หนานเกียรติ
เกียรติศักดิ์ หนานเกียรติ ม่วงมิตร

ส่งการบ้าน ข้อ (๓) ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ


“อากัปกิริยา” เป็น “ธรรมชาติ” ครับ ธรรมชาติให้มา และหากมองในแง่ภาษา นี่เป็น “อวจนภาษา” ส่วน “ถ้อยคำ” เป็น “วัฒนธรรม” แน่นอน เกิดจากการสร้างของมนุษย์ ซึ่งมองในแง่ภาษา นี่คือ “วจนภาษา”

รับโจทย์ข้อสามมา ตอนแรกคิดว่าง่าย จึงนิ่งนอนใจ คิดว่าเดี๋ยวก็คิดออก...

ผ่านไปแล้ววันนึง...

 

เมื่อวาน...

พาเฌวาขึ้นแปลงเตรียมผลูกผักบุ้ง

เดินไปหา เฌวายังไม่ตื่น จวบกับท้องหิว จึงทำผัดกระเพราไข่ราดข้าว กินรอเฌวาไปพลาง กว่าเฌวาจะตื่นบันทึกนี้ก็เสร็จส่งขึ้นไปโลดแล่นใน GotoKnow

ขึ้นแปลงเสร็จเรียบร้อย อาบน้ำอาบท่าแล้วแทนที่จะทำการบ้านซะให้เสร็จ ดันนั่งเขียนบันทึกส่งขึ้นไปแบ่งปันใน GotoKnow

เป็นอันว่าบันทึกทั้งสองถูกส่งขึ้นไปในระยะเวลาห่างกันไม่กี่ชั่วโมง

ทั้งสองบันทึกมีกัลยาณมิตรเข้ามาแวะเวียน ร่วมแลกเปลี่ยนมากหน้าหลายตา มีทั้งนักชิมและแฟนคลับเฌวา

กว่าจะตอบบันทึกและเดินทางไปเยี่ยมทักทายท่านผู้มาเยือนและกัลยาณมิตรท่านอื่น ๆ จนครบถ้วนเวลาก็ล่วงเลยไปดึกดื่น จึงหนีไปนอนเอาดื้อ ๆ ทั้งที่เดิมตั้งใจว่าจะทำการบ้าน

ทันทีที่หัวถึงหมอน มิทันที่จะเอาเท้าก่ายหน้าผากคิดคำตอบสำหรับการบ้าน ก็พบตัวเองอยู่กับพระอินทร์แล้ว

 

วันนี้ทั้งวัน...

ผมเดินทางไปเรียนวิชา KM และ วิชาถอดบทเรียนกับคุณเอก - จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร และทีมงาน ที่กระทรวงสาธารณสุข

ความยากของทั้งสองวิชา ทำให้ผมมีอาการ “ปวดหมองมากมายก่ายกอง” กลับมาถึงบ้าน “นอนแผ่สองสลึง สลบเหมือด” กว่าจะตื่นขึ้นมาทำการบ้าน ดวงจันทร์และดวงดาวก็โผล่ขึ้นมาทักทายแล้ว...

แหะ แหะ คุณครูชิวครับ นี่เป็นเหตุผลที่ส่งการบ้านช้าครับ ไม่ว่ากันนะครับ (ฮิ ฮิ...)

 

เริ่มต้นทำการบ้าน...

ทีแรกเข้าใจว่าโจทย์ข้อที่ ๓ นี้ง่าย เอาเข้าจริงไม่ง่ายอย่างที่คิด

 

กับคำถามข้อ (๑)

คำตอบไม่ยากแต่ทำยาก ต้องแอบทำครับ กลัวคนในบ้านเห็น และหลังจากมั่นใจว่าไม่มีใครมองก็ลองทำ และก็ตอบได้ทันที “ทำได้ แต่ไม่เป็นธรรมชาติ” ครับ

 

พอมาถึงข้อ (๒) ทำไม ?

คิดอยู่นานนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนมากกกกกกกกกกกกกกกกกกก ครับ

(แหะ แหะ เชื่อหรือยังครับว่านานนนนนนนนนนนนนนมากกกกกกกกกกกกกกกกกกก...)

แอบไปดูคำตอบของเพื่อน ๆ ใน GotoKnow กะว่าจะขอลอกสักหน่อย ปรากฏว่ามีคนแวะมาเยี่ยมเยียนมากมาย แต่มิมีใครทำการบ้านส่ง จึงรับประทานแห้วไปตามระเบียบ เมื่อไม่มีที่พึ่งจึงต้องพึ่งตนเอง ทั้งที่พึ่งไม่ค่อยจะได้

จากโจทย์นี้ มี องค์ประกอบสำคัญอยู่ ๒ ส่วน

ส่วนแรกเป็น “อากัปกิริยา” และส่วนที่สองเป็น “ถ้อยคำ”

“อากัปกิริยา” เป็น “ธรรมชาติ” ครับ ธรรมชาติให้มา และหากมองในแง่ภาษา นี่เป็น “อวจนภาษา”

ส่วน “ถ้อยคำ” เป็น “วัฒนธรรม” แน่นอน เกิดจากการสร้างของมนุษย์ ซึ่งมองในแง่ภาษา นี่คือ “วจนภาษา”

สำหรับ “อากัปกิริยา” หากจะเหตุแห่ง “อากัปกิริยา” น่าจะแบ่งได้สัก ๓ ภาวะ

ภาวะแรก คือ ภาวะติดขัด ขัดข้อง ขัดเคือง หมองใจ ไม่ชอบใจ เป็นภาวะลบ

ภาวะที่สอง คือ ภาวะปกติ

และภาวะที่สาม คือ ภาวะยินดี แช่มชื่น เบิกบาน แจ่มใส ถูกใจชอบใจ เป็นภาวะบวก

มนุษย์แสดงอากัปกิริยาอย่างนี้เป็นโดยไม่ต้องมีใครสอน จะเรียกว่าเป็น “สัญชาตญาณ” ก็ได้

จริงอยู่ครับที่ “อากัปกิริยา” สามารถสื่อสาร ท่าที อาการ ความรู้สึก ของมนุษย์ได้ แต่เพราะสมองและพฤติกรรมมนุษย์ซับซ้อนกว่าสิ่งมีชีวิตอื่น จึงสามารถสร้าง/ประดิษฐ์ “ถ้อยคำ” ขึ้นมาเพื่อสื่อสารเพิ่มเติมจากการสื่อสารด้วย “อากัปกิริยา”

มนุษย์สร้าง “ถ้อยคำ” ขึ้นมาเพื่อสื่อสารระหว่างกัน แน่นอนว่ามี “ถ้อยคำ” ในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับ “อากัปกิริยา” ด้วย ทั้งภาวะลบ และภาวะบวก และใช้ “ถ้อยคำ” เหล่านี้ควบคู่และสอดคล้องกับ “อากัปกิริยา”

หากเราไปมี “อากัปกิริยา” อย่างใดอย่างหนึ่งใส่ฝรั่งมังค่าหรือชาวต่างชาติต่างภาษา ผมคิดว่าไอ้หมอนั่นจะเข้าใจ “อากัปกิริยา” ของเราได้ไม่ยากนัก และแม้ไม่เข้าใจความหมายของ “ถ้อยคำ” แต่น่าจะพอเข้าใจหรือคาดได้ว่า “ถ้อยคำ” นั้นน่าจะสอดคล้องกับ “อากัปกิริยา” ที่แสดงออกมา

และแน่นอนว่าท่าทีสะท้อนกลับก็น่าจะเป็นการสะท้อนกลับจาก “อากัปกิริยา” มิใช่ “ถ้อยคำ”

ลองจินตนาการภาพนี้ดูนะครับ

ผมกำลังยืนคุยกับฝรั่งคนนึงด้วยภาษาไทยที่ฝรั่งไม่เข้าใจ

ผมยิ้มใส่ (แม้จะยิ้มเจื่อน ๆ) แล้วพูดว่า “กรูเกลียดมรึง กรูจะฆ่ามรึง ไอ้สาด...”

ผมคิดว่าฝรั่งตัวนั้น เอ้ยคนนั้น น่าจะยิ้มตอบมาบ้างแหละน่า...

ที่ผมตอบคำถามข้อ (๒) ว่ามันไม่เป็นธรรมชาติ เพราะว่าเราใช้ “ถ้อยคำ” ฝืนกับ “อากัปกิริยา”

เรารับรู้ เรียนรู้ จนยอมรับและยึดถือว่า “ฉันรักเธอ” “เธอน่ารักจัง” เป็นถ้อยคำในภาวะบวก เรารับรู้อย่างนี้เมื่อเอ่ยอ้างแล้วให้แสดง “อากัปกิริยา” ตรงข้าม จึงเป็นการฝืนทั้ง “ธรรมชาติ” และ “วัฒนธรรม”

ยิ่งอธิบายก็ยิ่งเข้ารกเข้าพง พอดีกว่าครับ

 

ส่วนคำตอบสำหรับคำถามข้อ (๓) ยิ่งยากเข้าไปใหญ่ เท่าที่คิดออก คือ

(๓.๑) ผมย้อนกลับไปอ่านคำตอบข้อ (๒) พบว่าคำตอบเห่ย และตื้นเขินมาก ทำไมเป็นเช่นนั้น ผมคิดว่าเรื่องใหญ่คือ ผมไม่มีแนวคิดหรือหลักการเกี่ยวกับเรื่องนี้ ความสามารถในการอธิบายจึงได้เพียงนี้

(๓.๒) อย่าไปลองทำตามโจทย์ในที่รโหฐาน เดี๋ยวเขาจะหาว่าบ้า

(๓.๓) อย่าไปคิดพึ่งใครอื่น เพราะคนอื่นก็อาจคิดเหมือนเรา (บทเรียนจากการเข้าไปพยายามจะลอกการบ้านครับ ฮิ ฮิ...)
(๓.๔) อย่าชะล่าใจไปผัดกระเพราไข่ ปลูกผักบุ้ง และไปทำอะไรอย่างอื่น จนกว่าจะทำการบ้านเสร็จ เพราะไอ้ที่เข้าใจว่าง่าย บางทีมันไม่ง่ายนะ จะบอกให้...

(๓.๕) เขียนให้ดูเหมือนเยอะครับ แต่จริง ๆ คิดออกข้อ (๓.๑) ข้อเดียวครับ

 

 

หมายเลขบันทึก: 302246เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2009 22:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สวัสดีค่ะ

  • อ่านบันทึกนี้ได้ความรู้เพิ่มพูนค่ะ
  • ครูภาษาไทยอย่างครูอิง ที่นับวันต้นทุนเดิมชักจะร่อยหรอ

“อากัปกิริยา” เป็น “ธรรมชาติ” ครับ ธรรมชาติให้มา และหากมองในแง่ภาษา นี่เป็น “อวจนภาษา”

ส่วน “ถ้อยคำ” เป็น “วัฒนธรรม” แน่นอน เกิดจากการสร้างของมนุษย์ ซึ่งมองในแง่ภาษา นี่คือ “วจนภาษา”

สำหรับ “อากัปกิริยา” หากจะเหตุแห่ง “อากัปกิริยา” น่าจะแบ่งได้สัก ๓ ภาวะ

ภาวะแรก คือ ภาวะติดขัด ขัดข้อง ขัดเคือง หมองใจ ไม่ชอบใจ เป็นภาวะลบ

ภาวะที่สอง คือ ภาวะปกติ

และภาวะที่สาม คือ ภาวะยินดี แช่มชื่น เบิกบาน แจ่มใส ถูกใจชอบใจ เป็นภาวะบวก

มนุษย์แสดงอากัปกิริยาอย่างนี้เป็นโดยไม่ต้องมีใครสอน จะเรียกว่าเป็น “สัญชาตญาณ” ก็ได้

  • ขอบพระคุณมากค่ะ

P สวัสดีครับคุณครู อิงจันทร์

ผมตอบไปโดยความรู้สึกครับ

คิดอยู่นานว่าจะตอบอย่างไร

คิดว่าคนรู้เรื่องเข้ามาอ่านคงจะหัวเราะเยาะความเห่ยของผมแน่นอน

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมทักทายครับ

ใช่อ่ะ!ถ้ามัวอ่าน บันทึกของน้องชายหนานเกียรติ

งานของเราจะไม่เสร็จแน่ๆ...อ้าว! อ่านไปแล้ว

 

สวัสดีค่ะพี่หนาน เห็นหายไปนาน ที่แท้ก็หมดแรงนี่เอง อิอิ

ว่าจะถามเรื่องที่ไป สรพ.มา มาอ่านก็ได้คำตอบแล้วละค่ะ

 

P คุณพี่ ครู ป.1

อ่านไปเถอะพี่

บันทึกดี ๆ มีสาระ อ่านแล้วได้ความรู้แถมสนุกสนานเพลิดเพลิน (ฮิ ฮิ...)

 

P น้อง ♥paula ♥ที่ปรึกษาตัวน้อย✿

อาการ "มึน" ค่อยยังชั่วแล้ว

พรุ่งนี้เช้าว่าขะเขียนบันทึกเรื่องนี้สักหน่อย

วันนี้ "หมดแรง"

พาหลานสาวพี่มาเป็นเพื่อนเฌวา..ห้ามให้เฌวากัดนะเว้ย!!

                

                 น้อง"แตงโม" ลูกสาวของน้องชายพี่เอง

สวัสดีค่ะ

  • แวะมาอ่านบันทึกยาว ๆ
  • และฝากบันทึกของครูโบตั๋นด้วยนะคะ

http://gotoknow.org/blog/botan04/302513

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท