Early Dectection (3) รากฟันผุเป็นอย่างไร ตอนที่ 1 Outline


"อย่างน้อยการตรวจ จะดูด้วยตาอย่างเดียวไม่ได้ แค่ดูตำแหน่ง รูปร่าง ดูที่สี ไม่ได้ ต้องดูประกอบกับ tactile คือ ต้องเขี่ยดู ถ้ามีความรู้สึกนิ่มๆ ติดตรงปลาย explorer จึงจะนับว่าอยู่ในกลุ่มที่มีรากฟันผุ และนับรวมอยู่ในค่าความชุก"

 

การบรรยายเรื่องนี้ โดย อ.มัทนา พฤกษาพงษ์ คุณแม่น้องเจตมัยค่ะ

วิทยาการระบาด ในเรื่อง ความชุกของโรครากฟันผุ เกิดขึ้นอย่างไร ต่างกับฟันผุบน crown หรือเปล่า ปัจจัยเสี่ยงมีอะไรบ้าง วิธีตรวจวินิจฉัย และวินิจฉัยเสร็จแล้ว จะวางแผนการรักษาอย่างไร จะอุด หรือจะใช้มาตรการอื่น

ความชุกของรากฟันผุในประเทศเรามี 21% เป็นรากฟันผุ และได้รับการรักษาน้อยมาก (2%) ประเทศอื่นๆ เช่น อเมริกา พบมากกว่าเรา เขาพบ 38.2% และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะว่ายิ่งอายุมากความชุกของการเกิดโรคก็มากขึ้น น่าแปลกใจว่า ทำไมประเทศที่พัฒนาแล้ว จึงมีความชุกของโรคเยอะกว่าเรา

 

จากข้อมูล ทุกซี่จะมีปัญหามาก ในเรื่องของรากฟันผุ ตารางนี้จะให้ดู แค่ให้เห็นว่ามีความชุกแค่ไหน ในที่นี้ไม่ต้องเทียบ เพราะว่ามีการศึกษาเรื่องนี้เยอะ แต่ละประเทศก็มีการศึกษาของประเทศของเขาเอง ว่าใช้คนละเกณฑ์ และกลุ่มตัวอย่างที่เลือก บางที่ก็สุ่ม บางที่ก็ไม่ได้สุ่ม บางที่ก็เจาะจงเฉพาะคนที่อยู่ในบ้านพักคนชราเท่านั้น บางที่ใช้คนอยู่ในชุมชน บางที่ใช้คนที่ยังทำงานอยู่ เพราะฉะนั้นค่าจะออกมาต่างกันหมด ... แต่เขาวัดกลุ่มตัวอย่างติดเตียงส่วนใหญ่

นิยามรากฟันผุ

เกณฑ์ที่ใช้วัดยังมีความต่างกันนั้น จนปัจจุบันก็ยังไม่มีนิยามชัดเจน ยังไม่มีข้อตกลงที่เป็นหนึ่งเดียว เพราะว่าบางคนบอกว่า

  • ขอบต้องเห็นแน่นอน ว่าเป็นขอบ สามารถเช็คได้ บางคนบอกว่าขอบควรเลือนๆ ดูไม่มีขอบเขต
  • ขอบอยู่ตรงเฉพาะรากหรือเปล่า อยู่บนตัว crown นับไหม
  • จำเป็นว่าเหงือกต้องร่น ต้องเห็น CEJ หรือไม่ ซึ่งนิยามเดิมต้องเห็น CEJ เท่านั้น จึงจะเรียกรากฟันผุ เหมือน อ.นฤมนัส บอกว่า phase แรกต้องมีเหงือกร่น แต่จริงๆ จากการศึกษาปัจจุบันพบ 10-20% พบเกิดใต้เหงือกได้ เพียงแต่การเกิดใต้เหงือกนั้น ไม่ได้อยู่ดีๆ ก็เกิดขึ้น มันก็จะเริ่มจากขอบเหงือก เพียงแต่แทนที่จะลุกลามขึ้นข้างบนก็ลงข้างล่าง เหงือกก็บวม เป็น pseudo pocket ขึ้นมา เมื่อมองจากทางคลินิก ก็จะไม่เห็นรอยผุ เหงือกก็ไม่ร่น ยกเว้นจะเปิดดูใต้ gingival crevice
  • สรุปแล้ว ยังไม่มีข้อสรุป

และจะดูจากอะไร? ... ที่ว่า ดูจากสี ดูว่าเป็นรูไหม ถ้าสีเปลี่ยน แต่ไม่เป็นรู เราจะนับไหม ว่า subject คนนี้เป็นรากฟันผุไหม บางคนก็นับ บางคนก็ไม่นับ

และที่จะวัด วัดอะไร? ... วัด ณ ที่ฟันผุ ฟันที่หาย จะนับ filling ด้วยหรือเปล่า ถ้านับตัวฟัน หรือฟันที่หายไปด้วย จะรู้ได้อย่างไรว่าหายจากปริทันต์ หรือหายจากฟันผุ บางคนก็นับ บางคนก็ไม่นับ

ถ้านับ DFS ... คือ ด้านที่ผุ กับด้านที่อุด บางคนบอกว่า อุด เป็นคอฟันสึกจาก abrasion ก็ได้ เพราะฉะนั้น จะนับหรือไม่นับ บางคนก็นับรวมหมดเลย เป็นฟันผุ แต่บางคนบอกว่าดูรูปร่างก็ดูออก ให้แยกไปเลยว่า ไหนเป็น abrasion ไหนเป็นฟันผุ ส่วนหลังๆ บอกว่า ก็นับ surface ด้านที่ผุไปเลย เพราะว่า ถ้าเราไปนับ DMFS หรือ DFS ก็เหมือนเราไป overestimate เราก็จะเจอคนฟันผุกว่า เพราะว่า มันไปรวมกับ perio ด้วย และไปรวมกับ abrasion ด้วย

criteria นี้มี 7 ชุด ที่บอกว่า อย่างไหนที่เรียกว่าผุ แล้วเอามารวมเป็นความชุก จากตัวอย่างที่เขาเลือกมา เป็นช่วง research  ที่จะบูมมากช่วงปี 1980-1990 แล้วจะค่อยๆ ซาลง และจะมี National Institute of Dental Research (NIDR) ของอเมริกา เขียน protocol ขึ้นมาว่า "อย่างน้อยการตรวจ จะดูด้วยตาอย่างเดียวไม่ได้ แค่ดูตำแหน่ง รูปร่าง ดูที่สี ไม่ได้ ต้องดูประกอบกับ tactile คือ ต้องเขี่ยดู ถ้ามีความรู้สึกนิ่มๆ ติดตรงปลาย explorer จึงจะนับว่าอยู่ในกลุ่มที่มีรากฟันผุ และนับรวมอยู่ในค่าความชุก"

นิยามของ คำว่า ผุ หรือไม่ผุ ถ้าสมมติว่า "caries free" คือ คนคนนี้ไม่มีรากฟันผุ ไม่จำเป็นว่า เขาจะต้องไม่มี lesion อะไรเลย ไม่มี disease เลย แต่จะต้องไม่มี caries cavity ที่ต้องการอุดอย่างชัดเจน ถ้าจะ definition ต่างกัน ค่าความชุกก็จะต่างกัน

รวมเรื่อง Early Detection

 

หมายเลขบันทึก: 255888เขียนเมื่อ 17 เมษายน 2009 11:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท