ส่งเสริมสุขภาพ สว. พื้นที่ ศูนย์ฯ 8 (2) คุณหมอก้องเกริ่นนำ


 

หมอก้องเกริ่นนำให้ที่ประชุมฟังว่า ... วันนี้ เราเชิญทุกท่านมา ไม่ได้มุ่งเน้นทันตบุคลากรอย่างเดียว แต่เป็นบุคลากรได้ทุกกลุ่ม ที่รับผิดชอบงานที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุ

และ session นี้ จัดขึ้นมา เนื่องจาก มีตัวชี้วัดตัวหนึ่ง ซึ่งเพิ่มขึ้นมาในปีนี้ ก็คือ ปี 2553 มีตัวชี้วัดระดับกระทรวงสาธารณสุข กำหนดว่า จะต้องมีชมรมผู้สูงอายุที่มีการดำเนินงานทันตสาธารณสุขในชมรมผู้สูงอายุ อย่างน้อยจังหวัดละ 1 ชมรม

และปีหน้า ปี 2554 เขากำหนดตัวชี้วัดระดับกระทรวง เป็น 1 อำเภอ 1 ชมรม เราก็เลยมาเตรียมความพร้อม 4 จังหวัดของเขต 8 เพื่อรองรับกิจกรรมส่วนนี้

Session นี้ จัดเป็นพิเศษให้กับจังหวัดในพื้นที่ศูนย์อนามัยที่ 8 เพราะว่า ถ้าเรามาเปรียบเทียบกับศูนย์ฯ เขต ทางภาคเหนือ ไม่ว่า เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน น่าน เขาจะมีงานทันตฯ ลงไปชมรมผู้สูงอายุเยอะมาก โดยเฉพาะที่ลำปาง บอกว่า ลงไปในระดับตำบลก็ได้แล้ว ... แต่ของเรายังน้อยอยู่

จริงๆ แล้ว ชมรมผู้สูงอายุก็จะมีอยู่ทุกๆ ที่ แต่การเอาเรื่อง งานทันตฯ เข้าไปในชมรมผู้สูงอายุ ... ประสบการณ์ที่ผ่านมา ที่ผมเคยทำ ผมเคยไปดิวกับชมรมผู้สูงอายุ ซึ่งเขาเข้มแข็งมาก เป็นชมรมที่มีเงินเยอะ คนทำงานก็เข้มแข็ง มีคนมาดูงานเยอะมาก ... ตอนแรก ไปนำเสนอ ให้เอางานทันตฯ เข้าไปด้วยนะ เขาบอกว่า ไม่เอา เพราะว่า ชมรมของเขาเข้มแข็ง การที่จะเอาอะไรเข้าไปสอดแทรกในชมรม เขาก็จะไม่ค่อยยอมรับ เขาจะทำสิ่งที่เขาอยากจะทำเอง ... นี่เป็นสิ่งชวนให้คิด ว่า แล้วเราจะนำเรื่องเข้าไปในชมรมฯ ได้อย่างไร ?

ที่ศูนย์ฯ เขต เวลามีการประชุมร่วมกับกรมอนามัย มักจะถูกผู้บริหารถามเสมอว่า จากข้อมูล จำนวนฟันที่คงเหลืออยู่ในวัยผู้ใหญ่ และวัยสูงอายุ บอกว่า มีฟันอย่างน้อยที่ใช้งานได้ 20 ซี่ในช่องปากต่อคน ในกลุ่มวัยทำงาน พบว่า มีเยอะพอสมควร ประมาณ 90 กว่าเปอร์เซนต์ แต่พอเป็นกลุ่มผู้สูงอายุขึ้นไป ก็ลดวูบ เป็น 50 กว่าเปอร์เซนต์ ... ถามว่า เป็นเพราะอะไร ถ้าเราเป็นทันตแพทย์ เราจะตอบว่าอย่างไร ... เกิดอะไรขึ้น ... คนไทยส่วนใหญ่ ที่เป็นผู้สูงอายุจะสูญเสียฟัน จากโรคปริทันต์ ... และโรคปริทันต์ เมื่อถึงขั้นฟันโยก ก็สามารถหลุดไปได้ ทำให้ ในผู้สูงอายุ จำนวนฟันที่เหลืออยู่ ก็เลยเหลือน้อยกว่า 20 ซี่จำนวนมาก ... แต่เราอ้างอันนี้ ก็ฟังไม่ขึ้น กลายเป็นว่า คุณยังมีมาตรการในเรื่องของการส่งเสริมสุขภาพไม่ดีพอ

มีเกณฑ์ที่เป็นตัววัดระดับจังหวัด อำเภอ เพิ่มขึ้นมา ก็คือ จำนวนคู่สบ 4 คู่สบ เป็นเกณฑ์ 50% คือ ผู้สูงอายุ 100 คน มี 50 คน ที่มีฟันคู่สบอย่างน้อย 4 คู่ ปรากฎว่าก็ยังตกเกณฑ์อยู่

การทำกิจกรรมเรื่องส่งเสริมทันตสุขภาพในผู้สูงอายุ จึงมีความจำเป็น แต่ว่า ผู้สูงอายุก็ยังไม่ได้อยู่เป็นกลุ่มก้อนเหมือนเด็กประถมฯ ที่พบอยู่ในโรงเรียน ... ที่เห็น ก็จะมี กลุ่มผู้สูงอายุที่มารวมกลุ่มกันอยู่ในชมรมผู้สูงอายุ

ตารางการจัดกิจกรรม ในครั้งนี้จะมี

  • บรรยาย เรื่อง ปัญหาทันตสุขภาพในผู้สูงอายุ และการส่งเสริมทันตสุขภาพในชมรมผู้สูงอายุ โดย ทพญ.นนทลี สำนักทันตสาธารณสุข
  • ศึกษาดูงานชมรมผู้งอายุ ที่อำเภอท่าหลวง จังหวัดน่าน
  • กิจกรรมกลุ่ม เครือข่ายการทำงานระดับจังหวัด ด้วยกระบวนการสุนทรียปรัศนี
  • การจัดทำแผนงานโครงการของจังหวัด

รวมเรื่อง ส่งเสริมสุขภาพ สว. พื้นที่ ศูนย์ฯ 8

  

หมายเลขบันทึก: 342623เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2010 20:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท