA หรือ glue ต้อง flu ดูภาพแบบ real time เพื่อทราบปริมาณ glue ที่วิ่งไปตามสายสวนขนาดเล็ก หากเกิดการขัดข้องระหว่างการ flue จะทำให้ไม่ทราบว่าปริมาณ glue วิ่งไปทางไหนปริมาณเท่าใดแล้ว จะเป็นอันตรายมากต่อผู้ป่วย เป็นต้น

 เครื่องมือและอุปกรณ์ 

            ทางหน่วยตรวจรังสีวิทยาหลอดเลือด สาขารังสีวินิจฉัย ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มีเครื่องเอกซเรย์หลอดเลือด 3 เครื่อง ในที่นี้จะกล่าวถึงเครื่องที่ใช้ในการทำหัตถการส่วนสมองเท่านั้น เป็นเครื่องเอกซเรย์หลอดเลือดชนิดระนาบคู่เท่านั้น  ได้แก่เครื่อง Philips รุ่น  Allura Xper FD 20/10 ดังภาพ 1.1


ขั้นตอนการทำ Daily Calibration

  1. เปิดเครื่องเอกซเรย์โดยกดสัญลักษณ์       ดังภาพที่ 1 บน Xper Review Module พร้อมกับเปิด Work Station ของ 3DRA
  2. ภาพหน้าจอ LCD Data Monitorของเครื่องเอกซเรย์ จะปรากฎภาพสัญลักษณ์ PHILIPS ด้านบนของจอและมีประโยคขึ้นด้านล่างดังภาพที่ 2 โดยขั้นตอนดังกล่าวใช้เวลาประมาณ 2-3 นาที
  3. หลังจากนั้นที่หน้าจอ Xper Module จะแสดง Menu Control Panel ทั้ง 5 Menu ดังภาพที่ 3
  4. เลือก Tools จะแสดง Sub Menu Control Panel แล้วเลือก Xper CT ดังภาพที่ 4 หน้าจอแสดง Daily Calibration และ Pre Scan Calibration
  5. เลือก Daily Calibration แล้วที่หน้าจอ Data Monitor จะแสดงประโยคดังภาพที่ 5   

 

  1. จัดTabletopให้หมุนออกนอกแนวปกติ (ให้ตั้งฉากกับแนวเดิม) และ Flat Detector ตั้งให้อยู่ในแนว landscape ซึ่งเป็นไปตามระบบซอฟแวร์ที่พัฒนาไว้ และจัด C-arm Stand โดยที่ C-arm Stand จัดอยู่ในตำแหน่ง  ที่มีRotation, Angulations  และ Tilt เท่ากับศูนย์ ดังภาพที่ 6
  2. ใช้ Hand-switch แทน Foot-switch โดยกดค้างจนกระทั่งจบกระบวนการ Calibration ซึ่งในแต่ละขั้นตอนจะต่อเนื่องอัตโนมัติจนจบทั้ง 5 ขั้นตอน เมื่อเริ่มกดHand-switch เครื่องจะเริ่มทำการ Calibration โดยแสดงสัญลักษณ์กำลังเอกซเรย์และขึ้นข้อความดังภาพที่ 7
  3. เมื่อจบกระบวนการ Calibration ในแต่ละขั้นตอนจะแสดงสัญลักษณ์กากบาทสีแดง และข้อความดังภาพที่ 8
  4. Daily Calibration ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน โดยขั้นตอน 1-3 เป็นการตรวจวัดมาตรฐานของหลอดเอกซเรย์ในระนาบปกติ เป็นการปล่อยเอกซเรย์ด้วยค่าต่างๆ เพื่อเป็นการเร่งให้ได้ค่าเอกซเรย์มาตรฐาน ส่วนขั้นตอน 4 และ 5 เป็นการตรวจวัดมาตรฐานของการใช้งานระบบ 3มิติ (3DRA) โดยเป็นการทดสอบกลไกไฮโดรลิกในการหมุนตามองศาที่ต้องการคือ – 120 ถึง 120 เพื่อทดสอบแนวการหมุนหลอดเอซเรย์ ดังภาพที่ 9 และตรวจสอบการเชื่อมต่อสัญญาณการสร้างภาพกับเครื่อง3DRA ซึ่งทั้งหมดใช้เวลารวม 5 นาที

10.  Pre Scan Calibration เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องจาก Daily Calibration อันประกอบด้วย 3 ขั้นตอน เป็นการตรวจสอบค่า Exposure ที่ออกมาจากหลอดเอกซเรย์ว่าถูกต้องตามที่ตั้งไว้ หรืออีกนัยหนึ่งคือ เป็นการตรวจสอบความพร้อมของหลอดเอกซเรย์ก่อนการใช้งานนั่นเอง โดยมีขั้นตอนเหมือนการทำ Daily Calibration แต่ต่างกันที่ เลือกทำ Pre Scan Calibration แทน ซึ่งใช้เวลา 2 นาที

 

ปัญหาและอุปสรรค 

            แน่นอน ทุกๆ งานในชีวิตย่อมมีปัญหาอุปสรรค การทำ Daily Calibration ก็เช่นกัน ปัญหาและอุปสรรคที่พบบ่อยๆ ได้แก่

  1. เกิดปัญหาจากตัวเครื่อง หรือส่วนประกอบของเครื่องเอง บางครั้งจำเป็นต้องใช้เวลานานในการจัดเตรียมนาน เนื่องจากอุปกรณ์ต่างๆ เสีย หรือไม่ทำงานเป็นต้น
  2. มีผู้ป่วยขอตรวจอย่างเร่งด่วน เป็นกรณีพิเศษ จนทำให้ไม่มีเวลาเตรียมความพร้อมของเครื่องได้
  3. ผู้ใช้มีความเข้าใจเกี่ยวกับการทำ Daily Calibration น้อยจนมองข้ามความสำคัญ

 

สรุป 

จากผลการทำ Daily Calibration จะเห็นได้ว่ามีขั้นตอนที่ง่าย และใช้เวลาน้อย (ประมาณ 15 นาที) ดังนั้นควรทำ Daily Calibration ทุกวัน เป็นการเตรียมความพร้อมทุกครั้งก่อนการทำงาน นอกจากการทำ Daily Calibration แล้วควรทำการตรวจสอบการใช้งานหรืออุปกรณ์อื่นๆ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเครื่องด้วย เพราะทุกๆ ส่วนประกอบของเครื่องมีความสัมพันธ์กันหมด แม้ว่าจะทำการตรวจวัดมาตรฐานผ่านแล้วก็ตาม หากส่วนประกอบอื่นเสียหรือชำรุดโดยที่เราไม่ได้ตรวจสอบ อาจนำพาตัวเครื่องเสียหายไปด้วย เพื่อไม่ให้เกิดการขัดข้องหรือติดขัดใดๆ ระหว่างปฏิบัติงาน ไม่ควรมองข้ามสิ่งเหล่านี้อย่างเด็ดขาด เพราะอาจทำให้เกิดการสูญเสียที่มิได้คาดคิดก็เป็นได้ อันได้แก่เ วลา ทรัพยากร และชีวิต

 

เอกสารอ้างอิง 

  1. http://www.incenter.medical.philips.com
  2. http://www.medicexchange.com/Allura+Xper/tag/Allura+Xper/
คำสำคัญ (Tags): #calibration
หมายเลขบันทึก: 385498เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2010 10:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีครับ

การเตรียมเครื่อง เตรียมคน และเตรียมใจ เป็นการเตรียมพร้อมที่ดี การเห็นปัญหาก่อนจะเกิดปัญหา เป็นการช่วยลดความเสี่ยงในการทำงาน การดูแลแบบนี้ หากทำได้ทุกเครื่อง ทุกวัน ก็จะเป็นตัวอย่างที่ดี สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพรังสีเทคนิค ขอชื่นชม ครับ

ทำมาก ได้มาก ทหน้อย ได้น้อย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท