สุขภาพช่องปากที่สัมพันธ์กับโรคทางระบบ (26) ทำงานกับผู้สูงอายุ ตอนที่ 9 ผู้สูงอายุส่วนมากชอบบ่นว่า เหงา และว้าเหว่ ?


ก่อนหน้านี้ เขาจะไม่ใช้คำว่า สุขภาพ เขาใช้คำว่า โรค ตอนนี้เขาเปลี่ยนเป็น "Health" และอย่างคำว่า handicap แต่ก่อนเขาใช้ ว่า ถ้าป่วยแล้ว กลายเป็น handicap ตอนนี้ไม่ใช้แล้ว จะใช้คำว่า "activity" กับ "particiapation" เป็นการมีส่วนร่วมในสังคมแทน อีกอย่างที่เปลี่ยนมาก คือ แผนภูมิเก่า ที่ทำโดย WHO เหมือนกันนี่ แต่ก่อนลูกศรไปในทางเดียว คือ ป่วยแล้วจะยิ่งแย่ลงๆ ตนกลายเป็น handicap แผนภูมินี้ ลองดูว่า "ลูกศร มี 2 หัว" นั่นคือ ตอนนี้ไม่ดีก็ทำให้ดีได้ ถ้าปรับตัวได้

 

9. ผู้สูงอายุส่วนมากมีปัญหา เรื่อง การปรับตัวต่อสิ่งต่างๆ ที่เปลี่ยนไป ?

อ.มัท ... ผลการวิจัย ผู้สูงอายุ เมื่อเทียบกับวัยทำงาน ท่านรู้สึกว่า ตัวเองมความสุขมากกว่าวัยผู้ใหญ่ ทั้งๆ ที่จริง อย่างที่ อ.พิช บอกว่า ถ้าคู่เราเสียไป ...

อ.พิช ... อยู่กันมา 68 ปี นะคะ วันหนึ่งแกลืมหายใจ แกเลยนอนหลับไปเฉยๆ

อ.มัท ... หรือว่า ลูกก็อยู่ไกล เป็นต้น บางทีการสูญเสียเกิดขึ้นได้ตลอด แต่กลายเป็นว่า ผู้สูงอายุจะปรับตัวได้ดีกว่า เมื่อเทียบกับคนทำงาน

การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง เมื่อสูงวัย มี 3 ทฤษฎี คือ สมัยก่อนเขาก็คิดว่า เพลาๆ ลงเสีย ลองนึกถึงสภาพ ผู้สูงอายุที่นั่งอยู่ที่แคร่ ใต้ถุนบ้าน วันๆ ไม่ทำอะไร แต่ก็ยิ้ม สบาย ใครเดินผ่านหน้าบ้านก็ทักทาย หรืออีกพวกหนึ่ง คือ ต้องฟิตเท่านั้น ยิ่ง active ก็ยิ่งรู้สึกว่า ตัวเองมีความสุขได้

อ.พิช ... ประเภทนี้ หาได้ตามงาน Fair สำหรับผู้สูงอายุทั่วไป อย่างเวลาเราจัดอบรมประชาชน อาจารย์จะเจอขาประจำ ผู้สูงอายุมาประจำเลยค่ะ active มาก และติดตาม เป็นแฟนประจำ ของ อ.สิรินทร กับ อ.อรพิชญา ไปไหน ก็จะเจอตลอด และก็จะฟิต และ firm ตลอด และถึงเวลารับของปุ๊บ ขอยายก่อน ยายแก่กว่า เพราะฉะนั้น จะต้องดูนิดหนึ่ง แต่บางคนถือคตินี้จริงๆ ว่า จะต้องยิ่งฟิต

อ.มัท ... พอดีเขาคิดในกลุ่มนักวิชาการ และนักวิชาการ พวกแรกกับพวกที่สองนี่ เป็นคนละพวกกัน เขาเถียงว่า จะต้องแบบแรก อีกพวกบอกว่า ไม่ใช่ จะต้อง active ผู้สูงอายุถึงจะมีความสุข ปรากฎมี แบบที่สามโผล่ขึ้นมาว่า ไม่หรอก ก็แล้วแต่จริตนั่นละ เขาโตมายังไง เขาก็จะเป็นอย่างนั้นต่อไป ส่วนมาก สมัยนี้ ตอนนี้ ก็จะเชื่อในแบบสุดท้ายมากที่สุด

อ.พิช ... แต่พบว่า จริงๆ แล้ว บุคลิกภาพของคนเรา ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงเท่าไร เพียงแต่ว่า อาจจะ soft ลง อ่อนลง อาจจะดุน้อยลง จากการที่เป็นคนดุมาก หรือจากคนที่เคย strick ก็จะ strick น้อยลง หรือขาประจำของอาจารย์ที่ไปทุกงาน ก็จะพบว่า สมัยก่อนที่เขาจะเกษียณ แกก็เป็นหัวหน้างาน เจ้ากี้เจ้าการจัดงาน เอาคนโน้นมา คนนี้มา กินข้าวตรงนี้ ไปจัดประชุมตรงนั้น ... คือ ลักษณะบุคลิกภาพเดิม ก็จะคล้ายๆ ของเดิม แต่ก็จะเปลี่ยนไปนิดหน่อย อาจจะมากขึ้น หรืออาจจะน้อยลง ขึ้นกับจริตที่มีมา บางคนอาจจะรู้สึกว่า ไม่ไหวแล้ว ก่อน 60 นี่แบบ ถ้าเป็นแบบอาจารย์ ก็จะเตรียมเดี๋ยวถ้าอาจารย์เกษียณปุ๊บ สิ่งที่แรกที่อาจารย์จะทำ คือ หยุดพูด เพราะอาจารย์จะพูดนับจากวันนี้ไป ถึง 60 ก็ อีก 20 กว่าปี เพราะฉะนั้น เมื่ออาจารย์เกษียณไป อาจารย์จะไม่พูด อาจารย์จะไปปฏิบัติธรรม จะไปเที่ยวรอบโลกคนเดียว เพราะฉะนั้น จริงๆ มันขึ้นกับจริตที่มี แต่บุคลิกภาพ ก็จะคล้ายๆ เดิม อาจารย์ก็จะเดาว่า 60 ปี อาจารย์ก็จะยิ้มแย้มหน้าบาน กลมป๊อกอยู่อย่างนี้

มาดูนิดหนึ่ง ที่หนูมัทได้พูดเอาไว้ ในเรื่องของ ความสามารถในการทำกิจกรรมประจำวันของผู้สุงอายุ ตามแผนภูมิ เราจะพบว่า ผู้สูงอายุ 1 คน มีหลายๆ อย่าง ที่มีอิทธิพล เข้ามาร่วมด้วย อันที่หนึ่ง แน่นอน สุขภาพร่างกาย หรือ Health condition ไม่ว่าจะเป็นโรค เป็นกลุ่มอาการต่างๆ ซึ่งอันนี้ สิ่งที่จะมีผลให้เขาทำกิจกรรมอะไรก็ได้ สักกิจกรรมหนึ่ง ก็ต้องคิดจากร่างกายของเขาด้วย หรือว่าการมีส่วนร่วมของเขาในสังคม ที่ขึ้นอยู่กับ 2 อย่างคือ สิ่งแวดล้อม และปัจจัยส่วนตัวของแต่ละคนเอง ทั้งหมดนี้ ถึงจะออกมาเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ที่ผู้สูงอายุกระทำออกมาได้ เพราะฉะนั้น การที่จะดูผู้สูงอายุ 1 คน ก็ไม่ใช่มาถึงก็มาจับอ้าปาก ดูฟันแกอย่างเดียว อย่าลืมดูอย่างอื่นด้วยนะคะ อย่างที่หนูมัทบอกว่า ฟันปลอมแกหลวมนิดเดียว แต่แกก็มาเม้าท์ บอกว่า อาจารย์มัทพูดเพราะเหลือเกิน ขอมาเม้าท์หน่อย เสียตังค์ก็ยอม

 

อ.มัท ... ความสำคัญของรูปนี้อีกอย่างหนึ่ง ก็คือ การแบ่งแบบนี้ เป็นการแบ่งแบบใหม่ ก่อนหน้านี้ เขาจะไม่ใช้คำว่า สุขภาพ เขาใช้คำว่า โรค ตอนนี้เขาเปลี่ยนเป็น "Health" และอย่างคำว่า handicap แต่ก่อนเขาใช้ ว่า ถ้าป่วยแล้ว กลายเป็น handicap ตอนนี้ไม่ใช้แล้ว จะใช้คำว่า "activity" กับ "particiapation" เป็นการมีส่วนร่วมในสังคมแทน อีกอย่างที่เปลี่ยนมาก คือ แผนภูมิเก่า ที่ทำโดย WHO เหมือนกันนี่ แต่ก่อนลูกศรไปในทางเดียว คือ ป่วยแล้วจะยิ่งแย่ลงๆ ตนกลายเป็น handicap แผนภูมินี้ ลองดูว่า "ลูกศร มี 2 หัว" นั่นคือ ตอนนี้ไม่ดีก็ทำให้ดีได้ ถ้าปรับตัวได้ ก็อาจจะปรับมาดีได้ คือ ไม่ใช่ เมื่อป่วยแล้ว จะต้องลงเหว

อ.พิช ... ใช่ อย่าไปคิดว่า ไม่มีฟันแล้ว ทำอะไรไม่ได้หรอก อาจารย์พบว่า ถ้าเราคิดว่าทำอะไรได้ดีให้กับเขา เขาจะดีขึ้น เช่น หลายๆ ท่าน ในที่นี้ อาจจะเห็นผู้สูงอายุในชุมชนที่เป็นอัมพาต อัมพฤกษ์ บางคนกลับมาเดินได้นะคะ อาจจะเดินได้ไม่ดีเท่าเดิม แต่เขาดีขึ้น ถ้าเขาตั้งใจฝึก นั่นก็เป็นแบบแผนอีกอันหนึ่ง เป็นวิธีการดูผู้สูงอายุ

อ.มัท ... คือ ถ้าเราหมดหวัง แล้วเขาจะมีความหวังได้อย่างไร

อ.พิช ... ถูกต้องค่ะ

การเปลี่ยนแปลงอันสุดท้ายที่อยากจะพูดถึง คือ เรื่องของสังคม อย่างที่อาจารย์บอกว่า เราเห็นได้ชัดๆ เลย วันที่ 1 ตุลาคม ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่จ๋อยสนิท ไม่มีงานให้ทำ กิจกรรมทางสังคมก็น้อยลง แล้วก็บางครั้งสังคมบอกว่า แก่แล้ว งานนี้ไม่ใช่สำหรับคนสูงอายุ สำหรับเด็กวัยรุ่นต่างหาก ... อ๊ะ อ๊ะ อาจารย์มีคนไข้เล่นเกม online ได้แช้มป์นะจ๊ะ อายุ 69 นะ จะบอกให้ เกม online ที่เด็กมัธยม เขาติดกันน่ะคะ เพราะว่าเด็กๆ ต้องเรียนหนังสือ คุณยายฝึกเล่นทั้งวันเลย

สิ่งเหล่านี้ ถ้าเราไปปิดกั้นเขา เขาก็จะรู้สึกว่า เขามีคุณค่าน้อยลง และถ้าเขารู้สึกมีคุณค่าน้อยลง เขาก็ไม่อยากจะเรียนรู้อะไรใหม่ๆ เรามีคนไข้บางคนที่บอกว่า โอ๊ย คอมพิวเตอร์เหรอ ทำไม่ได้หรอกอาจารย์ เรามีพยาบาล senior หลายๆ คนที่เกษียณไปแล้ว ... พี่ทำไม่ได้หรอกอาจารย์ ... บอกว่า พี่มา หน่วยสร้างเสริมสุขภาพ มาหัดทำคอมฯ เลย มา ลองทำกันดู ลองอันง่ายๆ ก่อน ทำได้นะคะ เพราะฉะนั้น จริงๆ อย่าให้การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีผลปิดกั้นเขาออกไป

หลายๆ ครั้ง หลายๆ กิจกรรม เราพบว่า น่ารักออก พาคุณพ่อคุณแม่มาร่วมงานได้ พาเจ้าตัวน้อยมาร่วมงานได้ มากันหลายๆ generation สนุกจะตาย อย่าไปบอกว่า ผู้สูงอายุก็ต้องไปวัดสิ อาจารย์ไปสอนให้กับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เขาบอกว่า เขามี Feedback อันหนึ่ง มาจากคนที่จัดงานท่องเที่ยว ว่า เมืองไทยมีอะไรน่าเที่ยวบ้างสำหรับผู้สูงอายุ ทีแรกแกจัดทัวร์ 9 วัด กับทัวร์ 7 วัด 5 วัด 3 วัด แล้วแต่ศักยภาพของแต่ละคน แต่เป็นวัดหมด Feedback ที่เขาได้จากปีแรกที่จัด ก็มีโทรศัพท์หลากหลายขึ้น ก็คือ แม่ไม่อยากเที่ยววัด น้ำตกก็อยากไปบ้างเหมือนกันนะ และไอ้ปาย เปย ที่เขาไปดูกัน ปม่ก็อยากไปเหมือนกันนะ นะคะ เพราะฉะนั้น เขาก็อยากทำกิจกรรมแบบเที่ยวกัน เพราะฉะนั้น ต้องช่วยกัน อย่าให้เขาขาดโอกาสทางสังคม และถ้าเขาทำได้ ก็ให้เขาทำ

อ.มัท ... ลองคิดว่า ถ้าตัวเราอายุมากขึ้น ชอบอะไรแบบนี้ เพราะว่า เราอายุมากขึ้น ก็ไม่ได้แปลว่า เราจะเลิกชอบ สิ่งที่เราเคยชอบ

รวมเรื่อง สุขภาพช่องปากที่สัมพันธ์กับโรคทางระบบ

 

หมายเลขบันทึก: 246849เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2009 09:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท