สุขภาพช่องปากที่สัมพันธ์กับโรคทางระบบ (62) บทบาทของบุคคล ครอบครัว ชุมชน กับการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ตอนที่ 1 บทบาทของชุมชน


ในเรื่องการทำงานในชุมชน จะมี keyword อยู่ 2 ตัว ที่เราอาจจะต้องไปช่วยกันคิดสร้างสรรค์ เพื่อที่ได้นำมาช่วย รองรับงานทันตสาธารณสุขร่วมกัน ในปี 2553, 2554 ก็คือ เรื่องของการเฝ้าระวัง และที่ใดที่สามารถส่งเสริมให้เกิดมาตรการทางสังคมได้ ก็จะส่งผลต่อการทำงานในชุมชนได้อย่างดียิ่ง

 

ช่วงนี้ เราได้เชิญเจ้าภาพกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ จาก 2 จังหวัด ก็คือ ลำปาง และ บุรีรัมย์ มาเล่าสู่กันฟังค่ะ โดยดิฉันได้เกริ่นนำเรื่องโดย

การทำงานในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุของกรมอนามัย เราทำตาม "ยุทธศาสตร์ของกรมอนามัย" ซึ่งจะมียุทธศาสตร์การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุภาพรวม และทันตฯ ของเราจะอยู่หนึ่งในงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ของกรมอนามัย และจะมี นโยบาย "6 Key function" ซึ่งจะครอบคลุมในเรื่อง surveillance, R&D, M&E, consumer protection, provider support และ funder alliance ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ส่วนกลางได้ทำไปพร้อมๆ กัน ขณะเดียวก็คิดว่า เป็นสิ่งที่จะเป็นตัวแบบ และทำกันได้ต่อไป

ในเรื่องของ Ottawa charter หรือ Bangkok charter หัวใจของการทำงาน จะเน้นเรื่อง partner ซึ่งส่วนกลางก็จะมี partner อยู่ส่วนหนึ่ง เป็นทั้ง partner ที่อยู่ส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค และผู้เข้าประชุมที่มาจากส่วนภูมิภาคนั้น คงจะมี partner ที่สำคัญกว่า เพราะว่าเป็นเรื่องของชุมชน ที่เราก็ไปดำเนินการในพื้นที่กันเอง

... สิ่งนี้คงเป็นหัวใจของการทำงานในชุมชน ซึ่งคิดว่า ช่วงเวลานี้ พวกเราหลายคนก็ได้ก้าวเข้าสู่ในชุมชนของตนเองกันมากขึ้น และการให้บริการของเรา ตอนนี้เราทำกันแต่ในเรื่องฟัน และก็คงยังมีอีกในหลายๆ เรื่อง เช่น โรคของเหงือก โรคของเนื้อเยื่อ และอื่นๆ อีกมากมาย ที่ยังไม่ได้ทำ ...

ในเรื่องการทำงานในชุมชน จะมี keyword อยู่ 2 ตัว ที่เราอาจจะต้องไปช่วยกันคิดสร้างสรรค์ เพื่อที่ได้นำมาช่วย รองรับงานทันตสาธารณสุขร่วมกัน ในปี 2553, 2554 ก็คือ เรื่องของการเฝ้าระวัง และที่ใดที่สามารถส่งเสริมให้เกิดมาตรการทางสังคมได้ ก็จะส่งผลต่อการทำงานในชุมชนได้อย่างดียิ่ง

ในเรื่องของการส่งเสริมสุขภาพช่องปากของชมรมผู้สูงอายุ กองทันตฯ ได้ทำร่วมกับหลายๆ จังหวัดมาก่อนหน้านี้ โดยเริ่มมาตั้งแต่ปี 2548 มาเห็นผลปี 2549 ว่า มีชมรมผู้สูงอายุหลายๆ แห่งที่สามารถทำเรื่องของชมรมผู้สูงอายุสร้างเสริมสุขภาพช่องปากได้ เห็นได้ถึงผลสำเร็จ และจะมีการพัฒนาต่อเนื่องกัน ถึงปี 2551 และจนถึงปีปัจจุบัน ... แนวทางนี้ เราน่าจะนำไปขยายได้ตามบริบทของพื้นที่ ทำให้เราได้มีหลายๆ พื้นที่ ที่ทำสำเร็จไปในบางส่วน และความสำเร็จนั้นก็ออกมาในรูปแบบที่ต่างๆ กันไป วันนี้บางพื้นที่จะมานำเสนอให้เราได้ทราบกัน ก็คือ

  • คุณนันทริกา เลิศเชวงกุล จาก รพ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง
  • ทพ.เริงสิทธิ์ นามวิชัยศิริกุล จาก รพ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์
  • ทพญ.ลลนา ถาคำฟู จาก สสจ.ลำปาง

รวมเรื่อง สุขภาพช่องปากที่สัมพันธ์กับโรคทางระบบ

  

หมายเลขบันทึก: 251751เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2009 18:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท