เยี่ยมพ่ออุ้ยแม่อุ้ย เมืองเหนือเจ้า (18) เรื่องเล่าจากคุณนันทริกา


จะยากที่สุด ก็คือ ในช่วงที่มารับงานใหม่ๆ ก็เป็นการเปลี่ยนทัศนคติเดิมๆ จากการที่ไปออกหน่วย เราออกไปตรวจ ต้องเอายา หรือวิตามินหรืออะไรไป ... ตอนนี้เปลี่ยนความคิดนี้ได้แล้ว คือ ผู้สูงอายุจะไม่ถามเลยว่า หมอเอายามาใหม่ อยากได้วิตามิน ตอนนี้จะมาเป็นถามว่า หมอเอาเครื่องวัดความดันมามั๊ย หมอวัดรอบเอวให้มั๊ย

 

คุณนันทริกาเล่าต่อจากหมอเก๋ละค่ะ ว่า

การทำโครงการนี้ ผลสุดท้ายก็คือ เพื่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ เพราะถ้าเกิดว่า เจ้าหน้าที่ลงไปดำเนินการเองในผู้สูงอายุ ก็อาจไม่สำเร็จ หรือไม่ยั่งยืน

  • จะยากที่สุด ก็คือ ในช่วงที่มารับงานใหม่ๆ ก็เป็นการเปลี่ยนทัศนคติเดิมๆ จากการที่ไปออกหน่วย เราออกไปตรวจ ต้องเอายา หรือวิตามินหรืออะไรไป
  • ตอนนี้เปลี่ยนความคิดนี้ได้แล้ว คือ ผู้สูงอายุจะไม่ถามเลยว่า หมอเอายามาใหม่ อยากได้วิตามิน ตอนนี้จะมาเป็นถามว่า หมอเอาเครื่องวัดความดันมามั๊ย หมอวัดรอบเอวให้มั๊ย ซึ่งก็เป็นการประเมินเบื้องต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมาก
  • ด้านคุณภาพ ก็คือ เขาสามารถดูแลตนเองได้ และเขาหันมาสนใจด้วยว่า ผู้สูงอายุ 1 ท่าน ไม่ใช่ว่าจะเป็นปกติหมด ใน 10 คนที่เดินมา 5 คนก็จะมีโรคประจำตัว และอย่างน้อยมี 1 โรค และคนที่เป็นมากที่สุดในกลุ่มเราเป็นถึง 3 โรค คือ เบาหวาน ความดัน และโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • และผู้สูงอายุก็มีศักยภาพ มีคุณภาพชีวิตที่สามารถมารวมกลุ่มได้
  • ตอนที่มาทำการศึกษาครั้งแรก ... ก็เลือกลงในที่ที่มีชมรมที่เข้มแข็งที่สุด ทั้งหมด 7 ตำบล ก็ต้องเลือกชมรมแจ้ห่ม เพราะเข้มแข็ง
  • ปัจจุบันนี้ ที่ทำการของชมรมก็อยู่ที่นั่น และปัจจุบันผู้สูงอายุก็มีการสร้างศูนย์การเรียนรู้ที่นั่น (ที่วัด)
  • ปัจจัยสำเร็จ ก็เพราะว่า ชมรมที่เราตั้งได้ ก็เพราะได้ขอการสนับสนุนวิทยากร ความรู้จากหน่วยงาน หน่วยงานราชการอื่นๆ มีทั้ง อบต. ระดับจังหวัด สสจ. วัด โรงเรียน รวมทั้งภาคเอกชน
  • ในส่วนนี้จะมี ความคิดเบื้องต้น คือ งานใครงานมัน ... แต่ตอนนี้เท่าที่ดู ก็มีหลายงานที่สามารถทำร่วมกันได้ เช่น โครงการฟัน เราไม่ได้ดูฟันอย่างเดียว แต่ร่างกายของเราเป็นองค์รวม ดูทั้งหมด ทั้งชีวิต จิตใจ เราก็อยากให้ผู้สูงอายุปรับทัศนคติว่า การดูแลตนเองก็ต้องเริ่มจากใครไม่ได้ ต้องเริ่มจากตนเองก่อน
  • ในวันนั้นมีผู้สูงอายุถามคำถามว่า ... ใครจะมาเชื่อถือถ้าจะให้พ่อไปสอนใครต่อใคร มาเรียนก็แค่นี้ ใครจะเชื่อถือ ... ก็บอกว่า พ่อ ถึงแม้ว่าจะไม่มีใครเชื่อถือ อย่างน้อยเราก็ต้องให้กำลังใจตัวเองว่า ถ้าเราตรวจตัวเราได้ เริ่มจากที่เรา แล้วก็ขยายไปในชุมชน
  • ผู้สูงอายุมีความตั้งใจมาก ซึ่งท่านก็ได้ไปทำกลุ่มในวันที่ 25 ที่ผ่านมา ท่านมาเล่าให้ฟังว่า จากการที่ท่านไปตรวจ ก็สามารถส่งไปห้องฟัน และให้การรักษา มีใบส่งต่อ
  • ทำให้รู้ว่า ... เขาก็มีความสามารถในการไปตรวจ และแนะนำ
  • ผู้สูงอายุก็เลยบอกว่า จะให้คุณหมอทำใบส่งต่อและแนะนำให้
  • การจับคู่ก็คิดกันว่า ทำยังไงให้มันน่ารัก คำว่า บัดดี้ ก็วัยรุ่นเกินไป ก็เลยมาใช้คำว่า คู่หู คู่ใจ ... เป็น คู่หูในการพิทักษ์รักษาฟัน ปีที่แล้วแค่ 20 ซี่ ต่อไปคนที่มีเกินอยู่แล้ว ก็มีการดูแลรักษาฟันจนกว่าชีวิตจะหาไม่ และให้คนอื่นได้ดูแลรักษาฟันดีขึ้น
  • ส่วนคนที่เป็นโรคประจำตัวเหล่านั้น เวลาไปสอนอะไร ก็สอดแทรกเข้าไปทุกกิจกรรม พยายาม ทำในตำบลที่เข้มแข็งก่อน ให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น และก็ขยายไปที่ตำบลอื่นๆ ต่อไป

อือม ... คุณนัน และทีม หมอเก๋ หมอพลอย นี่ เขาคิดได้เป็นฉากๆ ต่อยอดกิจกรรมก้าวไกลเลยนะคะเนี่ยะ

รวมเรื่อง เยี่ยมพ่ออุ้ยแม่อุ้ย เมืองเหนือเจ้า

 

หมายเลขบันทึก: 101011เขียนเมื่อ 5 มิถุนายน 2007 21:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท