จากโครงการฟันเทียมฯ ถึง การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ตามชุดสิทธิประโยชน์ทางทันตกรรม


พอพูดถึงโครงการฟันเทียมพระราชทาน ท่านก็กล่าวว่า “รู้แล้วๆ นี่โครงการนี้ดีมาก ผู้สูงอายุชอบมากเลย” ท่านก็ดูนิทรรศการของเรา ตรงนี้คิดว่า "ต้องขอบคุณพื้นที่และศูนย์ฯ ที่ช่วยกันดำเนินการจนบรรลุเป้าหมาย"

 

จากบันทึกนี้ แลกเปลี่ยนการทำงานกับผู้สูงอายุ ก็มีเรื่องเล่าต่อค่ะว่า ภายใต้โครงการที่กองทันตฯ ต้องการพัฒนา หรือไปเรียนรู้ในรูปแบบว่า จังหวัด โดย โรงพยาบาลประจำจังหวัด หรือ โรงพยาบาลประจำอำเภอ หรือ หน่วยบริการปฐมภูมิ จะสามารถให้บริการด้านสิทธิประโยชน์ให้กับผู้สูงอายุกันได้อย่างไร

พื้นที่ที่มาร่วมระดมสมองกัน มี 12 จังหวัดค่ะ

และวันนี้ ผอ.กองทันตสาธารณสุข ... ทพ.สุธา เจียรมณีโชติชัย ได้มาคุยกันกลุ่มที่จะรวมหัวกันทำกิจกรรมนี้ ว่า

  • เมื่อ 29 พย.50 ท่านรองประดิษฐ์ฯ ผม และทีมงาน ได้ไปเป็นตัวแทนกรมอนามัย ถวายรายงานสมเด็จพระเทพรัตน์ฯ ภายใต้โครงการฟันเทียมพระราชทาน ที่เมืองทองธานี Hall 9 ... เป็นงาน "80 พรรษา ปวงประชามีสุขศานต์" ซึ่งสำนักงบประมาณ และมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นเจ้าภาพ กระทรวงฯ จะมีงานทางด้านโภชนาการ ด้านฟัน และโรคหัวใจ ไปจัดนิทรรศการ
  • ... ช่วงที่สมเด็จพระเทพรัตน์ฯ เดินมาที่บูธ ท่านรองฯ ดิษฐ์ ได้ถวายรายงาน พอพูดถึงโครงการฟันเทียมพระราชทาน ท่านก็กล่าวว่า “รู้แล้วๆ นี่โครงการนี้ดีมาก ผู้สูงอายุชอบมากเลย” ท่านก็ดูนิทรรศการของเรา ตรงนี้คิดว่า "ต้องขอบคุณพื้นที่และศูนย์ฯ ที่ช่วยกันดำเนินการจนบรรลุเป้าหมาย"
  • วันก่อนได้เจอ อ.ท่านผู้หญิงเพ็ชรา ท่านได้เล่าว่า เมื่ออาทิตย์ที่แล้วท่านไปถวายงานรักษาพระทนต์ของในหลวง และพูดเรื่องโครงการฟันเทียม และโครงการรากฟันเทียม และคุณหมอวิจิตรได้ไปถวายรากฟันแท้ให้ในหลวง 1 องค์ ใช้ได้ดีทีเดียว และในหลวงก็ได้นำไปตั้งชื่อสุนัข ชื่อ ไททาเนียม
  • กองทันตฯ ก็ได้ทำอัลบั้ม มีประมาณ 100 ภาพ เป็นภาพโครงการฟันเทียมพระราชทานที่รวบรวมไว้ในช่วง 2-3 ปีนี้ ในหลวงก็ได้มีโอกาสพลิกดู ตั้งแต่เริ่มโครงการ จนถึงปี 2550
  • นี่คงเป็นความสำเร็จของพวกเราที่ผมขอชื่นชม และให้กำลังใจทุกท่าน และก็คงเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นเรื่องของ ฟื้นฟูคุณภาพชีวิต ที่พวกเราได้ลงแรงลงกายกันเยอะทีเดียว
  • โครงการนี้พวกเราก็คงรู้กันทั่วๆ ว่า งบประมาณลุ่มๆ ดอนๆ เดี๋ยวมาเดี๋ยวไม่มา ก็เป็นธรรมชาติของโครงนี้ ว่า เราไปอยู่กับเงินตัวนี้ และมีการดึงเข้าดึงออก และสุดท้ายคงลงตัว นี่เป็นส่วนที่เราจะฟื้นฟูคุณภาพชีวิตให้กับผู้สูงอายุ
  • ถ้าเราถอยจากเรื่องของฟื้นฟูคุณภาพขึ้นมาก็จะเป็นเรื่องของป้องกัน และเรื่องของการส่งเสริมสุขภาพ ที่จะเกี่ยวข้องกับเรื่องของบุคคล ครอบครัว และชุมชน
  • ตรงนี้เป็น 3 ส่วน ที่ทางสถานบริการจะได้เข้าไปมีส่วนร่วม หรือเข้าไปจัดการบางสิ่งบางอย่างที่จะทำให้ประชาชนได้ตื่นตัวขึ้นมาในเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเด็ก ถ้าเราดูตั้งแต่เด็กประถมฯ เขาก็จะมีชีวิตอยู่ เป็น 60-70 ถ้าเขามีพฤติกรรมที่ดี ดูแลฟัน
  • ... ผมเคยทดลองอย่างนี้ครับ ผมมีลูก 3 คน 2 คนแรกเกิดติดกันมากพอสมควร ห่างกันแค่ 1 ขวบครึ่ง สมมติคนโต ขวบครึ่ง คนเล็กก็คลอด 2 คนนี้ค่อนข้างติดกัน ช่วงนั้นก็เอาพวกสื่อ อะไรต่างๆ ไปเปิดเรื่องฟัน
  • ... ปรากฎว่า 2 คนแรกจะได้เรียนรู้เรื่องของฟันค่อนข้างเยอะ ตอนนั้นกองฯ มีสื่อการ์ตูนเยอะ ไปเปิดให้เขาดู ก็สังเกตว่า 2 คนแรก ค่อนข้างดูแลตัวเองเรื่องฟันค่อนข้างดีทีเดียว
  • ... แต่พอคนเล็กห่างจากคนที่สองประมาณ 6 ปี ห่างกันเยอะ และช่วงหลังๆ ไม่ได้เอาพวกนี้ไปเปิดดู ก็รู้สึกว่า การดูแลมันน้อยลง
  • ... ความจริงเราเน้นย้ำตลอด แต่ว่าการสัมผัส หรือการสื่อสาร เขาอาจจะได้ทางนี้น้อย เพราะฉะนั้น การแปรงฟันอาจจะยังไม่ค่อยดีเท่าไร
  • อันนี้ก็เป็นข้อตระหนักว่า ถ้าเราถอยจากเรื่องฟื้นฟู คุณภาพชีวิตแล้ว มาเป็นป้องกัน ส่งเสริมสุขภาพนี่ มันต้องอาศัยแรง ที่ไม่ใช่แรงพวกเรา
  • ... แรงพวกเราก็คงเป็นส่วนหนึ่ง แต่ว่าโดยหลักๆ แล้ว จะต้องใช้แรงของคนที่บ้าน หรือคนที่อยู่ใกล้ๆ บ้าน หรือคนที่อยู่ในชุมชน ที่เขาสามารถที่จะดูแลตัวเองได้ ตรงนั้น เป็นการกล่าวย้ำ
  • เคยสังเกตมั๊ยว่า เวลาที่ลูกๆ ของเรา ก่อนนอนลูกของเราจะเน้นให้แปรงฟัน ทุกคืนเลยนะครับ
  • ... แต่ลูกชาวบ้านเขาจะพูดอย่างนี้มั๊ยครับ คงมีบ้างนะครับ แต่ว่าคงไม้ย้ำ ไม่เน้นแบบพวกเรา
  • ตรงนี้ก็เลยเห็นชัดครับว่า ถ้าเราจะเน้น จะย้ำเรื่องสุขภาพนี่ จะต้องเน้นไปเรื่องของทัศนคติ Attitude เรื่องของความเป็นห่วง ความเข้าใจ เยอะเลย และจะพูดได้ทุกวัน ก็ต้องอินในเรื่องนี้พอสมควร
  • เพราะฉะนั้น สิ่งที่เราจะต้องไปกระตุ้น หรือไปส่งเสริมนี่ ก็คือ ทำยังไงที่จะไปให้บุคคล ครอบครัว เขาอินในเรื่องนี้ด้วย และผู้สูงอายุที่เป็นอีกกลุ่มหนึ่ง
  • ผู้สูงอายุที่ผมไปสัมผัส รู้สึกว่าจะไปที่ลำปาง คุณแม่พิศมัย และคุณพ่อกมล ซึ่งพอเราเข้าไปเยี่ยมสัก 2-3 ครั้ง และทีมพื้นที่เกาะติดดีนี่ คุณพ่อกมล ซึ่งเป็นประธานชมรมผู้สูงอายุ เขาก็อินเรื่องนี้ อินเรื่องฟัน พอวันที่ 7 ธันวาคม เขาก็จัดงานในชมรม และมีการประกวดฟันดีเกิดขึ้น ที่ชมรมผู้สูงอายุบ้านแจ้ห่ม มีหมอเก๋ หมอพลอยที่ไปเป็นกรรมการในวันนั้น
  • เห็นมั๊ยครับว่า พอเราไป contact ไปสร้างสิ่งแวดล้อม ไปกระตุ้นปุ๊บ ชาวบ้านเขาก็ทำเองได้ ตรงนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะสร้างภูมิคุ้มกันให้กับยุคเศรษฐกิจพอเพียงได้ดีทีเดียว ถ้าเรื่องของเรามีเหตุผล และเข้าไปทำ ทำแบบรู้เท่าทันมั๊ย ทำให้ชาวบ้านเขารู้จักสุขภาพของตัวเองมั๊ย ตรงนั้นเป็นหัวใจที่จะทำยังไงให้ชาวบ้าน หรือชุมชนเขาเองคุยกันต่อๆ
  • เขาบอกว่า การสื่อสารที่ดีที่สุดของในหมู้บ้าน หรือในชุมชน ก็คือ การพูด ปากต่อปาก คำต่อคำ และเจอกันที่ไหนก็พูดของเรา ทำยังไงให้เขาเจอกันก็ "เออ เป็นไง เอ็งแปรงฟันให้หลานหรือยัง" อะไรอย่างนี้นะครับ มันก็เข้าไปถึงวิถีชิวิตของเขาทีเดียว ตรงนี้ก็เป็นส่วนที่เราจะเข้าไปถึงใจของชาวบ้านได้ง่ายขึ้น ถ้าเราพูดภาษาในแต่ละภาคได้ ก็จะสร้างความสัมพันธ์ได้ง่ายขึ้นด้วย
  • สิ่งที่จะบอก ก็คือ การที่เราจะทำเรื่องป้องกัน การส่งเสริมสุขภาพนี่ มันจะต้องเข้าไปถึงในเรื่อง ทัศนคติ การกระตุ้น ครอบครัว ผู้คน ชุมชน ให้เขาตื่นตัว และสื่อสารกันในภายใน และจะทำให้งานของเราสามารถเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนตรงนั้นขึ้นมาได้
  • วันนี้คงจะเป็นโอกาสที่เราจะมาดูว่า ในบทของผู้ให้บริการ หรือสถานบริการนี่ ตั้งแต่ศูนย์อนามัย จนถึงจังหวัด จนถึง CUP และ PCU นี่นะครับ จะทำเรื่องสิทธิประโยชน์ จะทำเรื่องของ Clinical Practice Guideline ของผู้สูงอายุนี่อย่างไร ไปกระตุ้น เราจะเล่นบทของ Supportive เราจะเล่นบทของ Catalyst จะทำอย่างไร หรือในศูนย์อนามัยเอง
  • วันก่อนผมพบท่านรองอธิบดีกรมอนามัย รองฯ โสภณ และท่านได้ถามว่า ปี 2551 นี่ เราจะทำเรื่องของการ ลปรร. เรื่องของโมเดลในแต่ละศูนย์อนามัย จะเอาศูนย์หนึ่งไปดูอีกศูนย์ฯ หนึ่ง ก็มาถามผมว่า ของทันตฯ นี่ ศูนย์ฯ ไหนเชี่ยวชาญ ชำนาญเรื่องอะไรบ้าง ตอนนั้นผมตอบไวๆ ตอนนั้นก็บอกว่า มีครับ ศูนย์อนามัยที่ 1 กรุงเทพฯ บางเขน นี่ละครับ ไปดูได้เลย เรื่องของอนามัยแม่และเด็ก
  • ... ผมเจอหมอวี จาก ศูนย์อนามัยที่ 9 ก็บอกว่า แล้วศูนย์ฯ ผมละ ไม่เห็นเชียร์บ้างเลย ครับ ผมคงต้องเชียร์ทีละศูนย์ฯ พี่วร ศูนย์ฯ 4 ก็คงมีหลายเรื่องทีเดียว
  • วันนี้ก็หวังผลให้พวกเราได้มาดู Guideline ในด้านต่างๆ ในเรื่องของที่เราจะไปสื่อสารให้กับจังหวัดอื่นๆ เนื่องจากงบประมาณของในโครงการนี้ เป็นเรื่องของ Area-based อันนี้ก็เป็นความยุ่งยากของพวกเราอีกเรื่องหนึ่ง
  • ปีนี้ สปสช. เขาจัดวิธีการจัดสรรเงินเป็น 4 ก้อน ของ สปสช. ที่ว่า พี่ๆ และน้องๆ คงจะรู้กันแล้วว่ามีอะไรบ้าง
  • ... ก้อนที่หนึ่งจะเป็นก้อนที่ลงในส่วนกลาง ในกระทรวงสาธารณสุข ให้กรมวิชาการใช้เพื่อสนับสนุนในเรื่องต่างๆ
  • ... เงินก้อนที่สองจะไปลงที่ อบต. เขาใช้คำว่า Community based คือ ไปลงที่ อบต. ที่จัดตั้งเป็นกองทุนตำบลขึ้น ปี 2551 จะมีประมาณ 2,000 ตำบล นอกนั้นที่ยังไม่ตั้งเป็นกองทุนตำบล
  • ... เงินจะไปลงที่ CUP ที่ รพ. ระดับ CUP เป็นเงิน PP – Prevention and Promotion ซึ่งตรงนี้จะเป็นเงินที่ไปดูแลเรื่องของ ศพด. ไปดูแลเรื่องของการส่งเสริม เรื่องของโรงเรียน ซึ่งพื้นที่ก็ไปจีบ อบต.ได้
  • ... พอพูดถึง อบต. ที่สุพรรณ เมื่อ 2 ปีมาแล้ว มีน้องทันตาภิบาล เขาบอกว่า เขาไปจีบ อบต. ทุกวันเลย ได้เงินมาซื้อยูนิตมา 2 ตัว ไปใช้ที่ตำบล นี่ก็คงเป็นส่วนของ Community
  • ... อีกส่วนหนึ่ง ที่ไปที่ CUP ไปลงในเรื่องของ PP ที่เป็น Benefit package เช่น Vaccine, Family planing อะไรพวกนี้จะลงที่ CUP เลย
  • ... อีกส่วนหนึ่งคือ ลงที่ Area-based คือ ลงที่ สสจ.
  • สังเกตไหมครับ การจัดสรรเงินนี้จะจัดสรรให้เกิดประโยชน์ทุกส่วนเลย ตั้งแต่ส่วนกลาง ส่วนชุมชน ส่วน CUP ส่วน สสจ. ก็ได้กันหมดทุกคน ... ก็เลยทำให้งานของเราก็จะเป็นในเรื่องของ Area-based ขึ้น และโครงฯ นี้ ก็คือโครงการในเรื่องสิทธิประโยชน์ผู้สูงอายุ ก็จะต้องไป Defend ใน Area-based ด้วย
  • เมื่อ 2 อาทิตย์ เจอหมอยักษ์ที่บุรีรัมย์ เขาบอกว่า เขาโชคดี เขาเป็นคนจัดสรรงบประมาณเอง ตามที่ได้รับมอบหมาย เขาก็จัดสรรตามเดิม เพราะว่าเขาทำมาก่อน ดำเนินการอยู่แล้ง แล้วค่อยจัดสรรให้กลุ่มอื่นๆ
  • ที่อุบลฯ บอกว่า เงิน Area-based ของเขาได้ประมาณ 20 ล้าน ถ้าจัดสรรให้ Sealant แบบเดิมไม่ไหวนะ
  • ปีนี้ก็ขอให้ช่วยกันเก็บ record หน่อยว่า การจัดสรรแบบนี้มีผลกระทบกับงานอย่างไร ถ้ากระทบมากๆ เราก็คงต้อง Defend ไปอีกทีครับ เราคงจะต้องทำงานภายใต้ Evidence based คือ ข้อมูล มีเหตุมีผล ถ้าตัวเลขมันลดลงอย่างไร ก็บอกเขาไป
  • หมอมุนี ที่ขอนแก่น บอกแพทย์ใหญ่ว่า ให้ผมทำอะไรก็บอกมา ให้เงินเท่าไรผมก็ทำเท่านั้น อันนี้ก็เป็นวิธีคิดของหมอมุนี นักเลงดีมั๊ย
  • นี่ก็เป็นสถานการณ์ที่ผมคิดว่า แต่ละที่ไม่เหมือนกัน มีความแตกต่างกัน ซึ่งในแต่ละที่ก็ไม่เหมือนกัน ซึ่งถ้าเราสามารถมารวมกัน เก็บข้อมูล และ Feedback ไปเป็นเรื่องๆ ได้ ก็จะดี
  • เพราะฉะนั้น ถ้า 3 เดือน 6 เดือน เราเก็บข้อมูลกันสักนิดหนึ่ง ผมจะได้ Feedback ในที่ประชุมกรมฯ และขอให้ท่านอธิบดีช่วยคุยกับ สปสช. นะครับ ก็จะได้มากได้น้อยยังไง เดี๋ยวค่อยว่ากัน คือ ช่วยๆ กันไปนะครับ 

 

หมายเลขบันทึก: 154326เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2007 22:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 08:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท