"วิจัย" ใครไม่กลัว ยกมือขึ้น


คนอย่างหน่วยสนับสนุนก็ทำวิจัยได้

"วิจัย" ใครไม่กลัว ยกมือขึ้น

    คำว่า " วิจัย " หลายคนได้ยินคำคำนี้แล้วแทบจะวิ่งหนี  หลายคนเคยเรียนต่อ และมีประสบการณ์ในการทำวิจัยมาบ้าง อาจมีหลายคนที่ชอบการทำวิจัย แต่สำหรับฉัน คำว่า " วิจัย " ช่างน่ากลัวอะไรขนาดนั้น กลัวจนไม่กล้า ที่จะอ่านก็ไม่กล้าที่จะศึกษา      ดูเหมือนมันยากไปซะหมด  กลัวมากจนไม่คิดที่ทำวิจัย  ตัวฉันใช่จะไม่เคยเรียนวิจัย ไม่เคยทำวิจัย ที่ไหนเล่า  เคยหน่ะเคยแต่รู้สึกว่ามันยากเหลือเกินที่จะเข้าใจได้ง่ายๆ  ที่โรงพยาบาลป่าติ้ว  ก็เคยมีโครงการให้เจ้าหน้าพัฒนาตนเองในการทำวิจัย เมื่อ 10 ปีก่อน เรียนรู้การทำวิจัยแบบมีส่วนร่วม เรียนได้ครึ่งหนึ่ง เสียดายท่านอาจารย์ที่สอน ท่านมาเสียชีวิตไปเสียก่อน  เมื่อ 6 ปีที่ผ่านมา  ได้ร่วมเรียนรู้การทำวิจัยเชิงคุณภาพ ในผู้ป่วยเบาหวาน ก็เป็นอันล้มเลิกไป  เลยทำให้ท้อๆเกี่ยวกับการทำวิจัย   และท่านอาจารย์

ดร.ปรัชญนันท์  นิลสุข

[email protected]

http://www.prachyanun.com ท่านได้กล่าวไว้ และโดนใจคนอย่างฉันทีเดียว  ว่าด้วย.....เรื่อง

ปัญหาของการทำวิจัย 

  • ปัญหาของการทำวิจัยก็คือ ไม่มีปัญหา

  • มีปัญหาแต่ไม่รู้ว่าวิจัยอย่างไร

  • วิจัยเสร็จแล้วไม่รู้จะเขียนรายงานการวิจัยอย่างไร

  • เขียนเสร็จแล้ว  ไม่รู้ว่าใช่หรือไม่ เรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:e66kLmYRq1UJ:www.prachyanun.com/ppt/writing1.ppt+%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2&cd=10&hl=th&ct=clnk&gl=th สืบค้น วันที่ 17 พฤษภาคม 2553

  • หลายคนคงมีความรู้สึกเช่นนี้ไม่มากก็น้อย และฉันเองก็เคยรู้สึกเช่นนั้น แต่ประสบการณ์ในการเรียนวิจัยครั้งนี้เป็นหนึ่งประสบการณ์ที่ฉันก้าวผ่านความหวาดกลัวกับ คำว่า" วิจัย"  ของฉัน ที่เริ่มจาก การจัดทำโครงการการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย R2R ในกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลป่าติ้ว โดยความเมตตาท่านอาจารย์ ka-poom  ดูสายตาในความไม่แน่ใจ ระคนความหวาดกลัว ของหลายคน น้องอ๋อย และน้องทัย พนักงานรายวัน หน่วยสนับสนุน เข้ามาร่วมด้วย ซึ่งในความรู้ฉันในวันแรก อาจจะมีมากกว่าน้องๆ ในความไม่แน่ใจ เจือความหวาดกลัว  ซึ่งก็อาจเป็นได้ ในวันแรกๆของการเรียนรู้การทำวิจัย [ R2R ] เพื่อแก้ปัญหาในหน้างานตนเองนั้นเป็นการเรียนที่แสนสนุก  

 เมื่อสิ้นวันแรกของการเรียนรู้ฉัน  เริ่มเกิดความรู้สึกแปลกๆ เกี่ยวกับ คำว่า " วิจัย " เอ๊ะน่าสนใจดี  เอ๊ะยังงัยนี่  เพราะน้องๆที่หน่วยสนับสนุน บอกว่า เข้าใจในสิ่งที่ ท่านอาจารย์สอน เราเริ่มยิ้มได้  เพราะฉันเองเป็นคนชวนน้องๆเข้ามาเรียนบอกกับน้องๆว่า ถ้าไม่เข้าใจก็ออกมาได้ แต่น้องไม่ยักกะออกมาก่อน  

    ในครั้งต่อมา น้องๆ ได้หาพากันนำเรื่องเอ๊ะ... คือปัญหา หรือ โอกาสพัฒนาในหน้างานตัวเองมาเป็นหัวข้อการทำวิจัยได้ ครั้งหลังๆ  ฉันเองขออาสาจัดบรรยากาศการเรียนรู้แบบใหม่ หลายคนมีความสุขค่ะได้นอนไป กินไป หลับไป ตื่นมาก็ฟังต่อ

สำหรับตัวฉันเองเกิดพลังและถือว่าเป็นพลังแห่งความสุข สุขในการเรียนรู้ตามแบบฉบับของท่านอาจารย์ที่ถ่ายทอดออกมาด้วยความกรุณา ที่สามารถทำเรื่องยากๆ ที่ฉันเคยฝังอยู่ในหัวกับความยากของคำว่า "วิจัย" ออกมาให้เป็นเรื่องที่เข้าใจง่ายๆ   ด้วยความอยากรู้ให้มากขึ้นๆ  ฉันได้พยายามศึกษาการทำวิจัยเพิ่มเติม ในใจก็ ยังคิดว่า วิจัยมันยากอยู่ดี  แต่สิ่งที่ฉันสัมผัสได้ การให้กำลังจากคำพูดของท่านอาจารย์ ทำให้ใครหลายคนเกิดอาการฮึกเหิม รวมทั้งตัวฉันด้วย ทุกครั้งที่ได้ประชุมทีมเพื่อหาเรื่องเอ๊ะในงาน........สนุกค่ะ  มีความสุข บรรยากาศเต็มไปด้วยเสียงหัวเราะเมื่อพวกเราพูดถึง R2R 

ได้ลองนำแบบอย่างจากท่าน ด้วยเทคนิคเทกำลังใจด้วยคำพูดอย่างเทจนหมดหน้าตัก    เพื่อกระตุ้นให้น้องๆในหน่วยสนับสนุนลุกขึ้นมาทำวิจัย ไม่กี่วันมานี้งานซักฟอกได้รับจดหมายจากสวรส. ให้ส่งFull Paper  เรื่อง เพิ่มพลังซักหารสอง ซึ่งเป็นสิ่งที่น้องได้ร่วมกันศึกษา จนสามารถแก้ปัญหาหน้างานของตนเองและได้นำมาบอกเล่าให้เพื่อนๆได้รับรู้ว่า คนอย่างหน่วยสนับสนุนก็ทำวิจัยได้  และลองเขียนบทคัดย่อส่งอาจารย์และลองส่งไปสวรส.ดู  นี่เป็นแค่ก้าวแรกสำหรับการเรียนรู้การทำวิจัยของฉันเท่านั้น      

     แล้ว Full Paper หล่ะเขียนงัย โทรปรึกษาเพื่อนบางคน เค๊าบอกว่า Full Paper ก็เขียนให้เต็มหน้ากระดาษงัย!!!!! [ฮ้าๆๆๆๆ """นึกขำตัวเองในความไม่รู้ และขาดประสบการณ์เพราะมัวแต่กลัวจนไม่กล้า]  กลัวค่ะ กลัวเขียนไม่ถูก สารพัดอีกแล้วความกลัวของฉัน ความรู้สึกในตอนนั้นสับสนกับความรู้สึกกลัว กับคำว่ากล้า ว่าจะส่งเขียนส่งไปมั๊ยน๊า เอาไม่เอา เพราะ กลัวความยาก ของ  คำว่า Full Paper  จึงตัดสินใจตอนค่ำๆวันที่ 9 พฤษภาคม 2553 โทรไปเรียนปรึกษาท่านอาจารย์  ka-poom  ว่า Full Paper เป็นอย่างไร ท่านบอกตามสายขณะอยู่ขอนแก่น ด้วยกำลังใจอีกว่า "ไม่ยากค่ะให้พี่ลองเขียนดูก่อน  และลองให้พี่แก้วช่วยดู หาตัวอย่างมาดูวิธีการเขียนลองดู" ว่าแล้วก็ขึ้นไปห้องสมุดโรงพยาบาล   ค้นหาตัวอย่างการเขียนวิจัย 5 บท  ในตอน 2 ทุ่ม    แล้วท่านก็กรุณาขับรถกลับมาจากขอนแก่นในเช้าวันที่ 10 พฤษภาคม 2553  เพื่อมาให้กำลังใจในการเขียน Full Paper ของฉัน พี่แก้วและพี่สร้อยเป็นผู้ที่ให้คำปรึกษาในวันที่มาเขียนงานด้วยจนได้ส่งในวันต่อมา

อ๋อ....นี่เองเหรอ  Full Paper ฉันกลัวอยู่ตั้งนาน...... เขียนแบบนี้เอง

กับอีกหนึ่งประสบการณ์ ความกลัวของฉันhttp://gotoknow.org/blog/somying-o/359048

ขอขอบกับทุกๆกำลังใจจนทำให้ฉันก้าวข้ามผ่านความกลัวกับ คำว่า " วิจัย " มาได้โดยเฉพาะท่านอาจารย์ 

 

เขียนบันทึก จาก อุ้มบุญ

หมายเลขบันทึก: 359481เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2010 22:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

พี่โอ...คือ ความกล้าหาญอยู่แล้วค่ะ

และเราหลายๆ คนที่ร่วมวง "สุนทรียโสเหร่ R2R" กันนั้น ณ ป่าติ้ว คือ ความงามแห่งชีวิตการงานของผู้กล้าที่เปี่ยมด้วยความอ่อนโยน...

Zen_pics_007 

ได้อ่านแล้วรู้สึกว่าอยากลองทำวิจัยดูบ้างแล้วค่ะ ขอบคุณที่ช่วยเสริมพลังให้ลุกขึ้นมาสู้งานวิจัยอีกครั้งหลังจากที่เคยลองแล้วเลิกไป

หากมีปัญหาจะขอความกรุณาในเรื่องคำแนะนำบ้างจะได้ไหมคะ

สวัสดีตอนสายๆ อาจารย์ ka-poom ขอบคุณกำลังใจในการก้าวเดินต่อไปค่ะ

ลองดูค่ะ คุณสุจิรัชยา ทุกอย่างจะยากเมื่อเรายังไม่คิดจะเริ่มทำ หากเริ่มทำแล้วเรื่องยากๆก็กลับกลายเป็นเรื่องง่าย.....

คิดถึง อาจารย์ ka-poom จังครับ

และ กลอนที่แต่งให้อาจารย์เพราะจังครับ

ตามเข้ามาอ่านบันทึกครับ

แหะ แหะ ขออนุญาติซุกมือไว้ใต้โต๊ะทั้งสองมือเลยนะครับ...

ขอบคุณ คุณอดิเรก ค่ะ

คิดถึงอาจารย์ ka-poomเช่นกัน .......

ขอบคุณ ค่ะ คุณหนานเกียรติ

ที่เข้ามาทักทาย

 

เรียนคุณอุ้มบุญครับ

วันนี้มาอ่าน "วิจัย" เชิงปรารภ เข้าใจว่า ป่านนี้ได้ทำงานวิจัยไปหลายเรื่องแล้วใช่ไหมครับ ส่งมาทางเมลให้อ่านหน่อยได้เปล่าครับ? สนใจ เพราะเป็นสิ่งหนึ่งที่ควรทำ แต่ผมไม่เคยทำ ชอบแต่งานเขียนหนังสือ 

อีกเรื่อง ใบไม้ที่ส่งมา ขอเรียกว่าใบสัจธรรม ใบอ้ม ใบเนียน ใบผักแพว ทุกใบ เปลี่ยนสีประกาศอนิจจังให้เห็นเด่นชัด พยายามหากลิ่นข้าวหอม แต่เหมือนข้าวหอมปนกลิ่นใบไม้หมัก กำลังย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์บางชนิด แต่ ผมมองเห็นภาพเชิงซ้อน ใบไม้เหล่านั้นเขียวขจีสดใสชูใบสดชื่นงดงามด้วยอำนาจแห่งน้ำใจของผู้ส่ง ด้วยจิตคารวะอย่างยิ่ง

  • นั่นเป็นสิ่งที่ยืนยันว่าที่อยู่ของท่านอาจารย์ที่ได้มานั้นถูกต้องแล้ว ✿อุ้มบุญ✿
  • ที่นี้ยังเหลือวิธีการที่ ต้องดำเนินแก้ไข คือ การหีบห่อ และเพิ่มความรวดเร็วในการจัดส่ง
  • ซึ่ง✿อุ้มบุญ✿จะขออภัยและต้องพัฒนาการส่งใหม่ เพื่อที่ ท่านอาจารย์ จะได้สัมผัส กลิ่นอันหอมชื่นใจของใบอ้ม รอนิดหนึ่งนะคะ
  • สำหรับงาน " วิจัย"เล็กๆเรียบง่ายตามจริตตนเอง ซึ่งได้เรียนรู้ เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนางานประจำ  ของหน่วยงานตนเอง ที่ได้ทำแล้ว ประมาณ 5 เรื่อง เป็นงานที่ ลูกจ้างในทีมเป็นคนทำ ✿อุ้มบุญ✿ เป็นเพียงผู้เชียร์และสกัดเอาเนื้องานรวบรวมไว้ในแบบฟอร์มวิจัยเท่านั้น  ร่วมเชียร์ให้หน่วยอื่นๆ ทำอีกประมาณ 15 เรื่อง จะส่งให้ท่านชี้แนะเพื่อการพัฒนา ให้เกิดการต่อยอดด้วย จักเป็นพระคุณ
  • สิ่งที่ได้เรียนรู้การทำ R2R  คือการค้นหารากเหง้าของปัญหา แก้ไข ให้งานที่ทำในทุกๆวันง่ายขึ้น ดีขึ้น มีระบบขึ้น ที่แน่ๆ R2R ทำกระบวนการกู้ใจให้คนหน้างานเป็นสุขขึ้น เป็นการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ  เช่นเดียวกับหลักพุทธศาสนา อริยสัจ 4 
  • ต้องส่งให้ท่านอาจารย์แน่นอน

เรียนคุณอุ้มบุญครับ

งั้นต้องขอขอบคุณล่วงหน้าไว้ก่อน สำหรับงานวิจัยนั้น มาทางเน็ทก็ได้นะ จะได้ไม่ต้องออกแรงมากนัก กลัวจะเหนื่อย ส่วนใบอ้มนั้นตอนนี้ ผึ่งไว้กลิ่นหมักจางลง กลิ่นข้าวหอมมากขึ้น และแห้งแล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท