Early Dectection (10) มะเร็งในช่องปาก ตอนที่ 2 ปัจจัยเสี่ยง ... มะเร็งช่องปาก


 

ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคมะเร็งช่องปาก

ในครั้งนี้ อ.กนกพร ได้ยกปัจจัยเสี่ยงมาบางอย่างที่สำคัญ ... ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญอันดับ 1 คือ การสูบบุหรี่ หรือการใช้ใบยาสูบ สำคัญรองลงมา พบมากในผู้หญิง คือ การเคี้ยวหมาก ต่อมาเป็นพวกการดื่มเหล้า เชื้อจุลชีพต่างๆ อาหารและสารอาหาร พันธุกรรมก็มีส่วน มีประวัติครอบครัว รังสีอุตราไวโอเลต ก็อาจเป็นบริเวณริมฝีปากมากกว่า

การสูบบุหรี่ / การใช้ใบยาสูบ / การเคี้ยวหมาก

การใช้ใบยาสูบ สารที่สำคัญคือ Nitrosamines เป็นตัวที่ทำให้เกิดมะเร็ง ในสหรัฐอเมริกา มี 80% ของผู้ป่วยมะเร็งช่องปากก็จะสูบบุหรี่ ถ้าตำแหน่งที่เกิดก็ได้ คือ upper aerodigestive tract ... ถ้าเคี้ยวหมาก ก็มีความเสี่ยงสูงเหมือนกัน .. ถ้ารวมทั้ง 2 อย่าง ก็จะเป็น 8-15 เท่า

จากการศึกษาของ Iamaroon และคณะ 2004 ที่เชียงใหม่ เหมือนข้อมูลที่เราทราบอยู่แล้ว ก็คือ ผู้ป่วยชาย ส่วนใหญ่จะเป็นคนที่สูบบุหรี่ และผู้ป่วยหญิงจะเป็นผู้ที่เคี้ยวหมาก

แอลกอฮอล์ ... อาจเสริมฤทธิ์การสูบบุหรี่ จาก Aldehyde

เชื้อจุลชีพ ที่อาจทำให้เกิดความเสี่ยงมะเร็งช่องปาก ที่สำคัญตัวหนึ่ง ที่ค่อนข้างมีการศึกษาวิจัยค่อนข้างสูง คือ Human papilloma virus (HPV) มี subtype เยอะมากเป็น 100 subtype ที่สำคัญที่ทำให้เกิดมะเร็งในช่องปาก คือ subtype 16, 18, 31, และ 33 โดยเฉพาะ 16,18 จะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งช่องปาก แนวโน้มที่พบ คือ คนไข้ที่ติดเชื้อ HPV มักพบทำให้เกิด cancer ในคนไข้ที่อายุน้อยกว่าปกติ และ cancer จะพบมากในส่วนของ Oro-pharynge มากกว่าบริเวณในช่องปากอื่นๆ บางทีก็จะออกไปทาง oro-pharyngeal cancer ด้วย

HPV มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อ HIV ด้วย ทำให้สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งช่องปากมากขึ้นในผู้ป่วย HIV ด้วย

เชื้อจุลชีพอีกอันที่สำคัญ ก็เป็นเชื้อ Candida โดยเฉพาะ type ที่สำคัญ chronic hyperplastic candidiasis

สารอาหาร ก็มีการศึกษา พบว่าเป็นไปได้ ทำให้เกิด cancer ขึ้นมา เช่น การขาดธาตุเหล็ก การเป็นโรค Plummer-Vinson syndrome เขามีการศึกษาที่พบว่า การรับประทานอาหารที่จะช่วยลดการเกิดมะเร็งในช่องปากด้วย สามารถต่อต้านอนุมูลอิสระได้ ได้แก่ carrots, fresh tomatoes, green peppers และ micronutrients จำพวก Vit A, C, E, beta-carotene, potassium, selenium

ประวัติพันธุกรรม ถ้าครอบครัวเป็น อาจพบว่ามีความเสี่ยงการเป็นมะเร็งช่องปากได้มากขึ้นด้วย แต่การศึกษานี้ค่อนข้างจะยาก เพราะมีปัจจัยเสี่ยงอื่น เช่น สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า เข้ามาด้วย จากการศึกษาของ อ.อนัฆ ก็พบว่า ไม่พบนัยสำคัญ ของการที่ครอบครัวเป็น แต่ที่ศึกษามาว่า พันธุกรรมสำคัญมีส่วนสำคัญ เพราะว่า การเกิดมะเร็ง เกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนหลายๆ ตัว อาจจะเป็น Tumor suppressor gene, Oncogene เพราะฉะนั้น ทฤษฎีก็เหมือนกับว่า พันธุกรรมจะมีส่วนของการเกิดมะเร็งช่องปาก แต่การศึกษาก็ยังไม่ชัดเจนมาก อาจจะต้องใช้ประชากรจำนวนมาก

รวมเรื่อง Early Detection

  

หมายเลขบันทึก: 256201เขียนเมื่อ 19 เมษายน 2009 11:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท