๑๒๖.คนมีปัญหา...(โจทย์ปัญหา)


ครูคะ หนูมีข้อสอบอยู่ข้อหนึ่ง คิดไม่ออกค่ะ ช่วยหนูด้วยนะคะ

 

 

  

 

 

 

ครูคะ หนูมีข้อสอบอยู่ข้อหนึ่ง คิดไม่ออกค่ะ ช่วยหน่อยนะค่ะ โจทย์.......

  "ถ้าประชากรในอำเภอหนึ่ง ซึ่งอยู่ในภาวะสมดุลของฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก มีจำนวนทั้งหมด 10000 คน มีผู่ป่วยเป็นโรคซิสติด ไฟโบรซิส ซึ่งเป็นโรคพันธุกรรมแบบยีนด้อยบนโครโมโซมร่างกาย 4   คน จะมีประชากรประมาณกี่คนที่เป็นพาหะของโรค " 

  หนูคิดแล้วค่ะ แต่คิดไม่ได้ซักที ครูช่วยบอกแนวคิดก็ยังดีค่ะ.......มิ้นท์ ห้องห้า   

  

หมายเลขบันทึก: 275298เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2009 01:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:51 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (57)
  • โห..ปัญหายามดึก...จะตอบถูกไหมเนี่ย..
  • ต้องลองเทียบกับ..สถานการณ์..ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ดูก่อนนะคะ..
  • แต่..โรคซิสติด ไฟโบรซิส ซึ่งเป็นโรคพันธุกรรมแบบยีนด้อยบนโครโมโซมร่างกาย ..ด้วยซิ..
  • เอ..ถ้าตอบถูกจะได้กี่คะแนน คะ..ครูแป๋ม..อิอิ

                             

  • สวัสดีค่ะ คุณครูนัฐพร จันทร์ส่งสิงห์
  • ขอบคุณที่แวะมาบอกใบ้ของมิ้นท์นะคะ
  • ถ้าตอบถูก อยากได้กี่คะแนนก็จะให้ ใช่ไหมมิ้นท์..อิอิ

       

สวัสดรค่ะครูแป๋ม

ขอให้มีความสุขในการเรียนนะคะ ขอให้จบเร็วๆนะคะว่าที่ดร.คนสวย...เก่งจังเลย...

 

  • ขอบคุณค่ะพี่แดงที่ให้กำลังใจแป๋มอีกคน
  • กำลังใจดีดีแบบนี้ทำให้แป๋มมีลูกฮึดขึ้นมาค่ะ
  • ลูกฮึดนี้ยังแผ่ไปยังเด็กๆที่กำลังมองครูเขาอยู่
  • ขอให้ลูกๆครูแป๋มทุกคนฮึดสู้..สู้...สู้...
  • วันนี้ขอให้ลูกม.6ทุกๆคนโชคดีในการสอบนะคะ
  • ขอบคุณผู้ใหญ่ใจดีที่ส่งแรงใจให้ครู..ต่อไปให้กับศิษย์
  • ขอบคุณนะคะพี่แดง...ที่ใจดีที่สุดในโลก...

      

              ดูแลสุขภาพด้วยนะคะพี่.

 

 

คิดไม่ออกเหมือนกัน

มึนกับ gat patอยู่ครับ

แย่จัง

  • อ้าว....  นายอ๊อฟ
  • สอบวันนี้เป็นยังไงบ้าง
  • เล่าให้ครูแป๋มฟังนิด
  • ส่งเมลล์มาดูซิ..อยากรู้

       

ใจเย็นๆนะ แล้วค่อยเล่าให้ครูแป๋มฟังก็ได้จ๊ะ

 

ขอบคุณที่ได้ไปทักทายเพื่อนใหม่

ยินดีที่ได้รู้จักคนเก่งค่ะ

  • สวัสดีค่ะ   คุณสาวเหน่อ
  • ยินดีที่ได้มีเพื่อนใหม่เพิ่มขึ้นอีกคนค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

       

สวัสดีค่ะ

หายไปนาน

ช่วงนี้งานเยอะค่ะ

หนูไปหาข้อมูลเพิ่มเติมมา

เรื่องนี้เป็นเรื่องพันธุศาสตร์ประชากร

ที่อยู่ในเรื่องวิวัฒนาการ

ในข้อนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้อกับทฤษฎีของฮาร์นดี-ไวน์เบิร์ก

ตอนนี้ยังมีข้อมูลไม่มากพอ

เดี๋ยวข้อไปศึกษาข้อมูลเพิ่มก่อนนะค่ะ

  • ประธานมิ้นต์6/5
  • ดีมากถือว่ามีพัฒนาการขึ้นมานิดนึง
  • คนอื่นๆอย่านิ่งดูดาย นี่เป็นสิ่งท้าทายอีกระดับ
  • คำตอบยังไม่สิ้นสุด  แต่การหาข้อมูลมาสร้างทางเลือก
  • ก็เป็นสิ่งที่พึงกระทำมิใช่หรือ??

       

เข้ามาทักทายวันฝนตกครับครูแป๋ม  หวังว่าคงสบายดีนะครับ

 

 

  • สวัสดีค่ะ นายก้ามกุ้ง
  • ครูแป๋มชอบค่ะกับสายฝนเย็นฉ่ำ
  • คุณกุ้งสบายดีนะคะ

       

จากกฎสภาวะสมดุลของฮาร์ดีและไวน์เบิร์ก กล่าวว่า "ความถี่สัมพัทธ์ของยีนใดยีนหนึ่งจะมีค่า

คงที่ไม่ว่าจะเปลี่ยนไปกี่ชั่วอายุก็ตาม ถ้าไม่มีปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความถี่ของยีน "

ครูค่ะแล้วเราต้องใช้สูตรตามกฎฮาร์ดีและไวน์เบิร์กที่ว่า

(pA+qa)2 = p2AA+2pqAa+q2aa

มาถูกทางหรือผิดทางคะครู

ต้องขอบคุณเพื่อนมากเลย ที่ให้โจทย์ข้อนี้ ได้ค้นหาข้อมูลได้ศึกษาเพิ่มเติม ^^

แต่ก็ยัง ไม่ แ น่ ใ จ* ใ น คำ ตอ บ

  • จ๊ะ B.U.M.-B.I.M
  • แล้วในความเป็นจริงลูกติดว่าปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความถี่ของยีนจะไม่มีตามทฤษฎีนี้ไหม  อย่างไรหนอ...
  • โปรดขานไขด้วยจ้า.....

โรคซิสติกไฟโบรซิส เป็นโรคทางกรรมพันธุ์ที่ส่งผลต่อทางเดินหายใจ ซึ่งเป็นโรคพันธุกรรม

แบบยีนด้อยบนออโทโซม ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความถี่ของยีน สาเหตุที่ทำ

ให้เกิดโรคซีสติกไฟโบรซีสคือ การผ่าเหล่าในแอลลีลลักษณะด้อย แอลลีลที่ก่อให้เกิดโรคนี้ส่ง

ผลให้เด็กทารกที่เกิดมาจะเป็นโรคนี้ 4 คน

ครูค่ะ หนูสงสัยอยู่ว่าจากสูตร (pA+qa)2 = p2AA+2pqAa+q2aa และค่าความถี่จีโน

ไทป์ที่สมดุลของยีนที่อยู่บนออโตโซมจะเกิดขึ้นเมื่อมีการผสมพันธุ์แบบสุ่ม 1 รุ่น ถ้าความถี่ของ

แอลลีลเริ่มต้น ในเพศทั้งสองมีค่าเท่ากัน แล้วเราจะแทนค่าต่อไปอย่างไรดีคะ แล้วเราดูความถี่

ของยีนจากที่ใด (มาถูกทางไหมคะ?) ครูขอคำปรึกษาด้วยคะ(^_^))'

ถ้ากำหนดให้โรคนี้ถูกควบคุมด้วยยีนที่มีแอลลีล 2 ชนิด

จาก 10000 คนจะมีจำนวนแอลลีลทั้งหมด 20000 แอลลีลด้วยกัน

ความถี่ของแอลลีลของผู้ป่วยเป็นโรคซิสติดไฟโบรซิส จะได้

= 4/10000

= 0.0004

ผู้ป่วยเป็นโรคซิสติดไฟโบรซิสจะมีจีโนไทป์ เป็น Aa มีความถี่แอลลีล เท่ากับ 0.0004

(มาถูกทางหรือผิดคะครู) หนูก็พยายามทำความเข้าใจอยู่คะ ขอคำแนะนำครูด้วยคะ^^

  • ขออนุญาตครูแป๋มคุยกับB.U.M-B.I.Mครับ..(อีกแล้วครับท่าน)
  • ที่ว่ามา 0.0004 เป็นความถี่แอลลีลผู้ป่วยซิสติดไฟโบรซิส และผู้ป่วยเป็นโรคซิสติดไฟโบรซิสจะมีจีโนไทป์เป็น Aa มีความถี่แอลลีล=0.0004
  • มีข้อชวนให้สังเกตว่า 0.0004 เป็นความถี่ของอะไรแน่ ระหว่างแอลลีลกับจีโนไทป์
  • มั่นใจแล้วหรือ? ว่าผู้ป่วยโรคซิสติดไฟโบรซิสมีจีโนไทป์เป็น Aa
  • โจทย์ถามอะไร..ถามพาหะ ใช่เปล่า?
  • พาหะน่าจะเป็นแอลลีลหรือจีโนไทป์..และอะไร?
  • สรุปว่ามาถูกทางแล้วครับ แต่ยังไม่ถึงจุดหมาย คิดต่อๆๆ จะคอยเชียร์ให้ได้คำตอบ
  • นอกจากกระตุ้นให้นักเรียนคิดแล้ว..ยังกระตุ้นครูได้ด้วยครับ
  • ขอบคุณครูแป๋มครับ
  • ขอบคุณค่ะคุณครูธนิตย์ที่กรุณาเข้ามาเป็นกูรูให้กับเด็กๆ
  • มุมมองจากผู้ใหญ่ท่านอื่นนอกจากครูแป๋มอาจเสริมให้เขา
  • มีแรงใจที่จะต่อสู้กับอุปสรรคที่จะนำไปสู่ความสำเร็จได้ดีขึ้น
  • ขอบคุณคุณครูธนิตย์ค่ะที่อุตส่าห์สละเวลามาเพิ่มพูนความรู้ให้กับครูและนักเรียนชาวbioค่ะ.

        

                         ดูแลสุขภาพด้วยนะคะ

 

 

 

 

สวัสดีค่ะครูแป๋ม

เด็กและพวกเราชาวโกทูโน รอยินดีกับว่าที่ดร.อยู่นะคะ

ให้กำลังใจค่ะ...

ฝากดอกโมกให้นะคะ...ขอร่วมภูมิใจกับพ่อแม่ที่มีลูกสาวสวยและเก่ง...ชมจากใจนะคะ...

 

จากสมการสมดุลฮาร์ดี้ไวน์เบิร์ก (p+q)2=p2+2pq+q2=1

จากประชากรทั้งหมด 10000 คน เป็นโรค 4 คน(ยีนด้อย:qq)

วิธีทำ หาความถี่ของยีนด้อย(q)

จาก qq = 4

q2 = 4/10000

q = 0.0002

หาความถี่ของยีนเด่น(p)

จาก (p+q)2 = 1

((p+q)2)1/2= (1)1/2

p+q = 1

p+0.0002 = 1

p = 1-0.0002

p = 0.9998

หาประชากรที่เป็นพาหะ(pq)

จาก 2pq = 2(0.99)(0.0002)

= 0.000396

ดังนั้นคนที่เป็นพาหะ มี 0.000396x10000

= 396 คน ตอบ

********************************************

อาจจะดูงงๆนะคะ แต่คำตอบจะออกประมาณนี้ ทำตามความเข้าใจอะคะ

ขอครูแป๋มช่วยชี้แนะนะคะ ^^

ขอบคุณคุณครูธนิตย์ที่ชี้แนะหนูคะ ขอบคุณมากคะ

ต้องขอประทานโทษคะ แอลลีลของผู้ที่เป็นโรคนี้คือ aa

ความถี่ของแอลลีลของผู้ป่วยเป็นโรคซิสติดไฟโบรซิส จะได้

= 4/10000

= 0.0004

มีความถี่แอลลีล เท่ากับ 0.0004

ซึ่ง 0.0004 คือความถี่ของแอลลีลคะ ตามที่หนูเข้าใจ

ถูกไหมคะ ^^ ขอความกรุณา คุณครู ช่วยชี้แนะหนูด้วยคะ

  • สวัสดียามเย็นค่ะ พี่แดง
  • เป้าหมายของการเรียนป.เอก
  • คือการทำงานเพื่อพัฒนาเด็ก
  • พัฒนาการศึกษาของประเทศชาติ
  • การฝังตัวเองอยู่ในพื้นที่จริงๆ
  • ได้พบได้แก้ไขปัญหาที่เกิดจริง
  • สำเร็จบ้างอุปสรรคก็มากน้อย
  • ต่างกันไปตามสถานการณ์จริง
  • อดทนและต้องอึดชนิดที่เรียกว่า..
  • จบมาแล้วสภาพหนูจะเป็นแป๋ม
  • คนเดิมอยู่ไหมหนอกลัวเดี้ยงค่ะ
  • ถึงอย่างไรก็จะพยายามให้ถึงที่สุด
  • ขอบคุณทุกกำลังใจและพี่สาวคนนี้...

       

     พี่แดง..คนดี..พี่ผู้ให้กำลังใจแป๋มเสมอมาค่ะ

 

 

 

 

  • สวัสดีจ๊ะ be with u และ B.U.M.-B.I.M
  • เรา 2 คนเก่งมากๆจ๊ะ พยายามอดทน
  • แสวงหาคำตอบแม้ครูยังไม่ได้กล่าวถึงนัก
  • นี่แหละคือเบ็ดที่ครูแป๋มขอมอบให้กับพวกเรา
  • จะมีสักกี่คนที่จะก้าวเข้ามาทำทั้งที่อาจไม่มี
  • ผลตอบแทนอื่นใดก็ได้ เพราะเราไม่มีเงื่อนไข
  • ที่ตกลงกันไว้ นี่แหละคือบุคคลที่ชาติต้องการ
  • ลูกต่างมาถูกทางแต่ท้ายที่สุดดูสิคะโจทย์ถามอะไร

      

 

 

 

ดีจังเลยนะครับ ได้มาทายปัญหา และ ลปรร กัน

สวัสดีครับครูแป๋ม แวะมาเยี่ยมครับ

(pA+qa)2 = p2AA+2pqAa+q2aa

สูตรนี้มันคืออะไรครับ

หรือว่าตับ ไต ไส้ พุง

ที่ผมจำได้ 1ข้อ

และแน่นอนคือข้อแมลงหวี่

ชีวะส่วนมากผมรู้ว่าอาจารย์เปนคนออกแน่นอน

ส่วนวิศวะวิเคราะห์เหมือนกันครับ

โจทย์ให้ตัวเลขมาเตรียมคำนวณเต็มที่

แต่...แต่คำตอบกลับเป็นวิเคราะห์

เล่นผมหงายหลังหัวโขกโต๊ะ

เลือดไหลหยดลงข้อสอบ

สุดท้ายตายคาข้อสอบครับ

  • ค่ะ ท่านรองฯวิชชา
  • นี่เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้
  • อีกรูปแบบหนึ่งที่ท้าทายความสามารถ
  • ของเด็กในวัยนี้เป็นอย่างมากเลยค่ะ
  • ขอบคุณที่ท่านแวะมาเยี่ยมนะคะ.

       

 

  • สวัสดียามเย็นค่ะ ท่านวอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei--
  • ขอบคุณนะคะที่แวะมาเยี่ยมกันค่ะ

       

เด็กห้องท้ายเหมือนกัน

ครับ ก็ งงๆ เหมือนกันครับ เพราะว่าโจทย์ยากอะครับ

แล็วก็อ่านหนังสือไม่ทันด้วยครับ ก็เลย go to doa..55

  • นี่ นายอ๊อฟ ประวิทย์
  • สูตรที่ว่าโปรดกลับไปศึกษาในหนังสือเรียน น.132
  • เธอบอกว่า "คำตอบกลับเป็นวิเคราะห์"
  • การที่หัวโขกโต๊ะเลือดไหลอะไรนั่น
  • เป็นเพราะเราขาดทักษะการวิเคราะห์อย่างแรง
  • วิเคราะห์เป็นก็ต้องรู้จักสร้างทางเลือกและเลือก
  • ในสิ่งที่ดีที่สุดด้วยเหตุและผล...นี่แหละ...
  • ธรรมชาติชีววิทยา...หาใช่การท่องจำอย่างเดียวไม่....
  • การฝึกการคิดที่เป็นระบบจะช่วยให้เธอหัวไม่โขกโต๊ะ
  • แต่ต้องฝึกบ่อยๆจนมีความชำนาญและต้องลับคมเสมอ
  • หาไม่อาจไม่มีโอกาสได้ใช้ประโยชน์อีกเลยในชีวิตจ๊ะ

 

 

  • ขออนุญาตครูแป๋มอีกครั้งนะครับ!
  • BUM-BIM ลองศึกษาคำตอบของ be with you ดู เพราะครูว่าเกือบครบถ้วนกระบวนการความแล้ว แต่..(นิดเดียวจริงๆ เสียดายๆๆๆ)
  • be with you พลาดตรงไหนไปนิดนะ(แบบไม่น่าพลาดเลย!)หรือรีบไป คำตอบจึง..ถ้าเป็นสอบแข่งขัน อย่างนี้เสียดายแย่ๆ
  • BUM-BIM ไปค้น ไปทำความเข้าใจแอลลีลกับจีโนไทป์เพิ่มเติมอีกนิดนะ
  • ลูกศิษย์ครูแป๋มเก่งๆกันทั้งนั้นเลย..ดีใจที่มีโอกาสได้ ลปรร.กัน
  • บอกแล้วว่านอกจากกระตุ้นนักเรียนแล้ว ยังกระตุ้นครูได้ด้วย
  • ขอบคุณครูแป๋มอีกครั้งครับ
  • เด็กห้องท้ายเหมือนกัน  บอกว่า
  • โจทย์ยาก  และอ่านหนังสือไม่ทัน
  • อืม..ก็สมเหตุสมผลนะคะ เพราะ
  • แม้อ่านหนังสือทัน แต่ขาดทักษะ
  • การวิเคราะห์ สังเคราะห์ แยกแยะข้อมูล
  • ก็คงีเหตุผลใหม่ๆผุดขึ้นมาอีกเพียบ
  • หาสาเหตุแล้วแก้ไขที่ต้นเหตุดีไหมจ๊ะ

       

 

 

ขอบคุณคะ ครูธนิตย์ ขอบคุณมากนะคะ ที่ชี้แนะ หนูจะศึกษาเพิ่มเติมคะ

สวัสดีค่ะ

ถึงจะห่งหายไปบ้างแต่ระลึกถึงเสมอนะคะ ห่างด้วยภาระงานและเรียนค่ะ

  • นับเป็นโชคดีที่เด็กๆได้ออกสู่โลกกว้าง นอกรั้วโรงเรียน
  • ได้พูดคุยกับครูบาอาจารย์เก่งๆ  สร้างให้เขามีมุมมอง
  • ใหม่ๆ ไปจากเดิมจงกล้าที่จะทำในสิ่งที่ถูกต้อง
  • อย่าอายที่จะทำความดีเพราะความดีไม่เคยทำร้ายใคร
  • คนที่ไม่เคยทำแถมตีตนไปก่อนไข้มองโลกในแง่ร้าย
  • ลองเบิ่งตาให้กว้าง มองไปรอบข้าง พร้อมรึยังคะ
  • พร้อมที่จะทำความดี แหงนหน้าไม่อายฟ้า ก้มหน้าไม่อายดิน
  • กล้าเผชิญความเป็นจริง ด้วยใจที่องอาจ กล้าหาญ
  • นี่สิ  คนจริง.....

ขอบคุณค่ะ คุณครูธนิตย์

  • ดีใจเหลือเกินค่ะ ที่ได้พบคุณครูทรายชลอีกครั้ง
  • ภาระงาน ภาระเรียน ล้วนเป็นตัวแปรในการพบกัน
  • สาวโคราชด้วยกัน คงได้พบกันไม่วันใดก็วันหนึ่ง
  • คุณครูเรียนที่ใด สาขาอะไรคะ  ????
  • ขอบคุณที่มาเติมเต็มให้หัวใจของแป๋มชุ่มชื่นขึ้นค่ะ

       

 

 

 

สวัสดีครับ..แวะมาทำความรู้จักในฐานะสมาชิกใหม่ของ go to know

  • สวัสดีค่ะ ครูนพพล คนบ้านใหม่
  • ยินดีต้อนรับสมาชิกใหม่นะคะ
  • หวังใจไว้ว่าคงมีโอกาส ลปรร.
  • กันอย่างกว้างขวางตลอดไป

       

               ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ

จากสมการฮาร์ดี้ไวน์เบิร์ก p2+2pq+q2=1

จัดรูปสมการได้ใหม่ว่า p+q=1

จากโจทย์ ที่ว่าโรคซิสติด ไฟโบรซิส ซึ่งเป็นโรคพันธุกรรมแบบยีนด้อยบนโครโมโซมร่างกาย และมี 4 คนที่เป็นโรคจากคนทั้งหมด 10,000 คน

กำหนดให้ยีนเด่นเป็น A และ ยีนด้อยเป็น a

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า คนที่เป็นโรคนี้มีจีโนไทป์เป็น aa

ซึ่งจากสูตรของฮาร์ดี้ไวน์เบิร์กจะสามารถแทนค่าได้ว่า

aa= q2= 4/10,000= 0.0004

ดังนั้น q= 0.02

และจากสูตรที่ p+q= 1 ดังนั้น p= 0.98

จะได้ว่าคนที่เป็นพาหะของนี้มีความถี่ของจีโนไทป์เป็นดังนี้

Aa = 2pq = 2(0.98)(0.02) = 0.0392 หรือ ร้อยละ 0.0392 จากประชากรทั้งหมด 10,000คน

ดังนั้นคนที่เป็นพาหะของโรคนี้จึงมีทั้งหมด 0.0392*100 = 3.92 หรือประมาณ 4 คน นั่นเองงงงงง.....

...................................................

หลักสังเกตง่ายๆ p แทน homozygous ที่เป็นยีนเด่น และ q จะแทน homozygous ที่เป็นยีนด้อย

ส่วน heterozygous จะต้อง *2 ด้วยเสมอ เพราะว่า ในทุกๆครั้งที่มีการจับคู่กันของยีนแบบ heterozygous จะสามารถเป็นไปได้ 2 แบบ คือ Aa หรือ aA ก็ได้

ส่วนค่าที่คำนวณออกมาได้จะมีค่าเป็นร้อยละ จึงต้อง *100 อีกทีเพื่อให้ได้เป็นจำนวนคน ไม่ใช่คูณด้วยจำนวนประชากรทั้งหมดนะคะ.....อย่าสับสน

คิดว่าคำตอบน่าจะเป็นเช่นนี้ ยังไงครูแป๋มก็ช่วยพิจารณาทีนะคะ ^^

  • มีเหตุมีผลดีมากๆค่ะ
  • แล้ว..คนอื่นๆคิดยังไงคะ????

      

 

 

 

 

หนูเข้าใจแล้วคะ

ที่จริงต้องนำสมการมาจัดรูปใหม่

เพื่อหาความถี่ของจีโนไทป์ AA แล้วแทนค่าในสมการ"p2+2pq+q2=1"

เพื่อหาความถี่ของจีโนไทป์ Aa แล้วได้ค้าที่ต้องการนำมาคูณ 100 เพื่อแปลงร้อยละ

ให้เป็นจำนวนคน ตามที่โจทย์ต้องการ ขอบคุณคุณno name คะ Get แล้วคะ

เด็กห้องท้าย.**สิทธิพงษ์**

อ่านแล้วเข้าใจครับ...get มากๆ ..

ตอนแรกก็ไม่เข้าใจครับ..แล้วผมก็รู้ด้วยว่าคุณ noname เป็นใคร !!

  • B.U.M.-B.I.M.
  • เก่งมากเลยจ๊ะ
  • บิ๋มกลายเป็นตำนานความพยายาม
  • ขยัน  อดทน  เสียสละ ใจดี
  • ครูแป๋มเห็นมาตลอด
  • ชื่นใจจังเลยจ๊ะ..
  • เด็กห้องท้าย.**สิทธิพงษ์**
  • นายมีทุนทางปัญญาเป็นทรัพย์
  • อยู่เป็นทุนเดิมอยู่แล้วนะรู้ไหม
  • ความสนใจและใฝ่รู้บวกกับ
  • ความอ่อนน้อมถ่อมตน....
  • จะนำพาเธอไปสู่ความสำเร็จจ๊ะ

ไม่เป็นไรและด้วยความเต็มใจค่ะ

B.U.M.-B.I.M.กับ เด็กห้องท้าย.**สิทธิพงษ์**

ดีใจด้วยนะคะที่เข้าใจแล้ว ยังไงก็ขอเป็นกำลังใจให้นะคะ

ยิ่งทั้ง 2 คน ขยันกันอยู่แล้ว ต้องประสบความสำเร็จแน่ๆ สู้ๆนะคะ ^^

  • ดีใจจังนักเรียนแต่ละห้องรู้จักเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
  • อยากให้โรงเรียนของเราเป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้จัง
  • ตอนนี้ถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีนะครูแป๋มว่า...เราจะก้าวต่อ...
  • ขอบใจลูกๆทุกคนจ๊ะ

       

 

 

จำแบบนี้ง่ายกว่าไหมคับ

สูตร (p+q)2=p2+2pq+q2

p+q=1

p2+2pq+q2+1

นายสรนันท์ จากเด็กหาดใหญ่จ้า

ผมว่าตอนสุดท้ายน่าจะผิดน่ะคับ คือ คำตอบไม่ใช่ 4 คน เพราะจากสูตร พาหะ เท่ากับ 2PM ซึ่งได้เท่ากับ 0.0392

จากนั้นก็สรุปได้ดังนี้คับ ใน 1 คน มีพาหะ 0.0392 คน แต่ใน 10000(ตามโจทย์) คน จะต้องมีพาหะ 0.0392*10000 ซึ่งคำตอบก้คือ 392 คนคับ

 

ขอบคุณ นายสรนันท์ จากเด็กหาดใหญ่จ้า ที่เข้ามาแสดงความเห็นค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณนิว

  • ลองอธิบายวิธีการหาคำตอบ
  • นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะคะ
  • รออยู่นะรู้ไหม??..

 

ครูแป๋ม นี้โจทย์อะไรค่ะ

อ่านแล้ว งง!

รู้สึกจะยากกว่าขข้ออื่นเป็นพิเศษนะค่ะ!

นางสาวทิพาวรรณ แสวงมี ม.4/8 เลขที่ 29

มารายงานตัวค่ะ

^^

สวัสดีค่ะ คุณJeeD

  • โจทย์ข้อนี้พี่มิ้นท์ อดีตม.๖/๕ ปีที่แล้วเป็นคนส่งมา
  • ครูแป๋มจึงนำมาเป็นอีกหนึ่งบันทึก เพื่อให้ทุกคนได้มาแสดงฝีมือ
  • เป็นเรื่องราวของวิวัฒนาการน่ะค่ะ
  • สำหรับพวกเราม.๔ กำลังเดินทางไปถึง เพราะพอจบพันธุกรรมแล้ว
  • ก็จะเข้าสู่บทเรียนวิวัฒนาการ(เบื้องต้น)ทันที
  • ตอนนี้อาจศึกษาจากคอมเม้นท์ล่วงหน้า หรือค้นคว้าสาระจากสื่อต่างๆที่มีมากมายไปก่อน
  • จบพันธุกรรมแล้วจะได้มาคุยกันอีกทีค่ะ.

4/10000 = (2/100)2 = aa

ดังนั้น 2/100 = 0.02 = a

A = 0.98

จาก A+a = 1

และ พาหะ คือ Aa

หาได้จาก A2 + 2Aa + a2 = 1 = (A+a)2

พาหะจึงเท่ากับ 2(0.98)(0.02) = 0.0196

แต่ประชากรทั้งหมดมี 10000 คน

เอา 10000 คูณกับ 0.0196 ได้ 96 คน

สวัสดีค่ะ คุณKridpadh Dhansandos

  • ขอบพระคุณที่แวะมาร่วมกิจกรรมโจทย์ฝึกทักษะ
  • ที่ครูแป๋มเคยให้นักเรียนลองตั้งโจทย์หรือนำโจทย์ที่สงสัยใคร่รู้คำตอบ
  • นำมาแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทุกท่านที่นี่
  • และขอบอกว่าคุณKridpadh Dhansandosเก่งมากค่ะ..
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท