Early Dectection (2) ทิศทางการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ


เราต้อง advocate เขา ทำความเข้าใจกับเขา และผสมผสานงานกัน ... ถ้าคิดว่า ทำยังไงให้เรื่องของช่องปากให้รู้กว้างขึ้นไป เราก็จะทำงานง่ายขึ้น งานสบายขึ้น ... เพราะว่า ถ้าเรารู้อยู่คนเดียว ทำอยู่คนเดียว ก็จะเหนื่อยอยู่กลุ่มเดียว เพราะฉะนั้น ทำยังไงที่จะให้คนอื่นรู้

 

วันนี้ ผู้อำนวยการกองทันตสาธารณสุข ทพ.สุธา มาต้อนรับผู้เข้าประชุม และบรรยายพิเศษ ในเรื่อง ทิศทางการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ผอ.บอกว่า ถึงเวลาที่เราต้องติดอาวุธให้กับตัวเองกันแล้ว ในเรื่องของการจะเรียนรู้ เรื่องสุขภาพองค์รวมกัน 

ผู้สูงอายุที่เป็นผู้สูงอายุ เขานับกันตรงไหน นั่นก็คือ บ้านเรานับที่ 60 ปีขึ้นไป แต่ต่างประเทศ อย่างญี่ปุ่น สแกนดิเนเวีย สวีเดน และยุโรปหลายๆ ประเทศ นับที่ 65 ปีขึ้นไป จึงเป็นผู้สูงอายุ ... ไทยนับที่ 60 ปี แต่อนาคตอาจจะนับที่ 65 ก็ได้ เพราะว่าตอนนี้ 60 ปี ก็ยังดูหนุ่มๆ สาวๆ อยู่เลย และกลุ่มผู้สูงอายุ จะมี 3 ช่วง แต่ละช่วงที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของสุขภาพ จะแบ่งเป็น วัยละอ่อน อยู่ที่ 60-69 ปี วัยกลาง อยู่ที่ 70-79 ปี และที่เป็นผู้สูงอายุจริงๆ คือ 80 ปีขึ้นไป

พรบ. ผู้สูงอายุ ปี 2546 ถือว่า ผู้สูงอายุต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป ... พอเป็นผู้สูงอายุแล้ว ก็จะได้สิทธิต่างๆ อย่างรัฐบาลนี้ก็ให้ผู้สูงอายุเดือนละ 500 บาท และมีกฎเกณฑ์ว่า สังคมผู้สูงอายุ อันไหนจะเรียกว่า Aging ... เขาบอกว่า ถ้าสังคมนั้นอายุ 65 ปีขั้นไป เกิน 7% ก็ถือว่า เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และเป็น Aged society ก็คือ มีผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป เกิน 14%

สังคมไทยเมื่อปี 2545 ประชากรเขาระบุว่า มี ผส. 60 ปี ขึ้นไป 8-10% ปี 2548 10.4% แล้ว และปี 2550 10.8% และพอไปถึงปี 2563 อีก 10 ปีข้างหน้า เกือบ 20% แล้ว Slope จะชันขึ้นอย่างรวดเร็ว

เพราะฉะนั้น อีก 10 ปีข้างหน้า ถ้าเราไม่เตรียมการอะไรในพื้นที่ของแต่ละจังหวัด ผู้สูงอายุก็จะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว อีก 10-20% จะดูแลกันอย่างไร เราอาจจะบอกว่า ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มวัยที่ทันตฯ เริ่มไปดูแลตอนที่เราเริ่มทำโครงการฟันเทียมพระราชทาน เกี่ยวกับผู้สูงอายุ น้องๆ เราก็บอกว่า เป็นกลุ่มใหม่มากเลย ไม่เคยยุ่ง ไม่เคยไปดูแลเลย เคยแต่เชี่ยวชาญการทำงานเรื่องของเด็ก พอไปทำผู้สูงอายุใหม่ๆ ก็ไม่คุ้น ไม่ชิน ต่างๆ ... ทำไปเรื่อยๆ สักพัก ก็เริ่มรู้จักผู้สูงอายุมากขึ้น ทำกันแล้วก็มีความสุขมากขึ้น

เขาบอกว่า จริงๆ แล้ว ถ้าจะ advocate ชาวบ้าน ผู้บริหาร เพื่อนร่วมงาน ใช้ประโยคนี้ "ปาก คือ ประตูสู่สุขภาพ" ... เพราะแต่เดิม เรื่องของช่องปาก สาขาอื่นแทบจะไม่รู้เรื่องกับเรา ... ผมยังเคยนึกว่า เราเกิดมาเป็นทันตฯ โชคดีนะ เราได้รู้ในเรื่องต่างๆ ที่มันเป็นตัวที่ส่งผลให้สุขภาพเราโดยรวม ... เพราะฉะนั้น มันก็ไม่รู้เป็นเพราะว่าเราเป็นทันตฯ หรือเปล่า แต่รู้สึกว่า คนอื่นอาจจะไม่เข้าใจ เพราะว่าเขาไม่ได้ดูแลเรื่องช่องปาก ซึ่งเป็นคล้ายประตูด่านแรก ไม่ว่าเป็นเรื่องของบุคลิกภาพ เรื่องของกลิ่นปาก และต่างๆ มันอยู่ตรงช่องปากเยอะมาก

ถ้าเรารู้ว่าเราโชคดี ก็ทำอย่างไรให้คนอื่นเขาโชคดีเหมือนเราด้วย ก็คือ เราต้อง advocate เขา ทำความเข้าใจกับเขา และผสมผสานงานกัน ... ถ้าคิดว่า ทำยังไงให้เรื่องของช่องปากให้รู้กว้างขึ้นไป เราก็จะทำงานง่ายขึ้น งานสบายขึ้น ... เพราะว่า ถ้าเรารู้อยู่คนเดียว ทำอยู่คนเดียว ก็จะเหนื่อยอยู่กลุ่มเดียว เพราะฉะนั้น ทำยังไงที่จะให้คนอื่นรู้

ท่านอดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข ท่านมาทำฟัน เสร็จแล้วก็ให้ข้อชี้แนะว่า ... เอ๊ะ ทำไมทันตแพทย์ หรือทันตบุคลากร ไม่พยายามทำให้ชาวบ้านรู้จักฟันของตัวเอง ... ท่านก็บอกว่า ความจริงท่านเองยังไม่รู้เลยว่า ฟันของท่านมีข้างบนกี่ซี่ ข้างล่างกี่ซี่ แต่ละซี่ทำหน้าที่อะไร ... ท่านได้บอกว่า ทำยังไงที่จะสื่อสารออกไป ให้ชาวบ้านได้รู้ด้วย

ลองคิดดูว่า ก่อนที่เราจะเป็นทันตแพทย์ ทันตาภิบาล เรารู้อะไร ... เราต้องเรียน Anatomy เรียนกายภาพ เรียนอะไรที่เกี่ยวกับช่องปาก เยอะทีเดียว โดยที่เราไม่ทันรู้ตัว ทุกอย่างที่อยู่ในช่องปาก ฝังอยู่ในตัวเราไปแล้ว ฟันซี่หนึ่ง รูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ก็ต้องวาดออกมาให้ได้ ต้องแต่งฟันออกมาให้ได้ เพราะฉะนั้น ตรงนี้เหมือนกับเป็นความรู้ที่ซึมเข้าไป จนเป็นธรรมชาติ จากหลักสูตรที่เราเรียน

แต่ชาวบ้านนี่ เขาไม่มีโอกาสแบบนี้ ... ตรงนี้คือ พื้นฐาน เขาเลยบอกว่า ทำยังไง ให้ชาวบ้านได้รู้ตัวโครงสร้างของฟัน ... เพราะว่าเวลาที่เรารู้ อย่างที่เราใช้ไหมขัดฟัน เราก็จะรู้ว่า ไหมขัดฟัน จะต้องผ่าน contact point ลงไปที่ sulcus และทำความสะอาดตรงนั้น ... เพราะเรารู้ anatomy เรารู้โครงสร้างฟัน เหงือก เราก็เลยรู้ว่า ตรงจุดไหนเป็นจุดเสี่ยง

... ฝากไปนะครับ ทำในเรื่องให้ชาวบ้านมารู้จักฟันกันเถอะ ถ้าตรงนี้ชาวบ้านได้รู้แล้ว ต่อไปเราก็จะสบาย

มี evidence base ซึ่งทีมงานได้ไป review มา จากเอกสาร จาก journal จากอาจารย์ที่มาบรรยาย ว่า เรื่องของช่องปาก สัมพันธ์กับ systemic disease อะไรบ้าง ทั้งเบาหวาน ความดัน หัวใจ หลอดเลือด และหลอดเลือดสมองตีบ และเรื่องสุขภาพจิต ก็คงจะเชื่อมโยงไป พอเรามาทำเรื่องพวกนี้มากๆ เข้า เวลาไปคุยกับทางแพทย์ ทางพยาบาล จะได้เข้าใจกันมากขึ้น เพราะว่านักวิชาการส่งเสริมฯ เขาก็จะทำทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องช่องปาก ...

  • เดี๋ยวนี้ คุณหมอหัวใจ เขาก็บอกว่า เดี๋ยวนี้ ทุก case เขาจะต้อง refer ไปที่ทันตฯ หมด เพื่อไป clean เรื่องเชื้อในช่องปากให้เรียบร้อย ถึงจะเจอหมอหัวใจได้แล้ว
  • เรื่องเกี่ยวกับโภชนาการ การเคี้ยว ก็จะมีเรื่องของฟันเข้าไปเกี่ยว เรื่องของชนิดอาหาร ถ้าเรามีฟันเหลือน้อยลง จากเดิมที่ทานผักได้เยอะ ก็ต้องไปต้มให้นิ่มขึ้น ก็ส่งผล ไปต้มมากๆ วิตามินก็หายหมดแล้ว บอกว่า เคี้ยวไม่ไหวแล้ว ก็จะเป็นผลเรื่องของฟัน การเคี้ยว และเรื่องของสารอาหารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ส่วนคนที่ยังมีฟันเยอะอยู่ ก็จะยังเคี้ยวได้ดี ... เวลาผู้สูงอายุกินได้ เขาก็มีความสุข เวลากินไม่ได้ ก็แย่ไปเลย ทั้งระบบทางเดินอาหารด้วย ... อาจจะเป็นเพราะเกี่ยวกับฟันก็ได้ เพราะพอฟันเคี้ยวอาหารได้ไม่ดี กระเพาะก็ทำงานหนัก อาหารมากขึ้น เชื้อต่างๆ ก็ลดลง
  • เรื่องเจ็บปวดไม่สบาย นอนไม่หลับ ก็ต้องมีกันแน่นอน เรื่องของน้ำหนัก เรื่องของความสุข ถ้าปวดฟันก็ไม่มีความสุข ในช่องปากก็จะมีความละเอียดอ่อนค่อนข้างมาก จะเกี่ยวกับความสุขเยอะ

แนวคิดของผู้สูงอายุ

  • กรมอนามัยให้ความสำคัญเพราะว่ายกขึ้นมาเป็นประเด็นยุทธศาสตร์อันหนึ่ง ใน 6 ประเด็นยุทธศาสตร์ ในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เพราะว่าประเด็นยุทธศาสตร์ เป็นข้อกำหนดหนึ่งของการจัดทำงบประมาณ ... เป็นเรื่องเฉพาะเจาะจงว่า กรมอนามัยจะทำเรื่องอะไรบ้าง ที่เป็นประเด็นใหม่ๆ
  • กรมอนามัยใช้กลยุทธ์ จาก Bangkok charter เราเน้นที่ partnership ภาคีเครือข่าย ... ทุกท่านก็ถือว่าเป็นภาคีเครือข่ายของกรมอนามัย ที่จะทำงานร่วมกัน ตามประเด็นยุทธศาสตร์ เรื่อง ผู้สูงอายุ
    ... และเราได้ทำเรื่อง building capacity ก็คือ การพัฒนาศักยภาพ ให้กับบุคลากรสาธารณสุข
    ... เรื่อง advocate ก็จะเป็นการทำงานในเชิงกว้าง และการทำงานระดับพื้นที่ ก็คงเป็นพื้นที่ ที่จะทำ ในเรื่องโรงเรียน โรงพยาบาล นอกโรงพยาบาล หรือในชุมชน
    ... และในพื้นที่อาจมีเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวกับท้องถิ่น
  • 6 key function เป็นบทบาทหลัก ซึ่งเรามีคนที่มีส่วนร่วมในกระทรวง คือ สปสช. เอาเรื่องของเงิน เป็นผู้ซื้อ และ สช. เอาเรื่องของนโยบาย ... ซึ่งพวกท่านจะมีบทบาทมากๆ ในการทำงานระดับพื้นที่ ถ้าเราสามารถเอาเรื่องสุขภาพช่องปาก เสนอใส่ เป็น issue หนึ่ง ซึ่งจะสามารถนำเข้าเป็นเรื่องต่างๆ จากพื้นที่ขึ้นมาสู่ระดับชาติ ที่เกี่ยวกับเรื่องทันตสุขภาพได้
    ... กระทรวงสาธารณสุข หรือกรมอนามัย ก็ต้องทำเรื่องของ 3 function หลักๆ ก็คือ เรื่องของการวิจัยพัฒนา information และ innovation ด้วย
    ... และเรื่องของการเฝ้าระวัง ก็จะเป็นเรื่องที่ทำแล้ว ก็ต้องปฏิบัติการต่อด้วย และตามด้วย M&E คือ ติดตามและประเมินผล ซึ่งเป็นภาระกิจหลักๆ ที่ต้องทำ
    ... อีก 3 ภารกิจ คือ คุ้มครองผู้บริโภค, provider support เป็นการสนับสนุนเรื่องศักยภาพ และ funder alliance เป็นเชื่อมแหล่งทุน เพื่อกำหนดในเชิงของ issue ขึ้น ซึ่งก็จะเป็นภารกิจของ กระทรวงสาธารณสุขเหมือนกัน

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย ได้กำหนดไว้ว่า ผู้สูงอายุโดยธรรมชาติมี 3 กลุ่มใหญ่ๆ กลุ่มที่หนึ่ง คือ กลุ่มที่พึ่งตนเองได้ กลุ่มที่สองคือ ดูแลตนเองได้บ้าง และกลุ่มที่สาม คือ กลุ่มติดเตียง คือ ดูแลตัวเองไม่ได้เลย ต้องให้คนอื่นคอยดูแล

กลุ่มที่พึ่งตนเองได้ ก็จะมารวมกลุ่ม เป็นอาสาสมัครบ้าง เป็นชมรมบ้าง และก็จัดกิจกรรมขึ้น ส่วนที่ดูแลตัวเองได้บ้าง ก็จะอยู่ในบ้าน เวลาออกไปข้างนอก ก็จะมีคนคอยดูแล หรือมีสมาชิก คอยดูแล ส่วนกลุ่มติดเตียงก็ต้องมีคนดูแลอย่างเดียว

เรื่องการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ เขาบอกว่า ให้ดูเป็นองค์รวม ดูสุขภาพทั้งหมดว่า ทำอย่างไรที่จะทำให้ผู้สูงอายุพึ่งพาตัวเองได้มากที่สุด และไม่ใช่ดำเนินเฉพาะเจ้าหน้าที่อย่างเดียว ก็จะเป็นแนวคิดของอาจารย์หมอเกษม ซึ่งอยู่ที่ สพช. ว่าในเรื่องของการเปลี่ยนบทบาททำงานในเรื่องของผู้สูงอายุ

  • การจัดระบบ เป็นการดูแลให้ผู้สูงอายุได้รับความสะดวก เข้าถึงบริการมากขึ้น หรือจัดระบบให้ไปถึงบ้านผู้สูงอายุให้มากขึ้น การดูแลต้องเป็นการดูแลอย่างต่อเนื่อง และสามารถที่จะดูแลแบบองค์รวมได้ ... ตัวอย่างหนึ่ง ชุมชนจะมีส่วนร่วมค่อนข้างเยอะ ผมเคยไปเจอ case ที่เป็นโรคเรื้อรัง และเป็นอัมพาตอยู่ที่บ้าน มีเรื่องของการจัด facility ที่บ้าน ชาวบ้านก็จะมีภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น เรื่องผู้สูงอายุไปไหนไม่ได้เลย เรื่องส้วมติดเตียง เขาก็จะมีการประยุกต์ใช้ ทำยังไง ให้อยู่ตรงนั้น ถ่ายตรงนั้นได้เลย
  • เรื่องของการบริการแบบผสมผสาน คงไม่ใช่จะไปรักษาอย่างเดียว ต้องมีการส่งเสริมป้องกันด้วย ทำครอบคลุม ทั้งเรื่อง day care, chronic care และจัดระบบ ส่งต่อ เชื่อมระบบข้อมูล ก็เป็นบทบาทของพวกเรา เมื่อเข้าไปในชุมชนแล้ว ทำอย่างไร ที่จะเก็บข้อมูลเป็นระบบ สามารถที่จะบอก หรือเชื่อมต่อกับเรื่องของงานส่งเสริมสุขภาพได้ ... ตรงนี้ก็คือ เราคงต้องไปเชื่อมกับการส่งเสริมสุขภาพ และที่สำคัญที่สุดคือ ทำอย่างไรให้ชาวบ้านลุกขึ้นมาดูแลตัวเองได้ การคืนข้อมูลให้กับชาวบ้านในเรื่องของข้อมูลสุขภาพช่องปาก เพื่อให้ชาวบ้านก็จะสามารถคิดต่อได้เอง

เรื่องของสุขภาพช่องปาก ที่เราทำกันไปแล้ว ก็คือ ปี 2547 ทำฟันเทียม และก็ก้าวต่อ จากสุขภาพช่องปากดี ไปสู่คุณภาพชีวิต

เราทำกันในเรื่อง ใส่ฟันในกลุ่มที่สูญเสียฟัน ทำเรื่องสิทธิประโยชน์เป็นการส่งเสริมป้องกัน ในโรงพยาบาล และเพิ่มศักยภาพของชาวบ้าน ที่ชมรมผู้สูงอายุ ... เราพยายามที่จะเชื่อมระบบ ตั้งแต่ส่วนกลาง จังหวัด อำเภอ ตำบล ไปจนถึงผู้สูงอายุ โดยผ่านชมรมผู้สูงอายุ ซึ่งตอนนี้ชมรมผู้สูงอายุจะมีบทบาทที่ค่อนข้างเยอะ ถ้าเข้าไปในตำบล ในหมู่บ้าน ชมรมผู้สูงอายุค่อนข้างมีบทบาท

และตรงนี้ น่าจะเป็น key success factor ตัวหนึ่งในการที่เราจะเพิ่มศักยภาพของชุมชน ... เพราะเท่าที่ไปสัมผัส กรรมการชมรมผู้สูงอายุหลายๆ ชมรม ค่อนข้างมี power สามารถที่จะไปเป็นตัวแทนใน อบต. เทศบาล อบจ. และท้องถิ่นให้ความสำคัญกับ ผส. ค่อนข้างเยอะ ผมได้ไปที่กระบี่ อบจ. จัดพื้นที่ไว้เยอะเลย สำหรับให้ ผส. มาทำกิจกรรมด้วยกัน ถึงขนาดมีที่นอนทั้งฟลอร์ เพื่อให้ผู้สูงอายุมาทำกิจกรรม และมานอนได้เลย อำนวยความสะดวกให้ได้ดีมาก

เครือข่ายในพื้นที่ก็คงจะต้องจับมือกันในการทำงาน ที่เราทำก็มีการประเมินแล้ว จาก surveillance พบว่า ผส. มีฟัน 4 คู่สบ จาก 44% ในปี 2548 เป็น 49% ในปี 2551 และมีฟัน 20 ซี่ 37% ในปี 2551 และมีการสูญเสียฟันทั้งปากเพิ่มขึ้นเป็น 10% และตรวจสุขภาพช่องปาก จะพบฟันผุ 96% ไม่ได้รักษา 55% รากฟันผุที่รักษาแล้ว 2% และปริทันต์ 69%

เรื่องพฤติกรรม มีผู้สูบบุหรี่ร้อยละ 18% (ประมาณ 7 มวนต่อวัน) เคี้ยวหมาก 17% ไม่เคยไปรับบริการทันตกรรม 67% และคนที่มีฟัน แปรงฟัน 74% โดยใช้แปรงสีฟัน และอุปกรณ์เสริม 7%

ทิศทางการดูแลสุขภาพช่องปากนั้น

ถ้าเราไปดูเรื่องของชมรม วัด ชุมชน ก็จะเป็นภาคประชาชน ตั้งแต่เรื่องตัวผู้สูงอายุในหมู่บ้าน เรามีข้อมูลแล้วหรือยัง ว่า ตำบลที่เราดูแลกี่ตำบล แต่ละตำบลมีผู้สูงอายุกี่คน และผู้สูงอายุจำนวนนั้น แบ่งเป็น 3 กลุ่มแล้ว จะมีกี่คน ที่ช่วยเหลือตัวเองได้ ช่วยเหลือผู้อื่นได้ และกลุ่มที่พึ่งตนเองได้ และกลุ่มติดเตียงนั้นๆ มีกี่คน ... เราอาจจะประสานกับงานส่งเสริมสุขภาพ ก็จะทราบได้ ว่ามีจำนวนเท่าไร อยู่ที่ไหนบ้าง และชีวิตความเป็นอยู่เขาเป็นอย่างไร และบริบทของระดับตำบล มีองค์กรอะไรเข้าไปเกี่ยวข้องบ้าง ก็จะเป็นเรื่องข้อมูล การเฝ้าระวัง ที่ให้เกิดเป็นข้อมูลข่าวสารขึ้น และเรามีการจัดการในเรื่องของการดำเนินงานต่อได้ เราก็จะสามารถวางแผนการทำงานได้ดี ... ในส่วนภาครัฐ ก็จะมีการเชื่อมไปกับชุมชน และท้องถิ่น ภาคเอกชน และทำอย่างไรที่จะเชื่อมกันทั้งระบบ จับมือกันไป และพากันไปทำงาน

บทบาทของแต่ละภาคส่วนที่จะต้องดำเนินการ ทั้งส่วนกลาง เขต จังหวัด ก็ต้องทำในเรื่องของการปรับระบบบริการ การพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย กองเพิ่มศักยภาพให้ท่าน ท่านก็ต้องไปเพิ่มศักยภาพให้กับท้องถิ่น ต่อเนื่องกันไป

มีข้อมูลในการสำรวจ และคืนข้อมูลให้กับชุมชน เพื่อสร้างระบบบริการขึ้น หรือจับมือกันทำงาน หรือการ advocate ในระดับ พื้นที่ หรือการก้าวข้ามไปสู่กลุ่มของวัยผู้ใหญ่ ที่จะเป็นการป้องกัน ก่อนที่จะเข้ามาเป็นผู้สูงอายุ ก็คือ อสม. ... อสม. ทั้งประเทศ จะมี 980,000 คน ถ้าเราสามารถ add งานของเราเข้าไปได้ ในระดับของงานส่งเสริมสุขภาพ ก็จะเป็นตัววัดที่เราจะทำในปี 2554 ในวาระ 84 พรรษาของในหลวง

บทบาทของพวกเรา ปัจจุบันเราทำการให้บริการ เป็น provider ทำอย่างไรที่เราจะนำพาภาคีเครือข่ายเข้ามาร่วมจัดบริการ ร่วมดูแลผู้สูงอายุด้วยกัน และเปลี่ยนจากผู้ให้บริการมาเป็นผู้สนับสนุน ผู้ประสานงาน ผู้ติดตามมากขึ้น ตรงนี้ก็จะเป็นภารกิจในอนาคต ที่จะทำเรื่องของการสนับสนุน และ empowerment มากขึ้นด้วย

มีโจทย์ว่า เราจะผสมผสานงานเราไปกับงานส่งเสริมสุขภาพ ตอนนี้เขาเล่าเรื่อง LTC, HHC โรคเรื้อรัง 3-4 โรค และช่องปาก เราจะ add เข้าไปได้อย่างไร หรือเรากำลังทำงานทันตฯ เราจะไปช่วยเรื่องงานส่งเสริมสุขภาพ โรคเรื้อรังได้อย่างไร ตรงนี้ก็คงเป็นทักษะ หรือศิลปะ ในการที่จะเข้าไปเชื่อม หรือไปเกื้อกูลกันของสุขภาพในองค์รวม ที่เราถือว่าเป็นบทหนึ่งในงานทันตฯ ที่จะทำในเรื่องของสุขภาพด้วย แล้วงานสุขภาพ จะมาช่วยงานทันตฯ ได้อย่างไร

อาจารย์บางท่านบอกไว้ว่า งานทันตฯ ที่เราทำๆ กันอยู่นี้ ก็แค่เรื่องฟัน และเรื่องเหงือกเท่านั้นเอง จริงๆ ในช่องปากยังมีอีกเยอะ เช่น เรื่อง TMJ ก็จะ complicate ขึ้น และเรื่องอื่นๆ อีกมากมาย ถ้าเราแก้ไขเรื่องของฟัน และเหงือกไปได้แล้ว ต่อไปก็จะเป็นเรื่องของขากรรไกร เพราะว่า พอสูงอายุมากขึ้น ฟันก็สึกมาก VD เปลี่ยน ตัว joint ก็จะมีปัญหาแล้ว

เวลาที่เราจะทำอะไร ก็คงไม่ใช่จะมีรูปแบบเดียว จุดหมายเดียวกันก็จริง แต่วิธีการเยอะแยะมากมายที่จะไปทำงาน ... หรือ แมวสีอะไรก็ได้ ขอให้จับหนูได้

ชั่วโมงนี้ ผอ. ก็ได้เน้นย้ำให้ได้รู้กันนะคะว่า

  • ให้เราเริ่มมาติดอาวุธกัน เพื่อที่จะนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ เข้าไปช่วยในการทำงานของเราต่อไป
  • ในสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย เรา ในฐานะของทีมงานทันตสาธารณสุข ในอนาคตก็คงต้องทำในหลายๆ เรื่อง เช่น เรื่อง advocate กับผู้บริหาร กับภาคีเครือข่าย
  • เราต้องเข้าใจเรื่องสุขภาพช่องปาก กับคุณภาพชีวิต และนำไปปฏิบัติอย่างบูรณาการ เข้าไปทำงานกับผู้อื่น หรือว่าภาคีเครือข่าย และให้มองด้วยว่า จะช่วยกันทำงานอย่างไร
  • ต้องเข้าใจในมิติของการดูแลผู้สูงอายุ และนำไปใช้ได้
  • ตลอดจนการทำงานในเรื่องการส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟู ของเราให้บูรณาการมากขึ้น ตลอดจนทำให้ชาวบ้านลุกขึ้นมาดูแลตนเองได้ต่อไป

รวมเรื่อง Early Detection

 

หมายเลขบันทึก: 254138เขียนเมื่อ 7 เมษายน 2009 20:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ

  • เรื่องการบูรณาการเป็นเรื่องที่สำคัญ
  • ทันตฯ เข้าไปอยู่ในทุกกลุ่มอายุ แต่คนไม่ค่อยเห็นความสำคัญ
  • เพราะปัญหาดูเหมือนว่าไม่เร่งด่วน
  • ต่อไปคงต้องชูประเด็นนี้ให้มากเนอะ เพราะมีผลต่อไปในอนาคต
  • P
  • มาร่วมด้วยช่วยกันนะเจ๊
  • อนาคต สุขภาพคนไทยต้องแข็งแรงแน่นอน
  • อาจารย์หมอ อมร
  • ท่านบอกแล้วว่า
  • ต่อไปเราต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่
  • บูรณาการกับทุกเรื่อง
  • และพยายามเข้าไปหาเครือข่ายให้เขาช่วยเรา
  • เพราะเขามีทั้ง คน  เงิน และอำนาจ
  • ไม่งั้นเราทำไม่ได้ หรือได้ก้ไม่ยั่งยืน 
  • อิอิ  ขออนุญาตต่อกิ่งก้าน แต่ไม่ถึงยอด

 

  • P
  • ต่อ แต่กิ่ง กะ ก้าน ... แล้วใบจะงอกด้วยมั๊ยอ่ะ เจ๊
  • นี่ละ ลูกศิษย์ อาจารย์หมออมร ตัวจริง เสียงจริง ละเน้อ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท