สุขภาพช่องปากที่สัมพันธ์กับโรคทางระบบ (61) ทิศทางการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ


 

ทิศทางการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ... คุณหมอแหววมาบอกเล่าให้ฟังค่ะ

ส่วนกลางมีความคาดหวังว่า ผู้สูงอายุจะมีสุขภาพช่องปากดี อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม และสุขภาพช่องปากดีก็จะส่งผลถึงสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย และจากการทำงานที่ผ่านมานั้น เธอได้ชวนผู้เข้าประชุมให้คิดถาม ในเรื่อง

  • สภาพช่องปากของคนที่อายุ 60-69 ปี 70-79 ปี และ 90 ปีขึ้นไป เหมือนกันหรือไม่
  • รวมวิธีการจัดการจะเหมือนกันหรือไม่ ในกลุ่มผู้สูงอายุเหล่านี้
  • จากสภาพร่างกายที่เราแบ่งกันเป็นติดสังคม ติดบ้าน ติดเตียง เราดูแลสุขภาพช่องปากเขาเหมือนกันหรือไม่ และ
  • จะมีวิธีการที่เหมือนกันหรือไม่ ในการสอนแปรงฟันได้หรือไม่ ในกลุ่มอายุที่แตกต่าง และสภาพร่างกายที่แตกต่างกันนี้

สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุในปัจจุบัน ถ้ามีสุขภาพช่องปากดี ก็คือ

  • ผู้สูงอายุต้องมีฟันใช้เคี้ยวอาหารได้อย่างเหมาะสม จะกี่ซี่ ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกบอกว่า 20 ซี่ แต่ที่เรานำมาใช้ในการประกวด 10 ยอดฟันดี 80 ปี เราใช้ 24 ซี่ และก็ยังมีโอกาสค้นพบ เพราะฉะนั้น ตัวเลขเราก็ไม่อยากยึดติด เพราะว่าปีนี้ 20 ปีหน้าอาจจะเป็น 24 และอนาคต ผู้สูงอายุเราต้อง 32 ก็เป็นไปได้เหมือนกัน เราก็มีความหวังว่า ตัวเลขนี้จะขยับขึ้นไปเรื่อยๆ
  • เราหวังว่า เขาจะไม่มีโรคในช่องปาก หรือถ้ามีโรคในช่องปาก ก็ควรจะได้รับการรักษาแล้ว
  • สำหรับพฤติกรรมส่วนตัวของเขาก็คือ
    ... เขาน่าจะรู้จักดูแลอนามัยในช่องปากได้ด้วยตัวเอง แต่ถ้าดูแลด้วยตัวเองไม่ได้ ก็ต้องได้รับการดูแลโดยผู้ดูแล
    ... หลีกเลี่ยงและลดปัจจัยเสี่ยงจากการเกิดโรคในช่องปากด้วย
    ... รับบริการตรวจสุขภาพช่องปากทุกปี
    ... และมีพฤติกรรมเข้าไปรับการป้องกัน รักษา ฟื้นฟู ตามความจำเป็น

นี่เป็นสุขภาพช่องปากที่เป็นความฝันสูงสุด ... ใครอยากเห็นอะไรมากกว่านี้ก็บอกกันได้นะคะ ส่วนกลางยินดีที่จะเพิ่มให้ เพื่อที่จะเป็นความฝันร่วมกัน

ในปัจจุบัน เขาอยู่กันอย่างไร ก็จะขอยกตัวเลขคร่าวๆ บางตัว ว่า เราบอกว่า เราอยากให้เขามีฟันใช้เคี้ยวอาหารได้อย่างเหมาะสมนั้น

  • เขามีฟันอย่างน้อย 20 ซี่ จากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพ ข้อมูลทั้งหมดนี้มาจากการ survey 5 ปี และจากการ survey รายจังหวัด จาก 49% ในปี 2543-2544 เพิ่มเป็น 55% ในปี 2550 ก็ดูดี เพราะว่ามีฟันเหลืออย่างน้อย 20 ซี่ เพิ่มมากขึ้น น่าจะดีขึ้น
  • มี 4 คู่สบ จากปี 2548 จาก 44% เป็น 49% ในปี 2551 ก็ดูดีขึ้น แต่ก็ยังไม่ถึงครึ่งเลย
  • พบว่า ผู้สูงอายุสูญเสียฟันอย่างน้อย 1 ซี่ เพิ่มขึ้นมา จาก 92% ในปี 2543-2544 เป็น 94% ในปี 2550
  • สูญเสียฟันทั้งปากก็เพิ่มขึ้น จาก 8% ในปี 2543-2544 เป็น 10% ในปี 2550
    ... หลายคนก็พูดว่า เป็นอิทธิพลจากโครงการฟันเทียมหรือเปล่า ที่ทำให้ผู้สูงอายุต้องไปทำฟัน และถอนฟัน เพื่อรับบริการใส่เทียม ไม่น่าใช่ซะทีเดียว ... อาจจะเพราะฟันเขาต้องถอนอยู่แล้ว แต่เขาไม่เคยเข้าถึงบริการเสียมากกว่า พอเข้าถึงบริการปุ๊บ ภาพที่เห็นก็เลยแสดงเป็นแบบนี้

ที่เราบอกว่า ไม่อยากเห็นผู้สูงอายุมีโรคในช่องปาก หรือว่ามี แต่ได้รับการรักษาแล้ว เพราะว่า

  • เราพบฟันผุเข้าไป 96% ก็เกือบทุกคนที่มีฟันผุเลย แต่ครึ่งหนึ่งไม่ได้รับการรักษา ก็เรียกได้ว่า ผุถอน เพราะฉะนั้น การสูญเสียฟันของเราก็ยังคงจะเพิ่มขึ้นแน่นอน ทำอย่างไรก็คงจะเพิ่มขึ้นอยู่ อาจจะยังไม่ลดง่ายๆ
  • เรื่องรากฟันผุที่ประเด็นสำคัญอีกประเด็นหนึ่ง เราพบรากฟันผุ 21% ซึ่งมีการรักษา 2% และรากฟัน คอฟันผุ อุดยาก รักษาแล้วก็ยังผุซ้ำได้อีก เพราะฉะนั้น ก็จะถูกถอนฟันในอนาคตได้อยู่ดี
  • เรื่องโรคปริทันต์ เราบอกว่า ผู้สูงอายุมีฟันเยอะขึ้น แต่ปรากฎว่าเป็นโรคปริทันต์ เพิ่มขึ้นไม่รู้กี่เท่า pocket หรือร่องลึกปริทันต์ ที่เป็น 4-5 มม. ลดลงเป็น 26% แต่ 6 มม. เพิ่มขึ้น เป็น 69% ก็แสดงผลไม่ดี เพราะว่าการรักษาโรคปริทันต์ก็รักษายาก
  • และการเข้าถึงบริการทันตสุขภาพทุกกลุ่มอายุ พบว่า เข้าถึงร้อยละ 8.4 ในปี 2550

ในส่วนของพฤติกรรมที่เราอยากเห็นผู้สูงอายุดูแลตัวเอง หลีกเลี่ยง ลดปัจจัยเสี่ยง รับบริการตรวจสุขภาพช่องปากทุกปี ได้เข้าไปหาบริการ เราก็พบว่า

  • ผู้สูงอายุคนที่มีฟัน มีการแปรงฟันแค่ 74% สภาพผู้สูงอายุที่เป็นโรคปริทันต์ก็ใช้อุปกรณ์เสริม ต้องใช้ Proxa brush, Floss แค่ 7%
  • พอตรงนี้ คนที่ไม่ฟันเลย ไม่คิดว่าต้องแปรง ก็จะเหลือแค่ 0.8% และส่วนใหญ่จะใช้บ้วนปาก 1.4% เรียกว่าไม่ต้องทำอะไรเลย พอไม่มีฟันก็จบ
  • คนที่ใส่ฟันเทียม ก็มีการแปรงฟัน 22%
  • พฤติกรรมเสี่ยง
    ... สูบบุหรี่ ที่จะมีส่วนทำให้เกิดเป็นมะเร็งได้นั้น มีการสูบบุหรี่ 18%
    ... เคี้ยวหมาก 17% ตรงนี้โดยเฉพาะทางใต้ ก็ยังเคี้ยวหมากกันเป็นประจำ
    ... ไม่เคยไปรับการบริการทันตกรรม 67%

กองทันตฯ ทำงานในเรื่องผู้สูงอายุ

  • เริ่มจาก การทำฟันเทียมพระราชทาน แต่ถามว่า ฟันเทียมพระราชทาน เราทำได้เป็นแสน กระทรวงสาธารณสุข ก็ดีใจในผลสำเร็จตรงนี้ แต่ว่าแสนคน กับ 7 ล้านคนนี้ คงเทียบกันไม่ได้ เพราะว่าเราดูแลได้แค่คนที่สูญเสียฟันทั้งปากเท่านั้น ตั้งแต่ปี 2548 ยังมีอยู่ตั้งเกือบ 7 ล้าน ที่ไม่ได้รับการดูแล
  • เรามาเริ่มงานชมรมผู้สูงอายุ เพราะว่าเราอยากให้ผู้สูงอายุได้ดูแลอนามัยในช่องปากของตัวเอง และค่อยๆ คืบคลานมา ตั้งแต่ปี 2549 ถึง 2551 จาก 27 ชมรมฯ ใน 7 จังหวัด ในปี 2549 เป็น 120 ชมรม ใน 37 จังหวัด ในปี 2551
  • และทุกอย่างคงจะต้องเป็นไปตามธรรมชาติ ถ้าพวกเราคิดว่า ผู้สูงอายุควรจะต้องได้รับการดูแลอย่างบูรณาการ เรามองผู้สูงอายุ 1 คน ว่า ทำอย่างไรจึงจะครอบคลุม และดูแลสุขภาพช่องปากของเขาได้ และการดำเนินงานอื่นๆ ก็จะค่อยๆ เข้าไป

กองทันตฯ ในฐานะเป็นส่วนกลาง เราก็มีหน้าที่จะส่งข้อเสนอเป็นนโยบาย และหาวิธีการสนับสนุน

ปี 2554 โครงการนี้อาจจะได้รับเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา ซึ่ง 84 พรรษา ครั้งนี้ คงไม่ได้เฉพาะใส่ฟันเทียม แต่จะรวมงานชมรมฯ เข้าไปด้วย ให้ชมรมผู้สูงอายุเข้าไปร่วมเฉลิมพระเกียรติในหลวง เราก็ได้ตั้งเป้าไว้ถึง 300-400 ชมรมฯ

กิจกรรมในชมรมผู้สูงอายุเราก็มีต่างๆ นานา เช่น

  • คุณฮุยที่ ชมรมผู้สูงอายุท่านัด อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี เป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่ไปจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากให้ผู้สูงอายุ จนประทับใจ จะมีกิจกรรมแปรงฟัน และกิจกรรมอื่นๆ ด้วย
  • คุณแม่พิศมัย ก็เป็นแกนนำของชมรมผู้สูงอายุบ้านศิลา อ.เกาะคา ลำปาง คุณแม่เป็นโรคเบาหวาน ลุกขึ้นมาจัดการ และต่อยอดไปที่เด็ก
  • ที่นีที่บ้านแฮด อ.พุทไธสง บุรีรัมย์ ผู้สูงอายุก็มาสอนแปรงฟันกันเองได้ เราไม่ต้องไปสอน
  • มีผู้สูงอายุไปสอนเณรในวัด
  • แสดงได้ว่า ... เราไม่ต้องยึดติดกับกิจกรรม มันจะหมุนเวียนกันได้ตลอด ความรู้ก็อาจมาจากผู้สูงอายุไปที่พระก็ได้ หรือจากพระมาที่ผู้สูงอายุ
  • ทันตแพทย์ หรือทันตบุคลากรของเราก็จะช่วยสนับสนุนให้เกิดงาน ที่ อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง
  • และจะมีการให้กันได้หลายๆ อย่าง ทั้งนวัตกรรม และความรู้ เป็นบอร์ด ซึ่งผู้สูงอายุก็เป็นคนทำ เขาก็เข้าใจกันเองได้ดี

กรอบแนวคิด ก็คือ เราพยายามทำงานให้เข้าสู่ระบบ ที่ไหนมีโครงสร้างของทันตฯ ก็จะเข้าไปในระบบนั้น เพื่อสนับสนุนงานซึ่งกันและกัน สสจ. จะเป็นผู้ที่ช่วยดูแลงานทั้งจังหวัด

เครือข่ายที่เกี่ยวข้องก็จะมีมากมาย อยากจะบอกว่า เราปรับกันเกือบทุกปี ตอนนี้เรามีเครือข่ายมาร่วมงานกันมากขึ้น ก็จะมี สพช. เข้ามาอีก 1 เครือข่าย ก็จะเป็นเครือข่ายที่มาร่วมกันทำงาน ซึ่งเป็นแม่แบบที่คิดในเรื่องของนโยบาย ระบบบริการปฐมภูมิ ที่ สพช. เป็นคนนำ เราก็จะไปร่วมกัน ... ในส่วนของพื้นที่ก็เหมือนกัน เครือข่ายของพื้นที่คงไม่ได้มีเท่านี้ เพราะว่าทำงานไป ก็จะมีเพิ่มขึ้นมาได้เรื่อยๆ

เราได้เคยจัดมหกรรมการประชุมวิชาการ เมื่อ 20-21 สค.50 ซึ่งเป็นช่องทางที่ทำให้เกิดการ ลปรร. กัน ทั้งบุคลากร และเครือข่าย ทำให้เกิดการขยายงานที่กว้างขวาง และในปีหน้า ก็ตั้งใจว่าจะจัดอีกครั้ง ซึ่งขอเชิญชวนนำผลงานวิชาการ ในเรื่องของการพัฒนารูปแบบเข้ามานำเสนอในปี 2554

เรามีการประชุม ลปรร. ในภาคต่างๆ

2 ปีที่แล้ว เรามองว่า งานฟันเทียมไปได้แล้ว ให้กับคนที่สูญเสียฟัน งานส่งเสริมสุขภาพช่องปากโดยชมรมผู้สูงอายุ โดยภาคประชาชนก็พอจะมีรูปแบบแล้ว ก็เลยมองอีกกลุ่มหนึ่งเป็นพิเศษ ก็คือ กลุ่มที่เสี่ยง และเราจะทำอย่างไร

  • กลุ่มเสี่ยงผู้สูงอายุก็จะมีฟันผุ เกือบ 100% เป็นโรคปริทันต์ก็มากมาย และจะเหลืออะไรให้ป้องกัน
  • มองว่า เรายังมีการป้องกันรากฟันผุ จึงเป็นที่มาของการป้องกันรากฟันผุ
  • และโรคปริทันต์เป็นโรคที่หายยาก เพราะฉะนั้น การป้องกันในส่วนนี้ก็คือ ทำอย่างไร จึงจะเป็น maintenance phase คือ คงสภาพไว้ ไม่ให้เป็น acute ปวด และต้องมาถอนฟันให้สูญเสียฟันเพิ่ม ก็เลยลงเรื่องของ scaling ในกลุ่มเสี่ยงปริทันต์ ไม่ใช่ไปขูดหินปูนเหมือนการรักษา
  • ตรงนี้ได้รับความร่วมมือจาก 21 จังหวัด เป็นกำลังใจ ที่ได้จากเพื่อนร่วมทางของเรา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการทันตกรรมป้องกันในกลุ่มเสี่ยง หรือว่าในชมรมผู้สูงอายุก็ตาม

และมาลองดูว่า สุขภาพดีอย่างที่หวังจะเป็นไปได้หรือไม่

  • เรื่องโรคในช่องปากนี่ตัดทิ้งไปก่อนนะคะ เพราะว่าดูข้อมูลมันเป็นไปไม่ได้ และเหลืออีก 3-4 ข้อ จะเป็นไปได้หรือไม่ ทุกวันนี้ 3 กิจกรรมที่นำเสนอมานั้น เรายังลงไปที่ผู้สูงอายุดูแลด้วยตัวเองเท่านั้น โดยผู้ดูแลเรายังไม่ได้เข้าเลย ยังมีอีกเยอะที่เราต้องทำ ผู้ดูแลก็ยังไม่มี ?
  • ส่วนที่บอกว่า เราจะหลีกเลี่ยง และลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค ยังไม่ได้ทำอะไรเลย ... การรับบริการตรวจสุขภาพช่องปากประจำปี ? คล้ายๆ กับจะเป็นไปได้ เพราะว่าเริ่มมีเรื่องสิทธิประโยชน์ เพราะว่า ถ้าเขาสามารถเข้าระบบได้ ผู้สูงอายุส่วนหนึ่งก็จะได้ตรวจสุขภาพประจำปีแล้ว
  • ส่วนของรับบริการรักษาป้องกันฟื้นฟูตามความจำเป็น เดี๋ยวนี้ยังมี 2 ส่วน ส่วนหนึ่งเกินความจำเป็น และอีกส่วนหนึ่งน้อยกว่าความจำเป็น ทำอย่างไรจึงจะพอดี ?

ทิศทางการดูแลสุขภาพช่องปาก จากการประชุมครั้งนี้ เราก็ได้เก็บสิ่งดีดี มาร่วมกันได้ในวันนี้ ซึ่งประเด็นยุทธศาสตร์ของคนไทย ยืนยันว่า เป็นยุทธศาสตร์สำคัญของกรมอนามัยที่จะส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ แล้วก็สุขภาพช่องปากรวมอยู่ในนี้ด้วย

  • อ.หมอเกษม จากสำนักบริหารการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ ได้บอกไว้ให้ได้เข้าใจมิติการดูแลผู้สูงอายุได้ดีขึ้น ว่า
    ... การดูแลผู้สูงอายุไม่ใช่แค่การวินิจฉัยโรค และให้การรักษาโรคเป็นครั้งๆ เท่านั้น
    ... ต้องลด และป้องกันโรค และความทุพพลภาพด้วย
    ... ขณะเดียวกัน การแก้ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ ต้องดูหมด ครบหมด ทั้งจิตใจ สังคม จิตวิญญาณ
    ... ให้ผู้สูงอายุพึ่งพาตัวเองได้มากที่สุด
    ... มีความมั่นคงในชีวิต มีคุณค่า มีศักดิ์ศรี ซึ่งจะนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดี
    ... เพราะเดิมเราทำงานโดยเจ้าหน้าที่เท่านั้น และต่อๆ ไป ต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคคล และองค์กรต่างๆ เกี่ยวข้องด้วย คงไม่ได้ทำงานแต่เราตามลำพัง เพราะว่างบประมาณ ก็ไปอยู่ตำบล อบต. เราทำงานลำพัง คงไม่มีเงิน และความร่วมมือของทุกคน ผู้สุงอายุ และชมรมที่มีศักยภาพ เขาก็มีความสามารถ
  • มีผู้บอกว่า งานบางอย่าง เราไม่คิดว่า คนอื่นเขาจะทำได้ พอปล่อยไป ก็เห็นว่า เขาทำได้ เช่น งานเฝ้าระวัง เราเคยคิดว่า การนับ 20 ซี่ บอกว่าผู้สูงอายุต้องมีฟัน 20 ซี่ พอคิดว่า ให้ผู้สูงอายุนับกันเอง เขาก็นับได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นเรา เพียงแต่ว่าต้องมีเกณฑ์ให้ชัดเจน เขาก็บอกว่า เปลี่ยนวิธีคิด เปลี่ยนมุมมอง บางทีเราบอกว่า ต้องทำโดยเรา แต่ก็ไม่ใช่ คนอื่นทำได้ แต่เราก็ต้องคิดดีดี ว่า สิ่งที่เราจะส่งไปให้เขาทำนั้น คืออะไร ต้องเปลี่ยนมุมมองใหม่ และใช้ความร่วมมือ ศักยภาพของคนรอบๆ ด้าน ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด
  • ในส่วนของการดูแลผู้สูงอายุ บอกว่า
    ... ให้เข้าถึงบริการที่ใกล้บ้าน คือ ผู้สูงอายุเดินทางลำบาก เพราะฉะนั้น บริการปฐมภูมิสำคัญที่สุด PCU เป็นแหล่งรองรับที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้สูงอายุ
    ... การดูแลต่อเนื่องก็สำคัญ ซึ่งสำนักฯ ก็มาทำในเรื่องของ Long term care หรือ Home health care ก็สำคัญ เราจะมี Long term care แบบสำนักฯ บ้างหรือไม่ในงานทันตฯ และ
    ... มีการดูแลแบบองค์รวม ฝ่ายการฯ ฝ่ายส่งเสริมฯ ไปด้วย เราไปไหน ชวนฝ่ายการฯ ฝ่ายส่งเสริมฯ ไปด้วย ไปดูแลด้วยกัน เพราะว่า บางคำถามเราตอบไม่ได้ ก็ไปช่วยกัน จะได้เห็นปัญหา รู้ปัญหาของผู้สูงอายุ และบริการผสมผสาน

ตรงนี้จึงทำให้เราต้องปรับ เพราะว่าเรามีฟันเทียมอยู่ส่วนหนึ่ง กลุ่มความเสี่ยงอยู่ส่วนหนึ่ง ฟันเทียมอยู่ส่วนหนึ่ง คนละที่ คนละทาง บริการเรายังไม่ผสมผสาน เราจึงต้อง

  • ปรับหน้างาน ทิศทางของการทำงานให้ชัดเจนขึ้น
  • ประสานการดูแลให้มีระบบส่งต่อให้ชัดเจน และ
  • ท้ายที่สุด คือ เสริมพลังชุมชน ให้เขาจัดการ เข้าถึง ข้อมูลความรู้ เพื่อดูแลตัวเอง เพื่อจัดการตนเอง จัดการกลุ่มตัวเองด้วย

อาจารย์หมอเกษม พูดในเรื่องของ Care provider และ Case manager ไว้ว่า

คำว่า Care provider เราทำไว้ดีอยู่แล้ว เป็นผู้ให้การดูแล เราทำงานบริการ เราให้การดูแลเป็น case ดีอยู่แล้ว

แต่ทำอย่างไร เราถึงจะเป็น case manager ก็คือ สนับสนุน ประสาน เชื่อมโยง ทุกอย่างให้เหมือนผู้สูงอายุเขา เขาเดินมาห้องฟัน มาเจอว่า เขาเป็นเบาหวาน เราส่งไปให้ผู้สูงอายุดูแล เราก็ดูแลผู้สูงอายุด้วยกัน หัวจรดเท้า ฝ่ายส่งเสริม หรือทางพยาบาล เจอว่าผู้สูงอายุมีฟันผุ หรือมีโรค หรืออะไรที่ต้องการให้ห้องฟันช่วยเหลือเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุ ก็ส่งมาห้องฟัน ไม่จำกัดว่า จะเป็นใครทำ แต่เรามองด้วยสุขภาพผู้สูงอายุ 1 คนเดียวกัน ว่า ทำอย่างไรเราจึงจะเป็น case manager ได้ อาศัยคนที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วน และไม่ใช่แค่เราเท่านั้น ทำอย่างไร อบต. เขาจึงจะคิดแบบเดียวกับเราได้ด้วย ดูแลผู้สูงอายุ 1 คนเดียวกัน

จึงจะชวนพวกเรานอกจากเป็น care provider ที่ดีแล้วก็มาปรับบทบาทตัวเองมาเป็น case manager กันด้วยอีกด้านหนึ่ง ต่อยอดสิ่งที่ดีอยู่แล้วของเราให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นด้วย

และส่วนของแนวคิดการทำงานกับประชากรผู้สูงอายุ ที่ อ.อรพิชญา และ อ.มัทนา ได้คุยไว้ ซึ่งบอกไว้ว่า

  • เราต้องมีเทคนิคการสื่อสารกับผู้สูงอายุ
  • เข้าใจความซับซ้อนของผู้สูงอายุ ไม่ดูแต่ช่องปากเท่านั้น
  • อย่ายึดติดกับรูปแบบ
  • เรามีจุดหมายเดียวกัน ไปได้หลายทาง ก็เลยอยากให้เราทุกคนมีองค์ความรู้ และรู้จักที่จะหยิบไปใช้กันต่อไป
  • ขยายกลุ่มเป้าหมาย
  • ใช้หลายยุทธวิธีให้เสริมผลกัน
  • เป็นแหล่งให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ทันสมัย จังหวัดก็ต้องมีข้อมูลของตัวเอง ที่จะจัดการของตัวเอง และส่วนกลางก็จะมีข้อมูลของส่วนกลางด้วย
  • ฯลฯ

Oral and dental lesions in geriatric patients อาจารย์อชิรวุธ ก็บอกไว้ว่า ผู้สูงอายุในเรื่องของช่องปาก ก็จะมีในเรื่องของ

  • Teeth and periodontal tissue
  • Jaw bones and TMJ
  • Oral mucosae
  • Salivary glands
  • Neurological disorders

เราเพิ่งทำแต่เรื่องฟันเท่านั้นเอง เรื่องอื่นๆ ยังไม่ได้ทำอะไรเลย ... อาจารย์บอกว่า

  • เราต้องทำแผนเฝ้าระวังมากกว่าการรักษา ถ้าเราดูแล Oral hygiene ให้ดีดี เราก็จะสามารถลดอีกหลายๆ อย่างที่น่ากลัวไปได้เยอะ ถ้า oral hygiene ดี
  • รักษาทางทันตกรรมเท่าที่จำเป็น เน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ และให้เหมาะกับสภาวะของแต่ละคน
  • กระตุ้นให้สมาชิกในครอบครัว ชุมชน มาช่วยดูแลผู้สูงอายุ และ
  • ส่งเสริมการรวมกลุ่ม ให้มีการทำกิจกรรมร่วมกัน

เราทำงานหลายๆ อย่าง ทั้งหมดในช่วงนี้ ส่วนกลางให้ความสำคัญที่เรื่องของการปรับระบบบริการทันตสุขภาพใน 3 โครงการ เพราะเรารู้ว่า ฟันเราทำในส่วนบริการเยอะแยะไปหมด และเรามาทำการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายเป็นตัวเสริม และเรื่องของการณรงค์ก็จะเป็นตัวเสริม

พอเรารวบรวมสิ่งที่ดีดี จากอาจารย์หลายๆ คน และหลายๆ ท่าน มานี้ จึงเกิดเป็นกรอบความคิดของระบบบริการทันตสุขภาพภาครัฐ - ภาคประชาชน ก็คือ

จะมีการทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในทั้งส่วนของประชาชน และหน่วยบริการในพื้นที่

  • เรามีหน้าที่ สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ให้ชมรมจัดกิจกรรมได้
  • มีระบบการส่งต่อเพื่อเข้าสู่ระบบบริการโดยภาครัฐ
  • มีมาตรการทางสังคมที่จะจัดการกันเอง
    ... อย่างที่ท่านรองฯ ได้ท้าทายเมื่อวานนี้ ว่า ทำให้เขาได้แปรงฟันก่อนนอนกันได้ไหม ชมรมเขาจะจัดการกันอย่างไร หรือ อสม. จะจัดการกันอย่างไรให้ผู้สูงอายุแปรงฟันก่อนนอน
    ... และต่อไปมาตรการอื่นๆ เช่น กลุ่มเสี่ยงเราจะทำอย่างไรกับเขา และมาตรการอะไรที่ชมรมจะจัดการกันเองได้ไหม รวมทั้งเขาจะสามารถเฝ้าระวังกันเองได้หรือไม่ด้วย ว่า คนนี้มีฟัน 20 ซี่ ปีหน้าหายไป หรืออื่นๆ เขาจะช่วยกันดูแลกันได้หรือเปล่า และดูแลซึ่งกันและกัน
    ... หรือปีนี้ยังไม่ได้ไปตรวจสุขภาพเลย ชวนกันไปตรวจสุขภาพ
  • ส่วนที่อยู่ในส่วนของหน่วยบริการ อาจจะเป็น CUP, PCU หรือโรงพยาบาลตำบล ก็คือ เรามีเรื่องของกลุ่มเสี่ยง เรื่องการตรวจสุขภาพ ให้คำแนะนำโดยภาครัฐ เรามีการส่งเสริมป้องกันโดยภาครัฐ และตรงนี้ เราจะจัดบริการรักษา และใส่ฟัน โดยภาครัฐ แต่ว่าทั้งหมดนี้ จะเชื่อมโยง และส่งต่อกลับไปกลับมาอย่างไร คงไม่ใช่ว่า ใส่ฟันเทียมแล้วจบกัน ผู้สูงอายุก็ต้องกลับไปดูแล และจะดูแลอย่างไร ตรงนี้จะเสนอเป็นโมเดลไว้ ว่า ถ้ากลับไปส่วนล่างสุดนั้น ว่า ตรงนี้ อาจกลายเป็น รพ. เพราะว่า สอ. คงทำไม่ได้ พอจัดการเสร็จเรียบร้อยแล้ว เราก็ส่งคนไข้กลับไป PCU ให้ดูแล และ PCU เชื่อมต่อกับชมรมต่อไปได้หรือไม่ นี่ก็จะเป็นคำถามให้ทุกท่านไปจัดการต่อ
  • เราก็คงต้องการการจัดระบบ หรือพัฒนาระบบให้ดีดี และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด คงจะต้องเป็นผู้สนับสนุนให้ทุกคนได้ทำงานร่วมกัน

ส่วนสุขภาพช่องปากมีความสัมพันธ์กับโรคทางระบบอย่างไร เราก็จะมีช่องทาง

  • ในงานส่งเสริมสุขภาพที่ได้ทำในเรื่อง Long term care หรือ Home health care มีวัด ชมรมฯ เขามีกิจกรรมลงไปแล้ว และกิจกรรมของการส่งเสริม เมื่อเขามีการ screen 3 โรคแล้ว คือ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง สมองเสื่อม และเขาสามารถเอากิจกรรมสุขภาพช่องปากเข้าไปด้วยได้หรือไม่ และงานส่งเสริมสุขภาพ จะไปรวมกับฝ่ายส่งเสริมฯ หรือเวชปฏิบัติครอบครัว
  • ในส่วนของงานสุขภาพช่องปาก เรามีการคัดกรองกลุ่มเสี่ยง มีชมรมฯ มีฟันเทียมอยู่แล้ว ถ้าเราดูผู้สูงอายุ 1 คนเดียวกัน เราก็จะช่วยค้นหากลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ความดัน สมองเสื่อม ให้เขาด้วยได้หรือไม่ และก็ส่งคนไข้ย้อนกลับ ก็จะเป็นการทำงานร่วมกันได้

สุดท้ายก็คือ เราพบว่า ผู้สูงอายุมีโรคมากมาย และเราต้องมานั่งใส่ฟันกัน ด้วยงบประมาณที่ไม่แน่นอน และทำอย่างไร ที่เราจะทำให้ภาพรวมผู้สูงอายุของเรามีฟันที่มากขึ้นได้ ถ้าเราได้ทำการส่งเสริมสุขภาพช่องปากก่อนวัยสูงอายุได้ เราก็น่าจะสามารถทำให้ภาพรวมงานของเราดีขึ้นได้

แต่ก็หวังว่า เมื่อเราได้เดินทางไปในทิศทางเดียวกันแล้ว ก็หวังว่า จะทำให้ผู้สูงอายุมีฟันใช้งานได้มากขึ้น ซึ่งก็จะเป็นเป้าหมายหลักของเรา Innovation ต่างๆ ก็น่าจะปรากฎออกมา โดยอาจไม่ต้องยึดติดในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งด้วย

รวมเรื่อง สุขภาพช่องปากที่สัมพันธ์กับโรคทางระบบ

  

หมายเลขบันทึก: 248404เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2009 13:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • บันทึกนี้ยาวจัง
  • มาชวนคุณหมอ
  • ไปประเมินตัวเองกันค่ะ
  • ตามไปนะจ๊ะ
  • แล้วอย่าลืมแวะเวียนไปเยี่ยมน้องดาวบ่อยๆนะ 
  • กะลังเครียดดดดด
  • เจ้าของบ้านแอบไปเที่ยวซะแล้ววว
  • อย่าลืมขนมฝากด้วยนะจ๊ะ  อิอิ
  • กลับมาเมื่อไหร่เอ่ย
  • เที่ยวเผื่อด้วยนะจ๊ะ
  • P
  • สวัสดีค่ะ งานที่ทำน่าสนุกจังนะคะ
  • อย่าลืมมาเล่าให้ฟังกันบ้างนะ
  • P
  • เจ๊ จ๋า เจ๊
  • ตอนนี้อยู่ไกล หนาวเกือบมาก ที่เวียนนา (กระซิบ จะได้ไปเที่ยวปรากด้วย อิอิ)
  • พอดีต่อ net ได้ และเอา Note book มาทำงานด้วยจ้า
  • มีเวลาว่างช่วงคุณสามีประชุม เราก็เดินเล่นคนเดียว และเอางานมาทำด้วย ยิ่งต่อ net ได้นี่ สงสัยงานไม่ได้ทำ อิอิ
  • มีผจญภัยจ้า งานนี้ เดี๋ยวจะเล่าให้ฟังนะ
  • เดี๋ยวจะตามไปประเมินของเจ๊ก่อน
  • อย่าลืม มา update เรื่องฟันนะ กำลังติดลมบนจ้า กำลังจะรุ่งเรือง เออ หรือ รุ่งริ่ง อิอิ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท