หนานเกียรติ
เกียรติศักดิ์ หนานเกียรติ ม่วงมิตร

บทเรียนการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ในจังหวัดต้นแบบ : กรณีศึกษาจังหวัดลำปาง (๑)


(๑) 

            สภาพสังคมในปัจจุบัน แม้ว่าเทคโนโลยีทางการแพทย์จะมีความก้าวหน้าขึ้น แต่ปัญหาสุขภาพช่องปากของประชาชนก็ไม่มีแนวโน้มไปในทิศทางที่ดีขึ้น ตรงกันข้ามปัญหากลับมีความรุนแรงและขยายวงในเชิงปริมาณมากขึ้นทุกขณะโดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ การตั้งรับของสถานพยาบาลก็ดูเหมือนว่าจะต้องดำเนินการต่อไปอย่างไม่มีสิ้นสุด ปรากฏการณ์ดังกล่าวกลายเป็นความเคยชินของทันตบุคลากรอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน และน่าจะเป็นไปอย่างนี้อย่างไม่รู้จบ จนแทบไม่ได้คิดว่านั่นคือปัญหา และสำหรับผู้สูงอายุที่ประสงค์รับบริการเข้าคิวรอรับการรักษายาวเหยียด ซึ่งเพิ่มขึ้นทุกวัน จนมีคำพูดทีเล่นทีจริงว่าหลายรายยืดอายุออกไปไม่ทันให้ถึงคิวที่จะเข้ารับบริการ

            ปริมาณของผู้เข้ารับบริการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้งานทันตสุขศึกษาซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการป้องกันปัญหาดำเนินการได้ไม่เต็มที่ และแม้ว่าจะมีช่องทางการให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพช่องปากอยู่บ้าง แต่ก็ตามไม่ทันกับปัญหาที่มาพร้อมกับกระแสบริโภคที่ไม่เป็นมิตรกับสุขภาพช่องปาก จึงพบการสูญเสียฟันและสุขภาพภาพช่องปากของผู้คนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ กระทั่งกลายเป็นปัญหาที่พอกพูนให้ทันตบุคลากรตั้งรับจนไม่มีเวลาไปทำงานเชิงรุกในการป้องกันอย่างมีประสิทธิภาพ นี่ยังมิได้กล่าวถึงงบประมาณที่ต้องสูญเสียไปกับการแก้ปัญหาที่ป้องกันได้จำนวนไม่น้อย

            เหตุการณ์เหล่านี้เป็นความคุ้นชินอย่างยิ่งของ ทันตแพทย์หญิงลลนา ถาคำฟู และบุญเกิด อินยะบุตร สองบุคลากรของสำนักงานสาธารณสุข จ.ลำปาง รวมทั้งทันตบุคลากรอื่น ๆ ไม่เฉพาะที่ จ.ลำปาง เท่านั้น แต่เป็นเหมือนภาพที่ฉายซ้ำ ๆ ซึ่งพบเห็นได้ทั่วทุกหัวระแหง กระทั่งได้เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์เมื่อได้รับเชิญจากกระทรวงสาธารณสุข ให้เข้าไปรับฟังเพื่อเข้าร่วมทดลองดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ ในฐานะจังหวัดนำร่องเมื่อปี ๒๕๔๙

            แนวคิดแนวทางที่ได้รับจากที่ประชุมในคราวนั้น ตอบโจทย์ในใจของทั้งสองได้ค่อนข้างมาก และก็เห็นความหวังสำหรับการแก้ปัญหาสุขภาพช่องปากที่ไม่มีวันรู้จบ สำหรับ ลลนา ถาคำฟู เองนั้น เธอยังแอบฝันไปไกลว่า หากการดำเนินงานเป็นไปตามแนวทางที่รับฟังมา ผู้สูงอายุนี่แหละจะเป็นกลไกในการขยายงานทันตสุขศึกษาได้ และจะเป็นต้นทางในการป้องกันปัญหาที่จะมาถึงทันตบุคลากรที่รับมือแทบจะไม่ไหวแล้วในปัจจุบัน

            ขณะที่ไฟยังร้อน ทั้งลลนา ถาคำฟู และบุญเกิด อินยะบุตร ได้ทำการสำรวจชมรมผู้สูงอายุ ที่มีความเข้มแข็งทั้ง ๑๓ อำเภอในจังหวัดลำปาง ซึ่งในขณะนั้นงานผู้สูงอายุเริ่มได้รับความสนใจมากขึ้น ทั้งนี้ได้ดำเนินการไปพร้อมกับการพูดคุยและชักชวนทันตบุคลากรในพื้นที่ที่ชมรมผู้สูงอายุตั้งอยู่ เมื่อเห็นว่าชมรมมีความเข้มแข็ง และมีทันตบุคลากรที่มีศักยภาพสนใจที่จะร่วมงาน จึงได้เริ่มต้นพูดคุยชักชวนงานทันตสาธารณสุขของโรงพยาบาลทั้งสองในพื้นที่

            อย่างไรก็ตามการคัดเลือกชมรมมิได้เป็นไปตามความตั้งใจในคราวแรกเสียทีเดียว สองชมรมในสองพื้นที่ มิได้ใช้เกณฑ์เดียวกันในการคัดเลือก ชมรมผู้สูงอายุวัดศรีหลวง อ.แจ้ห่ม เป็นไปตามเกณฑ์เดิมที่กำหนด ส่วนชมรมผู้สูงอายุบ้านสถานี อ.ห้างฉัตร เป็นชมรมที่ตรงข้ามกับความเข้มแข็ง ทั้งนี้เป็นความตั้งใจของทีมงานที่นี่ว่าจะเลือกทำงานกับชมรมผู้สูงอายุในลักษณะนี้

..........

หมายเลขบันทึก: 385778เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2010 07:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีนะคะ

แซงหน้าไปเลยนะ  ไปก่อนเหอะ ไม่ว่ากัน....ต้องหาหนุ่มตรังมาช่วยถอด mp3 ภาษาใต้บ้างละ  ประกาศให้หน่อยดิ

  • โอ้โห ไวปานกามนิตหนุ่มเลยค่ะ
  • ขอบคุณนะคะ

หายตัวได้หรือว่าเหาะได้กันแน่น้องหนานเกียรติ..

อยากถามว่า..อิดพ่องก่เจ้า...

สวัสดีครับ 

 พี่คิม กลับมาจากกระบี่  มี "ไข้" ติดมาเป็นของฝากด้วย  ตอนนี้ก็ยังงัวเงียอยู่

คุณหมอนนท์ครับ มีคนต้นเรื่องเข้ามาอ่านแล้ว (หมอลลนา) ดีใจจังเลยครับ

คุณครู krugui Chutima บ่ได้เหาะเองครับ นั่งเรือบินเหาะมา อิดนิดหน่อยแต่ก็ม่วนขนาดครับ  


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท