หนานเกียรติ
เกียรติศักดิ์ หนานเกียรติ ม่วงมิตร

ศูนย์พันพรรณ : ชุมชนแห่งความง่ายและงาม


“...ชาวบ้านแถวนี้เขาก็ประหลาดใจนะ ตอนแรกคิดว่า ผมคงเป็นเถ้าแก่มาจากกรุงเทพฯ มีเงินมีทอง แต่อยู่ไปอยู่มาทำไมเถ้าแก่แต่งตัวแบบนี้ ทำไมเดิน ทำไมไม่มีรถ ก็สงสัยไปต่าง ๆ นา ๆ ว่าพวกนี้เป็นใครกันแน่ ทำอะไรกันแปลก ๆ ปุ๋ยเคมีก็ไม่ใช้ ยาฆ่าหญ้าก็ไม่ใช้...”


ภาพประกอบจาก http://www.agalico.com/board/showthread.php?t=18843
 

        เนินเขาลูกย่อม ๆ รายล้อมด้วยเทือกสวนไร่นา ด้านหลังพิงแนบกับภูเขาสูง เบื้องหน้าตรงข้ามกับเขาสูงเป็นที่ตั้งหมู่บ้านเป้า ต.แม่โจ้ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

        ศาลาหลังใหญ่ตั้งเด่นสง่าอยู่บนยอดเนิน อาคารทำด้วยดินที่ลงมือลงไม้กันเองของบรรดาสมาชิกชุมชนและกัลยาณมิตรที่มาเยี่ยมเยือน ลดหลั่นลงมาจะเป็นบ้านดินที่พักอาศัยของชาวชุมชน มีทางเดินลัดเลาะไปตามสวนพืชผักต่าง ๆ เชื่อมอาคารแต่ละหลังเข้าด้วยกัน

        ห้องส้วมแบบโบราณแทรกตัวอยู่ด้านข้างแปลงผัก ซึ่งถูกออกแบบมามิให้มีของเสียเหลือทิ้ง บรรดามูตรเน่าทั้งหลายจะถูกนำกลับมาใช้ทั้งหมด ปัสสาวะที่ถ่ายลงถังสีดำจะถูกนำไปหมักเพื่อใช้กับต้นไม้ อุจจาระที่ถ่ายลงส้วมไม่ต้องใช้น้ำราด ถ่ายเสร็จกำแกลบข้างๆ หว่านคลุมลงไป ระยะเวลาผ่านไปราว ๖ เดือน สิ่งที่ถ่ายไว้จะกลายเป็นดินดำ นำไปใช้ปลูกต้นไม้ต่อไป

        ถัดลงไปเบื้องล่างเป็นโรงอาหาร มีกล้วยน้ำว้าแขวนอยู่หลายเครือ สถานที่แห่งนี้ใช้เป็นทั้งที่ประกอบและรับประทานอาหาร มีบรรดาสมาชิกหมุนเวียนกันไปทำอาหารโดยใช้วัตถุดิบที่ปลูกกันเองภายใน

        ผืนดินนี้เดิมเป็นที่ดอนแล้งสนิท อุดมไปด้วยดิน หิน ทราย และวัชพืชทนแล้ง ชาวบ้านเจ้าของผืนดินไม่ลังเลที่จะขายให้กับโจน จันไดและพรรคพวก ที่ตัดสินใจมาปักหลักบนผืนดินใหม่นี้

        “...ชาวบ้านแถวนี้เขาก็ประหลาดใจนะ ตอนแรกคิดว่า ผมคงเป็นเถ้าแก่มาจากกรุงเทพฯ มีเงินมีทอง แต่อยู่ไปอยู่มาทำไมเถ้าแก่แต่งตัวแบบนี้ ทำไมเดิน ทำไมไม่มีรถ ก็สงสัยไปต่าง ๆ นา ๆ ว่าพวกนี้เป็นใครกันแน่ ทำอะไรกันแปลก ๆ ปุ๋ยเคมีก็ไม่ใช้ ยาฆ่าหญ้าก็ไม่ใช้...”

        หลังจากนั้นไม่กี่ปี ผืนดินดอนที่แล้งน้ำอย่างสาหัส เสื่อมโทรมจนปลูกอะไรแทบไม่ได้ กลับกลายเป็นผืนดินดำอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชผักนับร้อยนับพันชนิด ที่ใช้ได้ทั้งกินและเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ เป็นแหล่งเรียนรู้ของบรรดานักเกษตรอินทรีย์และผู้สนใจที่หมุนเวียนไปอย่างไม่ขาดสาย ที่รู้จักกันในนาม “ศูนย์พันพรรณ” ที่มีโจน จันได และเพื่อนร่วมอุดมการณ์คอยให้การต้อนรับและแชร์ประสบการณ์ให้อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน

        “...ผมไม่อยากจะให้คนติดชื่อผม ก็เลยคิดตั้งชื่อร่วมกัน ได้ชื่อ “พันพรรณ” แปลว่า ร้อยพ่อพันแม่ (พรรณไม้) พันธุ์ชนิดพันธุ์แบบ เอาง่าย ๆ ไม่ต้องคิดมาก...”

        โจน จันได พูดถึงชื่อ “พันพรรณ” และเล่าที่ไปที่มาว่า

        “...ผมอยู่ที่นี่มา ๕ ปีแล้ว ตั้งใจมาทำเกี่ยวกับการเก็บเมล็ดพันธุ์ เมื่อก่อนผมทำเรื่องนี้ที่อีสาน ที่ยโสธรมันมีปัญหาเรื่องดินเรื่องน้ำมาก ถึงหน้าแล้งไม่รู้จะเอาน้ำที่ไหนมารด เลยตัดสินใจหาพื้นที่ใหม่ เลือกมาอยู่ทางเหนือ มาอยู่ที่นี่...

        ...ตอนแรกว่าจะมาอยู่กันสัก ๒–๓ คน เฉพาะเพื่อนที่รู้ใจกัน เข้าใจกัน ปลูกผักเก็บเมล็ดพันธุ์ไปเรื่อย ๆ แต่พอมาอยู่เข้าจริงๆ ปรากฏว่าคนเข้ามาเรื่อย ๆ เข้า-ออกไม่ต่ำกว่าสิบตลอด มันเลยเริ่มกลายเป็นชุมชนโดยไม่รู้ตัว ตอนแรกไม่ได้ตั้งใจให้เป็นชุมชน แต่ระยะหลังมีคนอยากมาอยู่มากขึ้น จึงต้องมีกิจกรรมมากขึ้น เพราะว่าอยากให้เลี้ยงตัวเองได้ อยากให้อยู่ได้ด้วยตนเอง...

        ...ที่นี่เราอยู่กันเหมือนวัด ทรัพย์สมบัติที่นี่เป็น “สาธารณะโภคี” สมาชิกชุมชนไม่มีใครมีเงินเดือน เพิ่งมาปีนี้ที่เราเริ่มจ้างคนมาช่วย เพราะว่าการเก็บเมล็ดพันธุ์เราคนเดียวทำไม่ไหว ต้องหาคนมาช่วย จ้างคนมาช่วยปลูก เพราะว่ามันมีเมล็ดพันธุ์เข้ามาเยอะมาก ต้องปลูกภายใน ๒ ปี...”

        โจนเล่าบรรยากาศภายในชุมชนให้ฟังว่า

        “...ชุมชนเราไม่เคร่งครัดเหมือนวัด แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่หย่อนยานจนจัดการอะไรไม่ได้ เราใช้ระบบการประชุม ธรรมดาเราจะประชุมกันเดือนละครั้ง บางเดือนอาจจะมีถึงสองครั้งแล้วแต่กรณี เราจะไม่คุยกันนาน แค่ถามไถ่กันมีปัญหาอะไรกันไหม ใครมีปัญหาอะไรก็คุยกัน ส่วนใหญ่จะคุยกันเรื่องที่จะต้องทำกันในช่วงนั้น คุยกันแบ่งงานกันก็จบ...

        ...เราจะไม่มาถกเถียงกันเรื่องความรู้สึก เราจะเน้นการใช้แรง ใช้แรงมากจะมีปัญหาเรื่องความรู้สึกน้อยลง ถ้าไม่ใช้แรงความรู้สึกจะใหญ่ขึ้น จะมีปัญหาคุยกันไม่มีที่สิ้นสุด ใช้แรงมันจะมีเวลาคิดน้อยลง มีเวลาอยู่กับตัวเองมากขึ้นในช่วงที่ใช้แรง และก็ถ้าไม่ใช้แรงความคิดก็จะฟุ้งซ่านไปเรื่อย ๆ จินตนาการไปเรื่อย ๆ แล้วจะรู้สึกว่าตัวเองสำคัญ ตัวเองรู้มาก...”

        ศูนย์พันพรรณ มีคนรู้จักมาขึ้น เครือข่ายขยายตัวออกไปอย่างรวดเร็ว ภารกิจจึงเพิ่มขึ้นทั้งการรองรับคณะที่มาเยี่ยมเยือน รวมทั้งการเพาะปลูกพืชผักที่กัลยาณมิตรส่งมาให้

        “...กำลังเรามีน้อย เราไม่มีเงินจ้างคน คนที่จะมาเป็นอาสาสมัครมาอยู่กับเรามีน้อยมาก กับอาสาสมัคร การบริหารจัดการอาสาสมัครมันไม่เหมือนกับการบริหารจัดการที่ใช้เงิน มันต้องอาศัยสมัครใจ อยากทำก็ทำ เรามีอะไรที่ต้องทำเยอะ งานมันมาก กำลังไม่พอ...”

        เกี่ยวกับการขอรับการสนับสนุน โจน กล่าวว่า

        “...เราไม่ถนัดในการขอทุน การขอทุนยุ่งยากและซับซ้อนมาก ต้องเสียเวลากับกระดาษเยอะมาก ต้องสละคนหนึ่งไปทำตรงนั้น เราไม่ถนัดเรื่องนี้...

        ...ที่นี่เราเน้นเรื่องการลงมือทำ ไม่เน้นทำงานกับกระดาษ ไม่เน้นการพูดคุยสังเคราะห์ความคิดกัน เราไม่อยากเสียเวลากับการทำอย่างนั้น เราอยากจะให้คนลงมือทำแล้วก็เรียนรู้กับปัญหาที่เกิดขึ้น แก้ปัญหาไป เรียนรู้ไป ถ้ามีเราก็ไม่ปฏิเสธหรอก งบถ้ามีมันก็ไปได้ดี ไปได้ง่ายขึ้น...

        ...ที่ผ่านมาเคยขอจากประเทศอังกฤษ ทำเรื่องให้คนเอเชียมาเรียนรู้จากเรา เป็นค่าเดินทาง ค่าอาหาร ค่าที่พักอะไรให้กับคนเอเชีย พม่า มาเลเซีย มาเราก็ทำ ๒ ครั้ง เขาก็มีงบฯ ให้ ๒ ครั้ง มันก็ยุ่งยากพอสมควร เลยมาคิดหาวิธีที่เราจะอยู่ได้เองมากกว่า ถึงมันจะได้เล็ก ๆ น้อย ๆ แต่เราก็อยู่ได้ ไม่ต้องคิดมากคิดไกลคิดใหญ่เกินไป...”

        ถึงแม้ว่าจะปลูกพืชผักพอเพียงกับการบริโภคกันสำหรับสมาชิกในชุมชน แต่ศูนย์พันพรรณก็มีภาระอื่น ๆ อีกมาก เช่น การดูแลชาวบ้านที่เข้ามาศึกษาดูงาน การบูรณะซ่อมแซมสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ รวมทั้งการก่อสร้างอาคารสำหรับใช้งานภายในศูนย์ฯ ทำให้ต้องมีแหล่งรายได้ที่จะเข้ามาสนับสนุนให้กิจการงานของศูนย์พันพรรณเดินหน้าต่อไปได้ ซึ่งรายได้หลักมาจากการทำโครงการฝึกอบรมอาสาสมัครชาวต่างประเทศ ซึ่งดำเนินการปีละครั้ง โจน เล่าว่า

        “...รายได้หลักที่นำมาจุนเจือตอนนี้เป็นโครงการอาสาสมัครต่างประเทศ มีปีละครั้ง เริ่มประมาณเดือนพฤศจิกายนไปถึงเดือนกุมภาพันธุ์ เราก็จะมีรายได้จากการลงทะเบียนประมาณ ๓-๔ แสนบาท เงินนี้ใช้เป็นค่าใช้จ่ายในช่วงที่เขาเรียน จะมีเหลืออยู่ประมาณสองแสนบาท ไว้ใช้ตลอดทั้งปี...

        ...รายจ่ายหลัก คือ อาหาร ใช้แรงมันต้องกินข้าว แต่ก็พยายามลดภาระตรงนี้ลง ตอนนี้เราก็เริ่มทำซอสถั่วเหลืองแทนซีอิ้วขาว ซอสเราไม่มีปัญญาซื้อ เราก็เอามะเขือเทศมาหมักกับเกลือ ลดค่าใช้จ่ายลง ถัดมาช่วงนี้เราสร้างบ้าน คนเข้ามาเยอะขึ้นแล้วบ้านไม่พอ เป็นปีสุดท้ายแล้วที่เราจะสร้าง เพราะว่าเราไม่อยากจะให้มันมีมากเกินไป...”

        รายได้นอกจากค่าลงทะเบียนจากอาสาสมัครชาวต่างประเทศแล้วนั้น ส่วนหนึ่งยังได้มาจากการบริจาคของผู้ที่เข้ามาเรียนรู้และใช้ชีวิตในศูนย์ฯ จำนวนมากน้อยแล้วแต่ความสมัครใจ และตามความศัทธา ซึ่งทางศูนย์ฯ มิได้เรียกเก็บ

        วิถิชีวิตของชาวชุมชน เป็นไปอย่างเรียบง่าย เป็บแบบอย่างสำหรับการเรียนรู้ชีวิตแบบง่าย ๆ ตามปรัชญาของศูนย์ฯ ทุกคนมีหน้าที่ มีงานทำตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากที่ประชุม ซึ่งภารกิจต่าง ๆ มักจะสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป โดยงานหลักคือการเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์

        สำหรับภารกิจด้านเมล็ดพันธุ์ของศูนย์ ถือว่าก้าวหน้าไปมาก โจน เล่าว่า

        “...เรื่องเมล็ดพันธุ์ถึงตอนนี้ถือว่าเดินมาได้เกือบถึงครึ่งทางล่ะ เพราะได้สร้างเครือข่ายไว้ในที่ต่าง ๆ เพื่อที่เราจะขยายเมล็ดพันธุ์ให้มันกระจายครอบคลุมไป คาดหวังว่าตอนนั้นคนก็ปลูกและเก็บเมล็ดพันธุ์กันเอง ถึงตอนนั้นจะถือว่าเป็นสุดยอดของเป้าหมาย...

        ...เดี๋ยวนี้มีคนรู้จักเรามากขึ้น เขารู้ว่าเราสนใจอะไร บ้างคนไปเจอเขาเก็บเมล็ดนี้มาหลายปีแล้ว เขาคิดถึงเขาก็ส่งมาให้ เราก็เลยได้มา ตอนนี้เรามีมะเขือเทศหลายชนิด ผักสลัดที่เห็น สิบสี่สิบห้าอย่าง บางอย่าง ที่ตลาดราคาแพงมาก กิโลละหลายหมื่นบาท แต่เราปลูกเก็บเมล็ดพันธุ์แจกจ่ายให้กับเกษตรกรไปปลูก จะปลูกขาย ปลูกกินก็แล้วแต่ แต่ต้องเก็บเมล็ด...”

 

 


ภาพประกอบจาก http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/47/5047/images/c1/internship7.jpg

หมายเลขบันทึก: 314713เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2009 22:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (35)
  • สวัสดีค่ะหนานเกียรติ
  • แวะมาดู"ศูนย์พันพรรณ" คงจะครบพันแล้วนะคะ
  •  เป็นสิ่งที่ช่วยสร้างความเข้มแข็งของสังคมได้ดีนะ
  •  เห็นพี่น้องช่วยกันคนละไม้คนละมือแล้วดีใจด้วยค่ะ

 

P สวัสดีครับ พี่เอื้องแซะ

ขอบคุณที่แวะมาแอ่วหาครับ
ศูนย์พันพรรณ เป็นชุมชนที่น่าสนใจมาก ๆ ครับ
คล้าย ๆ ชุมชนสันติอโศก แต่ไม่เคร่งครัดเท่า น่าอยู่มากครับ

อ้อ...ฝากบอกน้องต้อม-เนปาลี ตวย บอกว่าพี่หนานน้อยใจที่น้องต้อมบ่แวะมาแอ่วหาเลย

สวัสดีค่ะคุณหนานเกียรติ...ร่วมมือร่วมใจ..ขยันขันแข็งกันดีจังเลยค่ะ

 

P สวัสดีครับ คุณ nuch

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ
ยะลาหนาวหรือยังครับ...

 

อ่านเรื่องราวของโจน จันได จากที่พี่เขียนแล้ว จินตนาการตามเรื่องราวได้อย่างชัดเจนเลยครับ

ผมโยงมางานของ สรพ. ตอนนี้กำลังวางแผนไปเยี่ยมโรงพยาบาล ๑๐ แห่ง (ทั่วประทศ)เเละเขียนเรื่องราวดีๆ ให้เสร็จเเละเป็นหนังสือก่อน มีค.๕๓ ... คงต้องพึ่งพาเราทั้งสองคนเคลื่อนงานนี้นะครับ

 

P สวัสดีครับ เอก จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

ขอบคุณที่ชมครับ...

ผมอยากช่วยงาน สรพ. มากครับ และยังหวังลึก ๆ ว่า อาจจะมีหนังสือสักเล่มที่ตัวเองเขียน

ยินดีนะครับที่จะช่วยอะไรได้บ้าง...

 

สวัสดีค่ะ...คุณ

P

อ่านบันทึกนี้เข้าใจชีวิตที่เรียบง่ายในตอนแรก ปัจจุบันความเรียบง่ายดูเหมือนจะถูกสังคมรบกวนนะคะ

ชอบ“ทรัพย์สมบัติสาธารณะโภคี”ที่นี่ค่ะ

ทำให้คิดได้ว่ามนุษย์เป็นผู้มีปัญญาสร้างระบบอะไรขึ้นมามากมายทำให้ชีวิต

วุ่นวายนะคะ

แต่แท้ที่จริง "แค่นี้ก็ดำรงชีวิตอยู่ได้แล้ว" 

 

 

สวัสดีค่ะหนาน..น่าสนใจนะ..เป็นความพอเพียงและมีความสุขมากที่ได้อยู่ในชุมชนบ้านเป้าได้ธรรมชาตินะ..พรรณไม้ที่มีเป็นพันๆๆ..และการขึ้นแบบพันกับค้างไม้คงจะเป็นผักที่กินได้นะคะ..จะไปเยี่ยมชมได้ไหมคะ..

ชื่นชม โจน จันไดมากครับ

คนอีสานเหมียนกัน 555

เขียนบันทึก ถึง ซากี้ รูปหล่อของพี่บ้างซิ

 

แวะมาชมของดี..มีประโยชน์ครับ

  • เห็นแล้วอึ่งมากครับพี่
  • กำลังจะทำศูนย์พันผักและผลไม้เหมือนกันครับ
  • กำลังรวบรวมอยู่

สวัสดีค่ะหนานเกียรติ

เข้ามาชม ศูนย์พันพรรณด้วยคนค่ะ

ดีจังเลยน๊ะค๊ะนอกจากทำตัวเป็นประโยชน์แล้วยังทำสิ่งแวดล้อมไม่ให้เป็นพิษ ทำจิตให้เป็นธรรมนำธรรมชาติมาพลิกเป็นเงินจนกลายเป็นแผ่นดินธรรม

แผ่นดินทอง

อ่านแล้วชอบมากค่ะ

ขอบคุณที่ไปเยือน

ถ้ามาเชียงใหม่

จะชวนไปกินพิซซ่าค่ะ

มาชม

เห็นเรียบง่ายดีจังนะครับ...

ขณะนี้ฝนตกหนักมากในเมืองหาดใหญ่...

มาแนะนำตัวครับ

ขอบคุรเรื่องราวดีๆครับ

หนานเกียรติจงรีบมาเชียงใหม่พาน้องเฌวามาด้วย..เราจะพากันไปเยี่ยมบ้านพันพรรณกันนะ..อากาศเริ่มหนาวแล้ว....จะออกจากโรงเรียน..ไปทางเขื่อนแม่งัด..ไม่มีค่ารถนะ..ไม่รู้ว่าน้องพอลล่าจะมาอีกรอบไหมเนี่ย..

สวัสดีค่ะหนานเกียรติ

*** น่าสนใจมากเลยนะคะ ถ้าเกิดขึ้นในทุกชุมชน ก็ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้

*** สาวน้อยเฌวา จะต้องแก้มแดง ตอนหน้าหนาวแน่เลย

P สวัสดีครับ ครูอี๊ด

สวัสดีค่ะ...คุณ P หนานเกียรติ

อ่านบันทึกนี้เข้าใจชีวิตที่เรียบง่ายในตอนแรก ปัจจุบันความเรียบง่ายดูเหมือนจะถูกสังคมรบกวนนะคะ
ชอบ“ทรัพย์สมบัติสาธารณะโภคี”ที่นี่ค่ะ
ทำให้คิดได้ว่ามนุษย์เป็นผู้มีปัญญาสร้างระบบอะไรขึ้นมามากมายทำให้ชีวิตวุ่นวายนะคะ
แต่แท้ที่จริง "แค่นี้ก็ดำรงชีวิตอยู่ได้แล้ว" 

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมนะครับ
การจัดการทรัพย์สินแบบสาธารณโภคี เป็นภูมิปัญญาที่ลึกซึ้งมากครับ
มีหลายแห่งที่ใช้จัดการแบบนี้ โดยเฉพาะในชุมชนอโศกทุกแห่ง...
ไปเยี่ยมเยียนพี่โจ ได้แง่คิดมากครับ..

 

P สวัสดีเจ้า คุณครู rinda

สวัสดีค่ะหนาน..น่าสนใจนะ..เป็นความพอเพียงและมีความสุขมากที่ได้อยู่ในชุมชนบ้านเป้าได้ธรรมชาตินะ..พรรณไม้ที่มีเป็นพันๆๆ..และการขึ้นแบบพันกับค้างไม้คงจะเป็นผักที่กินได้นะคะ..จะไปเยี่ยมชมได้ไหมคะ..

ที่ศูนย์พันพรรณ อยู่บ้านเป้า อ.แม่แตงครับ
ไปเยี่ยมเยียนเรียนรู้ชุมชนนี้ได้ ไป-กลับก็ได้ ไปนอนพักค้างคืนก็ได้เจ้า
ตั้งใจจะพาเฌวาไปนอนที่นั่นสักคืนสองคืน
ขอบคุณที่แวะมาแอ่วหาเจ้า...
เจียงใหม่ หนาวก่เจ้า...

 

P สวัสดีครับ คุณหมอ นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม

ชื่นชม โจน จันไดมากครับ
คนอีสานเหมียนกัน 555

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ
คุณเอก พอลล่า และผม ได้สนทนาเกี่ยวกับคุณหมอ เมื่อคราวไปเยี่ยม ร.พ. ที่ จ.พิจิตร ด้วยครับ
คาดว่า จะได้ไป ร.พ.อุบลรัตน์ เร็ว ๆ นี้

 

 

P สวัสดีคุณพี่ ครู ป.1

เขียนบันทึก ถึง ซากี้ รูปหล่อของพี่บ้างซิ

เช๊อะ.... 
ไม่อยากบอกว่าเมื่อวานและวันก่อนซากี้ไปที่ดอยมูเซอด้วย

 

P สวัสดีครับ คุณ พิสูจน์

แวะมาชมของดี..มีประโยชน์ครับ

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยม
ดีใจหลายที่ชอบครับ

 

P สวัสดีครับ อ.ขจิต ฝอยทอง

เห็นแล้วอึ่งมากครับพี่
กำลังจะทำศูนย์พันผักและผลไม้เหมือนกันครับ
กำลังรวบรวมอยู่

แหะ แหะ อาจารย์ อึ้ง หรือ อึ่ง ครับ
อึ่งที่ตากมาเยอะครับ อึ่งย่าง แต่ต้องรอตอนมันออกครับ ฮิ ฮิ..
ยกมือสนับสนุนสองข้างเลยครับ เรื่องที่อาจารย์จะทำศูนย์พันธุ์ผัก
ผมมีคนรู้จักที่ทำเรื่องนี้หลายคน แล้วจะเชื่อมให้ครับ

 

 

P สวัสดีครับ คุณ pepra

สวัสดีค่ะหนานเกียรติ
เข้ามาชม ศูนย์พันพรรณด้วยคนค่ะ
ดีจังเลยน๊ะค๊ะนอกจากทำตัวเป็นประโยชน์แล้วยังทำสิ่งแวดล้อมไม่ให้เป็นพิษ ทำจิตให้เป็นธรรมนำธรรมชาติมาพลิกเป็นเงินจนกลายเป็นแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง

ขอบคุณมากครับที่แวะมาเยี่ยมและแบ่งปันความเห็น

 

 

P สวัสดีครับ พี่ มนัญญา ~ natachoei ( หน้าตาเฉย)

อ่านแล้วชอบมากค่ะ
ขอบคุณที่ไปเยือน
ถ้ามาเชียงใหม่
จะชวนไปกินพิซซ่าค่ะ

ขอบคุณที่มาเยี่ยมเช่นกันครับ
แหะ แหะ ไปเชียงใหม่ขอที่เพิ่มอีก ๒ ที่สำหรับ แม่เฌวาและเฌวา ได้ไหมครับ

 

P สวัสดีครับ อาจารย์ umi

มาชม
เห็นเรียบง่ายดีจังนะครับ...
ขณะนี้ฝนตกหนักมากในเมืองหาดใหญ่...

อาจารย์ครับ ได้ข่าวว่าน้ำท่วมแล้ว
เป็นไงมั่งครับ...

 

 

P สวัสดีครับ คุณ TontheChef

มาแนะนำตัวครับ
ขอบคุรเรื่องราวดีๆครับ

ขอบคุณที่ให้เกียรติครับ ยินดีที่ได้รู้จัก
แวะมาเยี่ยมอีกนะครับ

 

P สวัสดีน้อง ♥paula ♥ที่ปรึกษาตัวน้อย✿

พี่ชาย เราเก่งจัง อิอิ

เอ้าาาา... !!!!!!! เพิ่งรู้เหรอ  คนอื่นเขารู้กันตั้งนานแล้ววววววววววว
ฮิ ฮิ....

 

P สวัสดีเจ้า คุณครู rinda

หนานเกียรติจงรีบมาเชียงใหม่พาน้องเฌวามาด้วย..เราจะพากันไปเยี่ยมบ้านพันพรรณกันนะ..อากาศเริ่มหนาวแล้ว....จะออกจากโรงเรียน..ไปทางเขื่อนแม่งัด..ไม่มีค่ารถนะ..ไม่รู้ว่าน้องพอลล่าจะมาอีกรอบไหมเนี่ย..

ทราบแล้วเจ้า...
อยากไปขนาดนักเจ้า...

 

P สวัสดีครับ คุณครูกิติยา เตชะวรรณวุฒิ

สวัสดีค่ะหนานเกียรติ
*** น่าสนใจมากเลยนะคะ ถ้าเกิดขึ้นในทุกชุมชน ก็ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้
*** สาวน้อยเฌวา จะต้องแก้มแดง ตอนหน้าหนาวแน่เลย

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ
ตอนนี้เฌวาเริ่มหน้าแดง จมูกแดงแล้วครับ
อากาศที่กรุงเทพฯเริ่มเย็นแล้ว

 

  • พี่ๆๆผมมากินอึ่งย่าง
  • ฮ่าๆๆๆๆ
  • ผักที่บ้านงอกไหมครับ
  • กำลังจะมีงานเกษตรฯ 3-13 ธค ชวนเฌวาและคนข้างตัวมาเที่ยวนะครับ
  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาขอบคุณ คุณหนานเกียรติ ที่ไปให้กำลังใจงานเขียนของบุษราค่ะ
  • เป็นกำลังใจที่ดี ๆ ตลอดมา คอยเติมเต็ม ให้คำแนะนำกับนักเขียนมือใหม่คนนี้มาโดยตลอด ดีใจที่ได้รู้จักพี่น้องชาว gotoknow  4 เดือนกับสิ่งดี ๆ ที่ได้รับ
  • บุษราไม่มีอะไรจะทดแทนบุญคุณ นอกจากคำว่าขอบคุณนะคะที่ให้โอกาส

แวะมาอ่านเรื่องราวของชาวดินที่น่านิยมค่ะ...ชื่นชมคนเล่าด้วยค่ะที่บรรยายเห็นภาพชัดเจนจริงๆ..

              

สวัสดีค่ะ

* แอบพักงาน เพื่อเข้ามาทักทายคุณหนานเกียรติ... รู้ตัวว่าไม่ได้มายี่ยมนาน ติดภารกิจ คือประเมินนักเรียนพระราชทาน สมศ. 26-30 พย.  นี้แหละ...ต้องขอโทษด้วย

* บันทึกเป็นเรื่องราวที่งดงามมากค่ะ  รู้สึกสัมผัสกับธรรมชาติ พรรณไม้ และความร่วมมือร่วมใจของชุมชน

* ช่วงนี้อากาศเริ่มเย็น ลมแรง คุณหนานเกียรติสบายดีไหมคะ  น้องเฌวาเป็นอย่างไรบ้าง ระลึกถึงเสมอค่ะ

* ได้ข่าวว่าจะมาจัดกิจกรรมที่โรงเรียนครูคิม... หรือคะ เด็กๆ คงจะสนุกและได้ความรู้มากทีเดียว..

* สัปดาห์ที่ผ่านมา นักเรียนห้องครูใจดี 4/2 ก็ไปเข้าค่ายกิจกรรม โครงการ ค.ตนบ้านนอก ที่น้ำปาด  กลับมาเล่าให้ฟังว่าประทับใจมาก....

* หน้าหนาว ที่ภูสอยดาวสายมากๆ  ถ้าว่างลองมาขึ้นดอยที่อุตรดิตถ์บ้างซิคะ  ชวนซากี้กับ อาจารย์เอก มาด้วยก็ดีนะคะ

* ระลึกถึงค่ะ

        

เพื่อนๆ ครูใจดีเขาไปเที่ยวกันสัปดาห์ที่แล้ว  บอกว่า กำลังสวยเลยค่ะ

 

สวัสดีค่ะ

แวะมาเยี่ยม ศูนย์พันพรรณ... บ้าง

อ่านแล้วน่าสนใจมาก ๆ ค่ะ และชอบที่ใช้ระบบ สาธารณโภคี เช่นเดียวกับชาวอโศก

ขออนุญาตเพิ่มเติมเนื่องจากกำลังศึกษาแนวคิดและการดำเนินชีวิตของชาวอโศก หรือที่เรามักเรียนติดปากกันว่า "สันติอโศก"(สันติอโศกเป็นพุทธสถานที่นับเป็นศูนย์กลางของชาวอโศก ตั้งอยู่ที่นวมินทร์-เกษตร และมีพุทธสถานในต่างจังหวัดอีก 8 แห่งเช่นที่ศรีสะเกษ อุบล ตรัง...ไม่รวมศูนย์และเครือข่ายอีกมากมาย)

ความจริงคำว่า "สาธารณโภคี" เป็นคำในพุทธบัญญัติ และชาวอโศกเป็นผู้รื้อฟื้นมาใช้ในหมู่เหล่าของชาวอโศก จนเห็นผลเป็นรูปธรรมอย่างยิ่ง

สาธารณโภคี มีผลให้เกิดการอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ ทุกคนทำงานตามศักยภาพของตน และได้กิน ได้ใช้ตามความจำเป็นของแต่ละคน ด้วยเหตุนี้ การแก่งแย่งชิงดี การแข่งขันกันจึงไม่มีหรือมีน้อยที่สุดค่ะ

(^___^)

 

ใช้แรงมันจะมีเวลาคิดน้อยลง มีเวลาอยู่กับตัวเองมากขึ้นในช่วงที่ใช้แรง และก็ถ้าไม่ใช้แรงความคิดก็จะฟุ้งซ่านไปเรื่อย ๆ จินตนาการไปเรื่อย ๆ แล้วจะรู้สึกว่าตัวเองสำคัญ ตัวเองรู้มาก...”

ทรัพย์สมบัติที่นี่เป็น “สาธารณะโภคี”

ชอบจังค่ะ

 

มีโอกาสฟังคุณเอก    จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

เล่าถึงคุณหนานเกียรติ  ว่าเป็นคนที่เขียนบอกเล่าเรื่องราวความรู้สึกได้ดี กินใจ
พี่กระติกขอยก 2 มือ  สนับสนุนคุณเอกค่ะ 

 

หนาวแล้ว ฝากบอกสาวน้อยเฌวา อย่าลืมใส่เสื้อหนาๆ นอนห่มผ้าให้อุ่น แล้วไม่ต้องเล่นน้ำมาก

อาบน้ำวันละครั้ง ก็พอแล้ว (เหมือนป้ากระติก)  55555

 

P สวัสดีครับ อาจารย์ ขจิต ฝอยทอง

อึ่งย่างต้องมาต้นหน้าฝนครับ แซ่บอีหลีคัก ๆ ครับ
โรงเรียนที่อาจารย์พูดถึง เคยได้ยินชื่อครับ แต่ไม่เคยไป อยู่ในพื้นที่ของ อบต. ที่เพื่อนผมเป็นนายกอยู่ครับ
อยากไปเมื่อไรบอกนะครับ
จะอาสาพาไปครับ....

 

 

P สวัสดีครับ คุณ บุษรา  

สวัสดีค่ะ
- แวะมาขอบคุณ คุณหนานเกียรติ ที่ไปให้กำลังใจงานเขียนของบุษราค่ะ
- เป็นกำลังใจที่ดี ๆ ตลอดมา คอยเติมเต็ม ให้คำแนะนำกับนักเขียนมือใหม่คนนี้มาโดยตลอด ดีใจที่ได้รู้จักพี่น้องชาว gotoknow  4 เดือนกับสิ่งดี ๆ ที่ได้รับ
- บุษราไม่มีอะไรจะทดแทนบุญคุณ นอกจากคำว่าขอบคุณนะคะที่ให้โอกาส

ผมก็มีความรู้เดียวกับคุณบุษราครับ ได้รับมิตรภาพและกำลังใจท่วมท้นจากมิตรสหายใน G2K หนึ่งในกำลังใจก็คือคุณบุษราครับ
เร็ววันนี้อาจได้ไปเยี่ยมที่โรงพยาบาลนะครับ

 

 

P สวัสดีครับ พี่ใหญ่ นาง นงนาท สนธิสุวรรณ

แวะมาอ่านเรื่องราวของชาวดินที่น่านิยมค่ะ...ชื่นชมคนเล่าด้วยค่ะที่บรรยายเห็นภาพชัดเจนจริงๆ..

ขอบคุณพี่ใหญ่ที่แวะมาเยี่ยมครับ
ดีใจมากครับที่ชอบ
จะหาเรื่องแบบนี้มาเล่าให้ฟังบ่อย ๆ ครับ

 

 

 P สวัสดีครับ คุณ ครูใจดี

สวัสดีค่ะ
* แอบพักงาน เพื่อเข้ามาทักทายคุณหนานเกียรติ... รู้ตัวว่าไม่ได้มายี่ยมนาน ติดภารกิจ คือประเมินนักเรียนพระราชทาน สมศ. 26-30 พย.  นี้แหละ...ต้องขอโทษด้วย
* บันทึกเป็นเรื่องราวที่งดงามมากค่ะ  รู้สึกสัมผัสกับธรรมชาติ พรรณไม้ และความร่วมมือร่วมใจของชุมชน
* ช่วงนี้อากาศเริ่มเย็น ลมแรง คุณหนานเกียรติสบายดีไหมคะ  น้องเฌวาเป็นอย่างไรบ้าง ระลึกถึงเสมอค่ะ
* ได้ข่าวว่าจะมาจัดกิจกรรมที่โรงเรียนครูคิม... หรือคะ เด็กๆ คงจะสนุกและได้ความรู้มากทีเดียว..
* สัปดาห์ที่ผ่านมา นักเรียนห้องครูใจดี 4/2 ก็ไปเข้าค่ายกิจกรรม โครงการ ค.ตนบ้านนอก ที่น้ำปาด  กลับมาเล่าให้ฟังว่าประทับใจมาก....
* หน้าหนาว ที่ภูสอยดาวสายมากๆ  ถ้าว่างลองมาขึ้นดอยที่อุตรดิตถ์บ้างซิคะ  ชวนซากี้กับ อาจารย์เอก มาด้วยก็ดีนะคะ
* ระลึกถึงค่ะ

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ...
ขอให้ ร.ร.ผ่านการประเมินนะครับ
ดีใจมาก ๆ ครับ ที่คุณครูใจดีชอบบันทึกนี้
ที่กรุงเทพฯ อากาศเย็นลง สบาย ๆ ไม่ร้อน ไม่หนาว ส่วนที่ดอยมูเซอ จ.ตาก หนาวมากครับ วันที่ผมกลับคืนนั้น ๑๒ องศา เล่นเอาผมป่วยไปเลย
เฌวาสบายดีแล้วครับ แต่ยังมีไอนิดหน่อย ส่วนความซนมากเป็นปกติครับ
ยังไม่ได้ตามข่าวคราวการจัดกิจกรรมของกลุ่มคนบ้านนอกเลยครับ คาดว่าคงได้ไปเยี่ยมกลุ่มฯ เร็ว ๆ นี้
อยากไปขึ้นภูสอยดาวเหมือนกันครับ จะลองชวนคุณเอก และซากี้ดูครับ ครูใจดีจะนำทางใช่ไหมครับ...

 

 

P สวัสดีครับ คุณคนไม่มีราก

สวัสดีค่ะ
แวะมาเยี่ยม ศูนย์พันพรรณ... บ้าง
อ่านแล้วน่าสนใจมาก ๆ ค่ะ และชอบที่ใช้ระบบ สาธารณโภคี เช่นเดียวกับชาวอโศก
ขออนุญาตเพิ่มเติมเนื่องจากกำลังศึกษาแนวคิดและการดำเนินชีวิตของชาวอโศก หรือที่เรามักเรียนติดปากกันว่า "สันติอโศก"(สันติอโศกเป็นพุทธสถานที่นับเป็นศูนย์กลางของชาวอโศก ตั้งอยู่ที่นวมินทร์-เกษตร และมีพุทธสถานในต่างจังหวัดอีก 8 แห่งเช่นที่ศรีสะเกษ อุบล ตรัง...ไม่รวมศูนย์และเครือข่ายอีกมากมาย)
ความจริงคำว่า "สาธารณโภคี" เป็นคำในพุทธบัญญัติ และชาวอโศกเป็นผู้รื้อฟื้นมาใช้ในหมู่เหล่าของชาวอโศก จนเห็นผลเป็นรูปธรรมอย่างยิ่ง
สาธารณโภคี มีผลให้เกิดการอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ ทุกคนทำงานตามศักยภาพของตน และได้กิน ได้ใช้ตามความจำเป็นของแต่ละคน ด้วยเหตุนี้ การแก่งแย่งชิงดี การแข่งขันกันจึงไม่มีหรือมีน้อยที่สุดค่ะ
(^___^)

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมและแบ่งปันความเห็นครับ
ผมเคยเข้าไปร่วมกิจกรรมกับชาวอโศกบ้างครับ ส่วนใหญ่ร่วมกับชาวชุมชนทางภาคเหนือ ที่ไพศาลี และเชียงราย ครับ
ระบบทุนนิยมไม่ต้องการสาธารณโภคีครับ เพราะสาธารณโภคีไม่มุ่งเน้นการสะสมส่วนตน ไม่มีการแข่งขัน ของทุกอย่างเป็นส่วนกลาง/ส่วนรวม

 

 

P สวัสดีครับ พี่ กระติก~natachoei ที่ ~natadee

ใช้แรงมันจะมีเวลาคิดน้อยลง มีเวลาอยู่กับตัวเองมากขึ้นในช่วงที่ใช้แรง และก็ถ้าไม่ใช้แรงความคิดก็จะฟุ้งซ่านไปเรื่อย ๆ จินตนาการไปเรื่อย ๆ แล้วจะรู้สึกว่าตัวเองสำคัญ ตัวเองรู้มาก...”
ทรัพย์สมบัติที่นี่เป็น “สาธารณะโภคี”
ชอบจังค่ะ

มีโอกาสฟังคุณเอก    จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร
เล่าถึงคุณหนานเกียรติ  ว่าเป็นคนที่เขียนบอกเล่าเรื่องราวความรู้สึกได้ดี กินใจ
พี่กระติกขอยก 2 มือ  สนับสนุนคุณเอกค่ะ 

หนาวแล้ว ฝากบอกสาวน้อยเฌวา อย่าลืมใส่เสื้อหนาๆ นอนห่มผ้าให้อุ่น แล้วไม่ต้องเล่นน้ำมาก
อาบน้ำวันละครั้ง ก็พอแล้ว (เหมือนป้ากระติก)  55555

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ
เรื่องราวของพี่โจและศูนย์พันพรรณ น่าสนใจและกระตุกต่อมคิดได้มากครับ
ดีใจที่พี่ชอบบันทึกนี้ครับ

ขอบคุณที่ยกมือสนับสนุนครับ
แหะ แหะ ผมก็เขียนไปเรื่อยเปื่อย นึกอะไร คิดอะไร ก็เขียนตามที่นึกคิด ตามใจที่สั่งให้เขียน

เฌวาสบายดีครับ ยังมีไอนิดหน่อย
วันละคร้ังนี่เช้าหรือเย็นดีครับพี่...

 

  • ศูนย์พันพรรณ กำลังคิดว่าความหมายคืออะไร..ร้อยพ่อพันแม่พรรณไม้(ฮา)
  • เป็นอีกวิถีหนึ่ง ซึ่งน่าจะเป็นตัวอย่างให้กับทุกๆคนได้ดี รวมถึงตัวเอง
  • โจน จันได แกคิดดี ทำดี และเป็นตัวของตัวเอง..เยี่ยมครับ
  • ขอบคุณเรื่องราวดีๆที่มีโอกาสได้เรียนรู้ครับ

 

P สวัสดีครับ อ.ธนิตย์ สุวรรณเจริญ

ขอบคุณอาจารย์ที่แวะมาเยี่ยมนะครับ

 

สวัสดีค่ะคุณหนานเกียรติ...ยินดีที่ได้ยินเสียงคุณทางโทรศัพท์..ยายธีคิดว่าอาจจะลงตัวเข้าสักวัน..เพราะทุกๆวันคือวันเริ่มต้น...เคยพบพูดคุยกับคุณโจน จันใด..ครั้งหนึ่ง..ขอปรบมือกับการทำงานของบุคคลนี้(อย่างสูง)..ได้เรียนรู้จากข้อเขียนนี้อีกมากมาย..ขอบคุณ คุณหนานเกียรติ...เราคงจะมีโอกาศคุยกันอีกทีนะ..ยายธียังเข้าไปเบอร์ที่โทรมาไม่เป็นเลย..เลยไม่ทราบจะติดต่อคุณได้อย่างไร...(คนแก่ก็เป็นเสีย่างนี้ละ)...ยายธีจ้ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท