สร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เมืองลำปาง (8) บทบาทบุคลากร สอ.บ้านน้ำจำ


 

น้อง จาก สอ.บ้านน้ำจำ เล่าว่า ทำในหน้าที่เลขาฯ ของชมรมฯ เวลามีการประชุมกัน ก็จะให้ผู้สูงอายุแสดงความคิดเห็นให้มากที่สุด อะไรที่เป็นจุดเด่นบ้าง และให้ผู้สูงอายุแสดงความคิดเห็นว่า ท่านอยากได้อะไร

ที่บ้านหลวงใต้ เมื่อปี 2548-2549 จะมีการถอดบทเรียนในกลุ่มคนที่อยู่ในชุมชน จะมีการถอดบทเรียนผู้สูงอายุ ทุกเดือนพฤศจิกายน ว่า สิ่งที่ทำไปมีทิศทางอย่างไร มีปัญหาอะไร และในปีต่อไป ผู้สูงอายุจะทำอะไรต่อ

เราจะไปช่วยทำหน้าที่

  • เป็นผู้เขียนโครงการ
  • ผู้ประสานงาน
  • ช่วยบริหาร ว่าจะทำได้อย่างไร
  • สร้างภาคีเครือข่ายกับหน่วยงาน อบต. หมอฟัน
  • ประสานการไปศึกษาดูงาน ... ผมคิดว่า การไปดูตัวอย่างทำให้เราไม่ได้เริ่มที่ศูนย์ แต่จะเริ่มที่ 4 เพราะว่า เราจะได้นำมาต่อยอด
    ... การไปดู ก็ต้องมาสรุปบทเรียนด้วย
    ... โดยคุยก่อนไปดู แบ่งหัวข้อไปดูเรื่องอะไร
    ... วันรุ่งขึ้น ก็นัดวันถอดบทเรียน ว่าเราได้อะไรบ้าง
    ... และมาต่อยอดการทำงาน

สำหรับ การเยี่ยมผู้สูงอายุที่บ้าน

  • เราเน้นเยี่ยมผู้สูงอายุอย่างเดียวในปีแรก พอปีที่สอง ก็มาคุยกัน และต่อยอดการเยี่ยมผู้สูงอายุ โดบ ไปเยี่ยมคนที่มีปัญหาสุขภาพจิต คนที่ออกจากคุกมา เพื่อส่งเสริมให้เขาเป็นคนดี
  • ช่วงแรก มีเจ้าหน้าที่ไปด้วย แต่ต่อมา เราพัฒนาให้ อสม. ไปอบรม เรื่อง นวดแผนไทย หลักสูตรของ สสจ. 380 ชม. ก็ไปเยี่ยมด้วย และบริการผู้สูงอายุด้วย เพื่อให้ท่านได้ผ่อนคลาย เรื่องสุขภาพ

ทุกอย่างที่ทำที่หลวงใต้ จะเน้นการบูรณาการเข้าไป เพราะว่าทำเรื่องใดเรื่องหนึ่งไปต่อยอดค่อนข้างยาก เราจะต้องบูรณาการทุกอย่างเข้าไปด้วยกัน

 

รวมเรื่อง สร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เมืองลำปาง

 

หมายเลขบันทึก: 302680เขียนเมื่อ 2 ตุลาคม 2009 13:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท