แลกเปลี่ยน และ เรียนรู้ เรื่องเล่าชมรมฯ ภาคใต้ (16) กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ของสงขลา


 

วันนี้คุณหมอบานเย็น จาก สสจ.สงขลา พาทีมงานมากันเพียบ เพื่อมาเรียนรู้ และเล่าเรื่องกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ของจังหวัดสงขลา ที่ทำกันมา 2-3 ปีแล้ว หมอเย็นมานำเราเข้าสู่กิจกรรมฯ ของเมืองสงขลา ด้วย สโลแกนของจังกวัด ก็คือ "นกน้ำเพลินตา สมิหลาเพลินใจ เมืองใหญ่สองทะเล เสน่ห์สะพานป๋า เฟื่องฟ้าสุดสวย"

เครื่องหมายประจำจังหวัดคือ "หอยสังข์ในพานแว่นฟ้า" และพื้นที่ของเมือง จะติดกับหลายจังหวัด รวมทั้งต่างประเทศ มีทะเล ทะเลสาบ ภูเขา น้ำตก ครบเครื่อง

การปกครองมี 16 อำเภอ โรงพยาบาล (สป.) 17 โรงพยาบาล รพท.1 แห่ง (รพ.สงขลา) รพศ. 1 แห่ง (รพ.หาดใหญ่) รพช. 15 แห่ง สถานีอนามัย 175 แห่ง ชมรมผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลา 153 ชมรม ศาสนาพุทธร้อยละ 64.03 อิสลามร้อยละ 32.84 คริสต์ร้อยละ 2.37 อื่นๆ ร้อยละ 0.76 ประชากรประมาณ 1,330,920 คน ชาย 650,422 คน หญิง 680,498 คน ผู้สูงอายุ มีร้อยละ 10.93

งานส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุของจังหวัดสงขลา มีวัตถุประสงค์เพื่อ

  • ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุ
    - มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปาก
    - ดูแลสุขภาพช่องปากตนเอง และครอบครัว
  • พัฒนาชมรมผู้สูงอายุในการดูแลสุขภาพช่องปาก
    - จัดทำกิจกรรมเพื่อดูแลสมาชิก และคนในชุมชน
    - สนับสนุนผู้มีจิตอาสาในชมรม สู่สังคม และในชุมชน
    - เสริมสร้างการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่างๆ ในชุมชน/สังคม

จังหวัดสงขลา ประสานให้แต่ละอำเภอ แต่ละ CUP ให้มีการพัฒนาชมรมผู้สูงอายุอย่างน้อย 1 แห่ง ต่อ 1 CUP ใน 2 ปีแรก มีกิจกรรมที่ทำก็คือ

  • การให้ความรู้ อบรมเชิงชุมชน พร้อมกับให้ทีมชมรมผู้สูงอายุ / ทีมสาธารณสุข ร่วมกันคิดว่า กลับไปจะทำอะไร
  • สสจ. เป็นวิทยากรให้พื้นที่
  • เยี่ยมติดตาม ประเมินชมรมฯ
  • จัดประกวดชมรมผู้สูงอายุ
  • จัด ลปรร. กับชมรมฯที่เข้าโครงการทุก CUP ว่า ใครทำอะไรดีดี
  • และมีการประกวดผู้สูงวัยฟันดี 80 ปี

รวมเรื่อง แลกเปลี่ยน และ เรียนรู้ เรื่องเล่าชมรมฯ ภาคใต้

 

หมายเลขบันทึก: 289491เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2009 20:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ควรจะจัดนำเที่ยวในสถานที่ต่างๆ เป็นหมู่คณะบ่อยๆ โดยปราศจากผลประโยน์และการเมืองโดยสิ้นเชิง แนะนำอาประเภทที่เป็นยา อย่างเช่นแต่ละคนตอ้งมีโรคประจำตัว ควรให้คำปรึกษาเป็นรายๆ ไป ใช้การรักษาพื้นบ้านนี่แหละพวกสมุนไพรใกล้ตัว ทางวิชาการแนะนำให้น้อยหน่อย ฟังแล้วเซ็งนักวิชาการแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนรู้แต่ในตำราแตไม่เคยปฏิบัติ สู้เอาประสพการณ์มาแนะนำไม่ได้ครับ ขอบคุณ [email protected]

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท