ความรู้เรื่อง ผู้สูงอายุ


เป็นเรื่องที่น่าจะมีการทำเป็นความรู้ให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุ และผู้ที่เกี่ยวข้องได้เพิ่มพูนความรู้ เพื่อที่จะได้นำไปใช้ในการดูแลผู้สูงอายุได้

 

มีการคุยกันเพื่อที่จะทำคู่มือการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านที่มีความเจ็บป่วยกับ แพทย์ ทันตแพทย์ นักวิชาการ นักโภชนาการ นักจิตวิทยา จากกรมอนามัย กรมการแพทย์ กรมสุขภาพจิต และโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า (นนทบุรี)

มีหลายเรื่องที่เป็นทัศนคติ พฤติกรรม ความเชื่อของผู้สูงอายุ และเรื่องที่ควรแนะนำให้ความรู้ แก่ผู้สูงอายุที่อยู่ที่บ้าน อาทิเช่น

  • โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุที่ต้องดูแลกันที่บ้าน ก็คือ โรคความดัน โรคเบาหวาน ข้อเข่าเสื่อม และภาวะสมองเสื่อม ส่วนอาการของโรคก็จะมีในเรื่องของ อัมพาต อัมพฤกษ์ ที่เรื้อรัง และมี Parkinson’s และมีผู้ป่วย Dialysis
  • เรื่องมดขึ้นตัวคนไข้ เขาก็แก้ไขกันเอง โดยใช้แป้งโรยรอบเตียง
  • เรื่องสุขภาพฟัน ถ้าฟันเขาเจ็บนิดหน่อย เขาก็จะถอนเลย ไม่คิดเก็บไว้ เพราะว่า เขาอยากได้ฟันชุดใหม่ เขาบอกว่าฟันชุดใหม่สวย
  • การดูแลฟันให้ผู้สูงอายุ อาจทำได้ด้วยการเช็ดช่องปาก เช็ดฟัน เช็ดเหงือก หรืออาจมีเครื่องมือช่วย เช่น เครื่องพ่นน้ำในช่องปาก ใช้น้ำยาบ้วนปาก เพื่อช่วยกำจัดคราบจุลินทรีย์ และการบริหารกล้ามเนื้อช่องปาก และใบหน้า ซึ่งจะเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับอวัยวะในช่องปากได้
  • เรื่องส้วม ควรมีอุปกรณ์ที่คอยยึดเกาะ มีราวสเตนเลส พื้นห้องส้วมควรเป็นพื้นผิวไม่ลื่น ต้องสะอาด แห้ง เรื่องของแสงสว่างควรมีมากกว่าปกติ
  • เรื่องอาหารเฉพาะโรคในผู้สูงอายุ มี 5 โรค ที่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะเป็น และเกี่ยวข้องทางด้านอาหาร บอกไว้ว่า อาหารอะไรที่ควรรับประทาน ควรงด และมีแนวทางสำหรับการดำเนินการแก้ไขป้องกัน ในบางโรค เช่น เบาหวาน ความดัน หัวใจขาดเลือด เก๊าท์ ไขมันในเลือดสูง และข้อห้ามของคนที่ป่วยเป็นโรคนี้ ไม่ควรทานอะไรบ้าง
  • การออกกำลังกายในผู้สูงอายุที่ป่วย จะให้นอน ยกขา ยกแขน พลิก เปลี่ยนท่า มียก เหมือนหญิงหลังคลอด ถ้าเขาทำเองได้ให้พยายามทำ ญาติไปกระตุ้นเขา เราไปกระตุ้นต่อ
  • กรณีต้องกินยามาก และคนที่ป่วยไม่ได้เป็นคนจัดยาเอง ญาติเป็นผู้จัดให้ ปัญหาที่พบก็คือ ถ้าญาติไม่อยู่ เขาก็ไม่ได้กินยา เพราะยาที่ได้จะมีมาก

เรื่องเหล่านี้ก็คงเป็นเรื่องที่น่าจะมีการทำเป็นความรู้ให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุ และผู้ที่เกี่ยวข้องได้เพิ่มพูนความรู้ เพื่อที่จะได้นำไปใช้ในการดูแลผู้สูงอายุได้ต่อไป


ไม่มีรูป 27. ส่งเสริมสุขภาพ มช.รุ่น 17
เมื่อ อ. 22 ก.ค. 2551 @ 17:30
753851 [ลบ]

สวัสดีครับ ผมมาครั้งแรกครับ แต่ได้อ่านประเด็นของอาจารย์แล้วผมอยากจะขอเพิ่มประเด็นในส่วนของโรคที่พบบ่อยน่ะครับ จากที่ผมได้ทำงานและคลุกคลีอยู่กับข้อมูลผู้ป่วยวัณโรค ผมพบว่าแนวโน้มของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นวัณโรคมีอัตราเพิ่มขึ้นทุกปีนะครับ

และก็จะถูกครอบครัวทอดทิ้งให้อยู่คนเดียว หรือให้แยกออกไปอาศัยอยู่ในที่ที่แออัด ขาดการดูแลอ่ะครับ


หมายเลขบันทึก: 16852เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2006 23:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (33)
   มีงานวิจัยเกียวกับการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน  และการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมที่บ้านเพื่อความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุไทย ที่สกว.   น่าจะใช้ข้อมูลที่มาจากfact  findingในบริบทผู้สูงอายุไทยมาใช้ประโยชน์ในการเขียนคู่มือนี้นะคะ
ขอบคุณค่ะ อาจารย์

เรียนคุณหมอ ตามที่คุณหมอได้ตอบอาจารย์หมอวิจารณ์เรื่องการเขียนบทความ  "การจัดการความรู้ในกรมอนามัย" (ในภาพรวม)  เพื่อสรุปให้เห็นมีเส้นทางการจัดการความรู้  ในหน่วยงานมาอย่างไรบ้าง    

ตอนนี้ผมกำลังรวบรวมต้นฉบับเพื่อส่งต่อเพื่อทำ Artwork  เพื่อจะให้เสร็จในช่วงต้นเดือนมีนาคม นี้

หากคุณหมอเขียนเสร็จแล้ว  ผมรบกวนส่ง file บทความ  แยกรูปเป็น file ต่างหาก (สกุล jpg) รวมทั้งรูปของอาจารย์  ที่อาจารย์คิดว่าสวยที่สุดด้วยนะครับ   เพราะผมจะใช้ลงประกอบข้างๆชื่อผู้เขียนด้วยครับ   ส่งมาที่

[email protected][email protected]

ขอบคุณครับ

ธวัช  โทร 02-298 0664-8  ต่อ 221

เรียน สอบถามค่ะ ว่ามีที่โรงพยาบาลใดบ้างเปิด อบรม ดูแลผู้สูงอายุ

เพราะว่าที่บ้านมีผู้ใหญ่ที่อายุมากแล้วค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

 จะขอความกรุณาส่งที่ อยู่ด้านล่างได้ไหมคะ

[email protected]

อ่านแล้ว เอ๊ะใจที่ จริงๆแล้ว บริบทเมืองไทยในเรื่องนี้ (ทัศนคติ พฤติกรรม ความเชื่อของผู้สูงอายุ)  ณ ตอนนี้ ไม่ต่างจากเมืองแวนคูเวอร์เท่าไหร่เลยค่ะ

แต่ถ้าลองคิดถึง cohort กลุ่มที่กำลังจะสูงอายุในอีก 5-10 ปีนี่ คงต่างกันมากพอสมควร

มัทว่างานแลผู้สูงอายุในอีก 10 ปีข้างหน้านี่ หนักเอาการเลยค่ะ

ลองนึกถึงผู้สูงอายุที่มี ครอบฟัน มีสะพานฟัน  มีฟันที่อุดมานาน หรือเอาแค่ว่ามีฟันเหลือเยอะขึ้น พออายุมาก มีโรคประจำตัวมาก ทานยาเยอะ ปากแห้ง แปรงฟันเองไม่ได้ แต่ไม่มีคนแปรงให้ ไม่มีหมอไปดูที่บ้าน ออกมาหาหมอไม่ไหว ไม่รู้ว่าตัวเองมีปัญหาหรืออาจไม่เห็นความสำคัญ ปล่อยไว้จนปัญหาใหญ่เกินแก้ หรือ แก้ยาก

กรณีแบบนี้เริ่มมีให้เห็นมากขึ้นทุกวันที่แวนคูเวอร์ค่ะ งานทันตกรรมในปากคนไข้ซับซ้อนขึ้น แต่ ร่างกายคนไข้ก็ป่วยด้วยโรคทางระบบมากมายเหมือนเดิม

เห็นแล้วก็อดคิดไม่ได้ว่า รักษาดูแลกันมาตั้งนาน เสียเงินเสียเวลาไปเท่าไหร่ ท้ายที่สุดก็ตกม้าตาย เพราะไม่มีคนดูแล hygiene 

เหมือนมาบ่นเลยนะคะ ขอนิดนึงค่ะ : ) 

 

 

 

หมอมัทนา คะ ไปเยี่ยมเยียนพวกเราชาวสาธารณสุข และผู้สูงอายุเที่ยวนี้ ก็ได้เห็นกิจกรรมที่ทำกันมากขึ้นค่ะ เพราะส่วนหนึ่งผู้สูงอายุต้องการ มีส่วนร่วม และเริ่มรู้จักเรื่องสุขภาพ บทบาทของตัวเองเพิ่มขึ้น ... ทันตบุคลากรของเราก็เห็นความสำคัญของสุขภาพช่องปากมากขึ้น ไม่ทำแต่เพียงการให้บริการรักษา แต่กระโดดไปเข้าชุมชน หาเพื่อนร่วมงานในพื้นที่ และช่วยกันทำมากขึ้นค่ะ

2 วันนี้ ได้ไปทางอีสาน พื้นที่ของจังหวัดชัยภูมิ บุรีรัมย์ ผู้สูงอายุก็เข้มแข็ง และมีส่วนร่วมในกิจกรรม เช่นกันค่ะ

ราชการ หรือผู้เกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้สูงอายุนี้ ควรต้องวางบทบาท เป็นผู้ช่วยเหลือ ช่วยสนับสนุนที่ดี ก็น่าจะทำให้ผู้สูงอายุเห็นความสำคัญของการดูแลตนเอง และช่วยเหลือชุมชนได้ด้วยต่อไปละค่ะ ... ต้องดูกันต่อไปว่า จะเป็นรูปธรรมได้จริงหรือไม่นะคะ

อาจารย์หมอมัทนา กลับมา ก็มาช่วยกันนะคะ

 เรียน คุณหมอนนท์

 ดิฉันสายใจ ปัจจุบันนี้ทำงานที่กลุ่มอนามัยผู้สูงอายุ สำนักส่งเสริมสุขภาพ วันนี้ได้เข้ามาอ่านข้อมูลต่างๆ ใน http://gotoknow.org ของคุณหมอ แล้วเผอิญได้เข้าไปอ่านที่คุณหมอสรุปประเด็นในการประชุมเรื่องผู้สูงอายุที่ รร.ริชมอนด์ คุณหมอสรุปได้ดีมากคะ อ่านเข้าใจง่ายดีคะ ถ้าทางกลุ่มอนามัยผู้สูงอายุจะขออนุญาตินำข้อมูลที่คุณหมอสรุปมาใช้ประกอบให้สรุปรายงานการประชุมของกลุ่มนะคะ

 ในการนี้ต้องขอขอบพระคุณคุณหมอที่กรุณาสร้าง เว็บไชด์และนำข้อมูลของอนามัยผู้สูงอายุมาลงเพื่อเผยแพร่งานอนามัยผู้สูงอายุให้เป็นที่รู้จัก

 

ขอขอบพระคุณคุณหมอมา ณ ที่นี้ด้วย

ด้วยความนับถือ

ตัวแทนกลุ่มอนามัยผู้สูงอายุ

28/03/2550

ต้องการทราบรายละเอียด ผลกระทบจากการย้ายถิ่นต่อผู้สูงอายุค่ะ

เรื่องนี้ ไม่มีข้อมูลเลยค่ะ คุณสุวรรณี

อาจารย์หมอครับ

บันทึกนี้ น่าประหลาดใจ ดีใจ ที่มีผู้มาเยี่ยมถึง สี่พันกว่า น่าทึ่งมากเลยนะครับ

ผมดีใจประเด็นผู้สูงอายุ ได้รับความสนใจ และงานด้านนี้จะได้รับการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ

ไม่ค่อยเชื่อเลยค่ะ เป็นไปได้หรือคะ คุณเอกจตุพร  ไม่เคยดูตัวเลขนั้นเลย

... ตอนนี้ ได้ฟังเรื่องผู้สูงอายุเยอะมาก และน่าสนใจขึ้นเรื่อยๆ ค่ะ ก็เลยพยายามถ่ายทอดสิ่งที่ได้ฟัง หรือรู้มาให้ผู้สนใจได้รู้ค่ะ ฟังใครเขาบรรยาย ก็ in กับเขาทุกทีเลยละค่ะ ... อนาคตผู้สูงอายุต้องได้รับบริการที่ดีค่ะ (แฮะ แฮะ ... เตรียมรับวัยเราเองมังคะ)

  • ผมสนใจเกี่ยวกับผู้สูงอายุครับ
  • จะคอยติดตามอ่านนะครับ
  • ยินดีค่ะ Mr_Jod ... ติดตามอ่านของอาจารย์ด้วยเหมือนกัน เรามา ลปรร. กันนะคะ
  • พอดีช่วงนี้ได้ไปฟังเรื่องผู้สูงอายุมากขึ้นในหลายๆ ด้าน ก็เลยนำมาเผยแพร่เพื่อเป็นข้อมูลความรู้ให้กับ ผู้ที่อาจนำไปใช้ประโยชน์ในงานของตัวเองได้ค่ะ
  • ถ้าหลายส่วนให้ความสำคัญ และช่วยกันหาวิธีการส่งเสริม ช่วยเหลือผู้สูงอายุ ก็จะเป็นสังคมที่อบอุ่นมากนะคะ
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณหมอ

สนใจข้อมูลในบล็อคความรู้เรื่องผู้สูงอายุค่ะ

อยากจะขออนุญาตเอาไปลงบล็อกในพันทิพ พร้อมลิงค์ได้มั้ยคะ

เพราะอยากรวมรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้สูงอายุค่ะ  ส่วนหนึ่งก็เพราะต้องดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน สี่คน  วัยเลขเจ็ดเลขแปดกันแล้ว

และคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนพันทิพที่ต้องดูแลคนแก่น่ะค่ะ  อยากเขียนแล้วก็รวบรวมแบบไม่เน้นคำวิชาการมากนัก เลยอยากขอความกรุณาคุณหมอค่ะ

 ขอบพระคุณค่ะ

 

  • ยินดีอย่างยิ่งค่ะ คุณ amitambien ... สิ่งที่บันทึกไว้ในนี้ หวังให้ทุกท่านได้นำไปใช้ต่อยอด ให้เกิดประโยชน์อยู่แล้วละค่ะ
  • โอ้ โห ต้องดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ตั้ง 4 คน เลยหรือค่ะ ... น่ารักจังเลย
  • ดูแล้ว ผู้สูงอายุที่บ้านคงมีความสุขนะคะ เพราะไม่ได้อยู่คนเดียว มีเพื่อนคุย และก็มีผู้ดูแลที่น่ารักด้วย

It is very good for me and every body

จำหน่ายรถขับเคลื่อนด้วยพลังงานไปฟ้า เหมาะกับผู้สูงอายุ ราคาไม่แพง ติดต่อได้ครับ  086-3319867  เชน

กระทู้นี้น่าสนใจมากเพราะว่าผู้สูงอายุเป็นปูชนียบุคคลที่ต้องให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ..ตอนนี้ผมกำลังทำ thesis  ป.เอกด้านนี้อยู่ถ้ามีอะไรก็ขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยนะครับ

ผู้สูงอายุในชนบทกำลังต้องการความช่วยเหลือดูแลหลายด้านครับ...ทั้งสุขภาพกาย   จิตใจ(ความเหงา  ว้าเหว่  กังวลระคนกับความคิดถึงบุตรหลานที่จากไปทำงานต่างถิ่น  ไม่มีวันรับรู้เลยว่าเมื่อใหร่จากลับมาพร้อมหน้ากันอีก??)  สังคมที่เปลี่ยนไป   อารมณ์  สิ่งแวดล้อม..
  • ยินดีค่ะ คุณสุพัฒน์
  • ตอนนี้ในพื้นที่ มีผู้ร่วมจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ร่วมกับผู้สูงอายุมากมายเลยค่ะ

อาจารย์ครับ ช่วยอธิบาย ความหมายของคำว่า

ภาวะหลังวัยเจริญพันธุ์ เเละผู้สูงอายุหน่อยครับ

  • ขอเวลาสักหน่อยนะคะ คุณ clockco
  • เพราะว่า ดิฉันเป็นทันตแพทย์ค่ะ ขอไปหารือ นักวิชาการอนามัยการเจริญพันธุ์ก่อนนะคะ ว่า มีประเด็นไหนที่น่าสนใจ นำมาเล่าสู่กันฟังดีค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ ที่สนใจ
วันวันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม 255107.30 น.                                พร้อมกัน ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร ศูนย์วิทยบริการกรุงเทพมหานคร08.00 น.                                เดินทางออกจากกรุงเทพฯ สู่จังหวัดอยุธยา                                                รับประทานอาหารเช้าบนรถ ชุดอาหารกล่อง (แซนวิช + น้ำส้ม)10.00 น.                                ถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยานำชมวัดสมณโกฎฐาราม วัดแห่งแม่นมของพระสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ชมพระปรางค์ศิลปะขอม เจดีย์ทรงระฆัง ไหว้พระเจ้าตากสินมหาราช10.30 น.                                ชมวัดสุวรรณดาราราม รัชกาลที่ 1 ทรงสร้างอุทิศให้บิดามารดา ชมภาพเขียนสีจิตรกรรมฝาผนังแสดงพระราชประวัติของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชฝีมือยอดเยี่ยมงดงามมากมีชื่อเสียงโดงดัง สักการะต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่ รัชกาลที่ 5 ทรงนำมาจากประเทศอินเดียและกราบนมัสการพุทธสารีริกธาตุ11.30 น.                                รับประทานอาหารกลางวันที่ร้านคุ้มกรุงศรี13.00 น.                                เข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา สัมผัสเครื่องทองคำบริสุทธิ์ที่                                                ที่ขุดพบจากกรุพระปรางค์วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะและวัดพระราม นมัสการ                                                พระบรมสารีริกธาตุ บรรจุในผอบ 7 ชั้น ที่มีความศักดิ์สิทธิ์มาก14.45 น.                                วัดเสนาวนาราม นมัสการพระพุทธรูปสำคัญ พระสัมพุทธมุนี พระพุทธ-                                                ไสยาสน์สลักจากศิลา ยาว 14 ม. และพระอินทร์แปลงจากเวียงจันทร์16.00 น.                                นำชมวัดพุทไธศวรรย์ เดิมเป็นตำหนักเวียงเหล็กของพระเจ้าอู่ทอง มนัสการ                                                พระปรางค์ขอม พระพุทธรูปศักสิทธิ์ พระพุทธบาท เรือสำเภาพระพุทธ                                                โฆษาจารย์ สักการะขอพรจากองค์พ่อจตุคามรามเทพ เทพคุ้มครอง ปกปัก                                                รักษาเมืองสิบสองนักษัตร นครศรีธรรมราช อัญเชิญ โดยพระอาจารย์โชติ17.00 น.                                รับประทานอาหารเย็นบนเรือ ร้านอาหารเรือนรับรอง19.00 น.                                ออกเดินทางกลับสู่กรุงเทพฯ โดยสวัสดิภาพ
  • จะชวนไปเที่ยวด้วยหรือเปล่าคะ คุณ "เจ้าหน้าที่มน" ... กำหนดการน่าสนใจค่ะ 
ส่งเสริมสุขภาพ มช.รุ่น 17

สวัสดีครับ ผมมาครั้งแรกครับ แต่ได้อ่านประเด็นของอาจารย์แล้วผมอยากจะขอเพิ่มประเด็นในส่วนของโรคที่พบบ่อยน่ะครับ จากที่ผมได้ทำงานและคลุกคลีอยู่กับข้อมูลผู้ป่วยวัณโรค ผมพบว่าแนวโน้มของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นวัณโรคมีอัตราเพิ่มขึ้นทุกปีนะครับ

และก็จะถูกครอบครัวทอดทิ้งให้อยู่คนเดียว หรือให้แยกออกไปอาศัยอยู่ในที่ที่แออัด ขาดการดูแลอ่ะครับ

  • ขอบคุณค่ะ คุณ "ส่งเสริมสุขภาพ มช.รุ่น 17"
  • น่าสนใจค่ะ ... ควรให้การดูแลเพิ่มขึ้นจริงๆ ก็เลยเอาไปเพิ่มในเนื้อหาด้านบนด้วยนะคะ

ดิฉันทำงานด้านการดูแลพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการสูงอายุค่ะ อ่านบทความของท่าน และผู้ร่วมแสดงความคิดเห็นแล้วได้รับประโยชน์มากค่ะ

  • ได้เลยค่ะ คุณ pan
  • ยินดีที่ได้รู้จัก เอาเรื่องเล่าผู้พิการสูงอายุ มาเล่าให้ฟังกันบ้างนะคะ จะได้ดูแลท่านถูกวิธี

pop มากค่ะพี่หมอนนท์ รู้สึกดีใจที่ความรู้ที่เรียนมาจะได้ใช้

มันเพิ่งไปเข้า seminar เรื่อง organization of long-term care ของผู้สูงอายุมาเมื่อวานนี้เอง ของเราเริ่มช้ากว่าแคนาดาแต่น่าจะทำได้ดี เพราะมีบทเรียน แล้วเราก็นับถือผู้สูงอายุ มีความเคารพนอบน้อม น่าจะมีอะไรดีๆเกิดขึ้นในบ้านเราในอนาคตค่ะ : )

  • ขอบคุณค่ะ หมอมัท
  • พี่เพิ่งไป ลปรร. กับผู้ทำกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุภาคใต้มา
  • ทำให้รู้สึกว่า ไม่น่ากังวล เพราะว่า กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ หรือสุขภาพช่องปาก ในชมรมผู้สูงอายุ ที่ไหนก็น่าจะเหมือนกันหมด สามารถทำได้ คิดว่า อยู่ที่บุคลากรค่ะ ว่าจะเปิดงานนี้หรือไม่เท่านั้นเอง
  • ปีหน้าจะมีงานวิชาการ เหมือนกับเป็นการฟื้นฟูความรู้ให้กับบุคลากรค่ะ ต้องเชิญหมอมัท แน่เลยนะคะ
ศิริวรรร์ เกตุอุไร

น้ำว่านหางจระเข้ผสมน้ำลูกยอ

คุณสมบัติ ข้อมูลผลการวิจัย ของ ดร.ราฟ ไฮเนกี นักชีวเคมี ชาวอเมริกันพบว่า การดื่ม “น้ำลูกยอ” เป็นระยะๆอย่างต่อเนื่อง ช่วยลดอาการเจ็บป่วยของโรคต่อไปนี้

มะเร็ง 78 % โรคหัวใจ 80 % เบาหวาน 83 % โรคอ้วน 72 % สูบบุหรี่ 58 % ความดันโลหิตสูง 87 % โรคภูมิแพ้ 85 % ระบบย่อยอาหาร 80 % นอนไม่หลับ 72 % โรคไต 66 % โรคเครียด 71 % โรคซึมเศร้า 77 % เสริมกล้ามเนื้อ 71 % อารมณ์ดี 79 % ความคิดมึนตื้อ 89 % ปวดข้อ ไขข้ออักเสบ 80 % เรี่ยวแรงไม่มี 91 % อาการเจ็บปวดต่างๆ 87 % อัมพาต 58 % สมองไวขึ้น 73 % ตาลายกันไปเลยใช่มั๊ยคะ

ดื่มได้ทุกวันทั้งก่อนและหลังอาหาร(ดื่มก่อนอาหาร ช่วยให้รับประทานอาหารได้ และดื่มหลังอาหาร เพื่อช่วยการย่อย) ช่วยปรับสมดุลให้แก่ร่างกาย ควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือด

การดื่มน้ำลูกยอสามมารถดื่มได้มาก – น้อยตามความต้องการ เพราะสารเซโรนีนในลูกยอ จะถูกกักตุนไว้ในตับ และเมื่อร่างกายต้องการสารเซโรนีน ตับจะขับสารนี้ออกมาช่วยให้อาการเจ็บป่วยลดน้อยลงหรือหายเร็ว

สารเซโรนีนจะเป็นตัวควบคุมการทำงานของต่อมทั้งหลายในร่างกาย เช่น ต่อมไทมัสเกี่ยวข้องกับหัวใจ ต่อมหมวกไตเกี่ยวข้องกับอารมณ์ความเครียดฯ ผ่านการวิจัยจากกระทรวงสาธารณสุขเรียบร้อยแล้ว ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมยินดีค่ะ

วิธีรับประทาน

ในกรณีดื่มเข้มข้น ใช้ขนาด 1 ถ้วยเปค(ประมาณ 25 – 30 ซีซี) หากต้องการดื่มแบบเจือจาง ให้ผสมน้ำสุกในอัตราส่วน 1 : 3 แล้วเติมน้ำตาลทรายให้หวานตามต้องการ จะใส่น้ำแข็งด้วยก็ได้ ดื่มวันละ 1 – 2 แก้ว ตามต้องการ

ต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ คุณศิริวรรณ์ เกตุอุไร รหัสสมาชิก 0222 ผู้แนะนำทีมงาน

T.089-1472119 , 081-3572162

www.eternallife999.com, www.eternallife.co.th

“ ขอเชิญ ผู้มั่งหวังทุกท่านที่สำนักงาน ลาดพร้าว 122 แยก 9 แล้วพบกันนะค่ะ”

“ ขออภัยที่ส่งข้อมูลมาก่อนโดยไม่รับอนุญาติ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท