ปาก คือ ประตูสู่สุขภาพผู้สูงอายุ (27) ประมวลเรื่องเล่า


 

คุณพวงเจ้าเก่า ครั้งนี้มากับคุณหมอสุรัตน์ มาร่วมบันทึก ลปรร. กิจกรรมชมรมผู้สูงอายุภาคกลางค่ะ เธอทั้งสองมาประมวลเรื่องเล่าดีดี ของเหล่า สว. ภาคกลางมาเล่าสู่กันฟัง ...

พวกเราทั้งหมด ต่างคนก็มีดีของตัวเอง มีดีจากการที่ได้ไปทำงาน และปฏิบัติ ของท่านที่อยู่ในชมรม ทีมงาน และเครือข่ายต่างๆ ผู้จัดได้เอาพวกเรามารวมกันเป็น 10 กลุ่ม และก็ให้โจทย์ เพราะรู้ว่า พวกเราทำงานในชมรม และอยากรู้เพิ่มอีกนิดหนึ่ง ว่ากิจกรรมที่พวกเราทำ ในชมรมนั้น ทำกันอย่างไร ใครเป็นผู้คิด ใครเป็นผู้นำกันทำ หรืออะไรอื่นๆ และก็อยากรู้ด้วยว่า ทำแล้ว ดียังไง ได้ผลอย่างไร และคนอื่นได้อย่างไร ก็เลยอยากขอความรู้จาก ผส. และทีมงานตรงนี้ โดยออกมาเป็น คำถาม และคำถามเด็ดอันสุดท้าย คือ ชอบอะไร ภูมิใจอะไร

จากการจัดเป็น 10 กลุ่ม และคุณพ่อคุณแม่มานำเสนอ ก็จะพูดกันว่า กิจกรรมคล้ายๆ กัน เหมือนๆ กัน ... ตัวกิจกรรมคล้ายจริงๆ แต่ในความเหมือนก็จะมีความต่าง

เช่นที่ช่วยกันสรุปเร็วๆ ก็คือ

กลุ่ม 5 กิจกรรมที่บอกว่าเหมือน คุณพ่อเล่า เราก็จะเห็นเลยว่า รอยที่เด่นขึ้นมา ก็คือ พูดถึงเรื่องกิจกรรมการอบรมแกนนำสมาชิก ซึ่งบอกว่าชมรมมีกิจกรรมหลัก ก็คือ มีประชุมประจำเดือน และอื่นๆ แต่พอคุณพ่อลงว่า แล้วตัวนี้มีขั้นตอนอย่างไร

ก็จะเป็นการเปลี่ยนผ่าน จากเรื่องปกติประจำเดือน ให้เป็นเรื่องของการเสริมความรู้ความสามารถ ให้กับแกนนำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องในช่องปาก ตรงนี้ก็จะมีรายละเอียดขึ้นมา ในขณะเดียวกัน มันก็จะมีการบอกขยาย ถึงกิจกรรมออกไป

กลุ่ม 2 เสนอตัวแบบของบ้านท่านัด คุณลุงศิริ ซึ่งจะมีชื่อเล่น คือ คุณลุงนัด ไปแล้ว (ก็เพราะว่า คุณแม่ผู้นำเสนอ เรียกว่า คุณลุงนัดละค่ะ) มีตัวเด่นที่ปลุกความรู้สึกในตัวของคุณลุงขึ้นมา ก็คือ แรงศรัทธา ความประทับใจจากพระราชดำรัส ของพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทำให้เรื่องฟัน เข้าไปอยู่ในจิตใจของคุณลุง และที่เหลือก็จะตามมา

ในกลุ่มถัดมา กลุ่ม 8 ก็จะเป็นตัวแบบในเรื่องของจิตอาสา ของ รพ.เจ้าพระยายมราช สุพรรณ ซึ่งจากที่มาคุยถึงรายละเอียด ว่า ทำอะไรบ้าง ที่จริงจิตอาสามีอยู่เยอะ แต่ถามว่า จิตอาสาของทุกที่เหมือนกันหรือไม่ ในความเหมือนมันก็มีความต่าง เพราะว่าแต่ละที่ ก็ทำไม่เหมือน

ซึ่งกลุ่มหลังจะเห็นว่า มาเล่ารายละเอียดได้เลยว่า ในจิตอาสาทำที่ รพ.เป็นอย่างไร ทำที่ชมรม หรือพื้นที่เป็นอย่างไร เพราะฉะนั้น ตรงนี้ จะเห็นว่า

  • วิธีการทำงานตรงนั้น มันมีบางคำ ที่สะท้อนออกมาว่า มันมาจากวิธีคิด ก็คือ เราคุยกันวัยเดียวกัน คุยกันรู้เรื่องง่าย คุยกันแล้วไม่ขัดแย้ง เข้าใจกัน
  • หรือพอทำๆ ไปแล้ว งานนั้นก็ได้ผลดี เพราะว่าจากเดิม เวลาวัดผลเราไม่ได้บอกว่า ต้องให้คนบางคนไปตรวจความสะอาดช่องปาก แต่บอกเลยว่า บางคนก่อนทำบอกเลยว่า พูดด้วยไม่อยากเข้าใกล้ ตรงนี้ก็คือตัววัด ว่าพอทำแล้ว ผลมันดีก็เลยมานั่งใกล้กันได้

ต่อมาเรื่องของกลุ่ม 1 สะท้อนภาพว่า ต่างจาก 2 กลุ่มแรก เพราะสะท้อนมาว่า ในแต่ละที่ องค์ประกอบของสมาชิกในกลุ่ม มีอะไรเด่น คุณพ่อท่านมาบอกว่า ... บ้านสมัครใต้ เขาเด่นเรื่องอนุรักษ์วัฒนธรรม ... ถ้าปราจีน เขามีเรื่องการสนับสนุน ... รพ.เจ้าพระยายมราช เป็นเรื่องของจิตอาสา ... และท่านัด ก็จะเจาะเรื่องฟัน เป็นตัวเจาะเข้าไปในชุมชน ... และขณะเดียวกันที่อื่น ก็จะเอาเรื่องอื่นๆ เข้าไปก่อน และเรื่องฟันตามเข้าไป และท่านได้สรุปเรื่องของ รพ.พระนั่งเกล้า ของชมรมฯ ให้ฟัง ด้วย ซึ่งมีการทำงานที่มากมาย และมีกิจกรรมเยอะแยะ

กลุ่ม 3 จะมีการพูดเรื่องของช่องปาก เช่น เรื่องการเคลือบฟันด้วยฟลูออไรด์ นั้นทำกันอย่างไร

กลุ่ม 10 สิ่งที่น่าสนใจของกลุ่มนี้ เราจะได้ประโยคเด็ดมาประโยคหนึ่งที่บอกว่า ฟันคือต้นทุนชีวิต คิดว่า เราประชุมกันสองฟันนี้ ถ้าผู้เข้าประชุมได้ตรงนี้มาก็คิดว่า คุ้มแล้ว

กลุ่ม 7 พูดเรื่องของวินัย ท่านได้สรุปว่า ผู้สูงอายุปฏิบัติดีแต่ยังไม่พร้อมเพรียง อ่อนโยนแต่ยังไม่แข็งแรง เพราะฉะนั้น ท่านก็ใช้ความชำนาญของท่านที่จะเข้าไปกำหนดตัวนี้ให้ดีขึ้น ก็คือ ท่านใช้เครื่องมือตั้งแต่นกหวีด ใช้มือ ใช้สัญญาณ และได้นำเอาสิ่งที่กรมอนามัยยึดถือว่าเป็นตัวของการป้องกันโรค ก็คือ กินข้าวร้อน ใช้ช้อนกลาง ล้างมือ แปรงฟัน

กลุ่ม 4 เล่าในเรื่องของปู่น่าตายาย เป็นการเริ่มไหลออกจากตัวเองไปสู่คนอื่นๆ แล้ว คือ ความปรารถนาดีสู่สังคม ครอบครัว เพราะฉะนั้น ปู่ย่าตายายทำให้หลานสุขภาพดี ก็จะเป็นการเสริม

กลุ่ม 9 ก็จะมีเรื่องของการออกกำลังกาย การแนะนำคนไข้

กลุ่ม 6 จะบอกว่า กิจกรรมเหมือนกับคนอื่น แต่จริงๆ ในคำว่าเหมือน ก็มีความต่างในรายละเอียด ที่บอกว่า จะต้องมีการแปรงฟัน แต่ถ้ามีการลืม ก็ให้ไปตัดกิ่งข่อยมาทุบ และพูดเสริมเรื่องกวาวเครือ

ทั้งหมดที่พวกเราคุยนี้คืออะไร

สิ่งที่เรามาแลกกันในเวลาไม่มากเลย เราได้สิ่งที่เรียกว่า เคล็ดลับในการทำงาน กิจกรรมเราอาจไม่ต่างกันสักเท่าไร ชมรมก็เป็นชมรมมีระเบียบ มีกฎ มีเกณฑ์ มีวัตตะปฏิบัติของชมรมฯ ใกล้เคียงกัน แต่พอเล่าลงไปแล้ว เนื่องจากสิ่งที่ทำ คุณพ่อคุณแม่ทำจริง อยู่ตรงนั้นจริง ทำสม่ำเสมอ ทำมาเป็นระยะเวลานาน โดยเฉพาะเรื่องฟันเอง ก็จะมีการทำตั้งแต่ 1 ปี 2 ปี 3 ปี หรือแล้วแต่ เพราะฉะนั้น สิ่งที่บอกเล่า มันจึงได้สิ่งที่เรียกว่า เคล็ดลับ ซึ่งไม่ลับแล้ว เพราะว่าตอนนี้เรามาแลกกันแล้ว ในเคล็ดพวกนี้ เก็บจากกลุ่มที่ได้ให้พวกเรา ที่จะสามารถนำไปรวบรวมไว้เพื่อการนำไปสื่อสารให้คนอื่นต่อไป ได้แก่

เรื่องของการทำงานชมรม ที่ทำมาจะเป็นเรื่องของ

  • เป็นการฝึกให้ไม่แก่ เพราะว่า เราได้ทำงาน มีกิจกรรม ได้มีการเคลื่อนไหว
  • จิตอาสา เสียสละ เอื้ออาทร ห่วงคนข้างๆ ความรู้สึกของเราก็ดีขึ้น
  • รวมกันเราอยู่ สามัคคี มีสัมมาคารวะระหว่างคนต่างวัย
  • อย่ามองว่าใครผิด ช่วยกันระดมหาทางแก้ปัญหา เพื่อจุดมุ่งหมายให้งานไปข้างหน้า
  • ทำงานด้วยใจ ทำให้งานง่าย ไม่คิดซับซ้อน
  • รู้ศักยภาพของผู้สูงอายุ (ตนเอง) ว่ามีแค่ไหน จะได้ไม่ทำเกินกำลัง
  • วัยเดียวกันคุยกันรู้เรื่อง ทำกิจกรรม ก็ทำจริงแจกจริง การพูดและทำจริง ก็ทำให้งานตรงนั้นเดินต่อไปได้

สรุปในช่วงท้ายของวันนี้ ในเรื่องรูปแบบการพัฒนาสุขภาพช่องปาก โดยชมรมผู้สูงอายุ ที่พวกเรามากันวันนี้ มันก็เริ่มตั้งแต่

แรกเริ่ม ก่อร่าง

ส่วนสำคัญก็คือ ที่มาแลกกันอย่างสั้นเร็วๆ สิ่งที่เห็นคือ เรื่องของแรงจูงใจ แรงบันดาลใจ หรือแรงกระตุ้น หรือแรงศรัทธา ซึ่งออกมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพระราชดำรัส การที่เราสูงอายุแล้ว เราก็ควรจะบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม และอื่นๆ นี่คือ ที่มาในความรู้สึกนึกคิด ของผู้สูงอายุ

พอมันก่อร่าง เราก็ ... สร้างต่อ

ก็คือมาประชุมในชมรม ไม่ว่าจะเริ่มจากกิจกรรมปกติในชมรม หรือบางที่อาจเริ่มต้นในเรื่องเฉพาะ เรื่องฟัน หรืออะไรก็ตาม มันเริ่มต้นด้วยกิจกรรมๆ เดียว แต่หลังจากนั้น ถ้าจะมีการทำงานต่อ มันก็จะเกินการแตกยอด โดยธรรมชาติของงาน ถ้ามีการขยายกิจกรรม ว่า พอทำงานนี้เบื่อ เราก็ต้องเอาการจับฉลากเข้ามาช่วย และก็ต้องมีไปดูงานสักหน่อย ก็จะเป็นตัวขยายกิจกรรมออกไป

นอกจากการขยายกิจกรรม ที่ทำให้งานไม่น่าเบื่อ และมาเจอกันได้ในวันนี้ในปีที่ 3 เราก็จะได้เพื่อนเพิ่มด้วย จากการมาเจอกัน เพื่อนก็จะมีทั้ง สมาชิกของพวกเราเอง จะมีเพื่อนที่เป็นชุมชนของเราเอง ก็คือ การไปเยี่ยมผู้ที่ไม่สามารถจะเป็นสมาชิกของเราได้ เพราะว่ามีความจำเป็น หรือเยี่ยมเพื่อนต่างถิ่น ตรงนี้ก็ทำให้เกิดระบบของการขยายงาน ขยายคน ก็จะทำให้งานขยายกัน

ก่อเสริม เติมเต็ม

... ก็จะเข้ามาอยู่ในระยะ ในสิ่งที่เราทำ ถ้าฐาน สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่พูดออกมา คุยออกมา จะเห็นว่า เป็นรูปธรรมที่ชัด ว่า เราทำเช่นนี้ เราเอาพวกนั้นมา เราเลี้ยงอาหาร เราไปนั่นไปนี่ แต่ในระหว่างของการทำตรงนั้น สิ่งที่ได้กับเรา ก็คือ การเติมความสามารถของพวกเรา ในฐานะของสมาชิกที่มีค่าของสังคม ในระหว่างที่เรามาคุยกัน เราก็จะมีการทบทวน ว่าสมาชิกเรามากันถึงไหนแล้ว ทำอะไรกันแล้ว และพอเรามาแลกกันในระหว่างต่างจังหวัดต่างที่ เราก็จะเริ่มแลกเปลี่ยนกันตรงนี้ พอแลกเปลี่ยน ณ จุดนี้ เชื่อว่า หลังจากฟังมาครบ 10 กลุ่ม แล้ว ในความคิดของคุณพ่อคุณแม่หลายๆ ก็คงคิดว่า กลับไปนี้ ชมรมเราอาจจะอยากทำอะไรเพิ่มขึ้น หรือเราจะมีการทำอะไรต่อ ตรงนี้ พอคิดที่จะทำต่อ ทำสิ่งที่ดีดี ความรู้สึกก็จะดี ในเรื่องของเชิงบวก จึงเป็นเรื่องของการสูงวัยอย่างสง่างาม มีคุณค่า มีศักดิ์ศรี อย่างที่รัฐบาลเขาต้องการ

ถามว่า ตอนท้าย ถ้าถามตัวเองว่า สิ่งนี้ใช่สิ่งที่กองทันตฯ หรือกรมอนามัย หรือผู้ทำโครงการอยากได้ไหม

เขาคิดว่า นี่ละคือ สิ่งที่อยากได้ เพราะฉะนั้น ถ้าอยากได้ สิ่งนี้ก็คือ ทิศทางที่ทำมาแล้ว 2-3 ปี และจะทำต่อไปอีก มันก็คือ ความหมายของคำว่าที่ว่า ทั้งหมดที่เรามา ก็คือ ของดีดี ที่ต้องขยาย ขยายทั้งในพื้นที่ ทั้งในสมาชิก ทั้งกิจกรรม ซึ่งแต่ละที่ก็คงต้องดูตามความเหมาะสม และความชอบ ของตนเอง

นอกจากของดีดี ต้องขยาย ที่สำคัญกว่านั้น ก็คือ สิ่งที่เราเห็น จะสังเกตได้ว่า คุณพ่อคุณแม่ที่มาในที่นี้ ดูไม่ค่อยแก่ ดูไม่ค่อยสูงวัย น่าจะเป็นเพราะว่าเราได้ทำกิจกรรมตรงนี้ และเราได้ลับสมอง และเราได้ปฏิบัติ เราก็จะเข้าข่ายเป็นคลังปัญญาของพื้นที่ เป็นคลังปัญญา เป็นปูชนียบุคคล ได้บำเพ็ญประโยชน์ สุขภาพเราดีทั้งกาย และจิต และเราก็เอื้อต่อผู้อื่น เราก็จะไปเป็นจิตอาสา บำเพ็ญประโยชน์ เราก็จะเป็นสิ่งอะไรที่ดีดี แล้วในที่สุด สิ่งนั้นก็จะทำให้เกิดสังคม ที่เป็นสังคมที่เกิดคุณธรรม

ทั้งหมดนี้ คิดว่า จากเคล็ดลับ ที่กลายเป็นเคล็ดไม่ลับ ที่คุณพ่อคุณแม่ทั้ง 10 กลุ่ม ได้ให้กับพวกเราในวันนี้ มันก็จะกลายเป็นขุมความรู้ ในเรื่องของการปฏิบัติจริง ในเรื่องของการส่งเสริมสุขภาพ ในผู้สูงอายุ ซึ่งตัวนี้ทั้งหมด คิดว่า บทบาทหน้าที่จริงๆ ของเราก็คือ การนำตรงนี้ไปเผยแพร่ กระจายให้กว้างขวางขึ้น

ต้องขอขอบพระคุณการแลกเปลี่ยนตรงนี้ ที่จะทำให้ใครหลายคนได้เห็นภาพ และประโยชน์ของงาน ที่คุณพ่อคุณแม่ทำมา และทั้งหมดก็คือ คำว่า ฟันคือ ต้นทุนชีวิต

รวมเรื่อง ปาก คือ ประตูสู่สุขภาพผู้สูงอายุ

   

หมายเลขบันทึก: 263329เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2009 19:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

มะเร็งปากนี่สาหัสครับ

  • P
  • คิดว่า โรคไหนๆ ก็ทรมานทั้งนั้นนะคะ
  • คนละแบบกัน
  • มะเร็งก็น่าจะทรมานสุด สุด ค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท