หนานเกียรติ
เกียรติศักดิ์ หนานเกียรติ ม่วงมิตร

จม.ถึง ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ (CC มวลสมาชิก GotoKnow ทุกท่าน)


ผมเองก็ชะตากรรมเดียวกับนักเรียนในชนบททั้งหลาย รวมทั้งผู้ผ่านจากระบบการศึกษาของประเทศที่ขาด ๆ เกิน ๆ ที่ผลิตคนให้มีจิตใจเป็นนักไสยศาสตร์ มากกว่ามีจิตใจแบบนักวิทยาศาสตร์ สิ่งนี้กระมังที่ทำให้การพัฒนาทั้งหลายทั้งปวงของประเทศไปได้ไม่ถึงไหน

สวัสดีครับ ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ

     กลับจาก Gotoknow สัญจร ครั้งที่ ๑ ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ผ่านมา มีหลายเรื่องราวที่ผมคิดต่อจากนั้น

     เรื่องสืบเนื่องจากความรู้ของอาจารย์เป็นเรื่องหนึ่งที่ผมไตร่ตรอง คิดกลับไปกลับมาหลายตลบ...

     ผมเป็นไม้เบื่อไม้เมากับวิชาวิทยาศาสตร์มากครับ ตอน ม.๔ ผมติดศูนย์วิชาวิทยาศาสตร์ทุกวิชา เคมี ฟิสิส์และชีววิทยา (แหะ แหะ รวมทั้งคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษด้วย...) หลังจากเกินเยียวยาผมหันหลังให้กับการเรียนสายสามัญ ผมก็หันหลังให้วิทยาศาสตร์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

     เป็นเพราะกิจกรรมของอาจารย์ในงานทั้งการพูดคุย บรรยาย สาธิต ชวนทำ ฯลฯ ทำให้ผมมีทัศนคติเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ดีขึ้นเป็นอันมาก อาทิ

     วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องยากก็ใช่ แต่เรื่องง่าย ๆ ในชีวิตประจำก็เป็นวิทยาศาสตร์

     วิทยาศาสตร์ดูแล้วจริงจัง เคร่งเครียดก็จริง แต่ขณะเดียวกันก็สามารถหาความงดงาม ความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ฯลฯ ได้ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน

     มิได้กล่าวเกินเลยครับ ทั้งหมดนี้มาจากการได้ฟังการพูดคุยของอาจารย์ในห้องประชุม ความประทับใจในสารที่อาจารย์สื่อออกมาในวันนั้น ได้สร้างแรงบันดาลใจที่จะทำอะไรสักอย่างเกี่ยวกับเรื่องนี้ หลังจากยืน-เดิน-นั่ง-นอนคิดในหลายวันที่ผ่านมา

     ในระยะเกือบสิบปีที่ผ่านมา ผมเข้าไปเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาค่อนข้างมาก มีโอกาสเดินทางไปเยี่ยมเยียนโรงเรียนต่าง ๆ มากมาย ทั้งในเมืองและในชนบท

     สิ่งที่ผมพบเห็นคือ คุณภาพหรือศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียนลดลงไปเรื่อย ๆ ครับ เรียกว่ายิ่งปฏิรูปการศึกษาการเรียนรู้ของนักเรียนยิ่งหดลดหายลงไป นี่เตรียมการปฏิรูปรอบสอง ผมไม่อยากนึกถึงเลย...

     ผมเองก็ชะตากรรมเดียวกับนักเรียนในชนบททั้งหลาย รวมทั้งผู้ผ่านจากระบบการศึกษาของประเทศที่ขาด ๆ เกิน ๆ ที่ผลิตคนให้มีจิตใจเป็นนักไสยศาสตร์ มากกว่ามีจิตใจแบบนักวิทยาศาสตร์ สิ่งนี้กระมังที่ทำให้การพัฒนาทั้งหลายทั้งปวงของประเทศไปได้ไม่ถึงไหน

     ผมมีช่วงเวลาสั้น ๆ ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษของประเทศ ในด้านวิทยาศาสตร์นั้นผมพบว่าตัวป้อนเข้าสู่ระบบการผลิตนักวิทยาศาสตร์ของประเทศคับแคบมาก ยังไม่รวมไปถึงการกระจุกอยู่ในเพียงกลุ่มเล็ก ๆ คงไม่ต้องพูดถึงระบบการศึกษาของบ้านเราที่กว่านักเรียนจะผ่านพ้นเข้ามาสู่ระบบดังกล่าวได้ ศักยภาพได้ถูกทำลายไปแล้วมิใช่น้อย

     (๑) ทำอย่างไรจะส่งเสริมความคิดจิตใจนักวิทยาศาสตร์ให้แก่นักเรียนได้อย่างกว้างขวาง และ (๒) การดำเนินการนี้จะส่งผลต่อการปฏิรูปการเรียนรู้ของประเทศได้หรือไม่/อย่างไร คือ โจทย์ที่ผมพยายามคิด

     ผมคิดข้อ (๒) ออกก่อนว่า การส่งเสริมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นเรื่องเดียวกันกับการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ หากนักเรียนเข้าถึงและเข้าใจกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นั่นคือจุดเริ่มต้นในการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ เป็นการสอนวิธีการหาความรู้ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งในโลกยุคปัจจุบัน

     จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ผมคิดข้อ (๑) คิดออกบ้าง แต่ยังไม่สุด ๆ  

     ผมคิดว่าน่าจะมีทดลองทำงานกับโรงเรียนประถมศึกษาในชนบทที่มีความพร้อมพอประมาณ เพื่อส่งเสริมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้แก่นักเรียนในโรงเรียน ผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย

     ผมอยากให้เด็กในชนบทได้มีโอกาสได้เรียนวิทยาศาสตร์ ได้รับการปลูกฝังจิตใจนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งแน่นอนว่าผมมิได้คาดหวังว่าระบบการศึกษาปกติจะดำเนินการได้

     ผมคิดแล้วก็อยากจะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเรื่องนี้ แต่ลำพังผมคงทำอะไรได้ไม่มาก

     ในฐานะอาจารย์เป็นผู้จุดประกายผม อยากเรียนถามว่าความคิดในการขับเคลื่อนนี้จะเป็นไปได้จริงหรือไม่ มันจะสามารถเริ่มต้นจากในชุมชน GotoKnow นี้ได้หรือไม่ และถ้ามันจะสามารถดำเนินการได้จริง จะเริ่มต้นอย่างไรดี

คำถามเดียวกันนี้

ผมถามบรรดากัลยาณมิตร

ใน Gotoknow นี้ด้วยนะครับ

  

.....

     แผนภูมิข้างล่างนี้เป็นข้อเสนอพี่บางทราบครับ

 

 

ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ

ตอบ จม. (สายตรง) ของคุณหนานเกียรติ : ตอน 01

 

หมายเลขบันทึก: 300496เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2009 19:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (81)

สวัสดีครับน้องหนาน อ. รูญ ระโนด นักคืดนักเขียนแห่งสถาบันทักษิณ ให้ความหมายการศึกษาในปัจจุบัน การศึกษาแบบ"บ้าใบ ไกลบ้าน"ครับ เหมือนต้นไม้ ใส่ปุ๋ยจนใบดก แต่ไม่ตกผล ไกลบ้าน ชอบส่งลูกหลานไปเรียนที่โรงเรียนไกลบ้านที่มีชื่อเสียงครับ

สวัสดีค่ะ

  • มายกมือเชียร์...ๆ.ๆ.ๆ.ๆ.ๆ.ๆ.น้องหนาน
  • แค่วันนี้ไปแย็บ ๆ เด็กว่า...สักวันหนึ่งคงมีอังกะลุงให้เล่น  มีกลองให้ตี
  • เด็กทั้งชั้นยิ้ม...แบบไม่เชื่อหูของตัวเอง  มองกันไปมา..ดูมีความสุขกันจัง
  • ตั้งใจทำงาน..ดีขึ้นกว่าทุกวันค่ะ

 P ท่านผู้เฒ่าที่รักครับ วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei--

ผมมีแรงบันดาลใจจริง ๆ อยากทำงานกับดรงเรียนเล็กในชนบทสักจำนวนหนึ่ง เพื่อส่งเสริมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งผมคิดว่าเป็นรูปธรรมของการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้

อยากได้ความคิดเห็น อยากเชิญชวนเพื่อนสมาชิกที่เห็นด้วยมาร่วมกันคิด

P

พี่ ครูคิม

อยากได้ความคิดเห็นด้วยครับพี่...

เรื่องอังกะลุง ผมคุยกับเพื่อน ๆ บางคนแล้ว อาจมีกิจกรรมระดมทุนในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง และอาจจะเชิญชวนเพื่อนบางคนใน G2K เข้ามามีส่วนร่วมด้วย

ผมโทรคุยกับ ผอ.เขต แล้ว แต่คุยสั้น ๆ ยังไม่ได้เข้าเรื่องเลย แกจะกลับเข้าเขตวันจันทร์ครับ

สวัสดีค่ะ

  • ได้เลยค่ะ  ความคิด ๆ เห็น ๆ เอาขนาดไหนดีละน้องชาย
  • โรงเรียนบ้านนอกส่วนใหญ่...ขาดแคลนครูจบวิชาเอก  ไม่มีห้องวิทย์ ไม่มีเครื่องมือ อุปกรณ์วิทย์ ไม่มีเงินพานักเรียนไปเรียนรู้นอกห้องเรียน
  • พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ไม่มีเวลาดูแล หรือส่งเสริมให้เด็กเห็นคุณค่าของการเรียนรู้  จึงไปโรงเรียนตามหน้าที่เท่านั้น..แล้วเด็กก็อ่อนด้อยหนักลงไปอีก
  • คิดได้...จะมาใหม่นะคะ
  • ที่แล้วมามีผู้ไปให้ความช่วยเหลือโรงเรียนพี่คิมค่ะ  เด็ก ๆ บอกว่าไม่อยากให้มืดค่ำเลย อยากจะเรียนทั้งวันทั้งคืน
  • http://www.krukimpbmind.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538622855&Ntype=1
  • http://www.krukimpbmind.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538710998

P

ไปเยี่ยมมาแล้ว เยี่ยมมาก ๆ เลยครับ
สิ่งที่ผมอยากทำอยากให้เป็นมากกว่าการไปจัดกิจกรรมเป็นคร้ังคราว
อยากพัฒนาครูกับนักเรียนไปพร้อมกัน
มีการสนับสนุนให้จัดกิจกรรมในโณงเรียน
ผมเชื่อว่ากิจกรรมเสริมจะเกื้อหนุนกิจกรรมกลุ่มสาระได้
มีนักวิชาการในท้องถิ่นมาเยี่ยมเยียน จัดกิจกรรม ให้คำปรึกษา
เชิญชวน องค์กรส่วนท้องถิ่นและชุมชน ผู้ปกครองมามีส่วนร่วม
ทำต่อเนื่องสัก ๓ ปี โรงเรียนน่าจะพึ่งตัวเองได้มาก

*-* สวัสดีค่ะ

เข้ามาอ่านหลังจากไม่ได้เข้ามาหลายวันแล้ว เนื่องจากมีงานเข้า ต้องตรวจจอประสาทตาผู้ป่วยเบาหวาน

เปิดมาปุ๊บ ก็ติดกับความรู้สึกนี้เข้าให้

วันที่ 16 ก.ย.ที่ผ่านมา โรงเรียนของลูกชาย มีการไปทัศนศึกษา แม่เข้าใจว่า นักเรียนทุกคนได้ไปทัศนศึกษา

แต่จริงๆแล้วไม่ใช่

เด็กชายคนหนึ่งซึ่งเป็นเพื่อนลูก แม่ของเขา ขายข้าวแกงที่ตลาดในอำเภอ เป็นร้านเล็กๆ มีลูก หลายคน ไม่ได้ไป

ก็เกิดความสงสัย กลับบ้านมาถามลูกว่า ไม่ได้ไปทัศนศึกษาทุกคนเหรอลูก ลูกตอบไม่ครับ

ก็ยังแคลงใจไม่หายว่า เพราะอะไร ก็พึ่งได้คำตอบว่า เงินที่ขอแม่เพิ่มระหว่างสัปดาห์อีก 100 บาทนั้น คือค่าที่ต้องจ่ายเพิ่ม

เพื่อไปทัศนศึกษา

นี่ก็คือความแตกต่างที่เห็นได้ แม้แต่ในโรงเรียนในเมืองบางแห่ง ที่มีนโยบายบางอย่าง บอกว่า เรียนฟรีมีค่าจัดการหลายอย่าง

ก็ยังต้องจ่ายเพิ่ม

ออกทำงาน อนามัยโรงเรียน ก็พบว่า ความแตกต่าง ยังคงมีอยู่ แม้แต่ในพื่นที่เดียวกัน ก็ยังมีความแตกต่าง

ถ้าพี่หนานเกียรติ อยากให้ร่วมงานด้วย ส่งข่าวบ้างนะคะ ยินดีสนับสนุนค่ะ

P

สวัสดีครับ คุณนู๋ฏวง

ไชโย้... มีเพิ่มอีกหนึ่งแล้ว

ผมอยากใช้ชุมชนนี้เป็นจุดเริ่มต้นในการทำกิจกรรมดี ๆ ครับ

จริง ๆ มีคนทำมาก่อนแล้ว...

เพียงแต่อยากเห็นกิจกรรมที่เป็นเรื่องเป็นราว เป็นงานเป็นการ ที่สำคัญต่อเนื่องครับ

คำถามยากจัง ขอตอบเป็นกลอนได้มั๊ย..อิอิ

สอนเด็กให้ เรียนวิทย์ คิดไม่ตก

ครูสาธก พร้อมสาธิต วินิจฉัย

สมมุติฐาน วานช่วยตั้ง ทุกครั้งไป

ครูทำได้ เด็กยินดี มีพลัง

ลูกชายพี่ชอบวิทยาศาสตร์เพราะครูวิทย์ได้ใจเด็กไปแล้ว

คุณพี่ ครู ป.1

ผมขอตอบเป็นบานพับนะพี่ ฮิ ฮิ

ผมได้ติดตามการทำงานโครงการอาหารเพื่อลูกหลานไทย ใน จ.นครปฐม มาต้ังแค่ปีแรก เสียดายว่าเจ้าของโครงการฯ ทำงานได้น้อยและแผ่วลงไป เนื่องจากขาดผุ้สนับสนุน

กระบวนการทำงานน่าสนใจมาก "ใช้อาหาร" เดินเรื่อง

กระบวนการทำงานของเด็กเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

เด็ก ๆ เรียนรู้เยอะมาก หลายโรงเรียนบอกว่า

เพราะโครงการนี้โรงเรียนจึงได้คะแนนข้อคิดวิเคราะห์จากจากประเมินของ สมศ.

อยากทำมาก ๆ เลยพี่

อาจจะกลับไปทำสักสองสามโรงเรียนที่ตาก

ทำเท่าที่ทำไหว...

พี่หนานคะ ... พอลล่า คิดไม่ออก อ่ะ ...

แต่ตอนเรียน ฟิสิกส์ เคมี ชีว คณิตศาตร์ และหลายๆ วิชา ก็ เอทั้งนั้นอ่ะพี่

ไม่ได้คุยนะคะ แต่โม้ แป่ว...

พอลล่า เห็นว่า น่าจะมีกิจกรรม ร่วมกับการเรียนการสอน เรียนวิทยาศาสตร์สไตล์ธรรมชาติ อิอิ

ปวดหมอง ไปนอนดีกว่า อิอิ

สวัสดีค่ะ

หนูนำบันทึกใหม่มาฝากคุณอาหนานเกียรติค่ะ

แวะไปอ่านให้กำลังใจหนูบ้างนะคะ

http://gotoknow.org/blog/wittayasamphan/300531

น้อง ♥paula ♥ที่ปรึกษาตัวน้อย✿

ฝากเป็นการบ้านหน่อยนะ

ทำไงจะให้เด็กรักวิทยาศาสตร์ มีแรงบันดาลใจที่จะเรียน

จะจัดกิจกรรมอะไรได้บ้างในโรงเรียนเพื่อวัตถุประสงค์ข้างต้น 

พี่หนานคะ

จริงหรือ ที่เด็ก ไม่รักวิทยาศาตร์

  • เห็นด้วยมากกับความคิดครับ ทักษะกระบวนการ/วิธีการทางวิทยาศาสตร์ จะทำให้นักเรียนมีจิตใจ มีนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีเหตุผล
  • ในมุมมองผม ถ้าโรงเรียนมีเครื่่องไม้เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ และสารเคมีพร้อมๆ ถ้าจะว่ากันตามหลักสูตรนะครับ แต่ถ้าไม่ต้อง คงต้องดูว่ากิจกรรมการเรียนการสอน จะแนวไหน โดยหาโรงเรียนและครูที่เห็นด้วยจริงๆจังๆกับแนวทางนี้ แล้วก็เริ่มคิดร่วมกันที่นั่น..แค่นี้ก็น่าจะเพียงพอ ที่จะทดลองแล้วครับ
  • ขอบคุณข้อคิดดีๆ ถ้าจะช่วยอะไรได้ อย่าได้เกรงใจนะครับ

ตื่นๆ ค่ะ พี่หนาน อย่าเพิ่งนอน.... อิอิ

น้อง ♥paula ♥ที่ปรึกษาตัวน้อย✿ ครับ

ยังไม่ได้นอนครับ

แต่ชีวิตคนคนนึงเนี่ยนะ มันมีอย่างอื่นทำด้วยนอกจาก G2K หนะน้อง

แหม...

ไปจริง ๆ หรือเปล่า ปาย หนะ กล้า ๆ หน่อยนะ

จะได้ให้เลี้ยงเฌวา...

น้องนัท ครับ

ไปอ่านมาแล้วครับ

ขออนุญาตโหวตให้ด้วยนะ...

 

สวัสดีครับ อ.ธนิตย์ สุวรรณเจริญ

ผมอยากจะทดลองทำกับสักสองสามดรงเรียนในจังหวัดตาก โดยจะเลือกคุยกับโรงเรียนที่ผมคุ้นเคยกับ อบต. ที่มีพรรคพวกอยู่

คิดว่าคงต้องใช้งบประมาณสนับสนุน อบตง น่าจะช่วยได้

เริ่มต้นไมื่อไรคงต้องระดมความช่วยเหลือยกใหญ่ โดยเฉพาะความคิดเห็น

ดีใจที่อาจารย์สนใจมาร่วมด้วยครับ...

สวัสดีค่ะคุณหนานเกียรติ

ตามมาอ่านจดหมายเปิดผนึก....

ไม่มีคอมเม้นท์....แต่อาจารย์เกียรติวรรณ อมาตยกุลมักบอกว่า เด็กทุกคนมีศักยภาพ (แม้จะแตกต่าง) แต่ไม่มีใครโง่จนเรียนไม่ได้ หากนักเรียนไม่เข้าใจ....ครูคือผู้ต้องรับผิดชอบ...

รออ่านคำตอบจากอาจารย์บัญชา ดีกว่านะคะ

เจ้าเฌวาน้อยตื่นหรือย้งคะ...อุ้มเบา ๆ เดี๋ยวงอแง...

(^___^)

ทำไมเด็กไทยไม่รักวิทย์

.

ขอเล่าเรื่องของเด็กคนหนึ่งก็แล้วกันนะคะ เด็กเคยถามครูว่า ทำไมผสมยีสต์กับน้ำตาลแล้วได้แอลกฮอล์ เป็นเพราะยีสต์ทำปฏิกิริยากับน้ำตาลแล้วได้แอลกอฮอล์ หรือยีสต์กินน้ำตาลแล้วปล่อยแอลกอฮอล์ ออกมา ( ไม่แน่ใจว่าจำตัวผสมนี้ได้ถูกต้องหรือเปล่านะคะ เพราะไม่ใช่คนเรียนวิทย์ค่ะ)

.

คุณครูตอบไม่ได้ ว่าเด็กถามจุกจิก แล้วหมายหัว ในที่สุด เด็กต้องลาออกจากโรงเรียนนั้น

.

เป็นหนึ่งในสาเหตุหรือเปล่าคะ

โหย.... โดนแบบนี้ พอลล่ามึนไปเลย อิอิ แสดงว่า ถ้ำกระบอก ออกฤทธิ์ อ่ะพี่

สวัสดีครับ คุณคนไม่มีราก

เฌวาขึ้นนอนแล้วครับ

ผมอยากกลับไปทำงานที่บ้านเกิด คิดว่าประเด็นนี้น่าสนใจ

ผมมีประสบการณ์ทำงานกับดรงเรียนมาพักใหญ่เข้าใจเงื่อนไขที่จะทำให้โรงเรียนทำงานได้ และเด็กเกิดกระบวนการเรียนรู้จริง ๆ

ผมได้ทบทวนแล้ว กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ค่อนข้างเป็นรูปธรรมสำหรับการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละคน

ผมได้แรงบันดาลใจจากขอนแก่นครับ

สนใจมาทำด้วยกันไหมครับ...

สวัสดีครับ คุณ ณัฐรดา

ขอบคุณสำหรับความเห็นแลกเปลี่ยน

มีข้อคิดเห็นอะไร เสนอเพิ่มเติมมาได้นะครับ

 

สวัสดีครับ

ในฐานะที่เป็นทั้งครู ทั้งนักเีีรียน

ผมคิดว่า ครูมีส่วนสำคัญ ที่ทำให้นักเีรียนชอบ หรือเกลียดวิชาหนึ่ง ได้เกือบตลอดชีวิต

ตาดีได้ ตาร้ายเสีย อิๆ แล้วแต่ว่า ใครจะเจอครูแบบไหน..

....

สนับสนุนแนวคิดที่เสนอมานะครับ

พี่หนานเกียรติ คะ

ขอตอบแบบสั้นๆ ว่าเราทำได้ค่ะ ขอแค่เรารวมพลังกันค่ะพี่ ^_^

ส่วนการเริ่มต้นนั้น หากจะเป็นไปได้เราน่าจะมีกิจกรรมอะไรที่สร้างแรงบันดาลใจให้แก่เยาวชนกันก่อนดีไหมคะ ซึ่งจะว่าไปแล้วตนแบบใน GotoKnow.org ก็มีแล้ว นั่นคือค่ายภาษาอังกฤษที่อาจารย์ขจิตได้เคยจัดในหลายๆ โรงเรียนค่ะพี่

สวัสดีครับ อ. ธ.วั ช ชั ย

ขอบคุณที่แวะมาครับ

และจะยินดีอย่างยิ่งถ้าอาจารย์มาร่วมด้วยช่วยกันนะครับ

ผมยังไม่รู้ว่าที่สุดแล้วกิจกรรมจะออกมาแบบไหน

รอรวบรวมความเห็นและผู้ร่วมงานอยู่ครับ

P

สวัสดีครับ น้องมะปรางเปรี้ยว

ต้องขอบคุณทีมงานนะครับ ที่จุดประกายและสร้างแรงบันดาลใจให้

ผมทราบมาว่า อ.ขจิต ได้ลงไม้ลงมือทำกิจกรรมไปแล้ว

ผมก็อยากจะคิดต่อภายใต้ศักยภาพที่มีอยู่ รวมท้ังต้นทุนใน G2K

อยากจะทำให้มากว่ากิจกรรมเป็นคร้ังคราว

ต้ังใจว่าจะทำงานระยะยาวกับบางโรงเรียน

และอาจต้องมีการระดมทุน

ตอนนี้คิดไม่ออกว่าต้องทำอะไร อย่างไรบ้าง

รอฟังความเห็นและข้อเสนอครับ

ครูเป็นอย่างไร ลูกศิษย์ ก้อ เป็น เช่นนั้น ครับ มาร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนา ครับ

พี่หนานเกียรติคะ

สำหรับเรื่องการถ่ายทอดเรื่องของวิทยาศาสตร์ พี่ชิวน่าจะมี model อยู่ในใจแล้ว เพราะปรางจำได้ว่าเคยได้คุยกับพี่ชิวแล้วค่ะ

เดี๋ยวรอพี่ชิวแวะมาตอบความคิดเห็น คิดว่าน่าจะได้แนวทางมากยิ่งขึ้นค่ะ

สวัสดีครับ ท่านอาจารย์ JJ

ขอบพระคุณที่แวะมาเยี่ยมทักทาย

การดำเนินงานเริ่มเมื่อใดคงต้องขอคำปรึกษานะครับ

  • วิชาวิทย์ จะเรียนสนุก ถ้าคุณครูสอนน่าสนใจ ถึงแม้จะยาก (ส์ )เช่น ฟิสิกส์ แต่ก็อยากเรียนนะคะ และเข้าใจด้วยถ้าครูไม่ซีเรียส เพราะครูบางท่านก็ถ่ายทอดไม่เข้าใจเอาเสียเลย (ขอโทษคุณครูบางท่านที่สอนไม่เข้าใจนะคะ..)

สวัสดีครับ คุณ เกด เกศนี บุณยวัฒนางกุล

น่าจะเป็นจริงดังที่ว่าครับ

ผมอยากจะเห็นการปลูกฝังนิสัย/กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ต้ังแต่เด็ก ๆ

จึงเป็นที่มาของบันทึกนี้ครับ

เป็นโจทย์ที่ดีมากครับ  พี่มีแนวคิด เดี๋ยวไปทำการบ้านนะเดี๋ยวมาครับน้องหนานครับ

  • กำลังตรวจงานผอ 9 เอ้ยงานนิสิตอยู่
  • เจอเพลงเป็นโสดทำไม เซ็งเป็ดเลยพี่
  • ฮ่าๆๆ
  • น่าสนใจมากโครงการพี่ทำได้แน่นอน
  • แต่ควรเริ่มจากจุดเล็กๆๆ
  • ผมทำเรื่องนี้

 ค่ายภาษาอังกฤษทั่วประเทศ

  http://gotoknow.org/blog/yahoo/221236

(ลืมบอกไปว่า ไปปายแล้วด้วย ยั่วน้องพอลล่าหน่อย ฮ่าๆๆ)                            

  • แต่ผมจะเริ่มกับเครือข่ายที่สุพรรณบุรี
  • เพราะมีครู มีพี่ มีเพื่อน ครูที่เราแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
  • เรียกว่า เครือข่ายครูภาษาอังกฤษสุพรรณบุรีครับ
  • แถม ผอ ประจักษ์ ศน ลำดวน พี่ ศน ปวีณาไปด้วยครับ
  • เรื่องการส่งเสริมวิทยาศาตร์น่าสนใจมาก
  • เริ่มที่ตากก็ดีครับ เอาพี่ครูธนิตย์จากพิษณุโลกมาช่วยด้วยก็ดี
  • สนับสนุนๆๆเต็มที่
  • โจทย์ข้อที่ 1 พอตอบได้ครับว่า ควรให้เราเรียนวิทยาศาสตร์อย่างสนุกสนาน มีความสุข
  • ถ้าเริ่มจุดเล็กๆๆ ไปเรื่อยๆๆอาจส่งผลไปตอบข้อที่ 2 ก็ได้ครับ
  • มาให้กำลังใจ ททท (ทำทันที) 

พี่ บางทราย ครับ

ขอบพระคุณพี่มากครับ

ผมมีเพื่อนฝูงหลายคนเป็นนายก อบต. บ้าง เป็นปลัด อบต. บ้าง น่าจะดึงเอาศักยภาพส่วนนี้มาใช้งาน

และใน G2K นี้ น่าจะระดมความรู้ ความคิดเห็นได้ไม่ยาก

ขออนุญาตตอบอย่างนี้ครับ

1. เด็กแต่ละคน มีความสามรถทางวิทยาศาสตร์ไม่เท่ากันครับ

2.  กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  สามารถปลูกฝังให้เด็กแต่ละคนได้ให้เหมาะสม  ตามความสามารถของเขา   นั่นคือ

3.  เด็กที่มีความสามาถทางวิทยาศาสตร์ น้อย  ก็ปลูกฝังกระบวนการทางวิทย่าศาสตร์ระดับง่ายๆ ระดับเบื้องต้น  ถ้าระดับสูงขึ้นไป  เขาอาจจะรับไม่ได้ครับ

4.  เรื่องวิทยาศาสตร์  ต้องดูความสามารถของเด็กด้วยครับ  ว่าเขาไปได้แค่ใหน

อาจารย์ ขจิต ฝอยทอง ครับ

ตามไปเปิดบันทึกดูคร่าว ๆ

เป็นโสดดีแล้วครับ.. ฮิ ฮิ

...

ผมคิดว่าอยากจะทำโครงการระยะยาวกับโรงเรียนครับ

จีบ ๆ อ.ธนิตย์ ไว้แล้ว

รอคำตอบ จาก อ.บัญชา อีกที

ทำแน่ ๆ ครับ น่าจะเริ่มจาก จ.ตาก

สวัสดีครับ ท่านรอง small man

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นครับ

สวัสดีครับ

  • ตอน ป.โท ผมเรียนด้านสถิติประยุกต์ ถึงได้รู้จักตนเองว่า เพดานคณิตศาสตร์ของตนเองต่ำกว่ามาตรฐานนัก (กล่าวคือ พัฒนาไปกว่านั้นได้ยากเพราะชนเพดานปัญญาแล้วขอรับ)
  • เสียดายไม่ได้เข้าร่วมฟังการบรรยายของท่าน ดร.บัญชา แต่เท่าที่ทราบท่านก็เป็นปราชญ์ทางด้านทางวิทยาศาสตร์ของเมืองไทย
  • คิดว่า ท่านคงจะคล้าย ๆ กับท่าน ศ.ประเวส วะสี ท่านสมัคร บุราวาส ทำนองนั้นขอรับ
  • ถ้าอย่างนั้นขอยกมือสนับสนุนเต็มที่ขอรับ

สวัสดีค่ะ

  • จริง ๆ แล้ว เด็ก ๆ ชอบเรียนวิทยาศาสตร์
  • ครูอิงเป็นครูสอนภาษาไทย แต่เคยต้องสอนวิทยาศาสตร์ด้วยความจำเป็น
  • วันนั้นสอนเรื่องการเจริญเติบโตของพืช ให้นักเรียนได้ทดลอง ได้สัมผัสของจริง
  • ได้เรียนรู้นอกห้องสี่เหลี่ยม  เด็ก ๆ ชอบมาก
  • ครูอิงว่า ปัญหาสำคัญ ไม่น่าจะอยู่ที่เด็ก อยู่ที่ การขาดแคลนครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ที่จบสาขานี้โดยตรง
  • ลองสำรวจซิคะว่า โรงเรียนขนาดเล็กถึงขนาดกลางในต่างจังหวัด จะมีสักกี่โรงเรียนที่มีครูสอนวิทยาศาสตร์ เป็นครูที่จบสาขานี้โดยตรง
  • ห้องวิทยาศาสตร์มีไว้สำหรับการประเมินมาตรฐาน เครื่องมือทดลองเก็บเข้าตู้อย่างดี
  • ครูอิงคงขอออกความเห็นแค่นี้นะคะ 
  • ผมคิดว่าน่าจะมีทดลองทำงานกับโรงเรียนประถมศึกษาในชนบทที่มีความพร้อมพอประมาณ เพื่อส่งเสริมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้แก่นักเรียนในโรงเรียน ผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย
  • ยกมือสนับสนุนด้วยคนค่ะ 

สวัสดีค่ะ..พี่หนาน..วิทยาศาตร์เป็นสิ่งที่ไม่ชอบเหมือนกัน..แต่ปัจจุบันก้าวไปร่วมจัดกิจกรรมกับวิทย์ค่ะ ทำโครงงานอาชีพก็ขอครูวิทย์มาดูให้ ..ชวนกันไปแสดงโครงงานวันสัปดาห์วิทย์ฯ แห่งชาติทุกปีค่ะ..จนรู้ว่าเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ที่เอาแต่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ..คริ..คริ.. พอๆ จะเรื่มบ่น..เซ็งเป็ดเลย..(ยืมจาก อ.ขจิตนะคะ)

น้องหนานครับเอา แผนผังคร่าวๆนี้แสดงความเห็นของพี่ไปก่อนนะครับ

มีเวลาจะเข้ามาอธิบายนะครับ

อ่านมาหลายท่านแล้ว แต่พี่ชอบมาแต่ใหนแต่ไรมาแล้วชอบให้คุณครูดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการทุกกลุ่มสาระ พี่ได้ดูลูกๆ เด็กๆ หรือน้องหม่องในขณะนี้ สิ่งใดที่จุดประกายน้องหม่องอยากเป็นนักบิน คุุณพ่อทั้งตีทั้งดุลูก เพราะน้องหม่องเอาแต่ร่อนกระดาษ มีอะไรน่าคิด สำหรับที่จะดึงพรสวรรค์ของเด็กๆนะน้องหนานเกียรติ

สวัสดีค่ะพี่หนานเกียรติ

สำหรับเอ๋นะคะ เอ๋โตมาในกองหนังสือค่ะ พ่อเอ๋ชอบอ่านหนังสือ ทุกๆวันจะเห็นพ่อนั่งอ่านหนังสือ นั่งเขียนงาน เอ๋เห็นภาพนี้มาตั้งแต่จำความได้ค่ะ พ่อจะมีสมุดบันทึกเล็กๆ ติดตัวตลอดเวลา จดทุกอย่างแม้แต่เวลาดูข่าว เอ๋ไม่รู้ว่าทำไมถึงชอบคณิต ชอบวิทย์ รู้แต่ว่าทำโจทย์ได้เองแล้วมีความสุขที่สุดในโลก เอ๋ไม่ชอบวิชาท่องจำค่ะ แต่ชอบอะไรที่พิสูจน์ได้จริง ซึ่งนั่นก็คือวิทยาศาสตร์

การเรียนวิทยาศาสตร์ของเอ๋ต้องเรียกว่า สังคมบังคับค่ะ สังคมของเด็กห้องking แข่งกันเรียนในห้อง นอกห้องก็ต้องขวนขวายเรียนพิเศษ กว่าจะได้มาเป็นวันนี้ ต้องแลกมาด้วยความขยัน ทุ่มเท แต่พวกเอ๋ก็มีความสุขนะคะ เหนื่อยแต่มีความสุข เพราะผลที่ได้รับทำให้พวกเราชื่นใจ

สวัสดีค่ะ

  • มาอีกครั้งค่ะ..ในฐานะที่เคยเป็นเด็กห้องท้ายมาก่อน
  • ด้านวิทย์ คณิตไม่เอาไหน
  • เรียนจบมัธยมปลายมาด้วย....เพราะโรงเรียนกวดวิชาติวมาค่ะ
  • เรียนจบมาอย่างคนซื่อบรื้อไม่มีความรู้
  • ที่สำคัญขอบอกว่า....ท่องคำนวณมาเป็นข้อ ๆ
  • สอบผ่าน มศ.๕ มาได้แบบคิดว่า ฝันไปที่ได้จบแบบคาบเส้น
  • .........
  • กิจกรรมนี้...พี่คิมยินดีสนับสนุนด้านกำลังใจและปัจจัยที่ต้องการค่ะ
  • จะติดตามดูว่า...ขาดอะไร ต้องการสิ่งใดบ้าง

ขอบคุณ เด็กข้างบ้าน ~natadee , คุณครูอิงจันทร์ , คุณครูrinda , พี่บางทราย, พี่สุวรรณา, น้องเอ๋-เสี่ยวอวิ๋น และ พี่ครูคิม มาก ๆ ครับ

ผมคิดว่าอยากจะไปทำอะไรสักอย่างที่บ้านเกิด

หลังจากได้การจัดประกายจาก ดร.บัญชา และครุ่นคิดมาหลายวัน สิ่งที่ผมเขียนในบันทึกน่าจะเป็นสิ่งที่ผมสนใจมากที่สุด

การเริ่มต้นทำงานที่บ้านเกิดน่าจะทำให้การขับเคลื่อนงานง่ายขึ้น เนื่องจากการเลือกโรงเรียนอาจจะเลือกจากพื้นที่ที่มิตรสหายผมสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้ ในบทบาท นายก อบต. และ ปลัด อบต.

ผมอยากได้ความคิดเห็น และการเข้ามาร่วมขับเคลื่อนภารกิจนี้

ไว้มีข้อเสนอที่หลากหลายเพิ่มมากขึ้น ผมจะประมวล แล้วนำมาคิดต่อในบันทึกครับ

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ คุณหนานเกียรติ

       ชื่นชมอย่างยิ่งในความเป็นนักคิด & ความปราถนาดีต่อการศึกษาของสังคมไทย ^__^

       ตามความเห็นของผม คำตอบแบบ "สำเร็จรูป" หรือคำตอบแบบ "ตามหลักการ" นั้นได้ยินกันมามากพอสมควรแล้ว เช่น ทำกิจกรรมนั้น ทำโครงการนี้ นำภูมิปัญญาท้องถิ่นไปต่อยอด ฯลฯ

       แต่ผมขอกวนโอ๊ยน้อยๆ โดยการตอบแบบไม่ตอบนะครับ และคงจะมีหลายๆ ตอนทีเดียว....ตอนที่ 1 ครับ

 

                    ตอบ จม. (สายตรง) ของคุณหนานเกียรติ : ตอน 01

 

            เชิญชวนผองเพื่อนไปด้วยนะครับ มีเกมเล็กๆ ให้เล่น (เด็กเล่นได้ ผู้ใหญ่ก็ไม่ห้าม..อิอิ)

 

P

อ.บัญชา ธนบุญสมบัติ ครับ

ขอบคุณสำหรับความเห็นครับ

แหะ แหะ ผมมิได้เรียกร้องให้อาจารย์รับผิดชอบต่อการกระทำที่ได้จุดประกายและสร้างแรงบันดาลใจผมนะครับ แต่คิดว่าหากจะทำจริง ๆ อาจารย์น่าจะเป็นที่ปรึกษาที่ดีที่สุดในตอนนี้

ผมคิดเรื่องนี้มากขึ้น และกำลังปะติดปะต่อ เริ่มคุยเกริ่นกับเพื่อนหลายคนแล้วครับ

สักวันคงหาโอกาสไปพบอาจารย์ที่ สวทช.

แต่ในระหว่างนี้รับคำปรึกษาและความเห็นผ่าน G2K ไปก่อนครับ

สวัสดีค่ะ

  • สำหรับตนเองเรียนวิทยาศาสตร์ให้สนุก
  • ต้องได้เรียนรู้จากของจริง หรือทดลองทำค่ะ
  • หรือไม่ก็เป็นเรื่องที่ชื่นชอบ
  • ดังนั้นคุณครูก็ค่อนข้างสำคัญมาก..ในการเรียนวิทยาศาสตร์ให้สนุก และเกิดความรู้
  • ถ้าบอกว่าวิทยาศาสตร์สำคัญแค่สอบเข้า ท่องกันหัวบานก็ไม่เข้าใจค่ะ
  • ถ้าชวนคิด ปรับกับสิ่งที่เห็นจริงประจำวันได้นี่ยิ่งสุดยอดเลย อิอิ

สวัสดีค่ะ การเรียนวิทย์ที่น่าสนใจครูต้องทำให้เกิดความสนุกค่ะ ทำให้นักเรียนตื่นเต้น

แต่ขอโทษนะคะครูวิทย์ที่เก่งๆ มักอยู่ตามรร. ดังๆ สถานที่กวดวิชา...

การทดลองวิทย์ มีแต่ lab แห้ง แล้วเด็กๆจะได้ความตื่นเต้นไหม...

ครูบางท่านสอนดี แต่นักเรียนไม่เข้าใจ เลยเกิดความเบื่อหน่าย...

 

สวัสดีและขอบคุณ

P น้องพิชชา

P พี่ใหญ่ - นาง นงนาท สนธิสุวรรณ และ

P พี่ แดง

ขอบคุณข้อคิดเห็นครับ

จากประสบการณ์ของบผมสิ่งที่ขาดมาก ๆ ในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์

คือ ขาดการจุดประกายและสร้างแรงบันดาลใจ รวมท้งมิได้ทำให้นักเรียนเห็นความงามของวิทยาศาสตร์

ถ้าเราทำเรื่องนี้สำเร็จ เราจะมีตัวป้อนสำหรับการสร้างนักวิทยาศาสตร์ให้สังคมไทยได้

อยากเชิญชวนให้ช่วยกันคิด ช่วยกันทำเรื่องนี้ต่อครับ

 

คุณ "หนานเกียรติ" ค่ะ...มาหลายหนแล้วบันทึกนี้...เวียนไปก็เวียนมาหลายรอบ...ไม่ทราบจะลงความคิดเห็นกะไรดี...เลยหนีไปตอบบันทึกของ..."คุณบัญชา" ค่ะ...ฮ้าย!! ไว้สติสตังค์ดี ๆ จะเวียนมาตอบอีกครั้งนะคะ...ขอบคุณมากค่ะ...

สวัสดีค่ะ

  • แวะมาอ่านร่วมแรงแข็งขันของสมาชิกค่ะ
  • ร่วมด้วย...เต็มใจติดสอยห้อยตามค่ะ
  • นำบันทึก...ที่น้องหนานสนใจมาฝากค่ะ
  • http://gotoknow.org/blog/dear-kikza/300792

P 

สวัสดีครับ อาจารย์ Vij

แค่แวะมาก็ดีใจแล้วครับ

หากได้ข้อเสนอยิ่งดีใจเข้าไปใหญ่ แวะมาใหม่นะครับ

 

P

พี่ ครูคิม ครับ

เข้าไปอ่าน http://gotoknow.org/blog/dear-kikza/300792 มาแล้วครับ

ขอบคุณหลาย ๆ ครับ

ผมขยายความในบันทึก ฟัง พูด อ่าน เขียนที่คุณหนานเกียรติถามไว้แล้วนะครับ...

..............................................................................................................................

แวะมาในฐานะเด็กที่จบวิทยาศาสตร์สาขาประมาณวิทยาศาสตร์ประยุกต์เอกเคมี พวกด้านพลาสติก ปิโตรเคมี หรือ พอลิเมอร์ครับครับ

ที่เลือกเรียนเพราะสอบได้

ไม่ได้เอ็นทรานซ์เพราะสอบได้ก่อน อยากเรียนไม่วิศวะ ก็วิทยาศาสตร์ครับ

จริงๆสอบติดสาขานิติศาสตร์ที่ธรรมศาสตร์ถึง 2 ครั้งแต่สละสิทธิ์ไม่ยอมไปเรียนครับ

สาเหตุที่ไม่ยอมเรียนนิติศาสตร์ คือ พ่อ และ พี่ชายจบสาขานี้ เลยไม่อยากเหมือนใครในบ้าน (ด้วยความคิดตื้นๆอีกเช่นเคย) แต่พ่อก็ไม่ว่าครับ แต่ผมคิดว่าพ่อผมอยากให้เรียนนิติศาสตร์ครับ แต่ท่านใจดีไม่บังคับ

สุดท้ายเลยเรียนวิทยาศาสตร์ทั้ง ป.ตรีและโทครับ

รู้สึกน่าจะมีรายได้ดี มั่นคง ทำงานกับบริษัทเอกชน (คิดด้วยความคิดแคบๆ ณ ช่วงเวลานั้นครับ)

ภาษาก็ไม่เก่งเท่าไร แต่พวกวิทย์-คณิตนี่ดูแล้วพอไปได้ครับ

วิชาที่ผมทำได้ดีจะเป็น คณิตศาสตร์ เคมี ฟิสิกส์ครับ

วิทยาศาสตร์สอนให้ผมมีเหตุมีผล คิดกว้าง ชอบเรียนรู้ คิดเป็นระบบ

ทฤษฎีหรือวิชาในห้องเรียนก็สำคัญแต่ที่น่าสนุก ก็คือ ตอนทำงานวิจัยที่ต้องประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทั้งหมด

งานวิจัยที่ดีก็ควรจะไปใช้ทำประโยชน์ต่อได้ แต่อย่างน้อยๆก็ฝึกให้เราคิดเป็นครับ และ ทดลองหาครับ ตอบ สรุป

แต่ที่ผมสนใจ คือ ถ้าเด็กที่เก่งสายวิทย์ซึ่งจะเป็นด้าน hard side แล้วสนใจด้านที่เป็น soft side ด้วย เช่น ศาสนา สังคม ปรัชญา สิ่งแวดล้อม และ อื่นๆ ก็จะมั่นใจได้ว่าจะได้เทคโนโลยีที่สะอาดกาย สะอาดใจ และ เป็นมิตรกับนิเวศวิทยาด้วยครับ

จริงๆแล้วถ้าทุกสาขาวิชาสามารถติดตั้ง คุณธรรม จริยธรรม มโนธรรมให้เด็กๆ เราก็จะมั่นใจได้ว่า

นักวิทยาศาสตร์ที่ผมชื่นชม 2 ท่านก็ที ท่าน ดร.วรภัทร ภู่เจริญ และ ท่าน ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติครับ

ที่ชอบเพราะทั้งสองท่านเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่สนใจในธรรมครับ

อ้อ...เห็นด้วยกับท่านบางทรายครับ

สวัสดีค่ะ ....คุณ "หนานเกียรติ" Vij ไม่ได้เป็นคุณครูสอนวิทยฯ แต่เคยเรียนวิทยฯ และชอบมากเวลาคุณครูพาออกนอกห้องไปทดลองในที่โล่ง ๆ หรือใต้ล่มไม้...ต้มน้ำในบิกเกอร์...เลยให้เห็นภาพ ๆ หนึ่ง...น้ำในบิกเกอร์เดือดบุด ๆ กลายเป็นไอน้ำ...และลอยขึ้นไปสู่ท้องฟ้า...ทำให้เกิดการจินตนาการต่อไปว่า...ไปเจอกับเมฆบนท้องฟ้า...และเกิดการรวมตัว...จนเกิดการควบแน่น...และในที่สุดมันก็หนักอึ้ง...และตกลงมาเป็นฝนในที่สุด...

สอนนอกห้องเชื่อมโยงเห็นของจริงตามธรรมชาติ...เห็นภาพจำนาน...Vij...ไม่ชอบอยู่ในกรอบว่างั้นเถอะ...หมายถึงทดลองในห้องทดลองวิทยาศาสตร์ที่เป็นกรอบสี่เหลี่ยม...มองว่าอัดอัดคับแคบ...ไม่เห็นอะไร...ทำให้ความคิดไม่บรรเจิด

---------------

ตอนอยู่ชนบท...เคยสังเกตทุกครั้งว่า...ร้านขายก๋วยเตี๋ยวข้างทาง จัดที่นั่งในบรรยากาศสบาย ๆ ใต้ต้นไม้...จะมีคนเข้าไปนั่งกินเยอะ...ส่งเสียงดังได้ตามสะดวก...แต่ก็พอรักษามารยาทอยู่...ส่วนร้านก๋วยเตี๋ยวที่ติดแอร์หรู ๆ ขายได้ไม่นานเจ้งเพราะลูกค้าไม่เข้าร้าน...คนเข้าเขาคงมองว่า 1. ราคาน่าจะแพง 2. กลัวสั่งอาหารไม่ถูก 3. ทำตัวไม่ถูกเมื่อเข้าไปใช้บริการ 4. บรรยากาศไม่คุ้นชิน...ไม่มีอิสระ...เช่นเดียวกับการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์...ก่อนจะสอนครูต้องรู้จักธรรมชาติของผู้เรียนก่อน...และบริบทหรือพื้นที่ที่เราทำการสอนว่าเป็นอย่างไร...จึงต้อง "สำรวจตลาดก่อนเปิดกิจการ" อิๆๆๆ

---------------

ในขณะเรียนวิทยาศาสตร์...อยากให้ครูสอนแบบเชื่อมโยงจากสิ่งแวดล้อมที่อยู่ใกล้ตัว...ที่เห็นจนชินตา...ไปสู่ความรู้ใหม่...การดึงสภาพแวดล้อมใกล้ตัวมาเป็นตัวเชื่อม...ทำให้เด็กมองเชื่อมโยงและเห็นภาพใหม่ชัดเจนขึ้น (ความรู้ใหม่)...สอนจากสิ่งใกล้ตัวเชื่อมโยงไปสู่สิ่งใหม่....สอนให้เห็นภาพภาพเล็ก...ไปสู่ภาพที่ใหญ่ขึ้น...ประมาณนี้

---------------

แค่นี้ก่อนนะคะ...คุณ "หนานเกียรติ" หาก Comment มีประโยชน์อยู่บ้าง...ก็จะกลับมาต่อยอดใหม่อีกครั้งค่ะ...บาย

ขอบใจ ด.ช.เกียรติศักดิ์ ที่เข้าไปทำให้

คุณครูป้า น้องเฌวา...ได้ขำสักคร้งในวันนี้

ขอบใจจริงๆๆ ภาพเคลื่อนไหว

P

สวัสดีครับ คุณ Phornphon

ผมตามไปอ่านคำอธิบายมาแล้ว ขอบคุณมากครับ

ขอบคุณที่เล่าเรื่องราวประสบการณ์นำมาแลกเปลี่ยนในบันทึก

อ.บัญชา เป็นผู้จุดประกายและสร้างแรงบันดาลใจครับ

P

อาจารย์ Vij ครับ

ขอบคุณที่แวะเข้ามาแสดงความคิดเห็นอย่างละเอียดอีกรอบ

มีประโยชน์มากครับ

จะรอต่อยอดนะครับ

 

P

คุณ ครู ป.1 ครับ

เอาสักอีกขำไหมครับ ฮิ ฮิ...

พี่สุก็ไม่อยากออกความเห็นว่า นักเรียนเหล่นนี้ทุกวันนี้ด้อยวิทยาศาสตร์ เพราะชีวิตจริงของคนเราก็เกี่ยวพันกับวิทยาศาสตร์อยู่แล้ว  และเด็กแต่ระดับ มันก็ต้องแตกต่างกัน ในการรับรู้เรื่องวิทยาศาสตร์  เราจะให้เด็ก ป.1 มีแระสบการณ์ชีวิตอยู่ระดับนี้ จะข้ามไปเรียนรู้เกินวัยก็ไม่ได้  พี่สุก็ไม่เข้าใจน้องหนานเกียรติว่า  เด้กรุ่นไหนที่ไม่ได้เรียนวิทยาศาสตร์อย่างถ่องแท้  เพราะการเรียน การสอนของครู  เขาก็มีบทบังคับการสอนจากหนังสืออยู่แล้วว่า  อย่างน้อยเด็กระดับนี้สมควรที่จะรู้เรื่องเกี่ยวกับอะไร พี่สุว่า วิชาทุกอย่าง มันก็เกี่ยวพันกับวิชาวิทยาศาสตร์หมด  อยู่ที่ครูแต่ละคนจะถ่ายทอดออกมาเป็นแนววิทยาศาสตร์ได้อย่างไร  เช่นชีวิตคนเราอยู่ได้ด้วยปัจจัยสี่  มีไหมที่ครูคนอื่นๆ จะสามารถพูดไปแล้ว ก็วกเข้ามาเกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์ แบบบูรณาการ 

พี่สุยังไม่เข้าใจ ที่น้องหนานเกียรติพูด พี่สุเข้าใจว่า  น้องหนานเกียรติ  ติว่าเด็กไม่รู้วิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง  วิทยาศาสตร์ที่แท้จริงของน้องหนานเกียรติ คือจะต้องทดลองให้เห็นจริง และมีครูที่เข้าใจ สามารถบอกถึงการแปร หรือการเปลี่ยนของสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเราได้ใช่ไหม และครูต้องบอกสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงได้อย่างถูกต้อง  และให้นักเรียนเจ้าใจอย่างถ่องแท้ใช่ไหมคะ  พี่สุว่า  สำคัญที่ครู รู้จริงหรือเปล่าเท่านั้น แต่พี่สุก็รู้ว่า การสอนของครูในแต่ละคาบ มันจะต้องเตียมการสอน มีบทพิสูจน์ ฉะนั้นเมื่อเขาอ่านดูวิชาวิทยาศาสตร์แล้ว เขาสอนไม่ได้ เขาก็ควรพิจารณาตนเองไปสอนวิชาอื่น และการรับครู แต่ละคน ก่อนรับ ก่อนสมัคร ก่อนสอบคัดเลือก  เขาก็จะถามว่า เอกวิชาอะไร  เมื่อตนเองเอกวิชาวิทยาศาสตร์แล้ว การสอนนักเรียนก็ไม่น่าจะมีปัญหาในการ สอน ทุกวันนี้เครื่องไม้เครื่องมือ หลวงก็คงหาให้ มีห้องวิทยาศาสตร์กันเพื่อเสริมทักษะ

และวิทยาศาสตร์บางอย่าง บางครั้งต้องออกไปสังเกตสังกาภายนอกห้อง เช่นเรื่องดิน เรื่องต้นไม้ ก็คงอยู่ที่ครูแหละคะ ถ้าครูไม่มีความสามารถ ก็ควรพิจารณาตนเอง  อย่าไปโทษเด็กเลย  โทษครูนั่นแหละ ไม่พัฒนาตน  เพราะการจะมีห้องวิทยาศาสตร์ครบวงจร แต่ครูไม่มีทักษะ พูดยังไง ยังไง เด็กก็ไม่มีความคิดตามหรอกคะ

พี่สุก็ขอจบก่อนนะ  เดี๋ยวจะเข้ามาอ่านคำตอบอีกที เพราะพี่สุอาจจะไม่เข้าใจในการเขียนบล็อคของน้องหนานเกียรติ ว่าบล็อคนี้ จุดประสงค์คืออะไรกันแน่นะคะ

 

  •  
    • สวัสดีค่ะหนานเกียรติ
    • อาชีพครู ต้องเจอะเจอลูกศิษย์หลายประเภท เด็กๆมี ความสามารถทางสมองที่แตกต่างกันไป บางคนสามารถเรียนรู้ได้เร็ว บางคนเรียนรู้ได้ช้า
    •  หลายๆคนมีความรับผิดชอบ ในขณะที่อีกหลายๆคนขาดความสนใจ ก็คงเป็นหน้าที่ของครูที่จะต้องทำให้เด็กๆเหล่านี้มีความสนใจการเรียน ได้รับกิจกรรมที่พัฒนาสมอง
    • คุณครูเองจึงต้องพัฒนาตนเองตลอดเวลา ปัจจุบันสื่อการสอนสำเร็จรูปมีมากมาย หลายแบบ  อยู่ที่ว่าครูจะต้องรู้จักเลือกใช้ สื่อให้เหมาะสม และถูกต้อง........

 

P 

สวัสดีครับพี่ สุ-มหาวิทยาลัยชีวิต ที่ไม่มีวันปิดทำการ

พี่ครับ ผมกล้ายืนยันว่านักเรียนอ่อนด้อยทั้งในเรื่องวิชากและความคิดจิตใจแบบวิทยาศาสตร์ครับ เท่าที่ผมมีประสบการณ์และได้ทำงานกับโรงเรียนมาบ้าง ครูส่วนใหญ่สอนวิชาวิทยาศาสตร์ แต่มิได้สอนให้นักเรียนมีจิตใจแบบวิทยาศาสตร์ครับ และนี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ประเทศหาตัวป้อนเพื่อสร้าง/ผลิตนักวิทยาศาสตร์ได้ยากยิ่ง

ผมเห็นด้วยกับพี่สุอย่างยิ่งว่า เรื่องรอบตัวเราทั้งมวลล้วนเป็นวิทยาศาสตร์ แต่วิชาวิทยาศาสตร์ในห้องไม่สามารถเชื่อมโยงไปถึงได้ แต่วิทยาศาสตร์ในห้องเรียนเป็นเพียงท่องบ่นสูตรเฉิ่ม ๆ เชย ๆ และเป็นยาขมหม้อใหญ่สำหรับเด็กครับ

จริงอยู่ว่าโรงเรียนขาดแคลนเครื่องมือวิทยาศาสตร์ แต่ก็มิได้หมายความว่าจะเป็นอุปสรรคจนมิสามารถดำเนินการอะไรได้ ซึ่งหากทุกสิ่งอย่างรอบตัวคือวิทยาศาสตร์ ก็สามารถใช้มันเป็นสื่อการเรียนรู้ได้เช่นกัน

ขอบคุณพี่มาก ๆ เลยครับ ที่แวะมาเยี่ยมและแลกเปลี่ยนความเห็น

ผมคิดว่าอยากจะกลับไปทำงานกับโรงเรียนในชนบทที่จังหวัดบ้านเกิดสักสองสามโรงเรียน เพื่อส่งเสริมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้กับนักเรียนที่ขาดโอกาสครับ

พี่มาแจมด้วยกันนะ 

สวัสดีครับ คุณครูเอื้องแซะ

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียนและแลกเปลี่ยนความเห็นครับ

 

พี่ก็ตกวิชาเคมี ตอนเรียนปี 1 เรียนซำ 2 รอบ จึงผ่าน

พี่อยากให้เด็กได้เรียนให้เข้าใจ ดีกว่าท่องสูตร เห็นด้วย เด็กในเมืองมีโอกาสมากกว่าเด็กในชนบท และเดี่ยวนี้จากที่ดูน้องแตมเรียน ต้องไปเรียนพิเศษเพื่อมจึงจะเข้าใจ พี่ก็เกิดการงงมาก ๆ นะคะ ว่าทำไมครูไม่สอนให้เด็กเข้าใจไปเลย ทำได้ ทำไม่ต้องให้ไปเรียนพิเศษเพิ่ม ค่าเรียนก็แพงนะคะ ถ้าผู้ปกครองไม่มีเงิน เด็กมิแย่หรือคะ พี่ก็ยังแย่ เดือนไหนน้องแตมลงทะเบียนเรียนพิเศษเพื่ม เดือนนั้น พี่ไม่ต้องทานขนม ซื้อเสื้อผ้าใหม่หรือเครื่องสำอางเลยคะ ต้องกันเงินออกมาให้ลูกเรียนพิเศษ ค่าเรียน วิชาละ ประมาณ 2500-6500 บาทนะคะ

 

P

สวัสดีครับ พี่ประกาย~natachoei ที่~natadee

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมอ่าน และแสดงความเห็นครับ

ใช่ครูเก่ง ๆ วิชาเหล่านี้ไปเปิดสอนติวและสร้างได้เป็นกอบเป็นกำ

กระทรวงศึกษาไม่เห็นจะทำอะไรเลย....

สอนให้นักเรียนมีจิตวิทยาศาสตร์ คืออยากรู้ อยากเห็น อยากค้นคว้า อยากทดลอง ต่อสิ่งที่กำลังเปลี่ยนแปลงในชีวิตความเป็นอยู่ และตั้งปัญหา ทำไม ถึงเป็นอย่างนั้น ทำไมถึงเป็นอย่างนี้  นี่คือมีจิตวิทยาศาสตร์ใช่ไหมคะ ถ้าใช่แบบนี้ ก็คงเป็นการดีที่สุดแล้ว ถ้ามีครูคนไหนซักคน มาบอกกล่าวเขาให้เป็นคนขี้สงสัย แลหาเหตุหาผล  เพราะทุกวันนี้ในชีวิตประจำวัน จะต้องอาศัยและพึ่งพาวิทยาศาสตร์มาก และเมื่อรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์แล้ว บางครั้ง ในวิทยาศาสตร์ต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วย  แต่ถ้าหากเป็นเทคโนโลยีที่จะต้องซื้อเครื่องมือแพงๆมาทำการทดลอง ที่พี่สุว่าจะมีเครื่องมือดีขนาดไหน ถ้าครูไม่มีใจ ก็ไร้ประโยชน์

แม้แต่เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง วิทยาศาสตร์ก็ยังมามีส่วนเกี่ยวข้องเลย เพื่อให้ทันโลกยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งคือความพอเพียง พอประมาณ มีเหตุมีผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี ถ้าหากวิทยาศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้อง นั่นคือการสร้างจิตสำนึกต่างในชีวิตประจำวัน ที่มีผลกระทบความเป็นอยู่ ที่อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ทั้งภายนอกและภายใน ใช่ไหมคะ เช่นการเกิดพาวะโลกร้อน การใช้สารเคมีต่อเกษตร ฯลฯ

พี่สุเลยคิดว่าที่น้องหนานเกียรติจะไปส่งเสริมชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านที่ตนรัก โดยอาสัยการส่งเสริมความรู้ทางวิทยาศาสตร์เขาไปมีบทบาท ดีมากเลยคะ  โดยใช้วิทยาศาสตร์จากธรรมชาติบำบัด เช่นใช้พืชสมุนไพรมาทำสารฆ่าแมลง มาทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากเศษอาหาร เศษพืช เศษสัตว์หรือไม่ก็ มาปลูกข้าวกล้องที่อาจารย์แสวงท่านทำอยู่ ลดการใช้สารเคมี กินข้าวที่ไม่ต้องสีจากโรงสี กินข้าวซ้อมมือ นี่คือวิทยาศาสตร์ที่น้องหนานเกียรติได้รับแรงบันดาลใจในงานนี้ใช่ไหมคะ  อย่างไรก็ตามแรงบันดาลใจ ขอให้มียาวนาน และยั่งยืน เพราะคิดได้ แต่ทำยาก เพราะต้องอาศัยเวลา จนกว่าจะทำได้สำเร็จ  ชาวบ้านจะ OK ด้วยหรือเปล่า อย่าท้อก่อนนะคะ เพราะการลงมือทำ มันต้องมีสถานที่ทดลอง ให้ชาวบ้านเห็นก่อน  ทำเป็นตัวอย่างก่อน เหมือนอาจารย์แสวงท่านปลูกข้าว  ท่านก็ทดลองไปเรื่อยๆ ให้ชาวบ้านได้เห็น ท่านทดลองไปจะเห็นผลหรือไม่ ท่านก้ไม่ตื่นเต้น เพราะท่านมีเงินเดือนประจำกิน แต่ชาวบ้าน ถ้าเขาทำไม่สำเร็จนั่นคือ ครอบครัวเขาจะเป็นหนี้เป็นสิน ฉะนั้นจะทำอะไร เขาก็เผื่ออนาคตด้วย

พี่สุตอบในตอนนี้เพราะเห็นน้องหนานเกียรติตอบพี่ในบล็อคตอบนี้ พี่สุก็เม้นท์ตอบเสริมความเข้าใจเข้าไปอีก เพราะพี่สุก็เดาความคิดของน้องหนานเกียรติ ที่คิดจะบูรณาการวิทยาศาสตร์ให้ช่าวบ้าน มันก็คงจะเป็นอย่างที่พี่สุว่ามา  คือไม่ได้หมายถึงนักเรียน ตามที่พี่สุ มันอยู่ที่ครู  แต่ตอนนี้เข้าใจแล้วว่า น้องหนานเกียรติจะเข้าไปช่วยชาวบ้าน เมื่อไปช่วยชาวบ้าน  วิทยาศาสตร์ชาวบ้าน ก็มีลดการใช้วารเคมี ให้ใช้สิ่งจากธรรมชาติมาบำบัดธรรมชาติ นี่คือความเข้าใจของพี่สุ ในครั้งนี้ ว่าน้องหนานเกียรติจะทำแบบนี้แหละใช่ไหมคะ  พี่สุไม่เอาคำตอบแล้ว เพราะพี่สุรู้จุดยืนของน้องแล้ว คือที่พี่สุเม้นท์นี่แหละ

ทำไปเถอะคะ ในเมื่อเรามีความรู้  แล้วสามารถนำความรู้ไปถ่ายทอด ให้พ่อแม่พี่น้องเรา ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จากวิทยาศาสตร์บำบัด ก็จงทำไป  อีกหน่อยพี่ก็คงจะได้เห็นกิจกรรมที่น้องหนานเกียรติ ได้ร่วมมือกับชาวบ้าน ในเรื่องวิทยาศาสตร์บำบัด ต่างๆ ไปหละ 

 

P

ขอบคุณ พี่สุ-มหาวิทยาลัยชีวิต ที่ไม่มีวันปิดทำการ  มาก ๆ เลยครับ

สำหรับความเห็น มีประโยชน์และทำใคดต่อได้เยอะเลยครับ

วิทยาศาสตร์แบบชาวบ้าน

วิทยาศาสตร์ท้องถิ่น

ฯลฯ

ไม่ขอแสดงความคิดเห็น(สมัยเรียนมัธยม ก็สอบวิชาวิทยาศาสตร์ เกือบตก )แต่อยากแบ่งปันความรู้สึก  เกี่ยวกับคุณครู เพิ่มเติมจากพี่ประกาย

ลูกมาเล่าให้ฟังว่า เทอมนี้ ใครที่เรียนพิเศษกับคุณครูวิชา......จะทำข้อสอบได้มากเพราะครูเอาข้อสอบมาจากเนื้อหาในชีท ที่แจกให้เด็กที่เรียนพิเศษกับตัวเอง  ส่วนใครที่ไม่เรียนก็ไม่ได้ แม่เลยได้แต่บอกว่า ไม่เป็นไร อย่างน้อยเราก็มีความรู้อยู่กับตัว แม้ว่าจะทำข้อสอบไม่ได้เท่าเพื่อน การสอบ บางครั้งมันก็ไม่ใช่สิ่งที่ตัดสินว่าเราเก่ง หรือไม่ มันขึ้นอยู่กับว่า การสอบครั้งนั้น เราอ่าน เรารู้ ตรงกับสิ่งที่อาจารย์อยากถามหรือไม่  ยังมีหลายสิ่งในโลกนี้ ที่เรายังไม่รู้อีกมาก

 ลูกสาวบอกว่ายังไม่อยากเรียนพิเศษ เพราะอยากทำกิจกรรมกับเพื่อนๆ ก่อน ขึ้น ม.ปลายแล้วค่อยว่ากันใหม่ ถ้าใบตองเรียนพิเศษก็คงรู้จักแต่เพื่อนๆ ที่เรียนรุ่นเดียวกันและเพื่อนๆ ในห้อง  แต่ถ้าทำกิจกรรมด้วย ก็จะรู้จักพี่ เพื่อน น้อง ได้รู้ว่าแต่ละคนเป็นอย่างไร ใครชอบพูด ใครชอบทำ

ต้นไม้ ไม่เคยเรียนพิเศษเหตุผลคือ ไม่อยากเครียดมาก แม่กับพ่อ ก็ตามใจ พึ่งจะตัดสินใจเรียนตอนขึ้น ม. 5  แม่กับพ่อ ก็ตามใจอีกพร้อมกับแอบดีใจอยู่ลึกๆ ที่เห็นลูก สนใจเรียนมากขึ้น

ลูกบอกว่า  เรียนแล้ว ทำให้เข้าใจบทเรียนที่อาจารย์สอนในห้องมากขึ้น (คนสอนเป็นนักศึกษาระดับ ป. ตรี โท แล้วแต่วิชา)  อาจเป็นเพราะว่า ในห้องมีนักเรียนมาก ครูเลยไม่สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง หรือเปล่า

เหตุการณ์เดียวกับของน้อง  ใบตอง คือ บางวิชา ใครที่เรียนพิเศษกับอาจารย์ ก็จะทำข้อสอบได้ เพราะอาจารย์เอาข้อสอบมาจากชีท ที่ให้

แล้วอย่างนี้ จะไม่ให้เด็กเรียนพิเศษ หรือค่ะ

เพราะการประเมินผล ยังต้องใช้วิธีสอบ ยังไม่มีวิธีใดที่ดีกว่านี้ ???????

 

P สวัสดีครับ พี่ กระติก~natachoei ที่ ~natadee

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมและแสดงความเห็นครับ

บทเรียน/ประสบการณ์ของพี่ดีมาก ๆ ผมขออนุญาตไปใช้/บอกต่อ/อ้างถึงนะครับ

การติวหรือเรียนวิทยาศาสตร์ของบ้านเราเป็นการทำลายศักยภาพการเรียนรู้และการปลูกฝังลักษณะนิสัย/จิตใจนักวิทยาศาสตร์ของเยาวชนอย่างเลวร้ายที่สุด

(ผมว่าจะเขียนถึงเรื่องนี้สักวัน)

สิ่งที่ผมสนใจขณะนี้ก็คือ เราจะเข้าไปปลูกฝังกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ให้นักเรียนมีความคิดจิตใจแบบวิทยาศาสตร์ท่ามกลางความขัดสนนี้ได้อย่างไร

นี่เป็นที่มาของการเปิดบันทึกนี้ครับ

มีความคิดเห็นเสนอเพิ่มเติมเข้ามาได้เรื่อย ๆ นะครับ

 

อรุณสวัสดิ์ จ้า เฌวาตื่นยัง

คุณน้องหนานเกียรติที่รัก พี่ก็ว่าพี่สอนนา

ถ้าจะพูดถึงการสอนวิทยาศาสตร์ ก็หมายถึง

การสอนที่เป็นเนื้อหาของวิทยาศาสตร์ ระดับป.2 ก็ประมาณสิ่งมีชีวิต

สิ่งแวดล้อม เทือกๆนี้

แต่ถ้าพูดถึงกระบวนการสอนที่เป็นวิทยาศาสตร์ ก็ประมาณว่า สอนให้เด็กสืบค้น อยากรู้อยากเห็น

ได้ทดลอง ได้คิดวิเคราะห์ มีกระบวนการมากมายที่ครูสามารถใช้ได้ (จับตัวบุ้งมาตัวเดียว เรียนกันเป็นเทอม)

นี่พี่พูดเข้าประเด็นเปล่าคะ ขอบคุณนะ

สวัสดีค่ะคุณหนานเกียรติ..อาจจะเป็นคำตอบๆหนึ่ง..ในอีกหนึ่งในมุมมองด้านความคิด...ชะตากรรมคือตัวตน(ส่วนบุคคล) ชนบทคือแหล่งที่มีความเป็นธรรมชาติมากกว่าเมือง(หากไม่ได้ถูกทำลายไปเสียก่อน)ไสยศาตร์ืคือภูมิหลังของมนุษย์ วิทยาศาตร์คือความคิดก้าวหน้าหาข้อบกพร่องของภูมิหลัง...(หากว่ายังเดินได้บนทางสายกลาง...เป็นต้นว่าการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ..ในวิถีที่ถูกที่ควร)...ตัวตนประกอบด้วยอวัยวะต่างๆที่ทำหน้าที่สัมพันธ์กัน...เมื่อรวมกันอยู่..เริ่มที่ครอบครัวเล็กๆ..ที่เติบโตเป็นสังคมและศักษกยภาพที่มีความรู้และเศษฐกิจเป็นตัวขับเคลื่อน(ให้โลกหมุนติ้วอยู่ทุกวันนี้)....กลับมามองปัจจุบัน...หันหลังไปดูอดีต...แล้วมองดูอนาคตไกล้แค่เอื้อม(อาจจะไปไม่ถึงเสียแล้ว...น้ำที่จะกินไม่ต้องจ่ายสตังค์...ทำยังไงน้ำจึงจะไม่สกปรกเป็นพิษจากสิ่งที่เขาเรียกว่าความเจริญในด้านวิทยาศาตร์).....หากว่าเราตั้งโจทย์สักประโยคเล่นๆ...เด็กถามผู้ใหญ่ว่า..ทำไมฝนจึงตก...ในชนบทเมื่อก่อนเขาคงจะบอกว่า...เพราะกบมันร้อง....มาถึงตอนนี้ก็ให้ไปถามครูที่โรงเรียน...(ตรงนี้คงจะเป็นปัญหาในปัจจุบัน..อิอิ)...ยายธีว่าคุณหนานเกียรติคิดอะไร..ทำได้ทำไปเลยค่ะ..เพราะคุณหนานเกียรติทราบดีว่ากบมันร้องเพราะอะไร....และคงจะตอบเญวาได้ดีกว่าครูในโรงเรียน....แน่ๆ..(จิตอาสา)

ความเกรงใจเป็นสมบัติของคนดี..แต่การทำดีไม่ต้องเกรงใจใคร..

สวัสดีครับ คุณครู วิไล วิไล บุรีรัตน์ยายธี
และ นมัสการ มหาน้อย..ศิษย์หลวงปู่่โต ครับ

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียน แลกเปลี่ยนและเสนอความเห็นครับ

ตอนนี้มีความคืบหบ้านิดหน่อย มีบางโรงเรียนที่ตากสนใจ มีบาง อบต. อาจจะสนับสนุนงบประมาณ กำลังรอความบคืบหน้าครับ

 

สวัสดีค่ะท่านหนาน

มาอ่านความรู้ เจอแผนผังของพี่ท่านบางทราย ได้อึ้ง เลยค่ะ

นิมิตหมายที่ดี เห็นหลายๆที่ เห็นความสำคัญของ เคเอ็ม มากกว่า เอ็มเค (สุกี้)

ขอบคุณนะคะสำหรับการร่วมจุดประกาย

 

P สวัสดีครับ คุณ poo

แผนผังของพี่บางทราบทำให้ผมคิดต่อได้เยอะแล้ว

ตอนนี้มีโรงเรียนที่สนใจ มี อบต. ที่สนใจ อยากทดลองทำแล้วครับ

 

P สวัสดีครับ คุณ ส.ศรัณ

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมนะครับ

ผมเคยร่วมงานกับ ปปส. อยู่พักนึงครับ

สมัยคุณภิญโญ เป็นรองเลขาฯ

ยินดีที่ได้รู้จักครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท