ตั้งเรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ


การพัฒนางานส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ในผู้สูงอายุ

 

การพัฒนางานทันตฯ ของกลุ่มสูงอายุ ควบคู่ไปกับงานของสำนักส่งเสริมสุขภาพ รวมทั้งร่วมกับ ศูนย์อนามัย และจังหวัด ... ส่วนนี้เป็นความตั้งใจที่จะให้มีการพัฒนาทั้งส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค อาจลึกไปจนถึง PCU และระดับที่ปฏิบัติงาน กิจกรรมกลาง ที่ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขลงกิจกรรม ฟันเทียมพระราชทาน ไว้อย่างกว้างขวาง ซึ่งผลที่ได้คือ ผู้สูงอายุมีฟันเทียม (ฟันปลอม) ได้ใส่กันมากขึ้น แต่ก็เจาะจงไปที่ฟันเทียมที่มีการสูญไปมากกว่า 16 ซี่ เพราะกลุ่มนี้ยังมีจำนวนมาก จึงขอให้บริการก่อน การส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งเป็นหัวใจของการป้องกันไม่ให้เกิดโรค ถ้าเกิดขึ้นได้ เราก็จะสามารถลดการฟื้นฟูสุขภาพยามชราไปได้เยอะ

ทพญ.สุปราณี ดาโลดม กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัยหมอสุปราณี (หมอแหวว) ได้เล่าถึงความคิดที่พยายามสร้างงานนี้ว่า "สิ่งที่เราทำเริ่มต้นก็คือ พยายามคัดเลือกจาก (1) ศูนย์อนามัยที่สมัครใจดำเนินงาน (2) เป็น Best practice model ในงานผู้สูงอายุของกรมอนามัย จึงได้ศูนย์อาสาสมัครมา 3 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรี, ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา และ ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่"

"การทำงานเริ่มปีนี้ มีหัวใจของการทำงานอยู่ที่

  1. ต้องบูรณาการงาน เข้ากับนโยบายของกรมอนามัย ... กรมอนามัยกำหนดโครงการใหญ่ๆ ของปีนี้ ทั้งสิ้น 10 โครงการ สูงอายุก็เป็นโครงการหนึ่งในนั้น
  2. ความเชื่อมโยงกับ Setting ที่จะบูรณาการไปกับสำนักส่งเสริม ... ที่เราเห็นๆ ก็คือ ชมรมผู้สูงอายุ, Home Health Care และวัดส่งเสริมสุขภาพ
  3. หัวข้อ หรือประเด็นของสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ที่จะต้องจัดการแก้ไข ... มี เรื่องการสูญเสียฟัน, พฤติกรรมการกินอาหาร ทั้งที่กินได้ และกินไม่ได้, โรคในช่องปากที่พบในผู้สูงอายุ คือเรียกว่า ระยะ severe หรือระยะที่เกือบจะแก้ปัญหาอะไรไม่ได้อยู่แล้ว, ผู้สูงอายุก็ยังมีโรคทางระบบ และมีบางโรคที่มาเกี่ยวข้อง และมีผลกับสุขภาพช่องปาก และขณะเดียวกัน ก็มีโรคในช่องปากที่มีผลต่อโรคทางระบบด้วย ทั้ง 2 ทาง นอกจากนั้นในผู้สูงอายุก็อาจพบมะเร็งในช่องปากค่อนข้างสูง เพราะว่าอาจจะเป็นมานานแล้ว หรืออะไรก็ตาม แต่เพิ่งมาเห็นผลในวัยสูงอายุ และยังมีเรื่องความพิการ หรือศักยภาพในการดูแลช่วยเหลือตนเองไม่ได้ เข้ามาเกี่ยวข้อง
  4. ในเรื่องการเสริมในเรื่องบริการ ขณะนี้บริการที่ชัดเจน คือ โครงการฟันเทียมพระราชทาน แต่ก็เป็นเรื่องของการบริการในผู้สูงอายุที่ทำให้มีการเคี้ยวอาหารได้ ก็ยังไม่ใช่การส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่แท้จริงสักเท่าไร

เราจึงเริ่มมาระดมประสบการณ์ ความคิด และข้อเสนอแนวทาง ช่องทางการทำงานของภาคีเครือข่ายกรมอนามัย เพื่อที่จะพัฒนา สรรหา รวมรวม หรืออะไรก็ตาม ถึงความเป็นไปได้ของรูปแบบ หรือระบบ หรืออื่นๆ ที่จะเป็นช่องทางการพัฒนางานส่งเสริมสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุขึ้นให้มากขึ้น"

ใครมีประสบการณ์ดีๆ มาแบ่งปันความรู้กัน ก็จะยินดีมากๆ ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 13702เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2006 08:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ลองให้สมาชิกของทีม ไปหาผู้สูงอายุ (เกิน ๗๐) ที่ฟันดี    สัมภาษณ์วิธีปฏิบัติในการดูแลฟัน ตั้งแต่เด็ก มาจนเป็นผู้ใหญ่ และสูงอายุ เอามาเล่าในบล็อก    จะเป็นประโยชน์มากครับ    ควรหาทางส่งเสริมสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุโดยให้ผู้สูงอายุที่สุขภาพช่องปากดีเป็นผู้เล่า หรือให้คำแนะนำ

วิจารณ์ พานิช

แบบนี้ก้อต้องฝึกให้กับเด็กสิค่ะถ้าจะมาแนะนำให้กับคนแก่ด้วยกันคงจะไม่มีประโยชน์แล้วเพราะว่ามันก็เลยเวลามานาแล้วคงแก้ไขอะไรไม่ได้นอกจากดูแลฟันที่มีอยู่ให้ยังคงสภาพเหมือนเดิม ส่วนถ้าไม่มีฟันแล้วก็คงต้องพึ่งฟันปลอม จริงไหมค่ะ

  • การส่งเสริมป้องกัน ในเรื่องสุขภาพช่องปาก นั้น เราทำกันในหลายๆ ทางค่ะ ตั้งแต่เด็กอยู่ในท้องแม่ จนถึงผู้สูงอายุเลยค่ะ
  • การทำในกลุ่มผู้สูงอายุ เราก็ได้เน้นเรื่องการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เพราะว่า ถ้าผู้สูงอายุได้มีทักษะ มีความสามารถในการดูแลตนเองได้ดีแล้ว ท่านก็ย่อมไปถ่ายทอดต่อกับลูกหลาน ตลอดจน ตอนนี้มีผู้สูงอายุหลายๆ ท่าน ในชุมชน หมู่บ้านต่างๆ ที่พากันไปสอนให้ลูกหลาน ในศูนย์เด็กเล็ก และโรงเรียนก็มีด้วยค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ คุณ "อยากรู้"

ดีคะเห็นความสำคัญของผู้สูงอายุ

  • ขอบคุณค่ะ คุณอุษณีษ์ วงษ์วรสันต์
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท