หนางหมูแสนอร่อย


แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน

หลักสูตรท้องถิ่นกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี 

เรื่อง  หนางหมูแสนอร่อย

          การทำหนางหมูไว้เพื่อรับประทานเองเป็นการประหยัด  และมีประโยชน์ในการนำหัวหมูซึ่งเป็นส่วนประกอบของหมูที่มีราคาต่ำมาเพิ่มมูลค่าให้กับหัวหมูเป็นหนางหมูแสนอร่อย   นำมาแปรรูปเป็นอาหารได้หลากหลายชนิด มีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
      
 

ความหมายของหนางหมู 

          "หนาง" หมายถึง อาหารประเภทหมักดอง ประกอบด้วย เนื้อเช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อไก่ เป็นต้น ทำด้วยเนื้ออะไร ก็เรียก "หนาง" ชนิดนั้น เช่น หนางวัว หนางหมู ฯลฯ การปรุงต้องนำหนาง ไปปรุงอีกครั้งหนึ่ง บ้างก็ใส่กะทิ บ้างก้ไม่ใส่ อาจเพิ่มหยวก ตะไคร้ พริก ตามแต่สูตรใคร  ๆ หาทานได้จากร้านอาหารไทยประเภทร้านข้าวแกงทั่วไป เป็นอาหารพื้นบ้าน พื้นเมืองของภาคใต้ แบบ "บ้านๆ " ไม่เลิศหรูอะไร และมักจะมีขายตามตลาดนัดทั่วไป

  ความสำคัญของหนางหมู 

          เป็นการถนอมอาหารของชาวภาคใต้ ช่วยให้สามารถเก็บรักษาอาหารไว้บริโภคได้นาน  โดยที่อาหารนั้นไม่สูญเสียคุณภาพ  การทำหนางหมูในสมัยก่อนเกิดจากภูมิปัญญาเพราะว่าหัวหมูในสมัยนั้นผู้คนไม่นิยมรับประทาน จึงมีผู้คิดค้นวิธีทำให้หัวหมูรับประทานได้โดยนำเนื้อของหัวหมูมาหมักโดยคลุกกับเกลือและน้ำตาลแล้วนำไปหมักไว้  6-7 วัน ก็รับประทานได้ (บางท้องถิ่นก็มีการผสมผัก ประเภท หยวกกล้วย  หน่อไม้  ฟักเขียว เข้าไปด้วย) ทำหนาง ก็คือการทำเนื้อส้ม  นั่นเอง  โดยมีน้ำตาลเป็นตัวทำปฏิกิริยาให้เปรี้ยว (ชาวชุมพรนิยมใส่ฟักเขียวเป็นผัก)

 

ประโยชน์ของหนางหมู 

              หนางหมูสามารถนำมาปรุงอาหารให้เป็นหนางหมูแสนอร่อย ได้หลากหลายชนิด เช่น 

1.      หนางหมูต้มกะทิ  เป็นอาหารพื้นบ้านของชาวใต้  

2.      หนางทอด  เป็นอาหารทานกับขิงดอง  ผัดสด  และพริกทอด

3.      คะน้าหนางทอด  เป็นอาหารที่ดัดแปลงมาจากคะน้าหมูกรอบ

4.      หนางทอดกะเพรากรอบ

อาหารแต่ละชนิดมีคุณค่าทางอาหารครบถ้วน ทั้งโปรตีน  ไขมัน  วิตามินและเกลือแร่

  

 อาหารพื้นบ้านของชาวใต้ต้มกะทิหนาง

เครื่องปรุง

เนื้อหนาง 500 กรัม
มะพร้าวขูด 500 กรัม
น้ำปลา 1 ช้อนชา
น้ำตาลปีบ 1 ช้อนชา
ตะไคร้ทุบ 2 ต้น
พริกขี้หนูสด 40 เม็ด
กระเทียมทุบ 1 หัว
หอมเดงบุบ 1 หัว
ข่าทุบ 3 ซม.
ขมิ้นทุบ 2 ซม.

วิธีทำ

       1.หั่นเนื้อหนางเป็นชิ้นพอคำ

       2.คั้นมะพร้าวให้ได้กะทิ 2ถ้วย แยกหัวกะทิไว้ 1/2ถ้วย

       3.บุบขมิ้น ข่า หอมแดง กระเทียม พริกขี้หนู

       4.เอากะทิตั้งไฟ ใส่ขมิ้น ข่า ตะไคร้ หอมแดง กระเทียม 

       5.พอเดือดสักครู่ใส่น้ำตาล น้ำปลา เนื้อหนาง พริกขี้หนู ราดด้วยหัวกะทิ พอเดือดแล้วปิดไฟ           

หนางหมูทอดเป็นกับแกล้ม/ทานเล่น ๆ

 

คะน้าหนางหมูทอด

หนางหมูกะเพรากรอบ

     

 

               

 

หมายเลขบันทึก: 258156เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2009 14:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)
  • ขอบคุณมากค่ะ  ที่นำมาให้รู้จัก
  • หากได้ชิมด้วยก็จะดีนะคะ 
  • ไปสงขลาครานี้ จะได้กินไหมหนอ

ไปสงขลาอย่าพลาดนะครูอ้อย  ก็บอกแล้วไงแสนอร่อย  เราอยากจะรักษาวัฒนธรรมในเรื่องอาหารของชาวใต้ไว้  จึงได้ทำหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องนี้ขึ้นมา  อย่าลืมแวะหาทานนะ แล้วจะติดใจ

ผมเกิดที่ ยี่งอ ตอนเด็กพ่อ แม่เคยทำหนางต้มกะทิให้กินกับข้าว ยังชอบเลย วันนี้มาอยู่ระยอง 20 กว่าปีแล้วยังไม่เคยได้มีโอกาสกินหนางอีกเลย ได้สูตรวิธีทำหนาง และการปรุงด้วย จะลองทำกินดูเมื่อมีเวลาว่าง ต้องขอขอบคุณครูแอ๋มอย่างแรงที่ให้ข้อมูลนี้

นับถือ

พูดแล้วก็หิวข้าวอยากทานบ้าง  คนใต้จะรู้นะว่าหนางอร่อยและสามารถดัดแปลงเป็นอาหารหลากหลายชนิด

ไม่เคยได้รู้ว่ามีอาหารที่เรียกว่า...หนางหมู....แต่อ่านดูและเห็นภาพประกอบน่าอร่อยดีเหมือนกัน...สักวันคงได้ชิม

เป็นอาหารพื้นบ้าน "หนาง" เป็นการถนอมอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ภาคอื่นใช้คำว่า "ส้ม"

ครูแอ๋มครับ ขอให้เป็น หนางนิ ทำปรือก้าชอบเพแหะ

ใช่แล้ว เยือนใต้ไม่ได้กิน "หนางกะทิ" แล้วจะเสียใจเนาะ ส่วนอาหารประเภทอื่นก็คิดจะนำเอาหนางมาดัดแปลงให้หลากหลายประเภท โดยเฉพาะหนางทอดแกล้มเบียร์หรือเหล้าน่าจะดีนะ

กำลังอยากกินหนางหมูพอดีเลยครับท่าน ว่าจะหมักหนางกินเอง เป็นกับข้าว-กับแคล้ม จึงลองสืบค้นข้อมูลผ่านทาง google

แต่ว่าไม่ได้บอก ขั้นตอน และวิธีการหมักหนาง มีท่านใดที่พอจะบอก ขั้นตอน และวิธีการหมักหนาง บ้างไหม ขอบคุณเลยครับท่าน

การทำหนางหมูในสมัยก่อนเกิดจากภูมิปัญญาเพราะว่าหัวหมูในสมัยนั้นผู้คนไม่นิยมรับประทาน จึงมีผู้คิดค้นวิธีทำให้หัวหมูรับประทานได้โดยนำเนื้อของหัวหมูมาหมักโดยคลุกกับเกลือและน้ำตาลแล้วนำไปหมักไว้ 6-7 วัน ก็รับประทานได้ (บางท้องถิ่นก็มีการผสมผัก ประเภท หยวกกล้วย หน่อไม้ ฟักเขียว เข้าไปด้วย) ทำหนาง ก็คือการทำเนื้อส้ม นั่นเอง โดยมีน้ำตาลเป็นตัวทำปฏิกิริยาให้เปรี้ยว (ชาวชุมพรนิยมใส่ฟักเขียวเป็นผัก)

*******หมักโดยคลุกกับเกลือและน้ำตาลแล้วนำไปหมักไว้ 6-7 วัน ก็รับประทานได้ *********ขอบคุณครับ

////////แต่ว่ามีอัตราส่วน ของส่วนผสม ไหมครับ---------เช่น หัวหมู 1 หัว (ประมาณ 1.5 - 2.0 กก.) หมักทั้งหัว หรือ แล้เฉพาะเนื้อหมู แล้วจะต้องใช้น้ำตาล และ เกลือ ปริมาณ เท่าไร ครับ-------และระหว่างหมักเราควรทำอย่างไร เช่น เราต้องเปิดมาชิม แล้วปรุงรส หรือเปล่า--------ผมเคยกินตอนกลับไปบ้าน(พัทลุง) ประมาณ 5-6 ปี ก่อน -------------ขอบคุณครับ

ไปดัดแปลงเอานะ 

ส่วนผสม

            1.  หัวหมู         1            หัว

          2.  ฟักเขียว      1            กิโลกรัม

          3.  เกลือ          1            ช้อนโต๊ะ

          4.  น้ำตาลโตนดเหลว   ½   ถ้วย

วิธีทำ

1.นำหัวหมูที่ย่างไฟจนเหลืองและขูดขนและรอยไหม้ออกแล้วล้างให้สะอาด  หั่นเป็นชิ้นขนาดพอเหมาะ

          2. ฟักเขียว  ปอกเปลือกเอาไส้ออกและล้างให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นพอเหมาะวางพักไว้ให้  สะเด็ดน้ำ

          3. เนื้อหมูคลุกเกลือให้เข้ากัน ตามด้วยน้ำตาลโตนด       และฟักเขียวเคล้าให้เข้ากัน ตักใส่
ภาชนะมีฝาปิด พักไว้ 6 – 7 วัน จึงนำมาปรุงอาหาร

 เป็นหลักสูตรที่สอนเด็กในเรื่องนี้ แต่ไม่ได้โพสต์หมดอยู่ในแผนการสอนค่ะ

 

 

ขอบคุณครับ คุณครูแอ๋ม .............. ขออนุญาตบันทึกเก็บเป็นข้อมูลน่ะครับ......แล้วจะลองทำ(เป็นกับข้าว-กับแคล้ม)ครับ

ตาตุ๋ย คนเมืองลุง

ขอบคุณครับคุณครู..สำหรับสูตรอาหารอร่อยแบบบ้านๆของเรา..

...บ้านผมมักนิยมใช้หยวกกล้วยป่า หรือ หน่อไม้ ครับ..

เรื่องผักที่ใส่ก็คงแล้วแต่ท้องถิ่นใช่ไหม?  อะไรก็อร่อยทั้งนั้น อาหารบ้าน ๆ ท้องถิ่นเราต้องอนุรักษ์ไว้ค่ะ

หนางหมูทอดเป็นกับแกล้ม/ทานเล่น ๆ

เข้าระบบ   เป็นคนแรกที่ให้กำลังใจ
Ico48
ครูอ้อย แซ่เฮ
4 ปีที่แล้ว
  • ขอบคุณมากค่ะ  ที่นำมาให้รู้จัก
  • หากได้ชิมด้วยก็จะดีนะคะ 
  • ไปสงขลาครานี้ จะได้กินไหมหนอ
Ico48
ครูแอ๋ม
4 ปีที่แล้ว

ไปสงขลาอย่าพลาดนะครูอ้อย  ก็บอกแล้วไงแสนอร่อย  เราอยากจะรักษาวัฒนธรรมในเรื่องอาหารของชาวใต้ไว้  จึงได้ทำหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องนี้ขึ้นมา  อย่าลืมแวะหาทานนะ แล้วจะติดใจ

Ico48
สฤษดิ์ชัย ศิริพร
3 ปีที่แล้ว

ผมเกิดที่ ยี่งอ ตอนเด็กพ่อ แม่เคยทำหนางต้มกะทิให้กินกับข้าว ยังชอบเลย วันนี้มาอยู่ระยอง 20 กว่าปีแล้วยังไม่เคยได้มีโอกาสกินหนางอีกเลย ได้สูตรวิธีทำหนาง และการปรุงด้วย จะลองทำกินดูเมื่อมีเวลาว่าง ต้องขอขอบคุณครูแอ๋มอย่างแรงที่ให้ข้อมูลนี้

นับถือ

Ico48
ครูแอ๋ม
3 ปีที่แล้ว

พูดแล้วก็หิวข้าวอยากทานบ้าง  คนใต้จะรู้นะว่าหนางอร่อยและสามารถดัดแปลงเป็นอาหารหลากหลายชนิด

Ico48
3 ปีที่แล้ว

ไม่เคยได้รู้ว่ามีอาหารที่เรียกว่า...หนางหมู....แต่อ่านดูและเห็นภาพประกอบน่าอร่อยดีเหมือนกัน...สักวันคงได้ชิม

Ico48
ครูแอ๋ม
3 ปีที่แล้ว

เป็นอาหารพื้นบ้าน "หนาง" เป็นการถนอมอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ภาคอื่นใช้คำว่า "ส้ม"

ครูแอ๋มครับ ขอให้เป็น หนางนิ ทำปรือก้าชอบเพแหะ

Ico48
ครูแอ๋ม
3 ปีที่แล้ว

ใช่แล้ว เยือนใต้ไม่ได้กิน "หนางกะทิ" แล้วจะเสียใจเนาะ ส่วนอาหารประเภทอื่นก็คิดจะนำเอาหนางมาดัดแปลงให้หลากหลายประเภท โดยเฉพาะหนางทอดแกล้มเบียร์หรือเหล้าน่าจะดีนะ

Ico48
บ่าวดำ
2 ปีที่แล้ว

กำลังอยากกินหนางหมูพอดีเลยครับท่าน ว่าจะหมักหนางกินเอง เป็นกับข้าว-กับแคล้ม จึงลองสืบค้นข้อมูลผ่านทาง google

แต่ว่าไม่ได้บอก ขั้นตอน และวิธีการหมักหนาง มีท่านใดที่พอจะบอก ขั้นตอน และวิธีการหมักหนาง บ้างไหม ขอบคุณเลยครับท่าน

Ico48
2 ปีที่แล้ว

การทำหนางหมูในสมัยก่อนเกิดจากภูมิปัญญาเพราะว่าหัวหมูในสมัยนั้นผู้คนไม่นิยมรับประทาน จึงมีผู้คิดค้นวิธีทำให้หัวหมูรับประทานได้โดยนำเนื้อของหัวหมูมาหมักโดยคลุกกับเกลือและน้ำตาลแล้วนำไปหมักไว้ 6-7 วัน ก็รับประทานได้ (บางท้องถิ่นก็มีการผสมผัก ประเภท หยวกกล้วย หน่อไม้ ฟักเขียว เข้าไปด้วย) ทำหนาง ก็คือการทำเนื้อส้ม นั่นเอง โดยมีน้ำตาลเป็นตัวทำปฏิกิริยาให้เปรี้ยว (ชาวชุมพรนิยมใส่ฟักเขียวเป็นผัก)

Ico48
2 ปีที่แล้ว

*******หมักโดยคลุกกับเกลือและน้ำตาลแล้วนำไปหมักไว้ 6-7 วัน ก็รับประทานได้ *********ขอบคุณครับ

////////แต่ว่ามีอัตราส่วน ของส่วนผสม ไหมครับ---------เช่น หัวหมู 1 หัว (ประมาณ 1.5 - 2.0 กก.) หมักทั้งหัว หรือ แล้เฉพาะเนื้อหมู แล้วจะต้องใช้น้ำตาล และ เกลือ ปริมาณ เท่าไร ครับ-------และระหว่างหมักเราควรทำอย่างไร เช่น เราต้องเปิดมาชิม แล้วปรุงรส หรือเปล่า--------ผมเคยกินตอนกลับไปบ้าน(พัทลุง) ประมาณ 5-6 ปี ก่อน -------------ขอบคุณครับ

Ico48
ครูแอ๋ม
2 ปีที่แล้ว

ไปดัดแปลงเอานะ 

ส่วนผสม

            1.  หัวหมู         1            หัว

          2.  ฟักเขียว      1            กิโลกรัม

          3.  เกลือ          1            ช้อนโต๊ะ

          4.  น้ำตาลโตนดเหลว   ½   ถ้วย

วิธีทำ

1.นำหัวหมูที่ย่างไฟจนเหลืองและขูดขนและรอยไหม้ออกแล้วล้างให้สะอาด  หั่นเป็นชิ้นขนาดพอเหมาะ

          2. ฟักเขียว  ปอกเปลือกเอาไส้ออกและล้างให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นพอเหมาะวางพักไว้ให้  สะเด็ดน้ำ

          3. เนื้อหมูคลุกเกลือให้เข้ากัน ตามด้วยน้ำตาลโตนด       และฟักเขียวเคล้าให้เข้ากัน ตักใส่
ภาชนะมีฝาปิด พักไว้ 6 – 7 วัน จึงนำมาปรุงอาหาร

 เป็นหลักสูตรที่สอนเด็กในเรื่องนี้ แต่ไม่ได้โพสต์หมดอยู่ในแผนการสอนค่ะ

 

 

Ico48
บ่าวดำ
2 ปีที่แล้ว

ขอบคุณครับ คุณครูแอ๋ม .............. ขออนุญาตบันทึกเก็บเป็นข้อมูลน่ะครับ......แล้วจะลองทำ(เป็นกับข้าว-กับแคล้ม)ครับ

Ico48
ตาตุ๋ย คนเมืองลุง
2 ปีที่แล้ว

ขอบคุณครับคุณครู..สำหรับสูตรอาหารอร่อยแบบบ้านๆของเรา..

...บ้านผมมักนิยมใช้หยวกกล้วยป่า หรือ หน่อไม้ ครับ..

Ico48
ครูแอ๋ม
2 ปีที่แล้ว

เรื่องผักที่ใส่ก็คงแล้วแต่ท้องถิ่นใช่ไหม?  อะไรก็อร่อยทั้งนั้น อาหารบ้าน ๆ ท้องถิ่นเราต้องอนุรักษ์ไว้ค่ะ

เพิ่มความเห็น

เคยทำแล้วมันเสีย อาจารย์พอจะทราบมั้ยค่ะว่าสาเหตุมาจากใส่เกลือหรือว่าน้ำตาลน้อยไปหรือเปล่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท