ภาวะผิวหนังลอกไหม้จากการได้รับรังสีเกินกำหนด


Erythema

ภาวะผิวหนังลอกไหม้จากการได้รับรังสีเกินกำหนด 

Erythema 

นิตยา ทองประพาฬ  พย.บ.*
พรรณี สมจิตประเสริฐ         พย.บ.**
วิชุดา สิริเมธาธโนปกรณ์     วท.บ.รังสีเทคนิค***

*งานการพยาบาลรังสีวิทยา รพ.ศิริราช
**แผนกเอกซเรย์ รพ.เจ้าพระยา
*** ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

 

นิตยา ทองประพาฬ, พรรณี สมจิตประเสริฐ และวิชุดา สิริเมธาธโนปกรณ์.  ภาวะผิวหนังลอกไหม้จากการได้รับรังสีเกินกำหนด. วารสารชมรมรังสีเทคนิคและพยาบาลเฉพาะทางรังสีวิทยาหลอดเลือดและรังสีร่วมรักษาไทย, 2553;4(1):  18-21 

          ภาวะผิวหนังลอกไหม้จากการได้รับรังสีเกินกำหนดในผู้ป่วยที่มารับบริการทางรังสีร่วมรักษา เป็นภาวะที่อาจเกิดขึ้นได้โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มารับการรักษาด้านโรคหลอดเลือดสมอง โดย erythema หมายถึง สีแดง (reddening) ของผิวหนังซึ่งอาจเกิดจากการอักเสบหรือกระบวนการของภูมิคุ้มกันร่างกาย การได้รับรังสีจะนำไปสู่การรวมตัวกันของเม็ดเลือดขาวกลุ่ม lymphocytes ในชั้นผิวหนังเนื่องจากการตายของเซลล์ที่ได้รับรังสี โดยทั่วไปภาวะผิวหนังลอกไหม้อาจเกิดได้จากการได้รับความร้อน แมลงกัดต่อย การติดเชื้อ ภาวะภูมิแพ้ การได้รับรังสีกลุ่ม non-ionizing เช่น แสง UV และแสงแดด และการได้รับรังสีกลุ่ม ionizing เช่น รังสีเอกซ์ หรือกัมมันตรังสีต่างๆ

          ภาวะผิวหนังลอกไหม้จากรังสีเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในช่วงปลายปี 1890 เมื่อมีการค้นพบเอกซเรย์และการทดลองปรมาณู

          หากได้รับรังสีเอ็กซ์ปริมาณสูงระดับ 2-5 Gy จะทำให้เกิดภาวะผิวหนังลอกไหม้ได้ภายใน 2-3 ชั่วโมง โดยภาวะผิวหนังลอกไหม้ถือเป็นผลกระทบจากรังสีประเภท deterministic effect ซึ่งมีระดับในการก่อให้เกิดภาวะ (threshold) โดยผิวหนังมีระดับปริมาณรังสีที่ก่อให้เกิดภาวะผิวหนังลอกไหม้ได้เมื่อไดรับปริมาณรังสีสูงถึง 2 Gy ซึ่งเป็นปริมาณที่เกิดขึ้นได้ในการรักษาผู้ป่วยด้วยวิธีการทางรังสีร่วมรักษา การพิจารณาจะต้องหาพื้นที่ผิวหนังส่วนที่ได้รับรังสีปริมาณสูงสุด (peak skin dose) เพื่อพยากรณ์โอกาสในการเกิดภาวะผิวหนังลอกไหม้

          การได้รับรังสีปริมาณสูงติดต่อกันอาจนำไปสู่ภาวะผิวหนังลอกไหม้ได้ อย่างไรก็ตาม การแบ่งช่วงการทำการรักษาทางรังสีร่วมรักษาเป็นหลายครั้งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะผิวหนังลอกไหม้ได้ โดยจะต้องพิจารณาปริมาณรังสีรวม (cumulative radiation dose) เทียบกับอัตราการฟื้นตัวของเซลล์ (repair period) ระหว่างการได้รับรังสีจากหัตถการทางรังสีร่วมรักษาครั้งถัดไป หากช่วงเวลานานขึ้นก็จะทำให้ผิวหนังทนต่อรังสีได้มากขึ้น อย่างไรก็ตามมีข้อมูลทางการแพทย์ไม่มากนักสำหรับอัตราการฟื้นตัวของเซลล์จากรังสีเอ็กซ์ในงานรังสีวินิจฉัย เนื่องจากมีผู้ป่วยจำนวนไม่มากนักที่ได้รับรังสีต่อเนื่อง   

          การสังเกตผู้ป่วยถึงภาวะผิวหนังลอกไหม้จากการได้รับรังสีปริมาณสูงอาจสังเกตได้หากได้มีการรายงานปริมาณรังสีทันทีเมื่อเสร็จสิ้นหัตถการถึงปริมาณรังสีที่เกินกว่าระดับปกติ โดยภาวะผิวหนังลอกไหม้เฉียบพลันจะเกิดอาการภายใน 2-3 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามมีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งเกิดภาวะผิวหนังลอกไหม้ภายใน 2-3 สัปดาห์หลังหัตถการ 

          ภาวะผิวหนังลอกไหม้จากการได้รับปริมาณรังสีเกินกำหนด แม้จะมีโอกาสเกิดได้ แต่ไม่ถือเป็นภาวะแทรกซ้อนทั่วไปจากหัตถการทางรังสีร่วมรักษา ในการดูแลผู้ป่วยควรมีการให้ข้อมูลเบื้องต้นและแนะนำผู้ป่วยให้สังเกตภายหลังจากเสร็จสิ้นหัตถการ และการติดต่อกับแพทย์หากมีอาการปรากฎ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในผู้ป่วยที่มีประวัติผิวหนังไวต่อรังสี เช่น ataxia telangiectasia การตระหนักถึงภาวะผิวหนังลอกไหม้โดยแพทย์ผู้ทำหัตถการและแพทย์เจ้าของไข้ จะทำให้มีการตรวจสอบอาการเมื่อมีการตรวจติดตามโรค บริเวณผิวหนังที่อาจเกิดภาวะผิวหนังลอกไหม้คือผิวหนังที่อยู่ใกล้หลอดเอกซเรย์ซึ่งอยู่ใต้เตียง ดังนั้นจึงควรแนะนำผู้ป่วยถึงการสังเกตอาการที่ผิวหนังบริเวณท้ายทอย แผ่นหลัง เป็นต้น

          หากผู้ป่วยเกิดภาวะผิวหนังลอกไหม้จากรังสีโดยไม่ทราบว่าเกิดจากรังสี เมื่อไปหาแพทย์ผิวหนังเพื่อการรักษา แพทย์ผิวหนังก็จะมุ่งหาสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดภาวะผิวหนังลอกไหม้ และจะทำให้การรักษาเกิดขึ้นอย่างไม่ถูกทิศทาง ทำให้จะต้องรักษาด้วยยาหลายชนิดและใช้เวลาในการรักษานาน อย่างไรก็ตามหากผู้ป่วยได้รับทราบข้อมูลเบื้องต้นถึงภาวะผิวหนังลอกไหม้จากรังสี การติดต่อกลับยังรังสีแพทย์จะทำให้กระบวนการรักษาง่ายขึ้น รังสีแพทย์จะติดต่อแพทย์ผิวหนังเพื่อการปรึกษาแนวทางการรักษา ทำให้การรักษาเกิดขึ้นอย่างถูกทิศทาง

          การรักษาภาวะผิวหนังลอกไหม้จากรังสี ส่วนใหญ่เป็นการให้ยาเฉพาะที่ โดยมีแนวทางในการรักษาได้แก่

1. ภาวะผิวหนังลอกไหม้ระยะแรก (transient phase) ยังไม่ต้องใช้ยาใดๆ ผิวหนังจะหายได้เอง

2.  ภาวะผิวหนังลอกไหม้ระยะที่สอง (second erythema phase) อาจใช้ยาทาง่ายๆ เช่น ครีมว่านหางจรเข้ (aloe vera) แต่หากไม่หายจะต้องเปลี่ยนเป็นยาทาชนิดที่แรงขึ้น เช่น

  • biafin cream ซึ่งนิยมใช้ในผู้ป่วยฉายแสง
  • trolamin ซึ่งจะให้ผลดีกว่า biafin cream
  • calendula officinalis ให้ผลการรักษาที่ดี trolamin
  • steroid cream จะช่วยลด inflammatory reaction
  • Hyaluronic acid เป็นยากลุ่ม prophylactic ซึ่งจะช่วยลดการเกิดผิวหนังอักเสบจากรังสีในขั้นสูงๆ ได้

3.  หากการอักเสบลุกลามไปถึงขั้น moise desquamation การรักษาด้วย eosin และ anti-pain therapies ร่วมกับยาปฏิชีวนะ และ steroid เป็นแนวทางปฏิบัติโดยทั่วไป

ความเสี่ยงในการเกิดภาวะผิวหนังลอกไหม้ในผู้ป่วย จะสูงขึ้นในผู้ป่วยที่มีประวัติ ataxia telangiectasia gene หรือผู้ป่วยกลุ่มโรค fanconi disease, collagen vascular disease และผู้ป่วยเบาหวาน โดยภาวะเบาหวานจะทำให้เกิดภาวะผิวหนังลอกไหม้ในระยะยาวได้

 

ระยะผิวหนังลอกไหม้ 

ผิวหนังลอกไม้จากรังสีแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะได้แก่

1.  early phase เป็นระยะที่พบผิวหนังลอกไหม้ได้ใน 2-3 ชั่วโมงหลังการได้รับรังสี เป็นอาการที่พบได้ยากจากหัตถการทางรังสีร่วมรักษา แต่เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยฉายแสง

2.  Main erythematous phase เป็นอาการที่มีผื่นแดงเกิดมากขึ้น และมักพบใน 2-3 สัปดาห์หลังได้รับรังสี ผู้ป่วยจะมีอาการแสบร้อนร่วมด้วย โดยอาจเกิดแผลน้ำ และการเปลี่ยนสีของผิวหนังบริเวณนั้นได้

3. Third erythema phase จะพบที่ระยะ 8-20 สัปดาห์ หลังได้รับรังสี ถือว่าระยะนี้จะแสดงอาการร่วมกับภาวะการตายของผิวหนัง (dermal ischemia)

4. Fourth stage: Evolution ถือเป็นระยะสุดท้ายเนื่องจากผิวหนังจะเกิดการเปลี่ยนสีผิว โดยเข้มขึ้นหรือจางลงได้ และส่งผลให้เกิดภาวะ hyperkeratotic ได้

 

บรรณานุกรม

  1. _______________________.
    Interventional radiology. http://rpop.iaea.org/RPOP/RPoP/Content/InformationFor/HealthProfessionals/4_InterventionalRadiology/index.htm
  2. _______________________.
    Erythema. http://en.wikipedia.org/wiki/Erythema
  3. _______________________.
    Erythema. http://www.umm.edu/altmed/articles/erythema-000154.htm
  4. _______________________.Erythema. http://www.answers.com/topic/erythema
คำสำคัญ (Tags): #erythema
หมายเลขบันทึก: 420250เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2011 11:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 12:23 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท