หนานเกียรติ
เกียรติศักดิ์ หนานเกียรติ ม่วงมิตร

บทเรียนการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ในจังหวัดต้นแบบ : กรณีศึกษาจังหวัดลำปาง (๓)


(๓)


    “...จะจัดกิจกรรมอะไรให้ผู้สูงอายุในชมรมและนอกชมรมเพื่อให้มีสุขภาพช่องปากดี ? และจะจัดกิจกรรมอะไรให้ผู้อื่นมีสุขภาพช่องปากดี ?...”  

     คือคำถามสองข้อที่ทันตแพทย์หญิงธาริณี แสงแก้ว ตั้งขึ้นเพื่อระดมความคิดเห็นกับชมรมผู้สูงอายุวัดศรีหลวง หลังจากที่ได้สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพช่องปากมาระดับหนึ่ง และแกนนำบางส่วนได้ตระหนักแล้วว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญ

     จะว่าไปแล้วทีมงานที่เข้าไปจัดกิจกรรมในคราวนั้นก็มิได้มั่นใจนักว่าสมาชิกชมรมผู้สูงอายุจะคิดออกและตอบคำถามทั้งสองข้อได้ จึงได้ตระเตรียมกันไว้ว่าอาจต้องแนะนำบ้าง แต่ผลก็ไม่เป็นไปดังที่วิตกกังวล สมาชิกผู้สูงอายุช่วยกันระดมสมองตอบคำถามแล้วเขียนลงในกระดาษออกมานำเสนอด้วยคำตอบที่หลากหลาย จนทำให้บรรดาทีมงานต่างก็ประหลาดใจไปตามกัน

     และสิ่งที่ทำให้ทีมงานหายเหน็ดเหนื่อยและมีกำลังใจที่จะทุ่มเททำงานมากยิ่งขึ้นเมื่อข้อเสนอบางประการถูกแปรไปสู่การปฏิบัติในไม่ช้านานหลังจากนั้น

     แบบประเมินสุขภาพช่องปาก เป็นหนึ่งในการขับเคลื่อนของชมรมในระยะแรก ด้วยเห็นว่าแบบประเมินในแบบที่ฝ่ายทันตฯ ในโรงพยาบาลใช้อยู่ สมาชิกชมรมฯ ดูแล้วไม่เข้าใจ ไม่สามารถนำไปใช้ประเมินสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุได้ จึงได้ร่วมกับทีมงานฝ่ายทันตฯ ทำขึ้นมาใหม่ ในแบบที่สมาชิกชมรมดูแล้วเข้าใจ สามารถนำไปใช้ได้ ซึ่งในระยะถัดมาแบบประเมินฯ ดังกล่าวนี้ได้นำไปใช้ทั้งในการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุรวมไปถึงการประกวดสุขภาพช่องปากในกลุ่มผู้สูงอายุในชมรม

     นับวันแกนนำสมาชิกชมรมฯ ก็ยิ่งมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพในช่องปากมากขึ้น และก็ได้มีส่วนเผยแพร่ความรู้เหล่านี้ไปยังเพื่อนสมาชิกผู้สูงอายุด้วยกันเองในชมรม ทำให้ผู้สูงอายุจำนวนมากมีความรู้ความเข้าใจ และจำนวนไม่น้อยที่ปรับทัศนคติไปในทิศทางที่เป็นประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพช่องปาก มีทัษะที่ดีในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง นอกจากนั้นยังมีการขยายผลในการให้ทันตสุขศึกษาให้กับบรรดาลูกหลานในครอบครัว/เครือญาติ กระทั่งขยายผลไปให้ความรู้ในโรงเรียนและศูนย์เด็กเล็กในพื้นที่อีกด้วย

      ทันตแพทย์หญิงนนทลี วีรชัย ได้บันทึกเรื่องราวของชมรมฯ นี้ไว้ว่า [1]

     “...และเมื่อแกนนำชมรมฯ ได้รับการถ่ายทอดความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก โดยทีมบุคลากรสาธารณสุข ของโรงพยาบาลแจ้ห่มเมื่อปี ๒๕๔๙ โดยการอบรมแกนนำ และจัดกลุ่มให้ผู้สูงอายุช่วยกันคิดว่า ทำอย่างไรที่จะทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพช่องปากที่ดี และทำอย่างไรจะให้คนอื่นมีสุขภาพช่องปากที่ดีด้วย กิจกรรมที่ผู้สูงอายุคิดก็คือ...
     ...การทำให้ตัวเองมีสุขภาพช่องปากดี โดย มีการจัดอบรมให้ความรู้ การประกวดแปรงฟันและถอดประสบการณ์คนมีฟันดี การสาธิตดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน และมีการปฏิบัติจริง...
     ...การทำให้คนอื่นมีสุขภาพช่องปากดี โดย ผู้สูงอายุถ่ายทอดความรู้ให้กับลูกหลานและคนในครอบครัว การจับคู่ตรวจฟัน และการไปแนะนำคนอื่นๆ ให้ช่วยกันรักษาฟัน...
     ...ชมรมผู้สูงอายุฯ จึงได้มีการจัดกิจกรรมการดูแลตัวเองด้วยการจัดบอร์ดให้ความรู้ที่วัดศรีหลวง ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของชมรมฯ สาธิตการแปรงฟันและฝึกปฏิบัติแปรงฟัน การจับคู่ตรวจฟัน การประกวดฟันสวย และตรวจฟันโดยทันตบุคลากร...”

 

     นันทริกา เลิศเชวงกุล กล่าวถึงปัจจัยแห่งความสำเร็จนี้ว่า

     “...จริง ๆ แล้วผู้สูงอายุมีศักยภาพมาก แต่ละคนทั้งความรู้ มีประสบการณ์ อิ่มตัวไม่ต้องการชื่อเสียงเงินทองแล้ว มีใจและมีเวลาที่จะชักชวนไปทำประโยชน์อื่น ๆ...
     ...เรื่องการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ผู้สูงอายุเขาจะเข้าใจและเห็นความสำคัญ เพราะผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักมีปัญหาเรื่องนี้ จึงเข้าใจความทุกข์เป็นอย่างดี อยากช่วยเหลือคนอื่นให้พ้นทุกข์ การไปให้ความรู้ในครอบครัวก็เพราะว่าเขาไม่อยากให้ลูกหลานต้องเป็นทุกข์เหมือนเขา เขารู้แล้วว่าฟันมันสามารถอยู่กับเราไปตลอดชีวิตได้ถ้ารักษาไว้ดี ๆ...”

 

     กมล  เนตรรัศมี ประธานชมรมผู้สูงอายุเภอแจ้ห่ม ซึ่งเป็นแกนนำคนสำคัญในการขับเคลื่อนงานส่งเสริมสุขภาพช่องปาก กล่าวไว้ว่า

     “...เราถือว่าชมรมผู้สูงอายุเป็นวัยที่เปลี่ยน มีสุขภาพถดถอย อวัยวะในช่องปากจะมีการเปลี่ยนไป เรายึดหลักของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า “เวลาไม่มีฟัน กินอะไรก็ไม่อร่อย ทำให้ไม่มีความสุข จิตใจก็ไม่สบาย ร่างกายก็ไม่แข็งแรง” เป็นหลักในการดำเนินงาน ภายใต้การสนับสนุนของกรรมการ และแกนนำในชมรมผู้สูงอายุ ซึ่งบางท่านเป็นข้าราชการเกษียณ บางท่านเป็นผู้นำชุมชน ที่ช่วยกันคิดทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพไปด้วยกัน...” [2]

 

 


[1] http://gotoknow.org/blog/km-dental-nonta/302863

[2] เพิ่งอ้าง 

หมายเลขบันทึก: 386475เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2010 09:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 13:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สวัสดีค่ะคุณหนานเกียรติ

 

* แวะมาทักทายวันศุกร์สุดสัปดาห์ค่ะ

* โชคดีที่ได้อ่านเรื่องราวการทำงานของทีมทันตแพทย์ ที่จัดกิจกรรมอะไรให้ผู้สูงอายุให้มีสุขภาพช่องปากที่ดี ขอเป็นกำลังใจให้ทีมงานทุกคนค่ะ เยี่ยมจริงๆ

* แถมได้แนวคิดในการทำงานดีๆ ด้วย

* คุณหนานเกียรติยังไม่ได้สารภาพอะไรกับใครหรือเปล่าคะ?... เชิญไปสารภาพที่บ้านครูใจดีนะคะ  http://gotoknow.org/blog/pink-diary1/384580

* มอบดอกไม้ช่อนี้ให้ทีมทันตแทพย์ทุกๆ ท่านค่ะ

* ระลึกถึงค่ะ

 

เรียนท่านหนานเกียรติที่นับถือ

    เมื่อกี๊คุณยายไปให้ความรู้ผู้มารับบริการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่มาค่ะ มีคนต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องโรคต่างๆเยอะเลย คุณยายไม่อยากเสียเวลาพิมพ์ใหม่ก็เลยมาก็อปจากเน็ตค่ะ(เจ้าแม่ก๊อปปี้) อิอิ เลยแวะมาทักทายก่อนทำงานต่อค่ะ ขอให้มีความสุขกับการทำงานและการใช้ชีวิตนะคะ สุขสันต์วันหยุดด้วยค่ะ

สวัสดีค่ะ

เยี่ยมนะ  บันทึกนี้  ยังเหนื่อยอยู่เลยค่ะ  รอรวมพลังอีกครั้งจึงจะเขียนต่อ

แวะมาทักทาย อ่านแล้ว ผู้สูงอายุในจังหวัดตาก อยากได้บ้างนะคะชมรมดีดีแบบนี้น่ะค่ะ

อ่านไป ยิ้มไป เนื่องจากเคยอยู่ในเหตุการณ์ และผู้คนที่รู้จัก ทั้งพี่นันท์ พ่อกมล ผู้สูงอายุหลายๆ ท่าน และน้องทันตแพทย์หลายๆ รุ่น

เห็นความน่ารักของทุกคนที่เกี่ยวข้อง ชื่นใจจริงๆ

  • อิอิ ตอนที่สาม หายไปไหนคะ พี่หนาน

ติดตามอ่านอย่างเมามันเลยค่ะเพราะเล่าได้เล่าดี ดีจริงๆเก็บรายละเอียดดีจริง ขอบคุณที่แบ่งปันเจ้า

สวัสดีครับน้องหนาน นี้ขนาดสับสนน่ะ ยังถอดได้ขนาดนี้

27-28 ไปประชุมที่ พอช. แล้วเข้านายกอภิสิทธิ์ รับงปม. ทบทบกองทุนสวัสดิการ 1ต่อ1 ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท