Early Dectection (6) รากฟันผุเป็นอย่างไร ตอนที่ 4 การตรวจวินิจฉัย


ถึงแม้จะไม่มีข้อตกลงว่าตรวจอย่างไรก็ตาม แต่มันเป็นเรื่องของการวัดในการวิจัยมากกว่า ในการวินิจฉัยในห้องฟัน เราก็จะมีเกณฑ์คราวๆ ที่ใช้ร่วมกันได้

 

หมอมัทบอกว่า

เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ถ้าเราไปอ่าน Journal เยอะๆ นี่ เขาจะเถียงกัน เพราะว่า เขาจะไปทำวิจัยมากกว่า เพราะฉะนั้น การวินิจฉัยในคลินิก กับการวินิจฉัยเพื่อไปทำวิจัย เช่นดูว่า น้ำยาบ้วนปากชนิดนี้ มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลไหม เขาก็จะมาเถียงการในเรื่องเกณฑ์ (criteria) ... แต่ถ้ามาใช้ในทาง Practice ก็จะไปยุ่งยากตรงนั้น

ในการวิจัย เหมือนกับตอนที่คิดค่าความชุก มันจะไม่มี concensus ไม่มีข้อตกลงเลยในทั้ง 7 สถาบัน แต่ว่า ก็ยังดีที่ ทั้ง 7 สถาบันนั้น ตรวจแบบไหนก็ได้ เพราะว่ามี reliability คือตรวจซ้ำๆ แล้วยังได้เหมือนเดิม เพียงแต่ว่าบางคนเขาก็บอกว่า ได้เหมือนเดิมอย่างเดียวไม่พอ มันอาจจะตรวจผิดเหมือนเดิมก็ได้

อย่างที่บอกว่า ผู้สูงอายุมักจะไม่ค่อยบ่นว่า เจ็บ จะไม่เหมือนฟันผุในวัยอื่น ที่ผุแล้วก็จะปวด เสียว เพราะฉะนั้น การที่จะตรวจวินิจฉัยรากฟันผุในผู้สูงอายุ ก็จะต้องพึ่งลักษณะทางคลินิก คือ

  • ดูจากทางสายตา โดยดู contour ว่ามีรูไหม ดูสี
  • และดูจากความรู้สึก ดูจากการสัมผัส (tactile) probe ดูว่ารู้สึกอย่างไร

อย่างที่บอก ... ถึงแม้จะไม่มีข้อตกลงว่าตรวจอย่างไรก็ตาม แต่มันเป็นเรื่องของการวัดในการวิจัยมากกว่า ในการวินิจฉัยในห้องฟัน เราก็จะมีเกณฑ์คราวๆ ที่ใช้ร่วมกันได้

ปัญหาของการวิจัย มีเยอะ ... มีคนพยายามคิดว่า อย่างน้อย เราก็ต้องมีผล อย่างเช่น ถ้ามี plaque คลุมฟันมากๆ มากกว่าปกติ ให้ลงไปว่า ให้ค่าไม่ได้ เขาไม่ให้เขี่ย plaque ออก ก็คือ เป็นข้อตกลงที่ทั้ง 7 สถาบันเห็นด้วย เพียงแต่เขาบอกว่า จะเป็นการหาความชุก แต่ถ้าเราจะทำในเรื่องการหาประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ก็อาจจะเปลี่ยนไปก็ได้ เช่น อาจจะต้องมีการขัดฟันโดยทันตบุคลากรก่อน แล้วค่อยตรวจ ... ตรงนี้ก็บอกความยุ่งยากไว้ก่อน

เช่น ถ้าเราจะวัด DF ด้วย ในเรื่องของ Filling ก็ต้องตกลงกันว่า จะเป็น 1 หรือ 2 surface จะวัดอย่างไร ต้องพ้น line angle หรือเปล่า ก็จะเป็นข้อตกลงกันระหว่าง 7 สถาบัน ว่า ไม่ได้ ต้องพ้น line angle ไป 1 ส่วน 3 ของด้านอีกด้านหนึ่ง ถึงจะนับเป็นอีก 1 surface

การแบ่งรอยรากฟันผุในผู้สูงอายุ แบ่งเป็น active และ Inactive

Active : คือ เห็นขอบเขตชัดเจน นิ่ม สีจะเป็นสีเหลืองก็ได้ หรือเป็นน้ำตาลอ่อนๆ ก็ได้ และมักจะคลุมด้วย plaque ถ้าสมมติว่า เป็นมานานแล้ว และเรารู้แล้วว่า มันจะ progress ไปช้าๆ สีอาจจะเป็นสีน้ำตาลอ่อน หรือดำก็ได้ และเวลาใช้ explorer  probe เบาๆ จะเป็นเหมือนหนัง เหนียวๆ

Inactive หรือ Arrested : มันจะมันแว้บ  ผิวเรียบ และลองใช้ explorer probe เบาๆ จะแข็ง ส่วนสีได้หมดเลย ทั้งเหลือง น้ำตาล จนดำ

Fejerakov and Kidd, 2003 ระบุใน text ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด เขาบอกว่า ไม่ว่ามันจะ active หรือ inactive ไม่ว่าจะนิ่มเป็นหนัง หรือว่า แข็ง มัน มันสามารถเป็นหลุม เป็นรู ได้ทั้งคู่ เพราะฉะนั้น หลุม ไม่จำเป็นต้อง active เสมอไป หลุมอาจเป็น inactive ก็ได้ เพียงแต่ถ้าเป็น inactive ถ้ามีหลุมแล้ว ขอบจะเรียบ และไม่มี plaque คลุมอยู่

ข้อพึงระวัง คือ

  • ฟันผุไม่ใช้แค่เป็นจุด แต่ถ้าเป็นช่วงที่ progress, active เป็น inactive ก็ได้
  • เพราะฉะนั้น ถ้าสงสัยเมื่อไร ห้ามใช้สีเป็นตัวตัดสิน ต้องใช้ probe เสมอ

Location เขาบอกว่า บริเวณไหนที่มี plaque ติด ก็เกิดได้ทั้งนั้น จะอยู่เหนือ CEJ ขอบ cervical margin ก็ได้ อยู่ตรง CEJ พอดี หรือจะอยู่ต่ำตรงราก ตรงขอบเหงือกก็ได้

 

 

 

  

ภาพนี้ ถ้าเทียบจากซ้ายไปขวา - รูปซ้าย มีผิวขุรขระ probe เขี่ยติดจะเป็นแบบเหนียวๆ และมี plaque ปกคลุม พอเริ่มขวาสุด จะมันแว้บ สีจะเริ่มเข้ม

 

รายนี้เขาให้แค่คนไข้แปรงฟัน กับใช้ plaque control 4 เดือน ก็กลายเป็น arrested

 

กรณีนี้ ถ้าจะอุด ก็คือ อุดเพราะว่าความสวยงาม อย่างเดียว แต่ถือว่า ไม่ใช่โรคแล้ว ก็จะเป็นเรื่องของเรากับคนไข้แล้ว จะคุยกันว่า จะอุดหรือไม่อุด

และนอกจากความสวยงาม คือ เมื่ออุดแล้ว คุณสามารถรักษาฟันซี่นั้นไว้ได้หรือเปล่า อย่างบางกรณี การ remin. มันจะทำให้โครงสร้างทางฟันอยู่ได้นานกว่า ถ้าเราอุดโดยไปกรอ กว่าจะกรอหมด คอฟันอาจหลุดออกมาเลย หรืออุดไปแล้วก็อยู่ได้ไม่นาน อุดได้ไม่ดี เพราะว่าอยู่ใกล้เหงือก น้ำลายเยอะ อุดยาก ไม่ติด ยิ่งมีขอบไม่เรียบ ก็ทำให้ plaque ติดมากขึ้นอีก ยิ่งอุดยิ่งแย่ เขาก็เลยไม่อุด ใช้วิธี remin

 

  

 

 

วิธีที่สำคัญที่สุด คือ อย่าดูแต่รอยโรค อย่าดูแต่ฟัน ถามประวัติ ดูว่าเขาอยู่กลุ่มเสี่ยงไหน แล้วค่อยตัดสินใจว่า จะทำอย่างไรต่อไป

เครื่องมือช่วยในการวินิจฉัยอื่นๆ

  • Bite Wing พอดูได้ แต่ดูได้แค่ด้าน proximal เคยมีคนทดลองเอา BW มา 100 รูป เห็นด้วย 28 cavity ไม่ค่อยมี reliability
  • การดูเชื้อโรค บอกแค่ว่ามีเชื้อโรค แต่ไม่ได้ดูผลลัพธ์ บอกได้แค่เสี่ยง - ไม่เสี่ยง
  • น้ำลายเหมือนกันบอกได้แค่เสี่ยง - ไม่เสี่ยง
  • พวก dye ที่ย้อมสี มีการทดลองน้อยมาก แค่ 2 papers สรุปไม่ได้ ว่าจะเอาอย่างไรดี

เพราะฉะนั้น ที่แย่หน่อยคือ รากฟันผุไม่เหมือน crown เพราะว่าวิธีวินิจฉัยอย่างอื่น ยังไม่มีที่เป็นมาตรฐาน

รวมเรื่อง Early Detection

 

หมายเลขบันทึก: 256034เขียนเมื่อ 18 เมษายน 2009 08:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท