๑๐๙.เด็กไทยกับความสนใจวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จึงเป็นความจำเป็นของคนทุกคนในสังคมไทย

            วันหยุดนี้แป๋มตั้งโปรแกรมไว้ว่าจะไปสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์  ที่หอสมุดของมหาวิทยาลัย  พร้อมกับนัดเจอกับเพื่อนร่วมชั้นเรียนสมัยมัธยมศึกษา ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์คณะแพทย์ศาสตร์  ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคอีสานนี่เองค่ะ.

            หลังจากที่แป๋มได้สืบค้นข้อมูลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  เราทั้งคู่ได้พูดคุยเกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่ก้าวรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกันแป๋มก็อดคิดไม่ได้ว่าความก้าวหน้าดังกล่าวนั้นช่างสวนทางกับความสนใจของเด็กไทยเราไม่ใช่น้อย  จากข้อมูลการเลือกแผนการเรียนขั้นพื้นฐาน  หรือการเลือกคณะในระดับมหาวิทยาลัย  สาขาวิทยาศาสตร์จะเป็นทางเลือกท้ายๆ  ของนักเรียนที่มีผลการเรียนที่โดดเด่น  ส่วนพวกที่เลือกนั้นเล่าก็จะเป็นผู้ที่มีผลการเรียนระดับปานกลางลงมาเป็นส่วนใหญ่  แม้แต่ที่มหาวิทยาลัยที่เพื่อนอยู่ก็เช่นเดียวกัน
 
           จากที่เราสนทนากันแบบไม่เป็นทางการนัก  ก็กลายเป็นหัวข้อที่เราเป็นห่วงกันขึ้นมา
จริงๆแล้วสิคะ  ไม่รอช้า  เราจึงไปเรียนปรึกษากับอาจารย์ที่เคยสอนวิทยาศาสตร์พวกเรา  ตลอดจนขอทราบความคิดเห็นของคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่สอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหลายท่าน  ซึ่งทุกท่านได้ให้ความเห็นราวกับว่าได้รอคอยเวลานี้มานานแสนนานเชียวค่ะ

            ช่วงเย็นหลังจากที่เราได้ไปพบกับคณาจารย์  เท่าที่เวลาจะอำนวยอย่างไม่เป็นทางการ  คำตอบที่รวบรวมได้ดูน่าสนใจค่ะ  มีการบ่งถึงประเด็นที่เป็นสาเหตุเอาไว้ชัดเจน  และผลที่เห็นในปัจจุบันนี้เล่า  ย่อมจะเป็นผลพวงต่อไปในอนาคตของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับสังคมไทยซึ่งน่าเป็นห่วงมากๆ  ด้วยเพราะความสนใจด้านวิทยาศาสตร์ของเด็กไทยลดลง  การค้นคว้าเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ก็ไม่ค่อยมีคุณภาพเพราะไม่เห็นความสำคัญ  ครูอาจารย์ตรวจงานแบบขอไปที  สื่อที่ใช้ก็ไม่หลากหลาย  และที่สำตัญครูผู้สอนนั่นเองที่ขาดการปลูกฝังจิตวิทยาศาสตร์ให้กับผู้เรียน..,อืม..น่าคิดค่ะ

          ท้ายที่สุดหลังจากกล่าวลาทุกท่านแล้ว  แป๋มได้นำแง่คิดที่คณาจารย์เหล่านั้นได้กรุณาฝากเป็นการบ้าน  ให้แป๋มและครูวิทยาศาสตร์มาขบคิด  ว่าจะทำอย่างไรที่จะให้เยาวชนไทยหันมาใส่ใจวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคู่ความเป็นไทยให้มากกว่านี้...หาไม่..สังคมไทยและประเทศไทย  จะอยู่ได้ไหมกับกระแสโลกาภิวัฒน์ที่กำลังเชี่ยวกราก...นั่นสิคะ...ทำอย่างไรกันดี.

                                                                                                                       ครูแป๋ม.

หมายเลขบันทึก: 266311เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2009 15:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2012 11:47 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (33)

เรื่องนี้ก็น่าเป็นห่วง ระบบการศึกษาของบ้านเราจริง ๆ นะครับ ทุกระดับชั้นจะเห้นได้ว่าสัดส่วนของเด็กหรือนักศึกษาที่สนใจเรียน ว และ ท จะน้อยลงทุกที โดยเฉพาะ pure science หากยากขึ้นทุกปี คงต้องร่วมกัยระหว่างกระทรวงศึกษา กับกระทรวงวิทย์ฯ ในส่วของกระทรวงวิทย์ฯ ก็มีกลยุทธ์หลาย ๆ ด้านที่ออกมา เช่น การให้ทุนการศึกษาด้าน ว และ ท การ จัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน การจัดตั้ง สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อดูแลวิชาชีพทางด้าน ว และ ท

  • สวัสดีค่ะน้องคูแป๋ม
  • แวะมาทักทายและขอบคุณที่แวะไปส่งกำลังใจให้ครูอิงเสมอ ๆ
  • เรื่องของวิทยาศาสตร์ จริง ๆ  แล้วเป็นเรื่องที่สนุกนะคะ
  • เด็ก ๆ น่าจะชอบ เพียงแต่ว่าผู้บริหารต้องจัดครูผู้สอนเอกวิทยาศาสตร์จริง ๆ ไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้
  • ที่โรงเรียนครูอิงตอนแรกเด็กไม่ชอบเรียน ตอนนี้ได้คุณครูเอกวิทยาศาสตร์มาสอนให้ เด็กชอบมากค่ะ
  • แต่เรื่องของความเป็นไทยนั้นยังคงเป็นปัญหา เพราะเด็กส่วนใหญ่ติดเทคโนโลยี อิ..อิ..อิ...(ครูอิงยังติดบล็อกเลยค่ะ)
  • ไปหล่ะ  สู้  สู้

สวัสดีค่ะน้องคูแป๋ม

อิ..อิ..พิมพ์เร็วดีนัก เลยตก ร อ่ะค่ะ  ขออภัยนะคะ

คุณครูแป๋ม

  • สวัสดีค่ะ คุณ คลินิกเทคโนโลยี
  • ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ
  • ขอบคุณที่ร่วมแนะนำ
  • ชื่นชมความเก่งของคุณ
  • ขอบคุณค่ะ.
  • ไชโย!!!!!
  • พี่ครูอิงมาเยี่ยมแป๋ม
  • คิดถึงจังเลยค่ะ
  • งดงามทั้งกายใจ
  • ยกให้พี่อิงจันทร์คนนี้
  • กลับมาคราวนี้..
  • แป๋มติดที่นี่มากกว่า
  • ก่อนไปศรีราชาอีก..
  • ขอบคุณพี่สาวค่ะ

เข้ามาเยี่ยมครับครูแป๋ม  วันหยุดคงได้พักผ่อนหายเหนื่อยนะครับ

 

 

  • อืม...ก็ไม่เชิงค่ะ
  • ต้องทุ่มเทแบ่งเวลาให้ดี
  • ทั้งภาระงานรับผิดชอบของโรงเรียน
  • กับงานที่หยุดไม่ได้กับการทำดุษฎีฯ
  • อยากให้เป็น output ที่ออกมาดีๆ
  • มีคุณภาพทั้งคู่ค่ะ เหนื่อยแต่มีความสุขค่ะ
  • ขอให้คุณกุ้งสุขสบายกับวันหยุดอีก1วันนะคะ.

ตามมาขอบคุณ ครูแป๋มที่แวะมาเยี่ยมกันค่ะ

 

ด้วยความระลึกถึงเสมอค่ะคุณ berger0123

สวัสดีค่ะ ตามมาอ่านค่ะ....
หน่วยงานที่ทดสอบความรู้คณิตศาสตร์ และวิทยา
ศาสตร์TIMSS

ได้เคยมีผลการทดสอบเด็กไทยไว้ในหลายรายการด้วย เมือ ปี 2548

ผลของ TIMSS มีดังนี้

 ในด้านคณิตศาสตร์ นักเรียนชั้น ป. 4 ของไทยเข้ามาลำดับที่ 22 ในบรรดา 26 ประเทศ และชั้น ม. 2 เข้ามาลำดับที่ 21 ในบรรดา 41 ประเทศ

• ในด้านวิทยาศาสตร์ นักเรียนชั้น ป.4 ของไทยเข้ามาลำดับที่ 24 และชั้น ม.2 เข้ามาลำดับที่ 22

ผลการทดสอบของ PISA บ่งว่า เด็กไทยได้ลำดับที่ 33-36 ในด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การอ่านและการแก้ปัญหาเมื่อเทียบกับการทดสอบนักเรียนใน 41 ประเทศ

รายงานการทดสอบของทั้ง TIMSS และ PISA มีรายละเอียดอีกมาก ผู้สนใจอาจติดต่อ Boston College ในสหรัฐ หรืออ่านจากเวบไซต์ของเขาที่ http://timss.bc.edu และ OECD ในกรุงปารีส หรืออ่านจากเวบไซต์ของเขาที่ www.pisa.oecd.org

ในรายละเอียดมากมายนั้น มีข้อน่าสังเกตหลายอย่าง เช่น TIMSS ชี้ว่า

 ในด้านคณิตศาสตร์ การทดสอบนักเรียน ป.4 และ ม. 2 พบว่า เด็กที่มาลำดับ 1-4 ได้แก่ เด็กสิงคโปร์ เกาหลี ญี่ปุ่นและฮ่องกง

 ในด้านวิทยาศาสตร์ การทดสอบนักเรียน ป.4 พบว่า เด็กเกาหลีมาที่ 1 เด็กญี่ปุ่นมาที่ 2 เด็กสิงคโปร์มาที่ 10 และเด็กฮ่องกงมาที่ 14 การทดสอบเด็ก ม.2 พบว่า เด็กสิงคโปร์มาที่ 1 เด็กญี่ปุ่นมาที่ 2 เด็กเกาหลีมาที่ 3 และเด็กฮ่องกงมาที่ 24

PISA ชี้ว่า ในด้านคณิตศาสตร์ ฟินแลนด์ แทรกเข้ามาเป็นอันดับ 1 ส่วนประเทศที่กล่าวถึงได้คะแนนลดหลั่นกันลงไป แต่จะไม่เปลี่ยนภาพที่ชี้ว่า เด็กจากเกาหลี ญี่ปุ่น และสิงคโปร์มักมาในอันดับต้นเสมอไม่ว่าจะทดสอบอะไรและในระดับไหน

เป็นการตอกย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า เมืองไทยล้าหลังอย่างน่าวิตกในยุคโลกไร้พรมแดน

ซึ่งต้องการคนทางปัญญา และมีความสามารถทางเทคโนโลยีสูง ปัญญาและความสามารถนั้นต้องมาจากฐานความรู้อันแข็งแกร่งทางคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ค่ะ
ถ้าว่างเชิญที่บันทึกนี้นะคะ


อ่านBlog และความเห็นต่างๆ ...สอดคล้องทิศทางเดียวกันค่ะ....ในฐานะครูผู้สอนวิทยาศาสตร์...ก็เป็นห่วง...ในส่วนตนเองก็ปรับวิธีสอน..พยายามสอนให้เขารู้จัก How to learn....แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายด้วยหลายเงื่อนไข....ในความคิดตนเอง...วิชาโครงงานวิทยาศาสตร์นะค่ะ เป็นจุดเริ่มที่ดี ครูต้องกระตุ้น สร้างความตระหนักนักเรียนต่อวิชานี้ให้ได้...เป็นก้าวหนึ่งในหลายก้าวที่ผู้เกี่ยวข้องทั้งครู หน่วยงาน ผู้ปกครองและนักเรียนต้องร่วมกันผลักดัน

  • สวัสดีค่ะ คุณ Sasinand
  • แต่ละประเทศที่มาวินในเรื่องของการศึกษา
  • โดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์
  • ล้วนจัดให้เป็นนโยบายที่เรียกได้ว่าเป็นวาระแห่งชาติ
  • มีการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรอย่างจริงจัง
  • กระบวนการจัดการเรียนรู้นั้นเล่าต่างทุมเทให้กับการนี้
  • คุณภาพของประชากรต้องมาก่อนหรือไม่ต้องทำควบคู่กัน
  • กับการพัฒนาเศรษฐกิจ เพราะประเทศเราในอนาคต
  • อยู่ในกำมือเยาวชนรุ่นใหม่ที่จะเติบใหญ่จากการบ่มเพาะ
  • จากคนรุ่นเราค่ะ...ครูเราเคยเรียนมาแบบใดก็จะสอนแบบนั้น
  • การยอมรับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ  ช่างยากเย็นเต็มทน....
  • ขอบคุณคุณครูหลายๆท่าน ที่พยายามศึกษาหาวิธีใหม่ๆ
  • โดยไม่ยึดอัตตาเป็นที่ตั้ง  หากแต่มองภาพรวมแห่งอนาคต
  • ขอบคุณที่แวะมาพร้อมแนะนำ  แง่คิดมุมมองที่เป็นประโยชน์คะ.
  • สวัสดีค่ะ คุณครูnoktalay
  • เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งกับเรื่องวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ขอให้เป็นการทำตามหลักการของโครงงานที่เด็กต้องรู้จัก
  • creative เองโดยมีครู ผู้ปกครอง  ชุมชน ร่วมมืออำนวย
  • ความสดวกให้นักเรียน สืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้จริง
  • ไม่ใช่เป็นการที่ครูทำ  นักการทำ  จ้างช่างยนต์ ฯลฯ ทำ
  • ครูเขียนบท จัดทำเล่ม ให้นักเรียนที่พูดเก่งๆ หัวไวๆมาพูด
  • กรรมการก็มาตรฐานอย่างไร  กับเด็กที่ทำเองครบกระบวนการ
  • แต่อาจมีเวลาฝึกพูดน้อยไปบ้าง ต้องพลาดรางวัล ไร้การใส่ใจจากผู้บริหาร  สรรเสริญครูที่พาเด็กทำผิดหลักการนัยว่าทำชื่อเสียงให้กับทางโรงเรียน  ทำเอาหูไปนาเอาตาไปไร่กับสิ่งผิดๆ
  • ทั้งหลายทั้งมวลเป็นประสบการณ์ตรงในฐานะที่เป็นครูผู้สอน  ครูที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์ และเป็นคณะกรรมการดำเนินงาน  ตลอดจนการเป็นคณะกรรมการตัดสินการประกวดมามากมายนับไม่ถ้วน...ก็ยังมีแฝงเร้นมาตลอด  เหมือนกับการทำพานที่ครูเป็นคนทำ  แทนที่นักเรียนจะทำเพียงเพราะว่ามีการประกวดแข่งขันประชันกัน  เด็กรู้สึกว่าจะต้องชนะครูก็เช่นกัน
  • ทำไมเราไม่ช่วยกันพัฒนาคุณภาพจิตใจเด็กให้เขาภูมิใจในศักยภาพแห่งตน  ไม่ใช่สอนให้เขาโกงตั้งแต่ในมุ้งแพ้ไม่ได้ อย่างนี้อันตรายนะคะ  ประเทศไทย... 

สวัสดียามเช้าตรู่คุณครูแป๋ม

  • มาติดตามครับ

ทำอย่างไรที่จะให้เยาวชนไทยหันมาใส่ใจวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

   ปํญหามา  ปัญญามี

   มารบ่มี    บารมีบ่เกิด

   ปัญหา จะเป็นตัวสร้างปัญญา ครับ

                 สู้ๆ ครับ  ความสำเร็จอยู่ข้างหน้า

สวัสดีค่ะครูแป๋ม

ดีใจจังเลยที่ให้ความสนใจกับวิชานี้...

ชาติจะพัฒนา...กระบวนการเรียนรู้วิจัยทางวิทย์

อยากให้เยาวชนสนใจมากๆ...

  • อรุณสวัสดิ์ค่ะ อาจารย์พันคำ
  • ตื่นเช้านะคะ เอ่อ...คือ...แป๋มอาจนอนดึกไปนิดนึง
  • แต่ว่า..ช่วงเวลาที่ไม่ได้ออนแป๋มหลับมาแล้วนะคะ
  • อิอิ...รอดแน่ๆเรา...
  • สวัสดียามเช้าค่ะท่านรองฯ....
  • ปัญหา จะเป็นตัวสร้างปัญญา
  • ใช่ค่ะ เป็นข้อที่1ของวิธีทางวิทยาศาสตร์
  •  ขอบคุณค่ะที่แวะมาแต่เช้า..
  • สวัสดีค่ะ คุณแดง
  • ที่จริงสนใจทุกวิชาค่ะ
  • แต่ตนเองเป็นครูวิทยาศาสตร์
  • พบสภาพจากประสบการณ์ตนเอง
  • ยอมรับและพัฒนาจากตนเองอยู่ด้วยค่ะ
  • ขอบคุณที่แวะมาแต่เช้านะคะ
  • "อิอิ...รอดแน่ๆเรา...." แบบไหนครับ คาบเส้น
  • ขยันจริงๆ ยกนิ้วโป้ง (ไม่ใช่โกรธนะ) ให้เลย
  • รอดจากการถูกทำโทษค่ะ
  • แหม..อาจารย์พูดเป็นลางนะคะนี่
  • ท้า(รึเปล่า)หากขยันจริง...
  • จะยกนิ้วโป้งให้...ฮือๆๆ
  • จากข่าวสารข้อมูลที่เคยรู้บ้าง "เด็กไทยสนใจวิทยาศาสตร์น้อย เพราะผู้ใหญ่ไม่ได้สนใจวิทยาศาสตร์จริง" ผมคิด
  • ครูแป๋มคิดไงครับ?
  • จริงแท้แน่นอนค่ะ
  • แป๋มเห็นด้วยกับคุณ
  • การที่เด็กจะสนใจสิ่งใด
  • ผู้ใหญ่ต้องสร้างบรรยากาศการเรียนรู้
  • ให้บังเกิดอย่างหลากหลาย
  • เมื่อผู้ใหญ่ไม่สนใจ ไม่สนการโปรแกรมความรู้ให้เด็ก
  • สภาพปัญหาก็เป็นอย่างที่เห็นนี่แหละค่ะ คุณครูธนิตย์...
  • สวัสดีจ้า เด็กๆส.ธ.พ. ที่น่ารักทุกคน
  • วันนี้กิจกรรมโรงเรียนเราเยอะดีเนอะ
  • ม.5, ม.6 ไปมทส.เพื่อค้นหาข้อมูลอนาคตของตน
  • ม.3 เป็นกองเชียร์ดารามาเยี่ยมออกทีวีด้วยนะจ๊ะ
  • ม.1,2,4 เรียนตามปกติ  โหวงเหวงพิกล
  • พรุ่งนี้ ม.1 เข้าค่าย 2 วัน (รับน้อง...เข้าวัด)
  • ที่เหลือมาเรียนเด้อ..โดยเฉพาะม.6
  • ครูแป๋มมีเรื่องจะคุยด้วยจ๊ะ..

ดูครูมีความสุขดีนะครับกับเด็กๆ  แต่ปัญหาความไม่ใส่ใจวิทยาศาสตร์ก็ช่างเป็นเรื่องหนักใจตลอดมา  เป็นกำลังใจให้ครับผม

  • ขอบคุณสำหรับกำลังใจดีดีแบบนี้ค่ะ  คุณพชร

       

 

 

 

ขอเป็นกำลังใจให้ครูแป๋มสู้ๆคะ

เพื่อเด็กไทยก้าวสู่โลกสากล

^^>'

  • ขอบใจจ้า หนู B.U.M.-B.I.M.

       

มาทักทายตอนสายๆ กับคุณครูวิทยาศาสตร์คนนี้ครับ

สวัสดีค่ะ  คุณพชร

  • ขอบคุณสำหรับการมาทักทายค่ะ

สวัสดีคะ คุณพชร

  • ขอบคุณที่ส่ง linkนี้มาให้นะคะ
  • เป็นของอ.ธนิตย์ ตัวแบบครูชีวะของแป๋ม
  • ขอบคุณมากมายค่ะ

 

สวัสดีค่ะ

  • นี่ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องราวที่เกี่ยวกับความสนใจในวิทยาศาสตร์
  • ของเด็กไทยจากความคิดเห็นของคณาจารย์ ครูอาจารย์
  • ที่สอนวิทยาศาสตร์ในสถาบันทางการศึกษา เชิญทัศนาได้เลยค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท