แลกเปลี่ยน และ เรียนรู้ เรื่องเล่าชมรมฯ ภาคใต้ (13) กระบวนการทำงานตามบริบทของภาคใต้ ที่ได้เรียนรู้


 

ครั้งนี้ก็เช่นกัน ที่คุณพวงทอง และคุณหมอสุรัตน์ สหายของคนทำงานสูงอายุ ก็ได้มาช่วยเมียง ช่วยมองภาพการทำงานของพี่ๆ น้องๆ ชาวภาคใต้ ซึ่งมีเอกลักษณะพิเศษ อย่างไรนั้น นั่นก็คือ ทั้งสองท่านได้เล่าความคิดไว้ว่า จากการพูดคุยเล่าเรื่องของกลุ่มต่างๆ ... เราก็จะได้กระบวนการทำงาน และเงื่อนไขความสำเร็จ

ในเรื่องของการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุผ่านชมรมฯ สิ่งที่ทำมาคืออะไร ก็ได้ว่า

  • สุขภาพช่องปากเป็นส่วนหนึ่งของระบบสุขภาพและคุณภาพชีวิต ... เราคุยได้เลยว่า จากสิ่งที่เราทำมาแล้ว 3 ปี เราพบว่า สุขภาพช่องปากสามารถเข้าไปบูรณาการในระบบสุขภาพได้ และในหลายๆ ส่วน เรื่องฟัน สามารถทำให้คุณภาพชีวิตของเราดีขึ้นแน่
  • อีกอันที่มีความชัดเจนมาก (มากกว่าภาคอื่นๆ ด้วย) ก็คือ
    - ชุมชนมีความหลากหลาย และบริบทของชุมชนเองที่มีความแตกต่างมาก (วัฒนธรรม ศาสนา ภาษาฯ) ... ตรงนี้เป็นตัวที่ทำให้ ลักษณะของการใช้กิจกรรม และกระบวนการในรายละเอียดการทำงานแตกต่าง และยังจะแตกต่างไปถึงขนาดในพื้นที่ ในเรื่องของจำนวนที่จะต้องทำด้วย เพราะว่าตรงนี้ ใช้สูตรเหมือนภาคกลาง ภาคอีสาน ภาคเหนือ ไม่ได้ ...ตรงนี้จะมีความหลากหลาย
    - การยอมรับตรงนี้สำคัญตรงที่ เมื่อไรที่มีระบบสนับสนุน ระบบเอื้อ ระบบแลกเปลี่ยน ระบบเรียนรู้ ทั้งหมดจะต้องยืนอยู่ตรงบริบทของสถานที่นี้ ... ถ้าเราทำโครงการนี้ต่อเนื่องไปนานๆ มันจะต้องถูกชี้ให้เห็นชัด เพื่อให้เกิดการพัฒนาในบริบทที่หลากหลายของชุมชน หรือวัฒนธรรมที่ตะเคลื่อนไป ความหมายก็คือ ที่อื่น ชุมชนเป็นหลัก ที่นี่ชุมชนยิ่งต้องให้รู้จักแล้วเป็นหลัก การทำงานก็จะก้าวไป จะเป็นงานที่ต้องมีความละเอียด
    ... สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ส่วนกลางได้เรียนรู้ ว่ามีความหลากหลาย และบริบทที่จะต้องเน้น
  • จุดที่พวกเราทำงานในพื้นที่นำร่อง ทำให้ฝึกการมองเห็นว่า ชมรมผู้สูงอายุมีศักยภาพ และเราสามารถให้ ผส. เป็น entry point ของการสร้างเสริมสุขภาพ
    - อย่างเช่น การที่จะไหลไปสู่การทำงาน หรือแม้แต่การนำไปสู่กิจกรรมที่บูรณาการกันเอง ในเรื่องการส่งเสริม ป้องกัน รักษา สุขภาพช่องปาก หรือแม้แต่จะเป็นตัวที่ทำให้เกิดสหสาขาวิชาชีพ ที่มาร่วมกันทำงานนี้ ... ซึ่งผลก็คือเครือข่ายที่เข้มแข็ง
    - นี่คือ การสรุปเป็นคำใหญ่ เป็นคำที่เราคุ้นเคย ... แต่การจะพูดได้โดยเราสามารถยกตัวอย่างได้ ว่า ทำไมจะสรุปได้เป็นคุณภาพชีวิต ทำไมจะบอกได้ว่า ตรงนี้เป็นสหสาขา เราก็จะมีตัวอย่างของจริง ที่พวกเราเล่ามาใส่ตรงนี้ได้
    - เป็นระบบที่ทำให้เห็นว่า ในกระบวนการทำงานและมาพบกัน มาแลกกัน มันก็จะได้วิธีการทำงานอีกแบบหนึ่ง

สิ่งที่จากกลุ่ม ตั้งแต่ตอนแรก ก็คือ การที่จะทำงาน ประโยคสำคัญ คือ สิ่งที่ประทับใจ ก็คือ เรื่องใจ จะเข้าถึงผู้สูงอายุก็ต้องใช้ใจ ใจเป็นตัวนำ นั่นก็คือ "จะทำงานกับใครๆ ถ้าจะได้ตัว ก็ต้องได้ใจ ... ถ้าจะได้ใจ ก็ต้องให้ใจ" เพราะฉะนั้น แสดงว่า มันก็เริ่มจากตัวของเราขึ้นมา สิ่งเหล่านี้ เราก็ต้องถือว่าเป็นสิ่งที่ส่งผ่านต่อ ในเรื่องเล่าที่ดีดี ของตัวเราที่จะไปสู่การทำงาน

ขอบคุณพวกเราที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีดี สำหรับส่วนกลาง

 

รวมเรื่อง แลกเปลี่ยน และ เรียนรู้ เรื่องเล่าชมรมฯ ภาคใต้

 

หมายเลขบันทึก: 289160เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2009 21:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท