ร่วมปฏิบัติภารกิจกับ สพช. (9) Day Care ที่ศูนย์สิรินธร


"การที่นำคนหลายๆ คนมารวมกัน ก็จะทำให้เขาได้รู้สึกว่า เขาไม่ได้ป่วย เป็นการสร้างแรงจูงใจ เขาก็จะแข่งกัน อย่างคุณลุงที่เป็น ผอ. เขาก็จะบอกว่า อีก 2 เดือน เขาจะหาย เขาก็จะมีการสร้างแรงจูงใจของเขา และจะให้กำลังใจซึ่งกันและกัน แข่งกันไหมว่า ใครจะหายก่อนกัน และเราก็จะต่อยอดกันไปเรื่อยๆ"

 

คุณธนาภรณ์ รตานนท์ จากศูนย์สิรินธรฯ มาเล่าเรื่องกิจกรรมผู้สูงอายุที่ได้ทำ ให้ฟังกัน

น้องเล่าว่า งานที่ทำ เป็นงานที่ทำในโรงพยาบาล ผู้สูงอายุที่เข้ามาก็จะเป็นผู้สูงอายุที่มีอาการป่วยด้วย ผู้ป่วยในที่นี้ ส่วนมากก็จะเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต

จุดประสงค์ที่ก่อตั้งงาน Day care ขึ้นมา เพื่อแบ่งเบาภาระผู้ป่วยจากงานกายภาพบำบัด และกิจกรรมบำบัดของศูนย์ฯ เพราะว่า จะมีผู้ป่วยบางคนมารักษาต่อเนื่องกัน 5-6 ปี ทำให้ทางแผนกที่รักษาไม่สามารถรับผู้ป่วยใหม่ได้ จะวนทำอยู่แต่คนไข้รายเก่า ซึ่งจริงๆ แล้วผู้ป่วยกลุ่มนี้ เป็นกลุ่มที่ได้รับการ maintain ไว้ไม่ให้ทรุดไปมากกว่านี้ เพราะว่า ถ้าอยู่บ้านก็จะนอนเฉยๆ ไม่ได้ออกกำลัง ไม่ได้ฝึก จึงตั้งงาน Day care ขึ้นมา เพื่อถ่ายเทผู้ป่วยตรงนี้ discharge ออก เพื่อที่จะได้รับผู้ป่วยใหม่

เมื่อ 2 มิย.51 Day care เริ่มเปิดบริการ เกณฑ์รับผู้ป่วย คือ 1. เป็นผู้สูงอายุ 2. จะมีอาการทาง stroke ก็ได้ หรือเป็นผู้สูงอายุทั่วไปก็ได้ และ 3. ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรง เช่น วัณโรค และไม่มีภาวะอัลไซเมอร์ และมีสภาวะทางการแพทย์คงที่

การบริการต่อวัน แบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงเช้าเป็นการรักษาทางกายภาพบำบัด ทำกิจกรรมบำบัด แต่การรักษาที่ให้ไม่ได้เป็น Intensive เหมือนฝ่ายรักษา จะเน้น maintain มากกว่า ส่วนตอนบ่าย จะเป็นกิจกรรมช่วงบ่ายของแต่ละวัน 5 วัน ก็ 5 อย่าง ตอนนี้ที่ set ไว้ก็คือ

  • วันจันทร์ เป็น กีฬาเบาๆ สำหรับผู้ป่วย
  • วันอังคาร เป็น Health Talk พูดคุยเรื่องสุขภาพ ให้ความรู้ และเล่นเกมเบาๆ บนโต๊ะ เช่น โดมิโน
  • วันพุธ เป็นกิจกรรมทำอาหาร ให้ผู้ป่วยได้ทำอาหารร่วมกัน
  • วันพฤหัส เป็นดนตรีบำบัด
  • วันศุกร์ เป็นศิลปะบำบัด

รายละเอียด คือ

  • ตอนเช้าของทุกวัน 9.30-10.00 น. จะมี Morning exercise มีผู้นำออกกำลังกาย
  • กิจกรรมด้านกีฬา มีวิ่งผลัด แต่คนไข้จะเดินเร็วมากกว่า คือ อ้อมตัวกันไป ถ้าวิ่งช้าก็คือ ให้พี่เลี้ยงเข็น แต่คนไข้ก็จะได้ฝึก, วิ่งเก็บของ เก็บใส่ตระกร้า, ปาเป้า เพื่อสร้างแรงจูงใจ ให้เขารู้สึกว่า เขาทำได้ เขาไม่ใช่คนป่วย, และที่ผ่านมาจะมีโยนห่วง โบว์ลิ่งสมมติ
  • วันอังคารเป็น Health talk คนไข้ก็จะสนใจ ความรู้เรื่องสุขภาพ ก็จะขอถ่ายเอกสารกัน
  • วันพุธ เป็นกิจกรรมการทำอาหาร ที่แผนกจะมีห้องใหญ่ เป็น Floor exercise เครื่องมือการรักษาต่างๆ ในห้องซอยย่อยๆ มีห้อง locker สำหรับให้คนไข้เก็บของ ดูแลตัวเอง ถือกุญแจเอง มีห้องครัว ก็จะมีเป็นเตาไฟฟ้า และมีช่องให้ Wheel chair เข้าได้ ให้คนไข้ไปประกอบอาหารได้ เพราะว่า คนไข้บางคนตั้งแต่ป่วยจนหาย เป็นระยะเวลา 2 ปี เคยเป็นแม่บ้าน ไม่เคยจับตะหลิว ไม่เคยจับกระทะอีกเลย เพราะด้วยความฝังใจว่า ตัวเองเป็นคนป่วย เป็นผู้สูงอายุด้วย เขาก็ได้กลับมาทำกับข้าวอีกครั้งหนึ่ง เขาก็จะมีความมั่นใจ
  • วันพฤหัสจะเป็นดนตรีบำบัด จะมีห้องคาราโอเกะให้คนไข้ได้ร้องเพลง มีเพลงเก่าๆ เตรียมไว้ให้ แต่ตรงนี้จะต้องใช้เวลา คนไข้ตั้งแต่มาอยู่กับเรา 4 เดือน เพิ่งยอมร้องเพลงครั้งแรก เขาก็จะดีใจด้วย ที่ว่าตัวเขาร้องได้ เป็นการพัฒนาด้านอารมณ์ ด้านจิตใจไปด้วย จะมีเกม เป็นบอลร้อน ที่ได้ดนตรีประกอบ ฝึกการทำงานระหว่างตากับมือ
  • วันศุกร์ จะเป็นศิลปะบำบัด ช่วงแรกที่เราเปิด เราก็ยังได้รับงบประมาณที่ไม่เพียงพอ ก็จะเป็นกิจกรรมที่ใช้งบฯ น้อยหน่อย เป็นวาดภาพระบายสี ที่ใช้งบฯ ไม่มาก

แต่ตอนนี้พอเราเริ่มมีกิจกรรมทำอาหาร เราก็จะนำอาหารที่ได้ไปจำหน่ายภายในศูนย์ฯ คนไข้ก็จะเฉลี่ยเงินจ่ายกันเอง เงินเหลือก็จะเอาเงินตรงนั้นมาหมุนเวียนทำกิจกรรมศิลปะกัน ก็จะได้ของที่มีมูลค่ามากยิ่งขึ้น แล้วก็นำกิจกรรมศิลปะไปจำหน่ายอีก เกิดการหมุนเวียนเงิน คือ พึ่งพาตนเองได้ ไม่ต้องของบประมาณ

ตอนนี้มีคนไข้ประมาณ 28 คน จะมารับบริการเฉลี่ยวันละ 10-15 คน จะผลัดเปลี่ยนกันมา เพราะว่าบางคนมีหมอนัดตรวจที่อื่น บางคนมาวันเว้นวัน พักอยู่บ้านบ้าง

จะมีประมาณ 5-6 คน ที่มาทุกวัน คนไข้เราก็จะหลากหลาย มีทั้งเป็นข้าราชการเกษียณ เป็นดอกเตอร์ เป็นผู้อำนวยการ รร. จนถึงระดับชาวบ้านธรรมดาก็มี เขาก็จะได้มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน แต่คนไข้บางคน จะใช้การสอบถามญาติๆ ว่า เมื่อก่อนนี้เขาเงียบๆ ไม่คุย แต่มาอยู่ที่นี่จะคุยเก่งขึ้น ได้มาคุยกับเพื่อนว่า ตอนป่วยเริ่มป่วยเป็นยังไง เป็นแล้วหายขึ้น อาการเป็นยังไง ก็แลกเปลี่ยนกัน ถ่ายทอดประสบการณ์กัน

การจ่ายเงินคิดราคาเป็นเหมาจ่ายต่อวันละ 400 บาท คนไข้ไปกลับ เปิดบริการตั้งแต่ 8.30-16.00 น. คล้าย Nursery แต่จะมีการรักษาร่วมไปด้วย คนไข้ที่รับถ้า Independent แล้วก็ไม่ต้องมีพี่เลี้ยง แต่ตอนนี้ก็ยังมีคนไข้ที่เจาะคออยู่ ต้องมี suction ก็ต้องมีพี่เลี้ยงมาช่วยดูแลในการขับถ่าย และอื่นๆ

เราจะมีห้อง มีเตียงให้คนแก่นอนพักได้ การร่วมกิจกรรมทุกอย่างจะเป็นตามความสมัครใจ แต่ก็ไม่ค่อยมีคนนอนพัก

ในแผนก จะมีเป็นทีมสหวิชาชีพ แพทย์ พยาบาล กายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด ผู้ช่วยเหลือคนไข้อีก 2 คน ที่จะประจำอยู่ที่งานนี้ เป็นงานใหม่ที่เพิ่งเปิด ที่จะต้องปรับเปลี่ยนอะไรไปเรื่อยๆ

การทำกิจกรรมตรงนี้จะลำบากสักหน่อย เพราะว่าผู้สูงอายุไม่ใช่ผู้สูงอายุที่ปกติ จะมี Disability มีอุปสรรคนิดหนึ่ง บางคนยืนเอง บางคนเดินเองก็ยังไม่สะดวก ต้องมีคนคอยพยุง ส่วนมาก 70% ที่จะต้องมีคนคอยช่วยเหลือ แต่บางคนก็มาเป็นคู่กันก็มี เช่น คุณลุงป่วย คุณป้าตามมาด้วย

อนาคตคิดจะทำโครงการที่จะดึงศักยภาพของคนไข้ออกมา บางคนเป็น ดร. ให้เขานำสิ่งต่างๆ ที่เขามีประสบการณ์ออกมา ตอนนี้โครงการที่ทำ เป็น Buddy จับคู่กัน วันไหนใครไม่มาให้ติดตามว่าเป็นอย่างไร

สำหรับการนำสิ่งที่ทำอยู่ลงไปถึงชุมชน ก็ยังไม่เป็นรูปธรรม เพราะว่าเราทำยังไม่เข้มแข็งพอ ตอนนี้จะมีคุณลุง ที่เป็น ผอ. ที่ต่างจังหวัด แกจะมารักษาที่นี่ 2 เดือน และกลับไปบ้าน 1 เดือน แกมาเล่าว่า ได้นำความรู้ที่ได้จากการดูแลสุขภาพตรงนี้ไปเผยแพร่ มาเล่าให้ฟัง

และได้เขียนโครงการลงชุมชนเพื่อทำในปีนี้ แต่ยังไม่ได้ทำ จะสร้างคนไข้ให้เข็มแข็งก่อน และจะพากันไปทั้งหมด ทั้งเจ้าหน้าที่สหวิชาชีพ และคนไข้ที่พอจะดูแลตัวเองได้ ไปลงชุมชนในละแวกศูนย์ กิจกรรมแรกที่จะให้ทำ คือ ให้คนไข้ถ่ายทอดประสบการณ์ การป่วยของตัวเองให้ผู้สูงอายุในชุมชน จะได้ประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งผู้สูงอายุในชุมชน และคนไข้ของเราเองด้วย เขาจะได้มีความมั่นใจ เป็นผู้นำ มีประสบการณ์ และผู้สูงอายุจะได้เห็นว่า คนป่วยก็ยังดูแลตัวเองได้ จะนำ กีฬา ดนตรี ศิลปะ ที่ทำไปลงชุมชน

น้องบอกว่า ในความคิดต่อการทำงานของน้อง ก็คือ "การที่นำคนหลายๆ คนมารวมกัน ก็จะทำให้เขาได้รู้สึกว่า เขาไม่ได้ป่วย เป็นการสร้างแรงจูงใจ เขาก็จะแข่งกัน อย่างคุณลุงที่เป็น ผอ. เขาก็จะบอกว่า อีก 2 เดือน เขาจะหาย เขาก็จะมีการสร้างแรงจูงใจของเขา และจะให้กำลังใจซึ่งกันและกัน แข่งกันไหมว่า ใครจะหายก่อนกัน และเราก็จะต่อยอดกันไปเรื่อยๆ"

การตั้งตรงนี้ตอนแรก เราทำ Inclusion criteria แล้ว แต่ยังไม่มี discharge criteria เพราะว่า เรายังไม่มีเครื่องมือที่จะมาวัดเป็น scale ได้ ว่าคนไข้ดีขึ้นอย่างไร เพราะคนไข้มาอยู่ที่เรา เขาก็เพิ่มมาได้อีกนิดหนึ่ง ก็สุดของเขาแล้ว มีแต่ว่า maintain ไม่ให้เขาทรุดลง ตอนนี้ยังใช้การสังเกตกันอยู่ เป็นการสังเกตการเปลี่ยนแปลงว่า เขามั่นใจมากขึ้น และถ้ามีคนใดคนหนึ่งหายไป ก็จะถามถึงกัน เป็นห่วงเป็นใยกัน เริ่มมีการรวมกลุ่มกันมากขึ้น และกล้าแสดงออก กล้าทำอะไรที่เขาไม่เคยทำมากขึ้น

ที่ใช้อยู่ปัจจุบัน เป็นแบบประเมิน Depression แต่ว่าคนไข้ที่เข้ามาส่วนใหญ่ก็ไม่ได้มีภาวะ depress อยู่แล้ว จะมีบ้าง แต่ไม่ถึงขนาดที่จะวัดออกมาได้

ที่นี่จะไม่เหมือนกับแผนกที่เขามา เพราะว่าเขาจะรับคนไข้เป็นรอบๆ คนไข้ก็จะอยู่ 1 ชม. มาแล้วก็กลับ จะไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างกัน ... ตรงนี้ จะเป็นเหมือนคุณลุงคุณป้ามาบ้านเรา เราก็ต้อนรับ มีการแต่ง Office และนัดกันใส่เสื้อตามสีวัน ทั้งคนไข้ ทั้งเจ้าหน้าที่ กำลังจะทำ Cleaning day วันจันทร์แรกของเดือน ให้ทำความสะอาดบ้าน

รวมเรื่อง ร่วมปฏิบัติภารกิจกับ สพช.

   

หมายเลขบันทึก: 224936เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2008 18:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • เข้ามาอ่านแล้วรู้สึกดี
  • ที่มีกลุ่มงานพี่พยายามช่วยผู้สูงอายุอย่างจริงจัง
  • แบบนี้ถ้าเราแก่ไป
  • คงไม่ลำบากแล้ว...อิอิ
  • แต่ทำการบ้านหน่อยนะคุรหมอ
  • เดี๋ยวน้องดาวมาเห็น
  • ต้องคัด 10 รอบ  เอิ๊กๆๆๆ
  • วันพฤหัส เป็นดนตรีบักบัด
  • วันศุกร์ เป็นศิลปะบำบัด
  • ตาย ตาย ตายแล้ว เจ๊ P
  • ผิดได้ไง ฮึ ดู 4 ตา แล้วนา
  • ดีนะ น้อง P ยังไม่มา เธอมัวแต่ไปเปลี่ยนรูปให้ผ่าน comment อยู่ อิอิ
  • แม่หมอครับ
  • มีกิจกรรมครบทุกวันเลย
  • น่าสนใจมาก
  • วันจันทร์ เป็น กีฬาเบาๆ สำหรับผู้ป่วย
  • วันอังคาร เป็น Health Talk พูดคุยเรื่องสุขภาพ ให้ความรู้ และเล่นเกมเบาๆ บนโต๊ะ เช่น โดมิโน
  • วันพุธ เป็นกิจกรรมทำอาหาร ให้ผู้ป่วยได้ทำอาหารร่วมกัน
  • วันพฤหัส เป็นดนตรีบำบัด
  • วันศุกร์ เป็นศิลปะบำบัด
  • จะส่งพี่เขี้ยวไปนะครับ
  • อิอิๆๆ
  • อ้าว นึกว่าตัวเอง P
  • ... จะไปชิมบรรยากาศ ... ส่งป้าไปเสียนี่
  • น้องเขาน่ารักน๊ะ ขอบอก ... เสียดายไม่ได้ถ่ายภาพมาให้ชม
  • ทีมนี้ ที่สิรินธรฯ กลุ่มนี้ เขาบอกว่า ยังวัยละอ่อนกันทั้งนั้นเลยจ้า
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท