ส่งเสริมสุขภาพ สว. พื้นที่ ศูนย์ฯ 8 (21) ลปรร. การทำงานกับผู้สูงอายุ ตอนที่ 19 บทสรุป


 

บทสรุปการทำงานเชื่อมโยงสู่การปฏิบัติในพื้นที่ อาจสรุปได้ว่า

ในความคิดการทำงานของส่วนกลาง เราจะต้องมีการเชื่อมโยงกับหน่วยงานต่างๆ ตามบทบาทหน้าที่ของแต่ละส่วน ในส่วนศูนย์อนามัย และสำนักทันตฯ ก็จะทำหน้าที่บริหารจัดการในภาพรวม และนำพาในเรื่องของนโยบายที่เราจะเดินไปด้วยกัน ส่วนของ สสจ. ก็จะเป็นเรี่ยวแรงสำคัญในบทบาทของจังหวัดที่จะช่วยดูในภาพของจังหวัด เรื่องการทำงานของผู้ปฏิบัติ ทั้ง CUP / PCU และทั้งหมดที่เราได้ทำมากันแล้ว จะเห็นได้ว่า ชมรมผู้สูงอายุเป็นชมรมที่ประกอบด้วยบุคคลที่มีภูมิปัญญาค่อนข้างเยอะ มีความพร้อมค่อนข้างเยอะ เขามีเวลาว่าง มีความรู้ รวมทั้งเรื่องการสื่อสารด้วยภาษาของผู้สูงอายุ เขาก็สื่อสารได้ดี และเข้าใจกันมากกว่ากลุ่มอื่นที่จะไปสื่อสาร ด้วยการที่เมื่อเราได้ถ่ายทอดให้ผู้สูงอายุที่เป็นแกนนำได้สักกลุ่มแล้ว และเขาถ่ายทอดกันเอง ก็จะมีประสิทธิภาพกว่าที่เราทำกันมาก

ตรงนั้น ถ้าเราสร้างกลุ่มนั้นขึ้นมาได้ เราก็คงจะมีผู้ช่วยเหลือกิจกรรมของเราได้อย่างมากมาย โดยการทำกิจกรรมต่างๆ ต่อยอดกันเข้าไปอีก

การทำแนวทางการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุ

เมื่อปี 2552 สำนักทันตฯ ได้ร่วมกับอาจารย์ มัทนา เกษตระทัต จากคณะทันตแพทยศาสตร์ มธ. และ ผู้ที่เคยทำทำกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุต้นแบบ ได้แก่ รพ.ดำเนินสะดวก รพ.บ้านเขว้า รพ.คอนสวรรค์ รพ.ลำปลายมาศ รพ.แจ้ห่ม รพ.เกาะคา รพ.แม่ทะ และเครือข่ายต่างๆ ร่วมกันคิดแนวทาง สำหรับใช้ในการพัฒนาชมรมผู้สูงอายุด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริม ให้เกิดการพัฒนากิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุขึ้น

แนวทางนี้เปิดโอกาสให้มีการคิดต่อยอดกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพในชมรมผู้สูงอายุ ซึ่งไม่จำเป็นที่จะมีกิจกรรม เพียงที่กำหนดเท่านั้น แต่สามารถมีกิจกรรมอื่นๆ เกิดขึ้นมาเพิ่มเติมได้ ตามบริบทของพื้นที่ที่จะทำกันเอง คิดกันเอง

แนวทางการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุ ของกรมอนามัย ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่

ด้านโครงสร้างชมรมผู้สูงอายุ

  • มีกรรมการชมรมฯ ครบองค์ประกอบ
  • มีหน่วยงาน องค์กร หรือบุคคลให้การสนับสนุน

ด้านการบริหารจัดการ

  • มีการมอบหมายบุคคลจัดกิจกรรม
  • การพัฒนาศักยภาพชมรมผู้สูงอายุฯ ในรูปแบบต่างๆ
  • สมาชิกชมรมผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมฯ
  • ความครอบคลุมผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรม
  • การประเมินผลการจัดกิจกรรม
  • มีข้อมูลด้านสุขภาพช่องปากของสมาชิกที่ทันสมัย

ด้านกิจกรรมที่เกิด

  • กิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก เช่น การให้ความรู้ การฝึกทักษะการทำความสะอาดช่องปาก การแปรงฟันฯ การตรวจสุขภาพช่องปากโดยสมาชิกชมรม
  • กิจกรรมการสร้างบรรยากาศฯ เช่น มุมความรู้ สถานที่จัดกิจกรรมฯ มีแหล่งสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ดูแลสุขภาพช่องปาก มีพี่เลี้ยง ที่ปรึกษาเรื่องกิจกรรม มีกิจกรรมสร้างกระแสต่างๆ

ด้านการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ

  • โดยการดูงาน ทำประชาคม
  • มีนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากการทำกิจกรรมในชมรมฯ
  • มีการเรียนรู้กับที่อื่นๆ หรือเป็นที่ศึกษาดูงาน
  • มีการเรียนรู้กันเองในชมรม

แหล่งความรู้ในเวปไซต์ ในเรื่องของการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ผู้สูงอายุ ดูได้ที่นี่เลย

รวมเรื่อง ส่งเสริมสุขภาพ สว. พื้นที่ ศูนย์ฯ 8

  

หมายเลขบันทึก: 343115เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2010 20:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • แวะมาเรียนรู้ครับ

 

  • P
  • สวัสดีค่ะ อ.Panda
  • กิจกรรม สว. มีอีกเยอะเลยค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท