สุขภาพช่องปากที่สัมพันธ์กับโรคทางระบบ (19) ทำงานกับผู้สูงอายุ ตอนที่ 2 ตัวเลขของอายุเป็นสิ่งบ่งบอกความชรา ?


"ความชรา ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ความชราเป็นความสวยงาม เขาคือคนๆ หนึ่งที่ เป็นต้นไม้ที่มันเติบใหญ่มาอย่างสง่างาม ... และต้นไม้แต่ละต้นก็ไม่เหมือนกัน มีความสวยงามเฉพาะของแต่ละต้น แล้วเราก็พยายาม ตั้งแต่ในช่วงที่อาจารย์กลับมา เราก็พยายามที่จะหาคนที่เห็นความสวยงาม แบบเดียวกันเรา"

 

1. ตัวเลขของอายุเป็นสิ่งบ่งบอกความชรา

อ.พิช เริ่มก่อน

... อายุเป็นเพียงตัวเลข ใช่มั๊ยคะ ... จริงๆ แล้ว เวลาที่เราบอกว่า คนสูงอายุ เอ๊ อายุเท่าไร อาจารย์ พี่แก่หรือยัง ถึงวัยชราหรือยัง จะเกษียณได้หรือยัง จริงๆ แล้ว ขึ้นกับว่า เรามองนิยาม ตามลักษณะอย่างไร ทางชีววิทยา ทางประชากรศาสตร์ ทางการจ้างงานทางสังคมวิทยา แต่ถ้าดูในการวิจัยทั่วๆ ไป สิ่งที่คนส่วนใหญ่จะเห็น ก็คือ เขาจะกำหนดอายุเอาไว้ที่ประมาณ 60-65 อันนี้ต่างกันไปในแต่ละงานวิจัย และก็ต่างกันไปในแต่ละประเทศ

คนก็ถามว่า ทำไมทางสหรัฐอเมริกา หรือประเทศอังกฤษ หรือยุโรป กำหนดไว้ที่ 65 เพราะว่า ของเขามีความชราน้อยกว่าของเราหน่อย อายุขัยเฉลี่ยของเขาค่อนข้างจะสูงกว่าของเรา ถ้าเผื่อว่า เขากำหนดอายุเกษียณเอาไว้ ว่า ผู้สูงอายุต้องเกษียณที่อายุ 60 แล้ว ประเทศเจ๊งนะคะ เพราะว่าจะต้องมีคนเยอะมากเลยที่รัฐบาลของประเทศที่พัฒนาแล้ว ต้องเลี้ยงดู เพราะว่าบางคนจะอยู่กันนานมาก บางคนก็อยู่กันจนถึงอายุ 90 ปี เขาก็เลยขอเขยิบขึ้นมาอีก 5 ปี ก้แล้วกัน เอารุ่นแบบ ไม่ไหวจริงๆ ก็เลยตัดที่ 65

อ.มัท เสริมว่า ... ที่แคนาดา เมื่อปีที่แล้วนี้เอง 65 ก็ไม่ต้องหยุดทำงานด้วยค่ะ

อ.พิช ... ใช่ เขาก็พยายามจะยืดอายุขึ้นไปอีกละค่ะ ไม่งั้นเขาเจ็งหมด ขนาดตัดที่ 65 ระบบประกันของสหรัฐฯ ยังจะเจ๊งเลย เพราะว่าคนอายุยืนมาก

อ.มัท ... อันนี้เป็นอีกนิยามหนึ่ง เป็นตอนที่มัทอยู่ที่แคนาดา มัทจะทำงานตามโรงพยาบาล เขาจะมีหอพักผู้ป่วยผู้สูงอายุที่แยกไปเลย สำหรับผู้ป่วยที่อยู่กันนานเป็นเดือน หรือเป็นปี เขาก็จะมีบ้านพักคนชราด้วย จะมีป้ายนี้ติดอยู่ข้างหน้าตลอด เกือบจะทุกโรงพยาบาล

เพราะว่านิยามของผู้สูงอายุที่เขาต้องการให้บุคลากรทางการแพทย์ เห็นภาพอยู่ในใจคืออย่างไร คือ

อ.พิช ... ที่นี้ เราเริ่มมี concept แล้ว เรารู้จักแล้วว่า ผู้สูงอายุคืออะไร "เขาเป็นบุคลากรที่มีศักยภาพ" เคยมีคนเดินมาถามอาจารย์ ว่า มาเรียนทำไมเนี่ยะ geriatric นี่ ซ้ายก็แก่ ขวาก็แก่ นะคะ มี นศพ. (นักศึกษาแพทย์) บางคน เรียกประชดนะคะ เอ๊ะ คลินิกเราก็คลินิก พ่อจ๋า แม่จ๋า นะ ... อาจารย์ก็บอกว่า อาจารย์มีความรู้สึกว่า จริงๆ แล้วนี่ "ความชรา ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ความชราเป็นความสวยงาม เขาคือคนๆ หนึ่งที่ เป็นต้นไม้ที่มันเติบใหญ่มาอย่างสง่างาม ... และต้นไม้แต่ละต้นก็ไม่เหมือนกัน มีความสวยงามเฉพาะของแต่ละต้น แล้วเราก็พยายาม ตั้งแต่ในช่วงที่อาจารย์กลับมา เราก็พยายามที่จะหาคนที่เห็นความสวยงาม แบบเดียวกันเรา" มีไม่เยอะนะคะ นักศึกษาแพทย์ 150 อาจจะมี 1 หรือ 2 คน และก็สาขาอื่นๆ ไม่ต้องพูดถึง เราก็พยายามมอง

วันนี้ ดีใจมากที่ได้มีโอกาสเจอกับหนูมัท เพราะว่า เป็นอะไรที่อาจารย์ตามล่าหามานาน หมอฟันในฝัน ที่จะช่วยทำฟันให้กับผู้สูงอายุ ค้นมาจนพลิกแผ่นดินนี่แล้ว ... แกเพิ่งกลับมา ได้ 3 เดือน ให้เราหาอยู่เสีย 3 ปี ... อาจารย์พบว่า การดูแลผู้สูงอายุเป็นความสุข และเป็นความสนุกอย่างหนึ่ง

ถ้าอย่างไสล์ ของหนูมัทที่บอกเมื่อกี้นี้ ก็คือ เขามีความสวยงาม และก็เขามีประสบการณ์ที่น่าสนใจ ลองฟังชีวิตของแต่ละคนนะคะ อาจารย์เชื่อว่า แต่ละคนเขียนหนังสือได้เป็นเล่มหนึ่งละค่ะ ของทุกๆ คน ของผู้สูงอายุ

กลับมาดูในเรื่องของสังคมไทย สิ่งที่เกิดขึ้นของสังคมไทย ณ ปัจจุบัน อาจารย์ไม่แน่ใจ ว่า รุ่นสาวๆ แบบนี้ เกษียณอายุอาจจะไม่ได้เกษียณที่ 60 แล้วนะคะ ... คุณอาจจะเกษียณอายุที่ 65 เพราะว่าคุณสาวเกินไป มีคนมากระซิบบอกว่า อ.พิช เป็นข้าราชการ หรือเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย อาจารย์ก็บอกว่า โอ๊ย พี่ รุ่นพิชน่ะ มันไม่มีแล้ว ข้าราชการมันหมดไปตั้ง 4-5 ปี ก่อนหน้าที่พิชจะกลับมาแล้วพี่ มันมีแต่พนักงานมหาวิทยาลัย ... จริงหรือเปล่า อาจารย์รู้หรือเปล่าว่า พนักงานมหาวิทยาลัย เกษียณที่ 65 ... อ้าว ตอนทำสัญญาเขาไม่ได้บอกเรานี่ ว่าเกษียณที่ 65 ... จริงหรือพี่ ... เขาว่ากันว่าอย่างนั้น ... ไม่ได้ละ หนูต้องไปคุยกับคณะบดี ก็ 60 เหมือนเดิม ... ณ ปัจจุบันนี้เราตัดกันที่ 60 นะคะ

เราพบว่า ในแต่ละปีที่ผ่านไปนี้ ประชากรไทย (อ้างอิงสไลด์ของ อ.สิรินทร เมื่อเช้าได้นะคะ) อาจารย์บอกว่า คุณมีชัย ช่วยให้เราคุมกำเนิด ใช่ไหมคะ ขณะเดียวกัน กราฟก็ป้านขึ้นนะคะ เราพบว่า ผู้สูงอายุจะมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่คนดูแล เด็กใน generation นี้ จะน้อยลงเรื่อยๆ และจะมีรุ่น generation ที่เราเรียกว่า ขนมปังแซนวิช คือ รุ่นอย่างนี้ คือ สาวๆ สวยๆ ที่มีลูกน้อย ก็จะดูแลคุณพ่อคุณแม่ด้วย กำลังอายุเข้าสู่วัยสูงอายุ generation นี้เรียกว่าเป็น generation แซนวิช คือเป็นไส้มาทำแซนวิช ประกบหัวกับท้ายด้วยขนมปัง อายุน้อยกับอายุเยอะ ด้านละอัน

เราพบว่า อีกไม่กี่ปีข้างหน้า 2568 คนไทย ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีผู้สูงอายุมากเป็นลำดับที่ 5 อย่างทวีปเอเชีย คือ 14 ล้านคน ไม่น้อยเลย เราถึงต้องเตรียมกันตั้งแต่วันนี้

อ.มัท ... นี่เห็นกันชัดๆ เลยนะคะ ในกราฟ มันจะไประเบิด เช่น ในปีนี้ คือ ใกล้ๆ ตัวเลข 2553 มันจะเริ่มระเบิดแล้ว ความน่ากลัวของมันไม่ใช่ปริมาณ แต่เป็นความเร็ว อัตราความเร็วที่จำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้น

การใช้อายุแบ่งตามเกณฑ์ ท่านรองฯ ได้พูดไปแล้วเมื่อเช้าทีหนึ่ง ก็คือ แบ่งได้อีกเป็น อายุสูงวัยตอนต้น ตอนกลาง และตอนอายุมาก การแบ่งก็จะใช้ตัวเลข ที่จะมีข้อเสียเปรียบนิดหน่อยคือ ถ้าเป็นตัวเลขเท่านี้ ปุ๊บ เราจะไปตัดสิทธิท่าน ไม่ให้ทำอะไร หรือไม่ได้รับอะไรบางอย่าง งั้นอีกอย่างหนึ่งที่จะให้ดู ก็คือ ดูที่ความสามารถในการทำหน้าที่ ว่า ท่านยังสามารถทำหน้าที่ในสังคมอยู่ได้หรือเปล่า

ความสามารถที่จะทำหน้าที่ของผู้สูงอายุนี้ เวลาที่มักลดลง ความจริงส่วนที่ลดลง หรือ ความชรา หรือเพราะสูงวัย จริงๆ มันเป็นแค่ 1 ส่วน 3 เราต้องมาดูให้ดีว่า อีก 2 ส่วน 3 มันแบ่งเป็นโรค หรือการที่ไม่ได้ไปใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นทั้งสมอง หรืออื่นๆ

รวมเรื่อง สุขภาพช่องปากที่สัมพันธ์กับโรคทางระบบ

 

หมายเลขบันทึก: 246566เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2009 18:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

อายุ บอกถึง ประสบการณ์ ครับ

  • P
  • เช่น อ. JJ  ในอนาคตใช่ไหมคะ
  • ภาพนี้ ที่ไหนคะ อาจารย์ ... แบบว่า จินตนาการกว้างไกล

สวัสดีค่ะ บันทึกดีจังเลยค่ะ ขอบคุณนะคะที่มาให้ได้เรียนรู้คะ

  • P
  • อาจารย์ทั้ง 2 ท่าน คุยกันแบบหนุกหนานมากเลย
  • ก็เลยอยากเอาบรรยาย มา ให้ผู้อ่านได้ซึมซับค่ะ
  • จะได้มีทัศนคติที่ดีกับ ผู้สูงอายุกันมากขึ้นๆ
  • ขอบคุณค่ะ

พอลล่าเคยได้ยินผู้สูงอายุท่านหนึ่งพูดว่าวัยของท่านเป็นวัยแห่งประสบการณ์ค่ะ อ.โกมาตรท่านว่า คนแก่ก็มีคุณค่า มากมายความรู้ค่ะ

  • ถ้าตอนนั้นมีแต่ผู้สูงอายุแบบ อ.หมออมร
  • บ้านเมืองเราคงจะเจ๋งน่าดู
  • เพราะอายุเข้าสู่วัยชราซะด้วยซ้ำ ( เพราะ 81 ปีแล้ว)
  • แต่สมองล้ำเลิศจริงๆ
  • ศิษย์ขอแสดงความนับถือๆๆๆๆ
  • ลูกศิษย์ อ.หมออมรตามมาอีกคน
  • อัตราผู้สูงอายุมากขึ้น
  • หากไม่เน้นเรื่องคุณภาพชีวิต ก็จะทำให้เป็นผู้สูงอายุที่เป็นภาระ
  • จริงไหมหมอนน...

 

  • P P
  • รุ่นเรา เรา ก็เจ๋งแล้วละ
  • เรามาร่วมก๊วน chat online กันดีม๊า
  • เหอะ เหอะ แบบว่า ตัวหนังสือหน้าจอ คงต้องโตมากเลยนิ ... และก็ จิ้ม ดีด ... จิ้ม ดีด ... อิอิ ดูไม่จืดเลย
  • P
  • ดีใจค่ะ น้องพอลล่า ... ที่ครั้งหน้า น้องจะมาช่วยนำ ลปรร. ผู้สูงอายุ พี่คงจะได้เรียนเทคนิคที่ชวนประทับใจ ให้กับผู้สูงอายุอีกเยอะเลย
  • เพราะแต่ละครั้ง ของการจัดประชุม ทั้งบุคลากรที่ทำงานกับผู้สูงอายุ และทั้งกับผู้สูงอายุเอง ... เราก็ได้เรื่องเล่าดีดี เสมอเลยละค่ะ
  • ทั้งๆ ที่ ก่อนๆ นั้น จะจัดประชุมแบบ งูๆ ปลาๆ เรียนไปรู้ไป ... จนมาเจอน้องพอลล่านี่ละค่ะ ... พี่คาดหวังสูงมากเลยละ อิอิ

ขอขอบคุณที่ให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ อย่างดิฉัน ดิฉันก็พยายามหาขอมูลเกี่ยวกับสุขภาพ

ก็พึ่งมาเจอนี่แหละขอบคะที่ให้ความรู้ ขอให้สุขภาพดีแก่ท่านที่ให้วิทยาทาน สาธุ

  • สวัสดีค่ะ คุณ Mamesupakpajee
  • ... ยินดีค่ะ ที่ความรู้เหล่านี้ มี และได้ใช้ประโยชน์
  • อาจารย์ทั้งสองท่าน ที่ได้บรรยายไว้ ก็คงจะดีใจเช่นเดียวกันค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ
  • วันหน้า มา ลปรร. กันใหม่นะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท