20 จว. 120 หน่วยงานนำร่อง (21) ผลพวงจากการประชุมกลุ่ม


ทั้งหมดตรงนี้ การที่เราทำ เราหวังผลเพื่อประชาชน ส่วนหนึ่งผู้ทำกับประชาชน ควรจะ win-win เจริญก้าวหน้าไปด้วยกัน เพราะฉะนั้น ถ้าเราตั้งใจมาทำงานนี้ด้วยกัน ก็ต้องวางแผนว่า สิ่งที่ทำจะเอาไปใช้ประโยชน์อะไร

 

การประชุมครั้งนี้ ตบท้ายรายการด้วยการแบ่งกลุ่มคุย ปรึกษาหารือกัน ในเรื่อง แนวทางการจัดบริการ และสนับสนุนบริการในพื้นที่ ก็ได้เรื่องราวการเตรียมการมาเล่าสู่กันฟังในหลายวิธีการ ชั่วโมงนี้ คุณพวงทอง ผู้กฤตยาคามี เป็นผู้นำสรุปเรื่องเล่าให้ที่ประชุมฟังกันในภาพรวมค่ะ

โครงการนี้เราทำเพราะอะไร

เราคงรู้กันดีอยู่แล้ว ว่า เรื่องของฟันเทียมนี้ เป็นการแก้ที่ปลายเหตุ สำคัญก็จริง แต่เป็นการแก้ที่ปลายเหตุ และเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า จึงได้มีความพยายามที่จะทำในเชิงการป้องกัน เพราะบทบาทของเราก็คือ การป้องกัน และส่งเสริมสุขภาพ เพราะฉะนั้นตัวโครงการนี้ ถ้าฟังแล้ว ตอนต้นจะเห็นว่า ที่เราหวังมากในโครงการนี้ ก็คือ การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ในการดูแลสุขภาพช่องปาก และหวังต่อว่า จะได้ดูแลสุขภาพช่องปากในเรื่องของการดูแล กับการจัดระบบ และสำคัญที่การจัดระบบจะไปเกี่ยวข้อง กับ PP Area Based และกับงบต่างๆ

วันนี้ก็ผ่านมาครึ่งปีแล้ว ก็มาดูกันว่ากลุ่มที่นำเสนอ เขาทำ หรือเตรียมทำอะไรกันบ้างแล้ว

กลุ่มหมอลิ้ม

  • เป็นทีมของศูนย์อนามัยที่ 3 บอกว่า มี 3 จังหวัดดำเนินการ คือ นครนายก สมุทรปราการ และปราจีนบุรี ศูนย์ฯ ก็จะเป็นตัวกลาง ตัวช่วย
  • ในเขตนี้ที่ฟังไม่มีปัญหาในเชิงของโครงการ แต่ระดับ หรือระนาบของโครงการอาจจะมีต่างกัน ตั้งแต่เริ่มต้นเห็นโครงการ กับบางส่วนก็มีโครงการแล้ว เห็นตัวเงินแล้ว แต่ก็ขับเคลื่อนไปสู่การเตรียมดำเนินการ
  • มีความต้องการในเรื่องแบบฟอร์ม คือ ระบบรายงาน
  • และศูนย์ฯ เขตก็ได้มีการวางแผนว่า พอทำไปได้สักระยะ ก็จะมาแลกเปลี่ยนกันว่าทำไปได้แค่ไหนแล้ว และนำมาปรับปรุงร่วมกัน

กลุ่ม 1 เป็นพื้นที่ของศูนย์อนามัยที่ 8 บอกว่า

  • คลองลาน ทำ 9 CUP จัดสรรตามขนาด CUP มีแบบฟอร์ม ดำเนินงานแล้ว ไม่มีปัญหาเหมือนกัน
  • กลุ่มนี้จะเห็นความพยายามไปร่วมมือกับภาคีเครือข่าย คือ ร่วมมือกับฝ่ายส่งเสริม และมี อสม. เข้ามาช่วยในเรื่องของการจัดกลุ่มเป้าหมาย และทำการวัดส่วนสูง ความดัน
  • ในเรื่องของช่องปาก ก็จะเป็นทันตแพทย์ และน้องทันตาฯ ก็จะมา motivate เพื่อให้เข้าสู่ระบบของการบริการส่งเสริมป้องกัน ก็คือเรื่องของขูดหินน้ำลาย
  • และการเตรียมการในขั้นต่อไป ก็คือ เรื่องของการประเมินตัวกลุ่มเป้าหมายต่อว่าเป็นอย่างไร

กลุ่มของศูนย์อนามัยที่ 6 ขอนแก่น

  • มีการอนุมัติโครงการแล้ว จะจัดประชุมชี้แจงพื้นที่
  • และทีมจังหวัดก็อาจร่วมกันออกตรวจ โดยการระดมทีมกันไป

กลุ่ม 8 ประกอบด้วย พื้นที่ของศูนย์อนามัยที่ 7 ได้แก่จังหวัดศรีสะเกษ อำนาจเจริญ และศูนย์อนามัยที่ 11 ประกอบด้วยศูนย์ฯ 11 เอง และสุราษฎร์ธานี

  • หมอเส็งมาเล่าให้ฟังค่ะบอกว่า ... สุราษฎร์ ตั้งเป้าหมายไว้เยอะ และบอกว่า งบฯ ไม่ใช่เรื่องสำคัญ การทำงานเน้นบูรณาการ น่าสนใจ
  • ศรีสะเกษ ตรวจไปแล้ว และได้จัดซื้อ Probe ไว้ใช้เองเพื่อการตรวจด้วย
  • อำนาจเจริญ เป็นเรื่องของการสมัครเข้าโครงการ เป็นเรื่องของ Attitude ที่ค้นหา และเจอโครงการ และขอสมัครเข้าร่วมโครงการเองเลย โดยไม่ต้องรอให้ชักชวน

ของแถม ต้องมี tricks ของหมอเส็งมาเล่าให้ฟังสักเล็กน้อย เพื่อเพิ่มอรรถรสละค่ะ เพื่อเพิ่มเสียงฮา ค่ะ (มันไม่ค่อยเกี่ยวกับเรื่องสักเท่าไรนะคะ) ... สำนวนเธอกินขาด

  • ผมถือไมค์เป็นประจำ ตอนเล่นเพศศึกษาเป็นอาจิณ สัปดาห์ที่แล้ว สอนเรื่องเพศศึกษา มีโจทย์ที่น่าหนักใจกว่านั้นอีก ปกติสอนเด็ก ม.ต้น รร.เทศบาล ใส่ถุงยางอนามัยก็ใช้แตงกวา อาทิตย์ที่แล้วไปสอนเด็ก รร.สอนคนตาบอด มันก็ต้องคลำน่ะสิ มันส์มาก ... ก็เป็นประสบการณ์อีกอย่างหนึ่งที่มนุษย์ช่องปากเราไปอยู่ที่ช่องอื่น
  • การกระทำเหล่านี้ เรื่องงบประมาณไม่ใช่ปัญหา ... ผมจำหมอกมลที่น่าน เขาบอกว่า ยุทธศาสตร์ที่ดีที่สุด คือ เงินต้องเอากระเป๋าเพื่อน นั่นละถูกต้อง ตัวเองเก็บเอาไว้ก่อน เอาไว้ตอนฉุกเฉินจำเป็น นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่เขาสามารถของบฯ ได้ และเอา รพ.มาช่วย
  • อำนาจเจริญเขาค้นหาโครงการนี้ใน net ครับ และโทร. มาสมัคร ที่กองฯ เอง ซึ่งเป็นเรื่องที่แปลกมาก เพราะว่าปกติต้องรับคำสั่งลงมา และส่งไป แต่ที่นี่เปิดใน net และไปขอเอง แสดงว่า มีฉันทะในใจ
  • รายการที่ ITV สัมภาษณ์คุณบัณฑิต ว่า ทำไมถึงประสบความสำเร็จ เป็นวาทยากรระดับโลก เขาบอกว่า ข้อ 1 คุณต้องมีความรักในงานของคุณ ข้อ 2 คุณต้องมีพรสวรรค์ในนั้น และข้อ 3 คุณต้องทำสิ่งเหล่านี้เพื่อสังคม ... อิอิ อันนี้เข้าท่าหน่อย
  • ตอนฟัง ผอ.ประกาศข่าว เรื่องเล่าบ่ายนี้ บอกไม่ได้งบฯ ฟันเทียม เหมือนจะเป็นลม นั่งคลื่นไส้อาเจียน นั่งข้างหลัง แอร์ก็ไม่เย็น นั่งพัด พอ ผอ. บอกไม่ได้งบฯ ฟันเทียม จะเป็นลม ... มาตื่นเอาอีกทีตอนคุยกับ ผอ. ถามว่า นี่เรื่องจริงหรือครับท่าน ผมไม่ได้ฝันใช่ไหม นี่ผ่านไปแล้ว 7 เดือน ผมจะไปคุยกับน้องเขาอย่างไร ทำกันเป็น 10 แล้ว ฟันเทียมน่ะ มีเอกชนด้วย โอย ... ก็ยังหนาวๆ สั่นๆ กันอยู่ครับ แต่ว่าเราจะทำครับ แม่ไม่ได้ตังค์ก็ตาม เราจะทำครับ เพื่อพ่อแม่พี่น้องประชาชนชาวไทย ผู้สูงอายุในจังหวัดของเราครับ (เบอร์ 2 ครับ)
  • ... เราไม่ห่วงเลยในเรื่องพวกนี้ งานที่เราคุยกันอยู่นี้ อีกหน่อยมันก็คืองานประจำ อีกหน่อยมันก็คือ งานที่เราต้องทำ เพียงแต่ทางกองฯ ได้กรุณามากระตุ้นเตือนให้เรา เออ เออ เออ ... อีกหน่อยเราก็ต้องทำตรงนี้ด้วย ไม่ใช่แต่ปั๊มฟันอย่างเดียว เราต้องทำส่งเสริมด้วย และทำให้มันควบคุมกำกับไป เพื่อให้กลุ่มงานผู้สูงอายุของกองทันตฯ สบายใจครับ ... อิอิ ขอบคุณ ขอบคุณ
  • หมอเส็งย้ำก่อนจบ ... เรื่องนี้เราไม่ใช่ปัญหา บอกแล้วว่า ไม่มีเราก็จะทำ แต่ทำเท่าที่ทำได้ อิอิ ... แล้วทุกงานที่ทำ หลักการของเราก็คือ บูรณาการไปกับงานประจำ หาใช่ไปเพิ่มงานให้มากกว่าเดิมไม่ หาใช่เป็นการทำให้พี่น้องชาวสาธารณสุข หรือทันตาภิบาลในอนามัย เดือดร้อนไปมากกว่าเดิม ก็ไม่ เราทำทุกอย่างให้เป็นธรรมชาติ และธรรมชาติเหล่านี้ก็จะมาขึ้นผลงาน มอบให้กองทันตฯ ขอบคุณครับ
  • นำมาเล่าสู่กันฟัง ด้วยความชื่นชมในวาทะศิลป์ของคุณหมอเส็งค่ะ

 ศูนย์อนามัยที่ 4 หมอยุ้ยบอกว่า

  • ถึงแม้จะมีปัญหาเรื่องค่าตอบแทนก็ตาม แต่ในกลุ่มที่มาตรงนี้มีความรู้สึกอยากพัฒนารูปแบบ เพราะฉะนั้น งบฯ มันก็คงเป็น PP Area Based และโยกงบบริหารมาช่วยด้วย ก็เป็นไปตามระบบแต่ยังไม่เป็นมาตรฐาน
  • ของท่านัด กำลังเตรียมการ มีการประชุมชี้แจงในเรื่องสหวิชาชีพ มีพยาบาลเข้ามาเกี่ยวข้อง มีอยู่แห่งเดียว เป็นการประสานงานผ่านชมรมผู้สูงอายุ ในลักษณะที่เตรียมการ ค้นหารายชื่อผู้สูงอายุ และประสานว่าจะเขียนโครงการอย่างไร และจะดำเนินการต่ออย่างไร
  • และเสนอให้กองฯ ช่วยในเรื่องของการขอ Probe หรือขอยืม เพราะจะต้องใช้

หมออนุรักษ์จากสตูลมาเล่าให้ฟังว่า

  • ของสระบุรี กำลังเขียนโครงการ
  • ตรังเขียนของบฯ PP Area Based
  • สตูล อนุมัติโครงการแล้ว และจะไปสัมพันธ์กับโครงการชมรมผู้สูงอายุต้นแบบ
  • ทั้งหมดนี้ บอกว่า กองฯ จะไปติดตามเมื่อไรก็ได้เช่นกัน

โดยรวมของกลุ่มทั้งหมดที่เรามาแลกเปลี่ยน ถึงแม้เราจะจัดดำเนินงานไม่เหมือนกัน แต่ว่าโดยรวมเรากำลังอยู่ในขั้นของการจัดการบริการส่งเสริมฯ กันอยู่ และเตรียมตรวจ ซึ่งเป็นเรื่องของแบบฟอร์ม หลายที่ก็ได้สะท้อนเรื่องแบบฟอร์มว่า ยังไม่ได้ ขณะที่บางที่ได้แล้ว พอตรวจก็คงไปตามเล่มคู่มือ

สิ่งที่เสนอต่อ ก็คือ ในปี 2551

  • มันเหมือนแทบทำอะไรไม่ได้แล้ว เพราะเราเหลือเวลาทำงานแค่ 6 เดือน ความล่าช้าไม่ได้อยู่ที่เรา มันอยู่ที่ตัวโครงการใหญ่
  • ปกติโครงการที่เราทำอาจจะต้อง 2-3 ปี ถึงจะเห็นเป็นรูปร่าง หรือรูปแบบ
  • เพราะฉะนั้นพอเป็นรูปร่าง หรือรูปแบบ สิ่งที่เราเห็น และสะท้อนมาพวกเราคงต้องเตรียมงบประมาณ ปี 2552 ไว้ ว่า เราจะขอเงินปี 2552 อย่างไร ขอ PP Area Based หรืออะไร ก็คงต้องเตรียมการไว้ล่วงหน้า
  • คุณหมอล้า จาก สสจ. หนองคาย ก็จะรู้ระบบเรื่องนี้ค่อนข้างชัด เพราะฉะนั้น ในการคุย การจัด การเตรียมโครงการ อาจจะคุยแลกเปลี่ยนข้ามเขตก็ได้ เพื่อการเตรียมการในเรื่องงบประมาณ
  • ขณะเดียวกัน ในส่วนที่ศูนย์ฯ จะไปช่วยได้ ก็คือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งตรงนี้จำเป็นต้องมี ... เพราะว่า ปกติที่ดู โครงการนี้ถึงแม้กลุ่มผู้สูงอายุทำขึ้นมา แต่ทำในแง่ของการมานั่งคุย ถึงเหตุผลความจำเป็นในการให้ และเรื่องเงินจะเป็นเรื่องของพื้นที่เองด้วยซ้ำ ... เพราะฉะนั้น การที่จะมาร่วมโครงการกับตรงนี้ก็คือ เราจำเป็นที่จะมาร่วมกัน เอาสิ่งที่พวกเรามี มาแลกเปลี่ยน และมาดูกันว่า จะเกิดรูปแบบในการพัฒนาอย่างไร จะไม่เหมือนโครงการสมัยก่อนๆ แล้ว ที่ว่าจะเป็นเรื่องของ Vertical ไป เพราะฉะนั้น ตรงนี้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นความจำเป็น เพื่อที่จะได้รู้สภาพว่าตอนนี้เป็นอย่างไร

สิ่งที่หวังจากโครงการนี้ คือ

  • สามารถจัดระบบบริการตามชุดสิทธิประโยชน์ได้ ... ซึ่งล็อกเข้าไปในเรื่องหลักการของ สปสช.
  • แล้วพื้นที่ในเชิงสุขภาพช่องปากนี้ เราดูแลผู้สูงอายุเรา โดยการจัดระบบได้ไหม ... ในปี 2551 เราก็คาดกันว่า ในพื้นที่ที่เรามาคุยกันนี้ พอท้ายปี หรือต้นปีหน้า เราสามารถจะบอกได้ว่า มีระบบอะไร อย่างไร เราอาจสรุปได้ระดับหนึ่ง
  • ถ้ามีการลงไปบริการในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยระบบอาจวัดได้ ว่าความพึงพอใจผู้รับบริการมีแค่ไหน และสิ่งที่จะต้องรู้ต่อไป คือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง พึงพอใจแค่ไหน
  • ประสิทธิผลในการลดการสูญเสียฟัน ... จะบอกว่า สิ่งที่ทำนี้ต้องทำนาน จึงจะรู้ว่า มีการลดการสูญเสียฟันจริงหรือไม่ อย่างไร
  • แล้วถ้าอยากได้เรื่อง ต้นทุน-ประสิทธิผล / ต้นทุนต่อหน่วยบริการ ตรงนี้ก็จะยากไปอีก ว่า จะเก็บข้อมูลอย่างไรตั้งแต่ต้น เอามาวิเคราะห์ยังไง ไม่ใช่ทำมาแล้วค่อยมาเก็บ จะต้องเตรียมตั้งแต่ต้น
  • ระบบบริการที่ยั่งยืนและพัฒนา ... ท้ายที่สุด ก็ไม่รู้ว่าจะได้หรือเปล่า ... ตัวใครตัวมันตรงนั้นละ

ทั้งหมดที่พวกเราทำกันมาในครึ่งปี จากระบบ เตรียมตรวจ เตรียมติดตาม ของบประมาณ เตรียม ลปรร. กันนี้ ทั้งหมดสิ่งที่สำคัญคือ

  • ถ้าพวกเราจำเป็นต้องทำโครงการในระยะกลาง สิ่งที่เราต้องเตรียมการที่สำคัญที่สุด คือ สถานการณ์ของสิ่งที่เราทำ เราต้องเตรียมการไว้ เพราะนั่นคือข้อมูล เพื่อที่เราจะได้ไป defend งบประมาณในการดำเนินงานต่อไปในปีหน้า เป็นสถานการณ์ของผู้สูงอายุที่จะต้องใช้ เขาก็คงจะไม่ได้บอกว่า ปีหน้าเขาจะให้เราอีก
  • อันที่สอง ข้อมูลในเรื่องงาน ความก้าวหน้าของสิ่งที่เราทำนี่ ทำแล้วได้ผลลัพธ์อะไร ต้องเตรียม เพื่อนำไปใช้ต่อ
  • อันที่สาม ในระหว่างนั้น เราต้องการข้อมูลที่มันชัดในเชิงลึกขึ้นไป ซึ่งก็จะเป็นการที่จะไปทำในระบบใหญ่ต่อ เช่น ไปขอเพื่อที่จะตั้งเป็น Unit หรืออะไร ในเรื่องต้นทุนประสิทธิผล ต้นทุนต่อหน่วย สิ่งนั้นก็ต้องเตรียมคิด
  • อันที่สี่ คือ ทั้งหมดตรงนี้ การที่เราทำ เราหวังผลเพื่อประชาชน ส่วนหนึ่งผู้ทำกับประชาชน ควรจะ win-win เจริญก้าวหน้าไปด้วยกัน เพราะฉะนั้น ถ้าเราตั้งใจมาทำงานนี้ด้วยกัน ก็ต้องวางแผนว่า สิ่งที่ทำจะเอาไปใช้ประโยชน์อะไร น้องๆ คงต้องเตรียม ว่า เมื่อไรเข้าแท่ง เลื่อนระดับ อาจจะต้องใช้ จึงต้องเตรียมเรื่องข้อมูล การวิเคราะห์ การวิจัย สิ่งนั้นเมื่อทำเสร็จ ก็นำมาทำในเรื่องของการเผยแพร่ และทำในเรื่องของผลงานได้ด้วย
  • ทั้งหมดที่พูดนี้ มันจะได้มาจากการแลกเปลี่ยน ได้จากการถามพี่ๆ ที่กองฯ

บทสุดท้ายนี้ ปิดท้ายรายการด้วย หัวหน้า Project ค่ะ ทพญ.สุปราณี ... เธอบอกล่วงหน้าไว้ว่า

  • ในส่วนของโครงการนี้ ปรากฎในสิทธิประโยชน์ที่ประชาชนได้รับอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าประชาชนยังไม่ได้รับบริการจริงๆ เท่านั้นเอง ฟันเทียม 3 ปีแรกที่เรารณรงค์มา ก็ทำให้ผู้สูงอายุได้รับบริการเพิ่มขึ้น อันนี้ก็เช่นเดียวกัน ไม่ใช่ว่าไม่มีงบฯ แต่อยู่ในรายหัวอยู่แล้ว
  • ถึงจะไม่มีโครงการนี้ไปปรากฎใน PP ปีหน้า จังหวัดก็สามารถเขียนโครงการเพื่อพัฒนางานของเราต่อได้
  • สิ่งที่กองฯ จะกลับไปทำต่อยอดให้ ก็คือ แบบรายงานเพื่อการเบิกจ่ายของจังหวัด บางที่อาจเบิกจ่ายจาก รพ. หรือ สสจ. แล้วแต่การบริหารจัดการภายในจังหวัด
  • การติดตามประเมิน จะเชิญประชุมกลุ่มเล็กๆ ว่า จะติดตามกันในประเด็นไหนบ้าง
  • ช่องทางการตืดต่อสื่อสารของคือ ผ่านเวป ร่วมคืนรอยยิ้ม แก่ผู้สูงวัย ... http://dental.anamai.moph.go.th/oralhealth/elderly/ ...
  • ประมาณ สค. หรือ กย. อาจเชิญมาร่วมกัน ลปรร. กันว่า กลับไปทำแล้ว เกิดอะไรขึ้นบ้าง เพื่อที่จะปรับกันต่อไปให้ดีขึ้น
  • ด้วยความขอบคุณทุกคนที่ให้ความสนใจในโครงการนี้ค่ะ

รวมเรื่อง 20 จว. 120 หน่วยงานนำร่อง

 

หมายเลขบันทึก: 181784เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2008 19:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท