หนานเกียรติ
เกียรติศักดิ์ หนานเกียรติ ม่วงมิตร

เรือนลาหู่ : เรือนที่เป็นมากกว่าเรือน (๑)


        ริมทางเดินเท้าเล็กใต้ร่มไม้ พ่อเฒ่าชาวลาหู่ละมือจากการจัดตอก แล้วเอ่ยด้วยภาษาลาหู่ แปลความได้ว่า

        “การรัดตอกแบบนี้จะทำให้คนในบ้านรักใคร่ กลมเกลียวกัน เป็นครอบครัวที่เหนียวแน่น”

        พ่อเฒ่าตอบหลังจากวินัย พนาโยธิน หนุ่มใหญ่ชาวลาหู่จากบ้านอุมยอม เอ่ยถามพ่อเฒ่าที่มาจากบ้านเดียวกันด้วยภาษาลาหู่ว่า

        “เส้นตอกที่ร้อยรัดยาวไปตามคานแทนที่จะมัดเพียงจุดเดียว ดังเช่นการมัดทั่วไปมีความหมายอย่างไร ?”

        มีการพูดคุยสื่อสารเพื่อซักถามและอธิบายตอบกันอีกหลายคำถามและคำตอบในระหว่างการปลูกเรือนลาหู่

        เรือนลาหู่ที่มีชาวลาหู่จากสามหมู่บ้าน ได้แก่ บ้านอุมยอม ต.แม่ท้อ อ.เมือง จ.ตาก และ บ้านห้วยส้มป่อย – บ้านห้วยปลาหลด ต.ด่านแม่ละเมา อ.แม่สอด จ.ตาก เกือบ ๒๐ คน ทั้งคนเฒ่าคนแก่และคนรุ่นหนุ่ม มาร่วมไม้ร่วมมือกันปลูกสร้าง ที่นอกจากจะเป็นการลงแรงปลูกเรือนให้กับเจ้าของบ้านแล้ว โอกาสนี้ยังเป็นจุดเริ่มต้นในการเชื่อมโยงชาวลาหู่จากทั้งสามหมู่บ้าน รวมทั้งการรื้อฟื้นและถ่ายทอดภูมิปัญญาการสร้างเรือนชาวลาหู่ไปพร้อมกันด้วย

        ไม่เพียงชาวบ้านจากในพื้นที่ดอยมูเซอ จ.ตาก เท่านั้น  ยังทีมงานจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) เข้าร่วมเรียนรู้และร่วมตั้งประเด็นคำถามเพื่อเกิดการแบ่งปันถ่ายทอดความรู้จากพ่อเฒ่าชาวลาหู่เป็นระยะด้วย


...

 

        ชาวลาหู่ในพื้นที่ดอยมูเซอ จ.ตาก อพยพมาตั้งถิ่นฐานแถบนี้เมื่อราวครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา แรก ๆ ปักหลักอยู่บนพื้นที่หมู่บ้านเดียวกัน ต่อมาบางส่วนได้แยกและขยายออกไปหมู่บ้านในพื้นที่ใกล้เคียง จนกระทั่งเป็นหมู่บ้านชาวลาหู่จำนวน ๕  หมู่บ้านในปัจจุบัน ได้แก บ้านอุมยอม บ้านห้วยส้มป่อย บ้านใหม่ บ้านห้วยปลาหลด และบ้านสามหมื่นทุ่ง

        ชุมชนแถบนี้อยู่ห่างจากตัวเมืองไม่ไกลนัก ใช้เวลาเดินทางไม่เกินหนึ่งชั่วโมง ชาวบ้านมีการติดต่อกับโลกภายนอกมากขึ้น ขณะที่คนภายนอกก็เข้ามาติดต่อค้าขายกับชาวบ้านเช่นกัน

        ลูกหลานชาวลาหู่เข้าเรียนหนังสือภาคบังคับในโรงเรียนในพื้นที่ เมื่อสำเร็จการศึกษาสูงสุดในพื้นที่เยาวชนจำนวนหนึ่งก็ออกไปเล่าเรียนต่อในเมือง กระทั่งปัจจุบันเริ่มมีเยาวชนที่สำเร็จการศึกษาถึงขั้นปริญญาบ้างแล้ว และอีกไม่น้อยที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมตอนต้นและตอนปลาย

        ด้านการทำมาหากิน แม้ชาวลาหู่จะยังยึดถือการทำมาหากินแบบดั้งเดิม คือ การปลูกข้าวไร่ แต่ก็หันมาปลูกพืชในเชิงพาณิชย์ควบคู่กันไปด้วย จากความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินในชีวิตประจำวัน

        การณ์ดังกล่าวเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ชุมชนลาหู่ค่อยปรับตัวและเปลี่ยนแปลงไปทีละน้อย

...

 

        อะเบะผะ แสนยะ ลูกครึ่งชาวลีซู ที่พ่อเป็นคนไทยและเป็นเจ้าหน้าที่ของศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา จ.ตาก ซึ่งประจำอยู่ที่หน่วยพัฒนาบ้านห้วยปลาหลด หมู่บ้านชาวลาหู่ ทำให้เขาใช้ชีวิตอยู่ที่หมู่บ้านแห่งนี้ตั้งแต่แบเบาะกระทั่งอายุครบเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ ก็ย้ายออกไปอยู่บ้านพักในศูนย์ฯ เพื่อเข้าโรงเรียน

        เขานั่งอยู่ที่นั่น ที่ร้านกาแฟดอยมูเซอ บริเวณตลาดดอยมูเซอแห่งใหม่ นั่งสนทนาอยู่กับเจ้าของร้าน “จะพือ มงคลคีรี” เพื่อนชาวลาหู่ที่เคยวิ่งเล่นด้วยกันที่หมู่บ้านห้วยปลาหลดเมื่อวัยเยาว์

        ทั้งสองใช้สถานที่นี่พบปะและพูดคุยกันอยู่เรื่อย ๆ บางคราวก็มีสหายลาหู่แวะเวียนมาพูดคุยด้วยเป็นครั้งคราว เรื่องราวพูดคุยมีทั้งเรื่องสัพเพเหระ และเรื่องราวที่จริงจัง เช่น การปรับตัวและการเปลี่ยนแปลงของชาวบ้าน การพูดคุยคาดการณ์ถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต แต่ดูเหมือนว่าทั้งคู่จะสนใจพูดคุยเรื่องราวเกี่ยวกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของลาหู่เสียเป็นส่วนใหญ่

        “เดี๋ยวนี้เด็กรุ่นใหม่ไม่ค่อนสนใจวัฒนธรรมของตัวเองเท่าไร อีกหน่อยคงไม่มีคนสืบทอด...”

        จะพือเปรยขึ้น พร้อมกับยื่นแก้วกาแฟสดหอมกรุ่นให้อะเบะผะ

        “ก็สังคมมันเปลี่ยนไป จะให้เหมือนเมื่อก่อนก็ลำบาก เด็ก ๆ มีทางเลือกเยอะแยะ วิถีชีวิตก็ไม่เหมือนก่อน...”

        อะเบะผะ พูดพลาง ตักครีมและน้ำตาลผสมลงไปในแก้วกาแฟ แล้วแสดงความเห็นต่อ

        “ผมว่านะ บางอย่างมันจะหายก็ต้องปล่อยให้หาย เพราะมันไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตในปัจจุบัน รักษาไว้ก็เหนื่อยแรง แต่บางอย่างก็ต้องรักษาเอาไว้...”

        จะพือพยักหน้าแล้วพูดเสริมขึ้น

        “อย่างเรื่องประเพณีต่าง ๆ เนี่ย ไม่ใช่เฉพาะเด็ก ๆ นะที่ไม่รู้เรื่อง บางทีผู้ใหญ่อย่างพวกเราก็ไม่เข้าใจ...”

        “ใช่ ๆ ทำไปโดยไม่รู้ความหมาย ไม่เข้าใจ ทำให้คนรุ่นใหม่ไม่ค่อยสนใจ...”

        อะเบะผะเออออตามความเห็นของจะพือ

        การสนทนาผ่านไปพักใหญ่ กระทั่งกาแฟในแก้วพร่องลงเกือบหมด จะพือเอ่ยปากถามอะเบะผะ ถึงการตัดสินใจลาออกจากงานย้ายกลับมาอยู่บ้าน

        “ตกลงจะกลับมาอยู่บ้านแล้วใช่ไหม ?”

        “ใช่ ผมลาออกจากงานได้พักใหญ่แล้ว อยากจะกลับมาอยู่บ้าน...”

        อะเบะผะตอบคำถาม ก่อนที่จะเอ่ยขอความช่วยเหลือกับจะพือ

        “ผมอยากจะปลูกบ้านสักหลังเอาไว้อยู่เอง ว่าจะมาขอแรงหน่อย...” 

...

หมายเลขบันทึก: 339962เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2010 19:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

ตามอ่านตอน ๒ พรุ่งนี้เช้านะครับ

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณสำหรับความรู้...เป็นความรู้ใหม่ของหนูรี...จะรออ่านต่อ ขอบคุณค่ะ

 

แวะมาเยี่ยมเรือนลาหู่

ที่มีคุณค่ามากกว่าเพียงที่อาศัยเจ้า

 *^__^*

เส้นตอกที่มัดจะแน่นคงทนตลอดไปไหมคะ

สวัสดีค่ะ

มาเรียนรู้วัฒนธรรมของชาวลาหู่ค่ะ

มาเป็นกำลังใจให้รีบๆ เขียนนะคะ จะรออ่านตอนสองค่ะ ^^

สวัสดีค่ะ

  • เป็นความเชื่อของวิถีชีวิตชาวลาหู่ที่สร้างขึ้นด้วยความรักความผูกพัน
  • ให้ความสำคัญของความรัก ความสามัคคีเป็นสำคัญ
  • รออ่านตอนต่อไปค่ะ
  • อยากมีแฟนตรึมให้ไปที่นี่นะคะ

http://gotoknow.org/blog/krukim/339862

สวัสดีค่ะ

ตามมาชมเรือนลาหู่อีกทีค่ะ

รวดเร็วทันใจดีแท้หนอ..เรือนลาหู่..ควันยังฉุยอยู่เลยอาจารย์ 55+

สวัสดีครับ

  • ผมมารับรู้เรื่องราวชีวิตแบบเรียบง่ายของคนภูเขาชาวลาหู่
  • ถ้าชาวคนเมือง รู้จักกับความเรียบง่ายเสียบ้าง คงจะแก้ปัญหาวุ่นวายต่างๆได้เยอะ
  • ขอบคุณสำหรับข้อคิดและเรื่องราวที่ดีมีประโยชน์มากมาย
  • โชคดีมีสุขนะครับ

สวัสดีค่ะ

  • แวะมาเยี่ยมเรือนลาหู่
  • ขอบคุณสำหรับความรู้
  • เพราะวัฒนธรรมและประเพณีของพื้นบ้านแต่ละภาค น่าสนใจมาก
  • ขอบคุณค่ะ

เป็นมากกว่าเรือนจริงๆๆด้วย อยู่พิษณุโลกครับๆๆๆ

สวัสดีครับ หนูรี 

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมนะครับ ตอนสองมาแล้วนะครับ

 

สวัสดีเจ้า คุณครู พิชชา 

ขอบคุณจ้าดนักที่แวะมาแอ่ว
เรือนลาหู่เป๋นนักกว่าเฮือนแต้ ๆ เจ้า
ตอนสองมาแล้วเน่อ...


สวัสดีครับ พี่แก้ว..อุบล จ๋วงพานิช 

เส้นตอกที่มัด ต้องจักกันสด ๆ เดี๋ยวนั้นเลยครับ
ความแน่นหนาของตอกขึ้นอยู่กับสองสามปัจจัย คือ ความสดและเหนียวของไม้ที่จักตอก ความละเอียดและพิถีพิถันในการผูก และ การได้รับควันไฟจากในตัวเรือนที่จะช่วยป้องกันมอดครับ
โดยเฉลี่ยแล้วตอกมีอายุเท่า ๆ กับตัวบ้านราว ๒ – ๓ ปี ครับ
ขอบคุณพี่แก้วที่แวะมาเยี่ยมครับ

 

สวัสดีครับ คุณ PHATCHA 

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ
ตอนสองมาแล้วนะครับ

สวัสดีครับ คุณ Baby 

ขอบคุณสำหรับกำลังใจครับ
มีคนรออ่านอย่างนี้ต้องรีบเขียนให้จบเร็ว ๆ ครับ
ตอนที่สองมาแล้วนะครับ

 

สวัสดีครับ พี่ครูคิม 

ไปอ่านแฟนตรึมมาแล้วครับ
เป็นผมอยู่ที่นั่นผมตะเพิดออกไปเลยพี่
เรือนลาหู่มีกุศโลบายอยู่ในนั้นเยอะแยะเลยครับพี่
ตอนสองมาแล้วนะครับ

 

สวัสดีครับ พี่ณัฐรดา 

ขอบคุณที่ตามมาเยี่ยมนะครับ
แหะ แหะ กำลังรออ่านหนังสือของพี่อยู่
ตอนสองมาแล้วนะครับ

 

สวัสดีคุณน้องพรทั้งโลกหล้า ♥paula .`๏'- ที่ปรึกษาตัวน้อย.`๏'- 

ไปเมื่อไรดีหละ
ทำเหมือนกะว่ามีเวลาเหลือเฟือ ฮิ ฮิ...

สวัสดีหมอเอ Kaewbuntham 

ตอนสองมาแล้วนะหมอ
ตามไปอ่านด่วน


สวัสดีครับ ครูJOY (จ่อย) 

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ
ว่าง ๆ แวะมาเที่ยวนะครับ
จะเตรียมลาบเมืองตากไว้รอต้อนรับ

 

สวัสดีครับ พี่ดาวเรือง 

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมนะครับ
เรือนลาหู่เป็นวัฒนธรรมที่น่าสนใจมาก ๆ ครับ
ตอนสองมาแล้วนะครับ

 

สวัสดีครับ อ.ขจิต ฝอยทอง 

อ้าว...โผล่ไปโน่นซะแล้ว
ตอนนี้ผมอยู่กรุงเทพฯ ครับ จะไปตากวันพรุ่งนี้ครับ

 

หวัดดีคับผมคนเป็นเชียงใหม่

เป็นบทความที่สนใจมากเลยครับ..อยากรู้ ต่อว่าเรื่องราวจะเป็นยังไงต่อ

ทั้งสามมีวิธีแก้ไขอย่างไงเมื่อเหตุการณ์เป็นอย่างนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท