สุขภาพช่องปากที่สัมพันธ์กับโรคทางระบบ (52) รอยโรคในช่องปาก ตอนที่ 3 รอยโรคในกระดูกขากรรไกร และข้อต่อ


 

นอกจากนี้ กระดูกขากรรไกรและข้อต่อ จะมีปัญหาหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นจากความเสื่อมเอง หรือเกิดจากการรับประทานยาบางตัวที่รับประทานไปแล้ว ทำให้กระดูกตาย และก็มีการกระดูกตายจากการได้รับรังสีรักษาจากมะเร็งช่องปาก

ภาพนี้ จะเห็นว่า เกิดในชายอายุ 65 แล้ว และมีการบวมของกระดูกขากรรไกรด้านซ้ายมากขึ้น มีลักษณะของฟันอยู่ร่วมด้วยเป็นก้อน แต่บริเวณข้างๆ กระดูกถูกทำลายเป็นจุดๆ สีขาวๆ ลักษณะที่เห็น คือ เนื้องอกชนิดหนึ่ง ชื่อ Calcifying epithelial odontogenic tumour หรือ CEOT ซึ่งจะเจอได้ ในผู้ป่วยสูงอายุโดยเฉพาะ

ส่วนลักษณะนี้ที่เห็น คือ จะมีการทำลายของกระดูกเยอะมาก ลามไปถึง soft tissue โรคนี้จริงๆ แล้ว เป็นมะเร็งที่พัฒนามาจากมะเร็งที่เรารู้จักกันดี คือ Ameloblastoma แต่พอมันเปลี่ยนแปลงไปเป็นมะเร็งแล้ว ก็จะเปลี่ยนชื่อเป็น Ameloblastic carcinoma ซึ่งคนไข้ส่วนใหญ่จะเสียชีวิตจากการที่มันลาม

ความเสื่อมของข้อต่อขากรรไกรก็มัดจะทำให้บริเวณข้อต่อมีการสึกเรียบแบบนี้ และบ่อยครั้งจะมีแง่งเกิดขึ้นบริเวณหน้าข้อต่อ เรียกว่า Ostepphite เรียกโดยรวมๆ โรคนี้เป็น Osteoarthritis นั่นเอง

ลักษณะนี้เป็นลักษณะของกระดูกตาย เรียกว่า Osteonecrosis ปัจจุบันเจอได้เยอะขึ้นมาก โดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงอายุ ถามว่า เกิดจากอะไร ผมพูดสั้นๆ ว่า เกิดจากยาตัวหนึ่ง คือ Bisphosphonates ยาตัวนี้ เขานำมาใช้ในการรักษาโรคทางระบบหลายตัว ไม่ว่าจะเป็นโรคที่เกี่ยวกับกระดูก Paget's disease คือ โรคที่เกิดจากการสร้างกระดูกที่ผิดปกติ หรืออีกโรคหนึ่งที่จะเจอได้บ่อยๆ คือ รักษามะเร็ง เช่น มะเร็งเต้านม หรือ multiple myeloma ยาตัวนี้ เวลาให้ไปแล้ว มันจะไปหยุดการทำงานของเซลล์ที่กัดกินกระดูก

สมมติว่า ร่างกายมีแต่การสร้างกระดูก กระดูกก็จะปูดออกมาจนน่าเกลียด ร่างกายของเราก็จะมีเซลล์อยู่ตัวหนึ่ง Osteoplast ในการจับกิน ให้กระดูกมัน Remodelling คือ มีการปรับให้รูปร่างสวยเหมือนเดิม แต่ว่ายาตัวนี้จะไปหยุดการทำงานของเซลล์พวกนี้เอง และส่วนใหญ่แล้ว มักจะมาจากยาชื่อ alendronate (Fosamax) หรือ risedronate (Actonel) เท่าที่ทราบไม่ค่อยมีใช้ในเมืองไทย และ Fosamax มีใช้ และโดยมาก การเกิดลักษณะของการตายของกระดูก มักเกิดขึ้นภายหลังจากที่มี trauma ในปาก อย่างเช่น คนไข้มีฟันปลอมที่สบแล้วกระแทก บางครั้งลักษณะเรื่องที่เล็กๆ อาจทำให้เกิดเรื่องที่ใหญ่ๆ ได้ ถ้าคนไข้มีประวัติแบบนี้อยู่ เช่น ได้รับยา bisphosphonate อยู่ การใช้ฟันปลอมเป็นสิ่งสำคัญ การกำจัดบริเวณที่จะขูดบริเวณเหงือกสำคัญมาก เพราะไม่เช่นนั้น กระดูกจะโผล่ออกมา

ถามว่าจะดูอย่างไร ว่ามันเป็นกระดูกตาย เวลาเราถอนฟันแล้ว ก็คือ ดูว่า ถอนแล้วมันหายช้ามากขนาดไหน โดยมากแล้ว ถ้าเป็นกระดูกตายจาก bisphosphonate ส่วนใหญ่แล้ว เนื้อเยื่อที่ปกคลุมกระดูกมันจะไม่ค่อยปิด มันจะเป็นรูโหว่ๆ แล้วก็มักจะมีอาการปวดร่วมด้วย เหมือนกับที่คนไข้เป็นโรคหลังจากถอนฟันคุดแล้ว เป็น Dry socket ที่ปวดมากๆ อาการของโรค Osteonecrosis ก็จะคล้ายๆ กัน

เวลาที่เราจะรักษา วิธีการง่ายๆ ทำเหมือนกับที่เรารู้อยู่แล้ว คือ จะต้องจัดการกับบริเวณที่มีรอยคม ฟันคม หรือขอบฟันปลอมเกิน ฟันที่มีลักษณะดูว่าจะไม่รอด ก็อาจจะต้องถอนทิ้งตั้งแต่ต้น ก่อนที่ผู้ป่วยจะได้รับยา และอาจจะต้องมีการอุดฟัน ขูดหินปูนให้เรียบร้อย หรืออาจจะต้องใส่ฟันปลอมที่มีการทำ soft liner ไว้ด้วย ไม่ให้มีการสบกระแทก แล้วก็จะต้องมีการนัดกลับมาดูซ้ำบ่อยๆ เพื่อที่จะดูว่า โอกาสเกิดรอยโรคนี้จะมีหรือเปล่า ส่วนมากแล้วอาจจะต้องจ่าย antibiotic ไปด้วย

หรืออีกกรณีหนึ่ง คือ ถ้าไม่อยากใส่ antibiotic ให้อยู่นานๆ ยาปฏิชีวนะมากๆ ก็ไม่ดี อาจต้องให้น้ำยาบ้วนปากพวก chlohexidine ไปด้วย บ้วนวันละ 2 ครั้ง เพื่อลดการติดเชื้อในช่องปาก โอกาสที่กระดูกมันเผยออกมาแล้วตาย ก็จะน้อยหน่อย

รวมเรื่อง สุขภาพช่องปากที่สัมพันธ์กับโรคทางระบบ

 

หมายเลขบันทึก: 248046เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2009 22:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 21:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท