ส่งเสริมสุขภาพ สว. พื้นที่ ศูนย์ฯ 8 (31) สุนทรียกิจกรรม บทส่งท้ายค่ะ


 

เรื่องเล่าบันทึกนี้ ต่อยอดจากเรื่องเล่าของคุณหมอก้องจากที่นี่ การส่งเสริมทันตสุขภาพในชมรมผู้สูงอายุ ศูนย์อนามัยที่ 8 (ตอนจบ) : วิเคราะห์งานและวางแผนการทำงานผ่านประสบการณ์การเรียนรู้ ... อันเนื่องมาจากว่า คุณหมอก้องรวบยอด ทำสุนทรียกิจกรรม เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุม ได้คิดวิเคราะห์จากประสบการณ์ที่ได้รับจากการประชุมครั้งนี้ ทั้งจากประสบการณ์จากการบรรยาย และการศึกษาดูงาน มาลงรายละเอียดทำกิจกรรมต่อยอด เพื่อที่จะได้มีแผนปฏิบัติการ เพื่อไปเริ่มต้นทำกิจกรรมในพื้นที่ของแต่ละจังหวัดค่ะ

จับคู่กัน ลปรร. อย่างสนุกสนาน

มีรายละเอียดส่วนที่จังหวัดต่างๆ มานำเสนอกิจกรรม ซึ่งได้แก่

ทีมจังหวัดพิจิตร

  • นำกิจกรรมเพิ่มในกิจกรรมเดิมที่มีอยู่ สร้างให้เห็นประโยชน์ร่วมกัน
  • พัฒนาองค์ความรู้ให้กับเจ้าหน้าที่ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการทำงานร่วมกัน
  • การทำกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในชมรมผู้สูงอายุ ด้วยการให้แต่ละแห่งได้ไปศึกษาบริบทของตนเอง ไปสร้างการมีส่วนร่วม ให้ความรู้เรื่องการตรวจฟัน การเฝ้าระวัง และการรณรงค์ในพื้นที่
  • แหล่งงบประมาณที่สามารหาได้ จากกองทุนสุขภาพระดับตำบลได้
  • กิจกรรมสุดท้าย เป็นกิจกรรมสร้างกระแส ได้แก่ การประกวดผู้สูงอายุระดับอำเภอ และเพิ่มการประกวดระดับจังหวัด
  • ตัวชี้วัดสุดท้าย คือ 1 อำเภอ 1 ชมรม ทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก

ข้อแนะนำจากคุณหมอก้อง

สำหรับ สอ. หรือ รพช. เพราะว่า จะมีหลายๆ หมู่บ้าน หลายๆ ตำบล เราต้องคิดว่า เราจะเริ่มที่ตำบลไหนดีก่อน จึงจะประสบผลสำเร็จ

มีกิจกรรมหนึ่ง คือ เรื่องของโครงสร้าง ต้องดูว่า เขามีโครงสร้างที่จะทำกิจกรรมเรื่องส่งเสริมสุขภาพ หรือทันตสุขภาพหรือไม่ ถ้ายังไม่มี หรือยังไม่ได้ เราคงต้องเริ่มด้วยการหาแกนนำ และให้ความรู้แก่แกนนำก่อน เพื่อที่จะเป็นตัวช่วยในการดำเนินกิจกรรมต่อไป

ทีมจังหวัดกำแพงเพชร

  • เริ่มด้วยการสำรวจชุมชน
  • ทำประชาคมสร้างเครือข่าย ถ้ามีชมรมอยู่แล้ว ก็ใช้วิธีการไปพูดคุยกับสมาชิกชมรม เลือกชมรมที่เข้มแข็ง หรือให้ความร่วมมือและดำเนินกิจกรรมด้านทันตสุขภาพ
  • รายละเอียดกิจกรรม คือ ตรวจฟัน ให้ทันตสุขศึกษา
  • ส่งต่อเพื่อมารับบริการที่โรงพยาบาล
  • เป้าหมายก็คือ 1 อำเภอ 1 ชมรม
  • มีการประกวดชมรม โดยจัดให้มีกิจกรรม เช่น การแข่งขันทำอาหารเพื่อสุขภาพ การประกวดผู้สูงวัย 80 ปี ฟันดี

จากนโยบาย 1 จังหวัด ต้องมี 1 ชมรม ปีนี้กำแพงเพชรสร้างกระแสให้เตรียมรองรับนโยบายด้านผู้สูงอายุ โดยกำหนดว่า ณ ปีนี้ กำแพงฯ ต้องมี 3 ชมรม สนับสนุนงบประมาณดำเนินการให้ เพื่อการจัดกิจกรรม

และกำแพง มีการประกวดชมรมทุกปี ปีนี้ ก็จะมีเกณฑ์ทางด้านทันตสาธารณสุขเข้าไปร่วมด้วย 3 ข้อ ได้แก่

  • ผู้สูงอายุในชมรมได้รับการให้ความรู้เร่องทันตสุขภาพ โดยทันตบุคลากร หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • ผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก โดยทันตบุคลากร และได้รับการส่งต่อเพื่อการรักษา
  • เกิดนวัตกรรม หรือกิจกรรมในการดูแลส่งเสริมสุขภาพช่องปาก โดยสมาชิกในชมรมดำเนินการเอง

และกิจกรรมชมรมที่กำแพงฯ เลือกทำชมรมเดียว ร่วมกับที่ฝ่ายส่งเสริมฯ กำหนด

ทีมจังหวัดนครสวรรค์

 โดยความคาดหวัง ก็คือ ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้ กิจกรรม ได้แก่

  • ประสานกับหน่วยงานภาคีเครือข่าย ที่ดูแลชมรมผู้สูงอายุ เช่น อบต. เทศบาล
  • ร่วมประชุมกับชมรม ส่วนมากของนครสวรรค์จะมีชมรมอยู่แล้ว เป็นการเสริมการทำงานด้านทันตฯ โดยพาตัวเองเข้าไปศึกษาข้อมูลการทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ที่ชมรม
  • ทำประชาคม โดยใช้ฐานข้อมูลสภาวะช่องปากผู้สูงอายุ ให้ผู้สูงอายุได้รับรู้ปัญหาทันตสุขภาพ และร่วมกำหนดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก
  • ทำโครงการร่วมกัน โดยของบประมาณ PP จาก อบต. อปท.
  • หาแกนนำ เพื่อร่วมทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรม
  • ดำเนินการอบรม พาไปศึกษาดูงาน เพราะว่า ของที่โกรกพระ ผู้สูงอายุได้ไปดูงานที่ลำปาง พอกลับไป เขาก็ได้มีโอกาสไปคุยให้สมาชิกฟัง ว่า ที่แจ้ห่ม ผู้สูงอายุเขาทำอะไรบ้าง และประโยชน์ที่เขาได้รับจากการมีกิจกรรมนี้ มีอะไรบ้าง ทำให้ผู้สูงอายุเห็นความสำคัญของงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากว่า ถ้านำกิจกรรมนี้เข้าไปในชมรม เขาจะได้ประโยชน์ และเห็นคุณค่าของตัวเอง ว่าเขาสามารถดูแลตัวเองได้
  • ในส่วนของเจ้าหน้าที่ จะมีกิจกรรม เรื่องการป้องกัน
  • และบริการรักษา ฟื้นฟู โดยโรงพยาบาล ด้วยการจัดช่องทางสำหรับผู้สูงอายุ
  • ติดตามประเมินผล โดย โรงพยาบาล และเครือข่าย

ทีมจังหวัดอุทัยธานี

นโยบายได้แก่  1 จังหวัด 1 ชมรม สู่ 1 อำเภอ กับ 1 ชมรม

อุทัยเริ่มจาก ยังไม่มีอะไ

  • เริ่มด้วยการประชุม นำนโยบาย 1 อำเภอ 1 ชมรม
  • ประชุมชี้แจงโครงการทั้งจังหวัด ชี้แจงในชมรมต่างๆ ให้แต่ละ CUP เข้าไปในชมรม เรียนรู้ว่า ตอนนี้มีกิจกรรมอะไร เรื่องทันตสุขภาพ
  • พูดคุยให้ผู้สูงอายุเห็นประโยชน์ และสมัครใจเข้าร่วมการทำกิจกรรมทันตสุขภาพ ในชมรม
  • ให้อิสระในการทำกิจกรรมในแต่ละพื้นที่
  • ให้ความรู้แกนนำ ประชุมหาความต้องการการทำกิจกรรมของแกนนำ
  • ทำกิจกรรมนำร่อง เพื่อกระตุ้น เช่น เริ่มจากการตรวจสภาวะช่องปาก
  • ให้ผู้สูงอายได้รับทราบข้อมูลตนเอง
  • วางแผน ให้บริการรักษาควบคู่ไปด้วย
  • ติดตามดูว่า เขาสามารถดูแลสุขภาพช่องปากได้หรือไม่
  • กิจกรรมสุดท้ายคือ เมื่อมี 1 ชมรมแล้ว ก็จะขยาย เพื่อให้ได้ชมรมที่เป็นเครือข่ายเพิ่มเติม

คุณหมอก้องเพิ่มเติมว่า ... อยากเน้นย้ำว่า โดยพื้นฐานชมรมเรามี 3 อย่าง ก็คือ (1) เราทำ (2) เรากับเขาทำร่วมกัน และ (3) เขาทำอย่างเดียว และขอความร่วมมือจากเรา เราอยากได้แบบที่สามนะครับ

ข้อเสนอแนะจากดิฉันค่ะ

งานทันตฯ ของเรา ถ้าคิดในภาพรวม ก็หนีไม่พ้นในเรื่องของการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสุขภาพช่องปาก อยูี่ที่แต่ละเรื่องเราจะทำกันอย่างไร จึงจะมีประสิทธิภาพ

การส่งเสริมนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญ ที่ว่า งานนี้ควรจะอยู่ที่ใครทำเป็นหลัก เพราะว่า ส่วนของการป้องกัน รักษา ฟื้นฟู ก็คงหนีไม่พ้นเป็นหน้าที่ของทีมทันตบุคลากร

การป้องกันในแง่ของทันตฯ ก็คือ การป้องกันก่อนการเกิดโรคในช่องปาก ทัั้งป้องกันจากฟันผุ ป้องกันจากรากฟันผุ หรือการป้องกันการเป็นโรคปริทันต์ กิจกรรมก็จะมีการให้บริการในเรื่องของการป้องกันจากทันตบุคลากร

เรื่องการส่งเสริมนั้น ... เราต้องพยายาม ทำให้เป็นเรื่องของทุกคน เป็นเรื่องตัวของเขาเอง

กิจกรรมที่ทำลงไป ต้องทำให้เกิดความตระหนักว่า การส่งเสริมสุขภาพ สุขภาพช่องปาก ต้องทำด้วยตนเอง จึงจะได้ผล "... สุขภาพดีไม่มีขาย ถ้าอยากได้ต้องทำเอง ..." เป็นสิ่งที่ยังคงพูดกันได้เต็มปากนะคะ

ดังนั้น การทำกิจกรรมในชุมชน อย่าเริ่มด้วยการไปทำให้เขา แต่ต้องทำด้วย การที่ความมีส่วนร่วม เป็นความต้องการของเขาเอง เพราะว่า มีบทพิสูจน์มาแล้วจากหลายที่ ว่า ผู้สูงอายุสามารถส่งเสริมสุขภาพ ดูแลสุขภาพด้วยตนเองได้แล้ว … เราใช้กิจกรรมให้ความรู้กับผู้สูงอายุได้เลย ให้เขาได้รับรู้ รับทราบ ข้อมูลเรื่อง สุขภาพ สุขภาพช่องปากที่ดีนั้นทำได้อย่างไร ให้เกิดความตระหนัก และรู้ถึงศักยภาพ ที่เขาสามารถส่งเสริมได้ด้วยตนเองได้

ส่วนเจ้าหน้าที่นั้น เชื่อว่า สามารถเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับประชาชนก็ยังได้ เพราะว่าเขามีโอกาสที่ได้รับความรู้ได้ตลอดเวลาอยู่แล้ว

เรื่องของภาคีเครือข่าย ก็เป็นเรื่องที่สำคัญ เราต้องมองว่า ภาคีเครือข่ายของเราอยู่ตรงไหนบ้าง เราจะไปชวนใคร หรือไปร่วมทำงานกับใคร ที่จะมาช่วยกันทำกิจกรรมให้กับผู้สูงอายุได้ ตั้งแต่ใน สอ. รพ. สสจ. ก็จะมีผู้ที่รับผิดชอบในเรื่องของผู้สูงอายุ ไปจับมือกับเขา ไปร่วมทำกิจกรรมในชุมชน ในชมรมกันต่อไป ก็จะคล่องตัวขึ้น

กิจกรรมที่เกิดขึ้นในชมรมผู้สูงอายุนั้น คิดว่า เราคงเปิดโอกาสให้มีกิจกรรมที่หลากหลาย ก็จะทำให้อนาคต เราก็คงจะเกิดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุ กันอยากมากมาย และนำมา ลปรร. กันต่อไป

รวมเรื่อง ส่งเสริมสุขภาพ สว. พื้นที่ ศูนย์ฯ 8

 

หมายเลขบันทึก: 343816เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2010 17:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • ขอบคุณ พี่นน คนขยันครับ
  • ตามมาอ่านจนจบแล้ว
  • ขออนุญาติลอกบางส่วน ไปส่งการบ้าน ผอ. นะครับ
  • P
  • ยินดีอย่างยิ่งค่ะ
  • ส่งมาให้พี่ด้วยก็จะขอบคุณมากเลยนะคะ พี่จะได้ส่งการบ้านหัวหน้า และ ผอ.เหมือนกัน อิอิ

โอโหแม่หมอเล่นผนึกกำลังกับหมอก้องนี่เอง ฮ่าๆๆ รออ่านอีกว่าแต่ว่าแม่หมอจะไปต่อที่ไหนครับ ไปใต้ด้วยกันไหม หนีออกจากกรุงเทพฯช่วงนี้ ฮ่าๆๆ

  • P
  • จริงป่าว ที่ว่าจะไปด้วยกัน
  • แต่ว่า ตอนนี้ โดนดึงจากใต้ ขึ้นมา กทม. แล้วละ
  • แต่ก็จะลงใต้อยู่ดี แต่ว่า เลื่อนออกไปสักหน่อยค่ะ
  • ปลายเดือน มีไป ราช-รี ไปสอน weblog นี่ไง สนมะ

แม่หมอนนขา....

มีลอกการบ้านส่ง ด้วยอะค่ะ...ฮาๆ เอิ้กๆ

  • P
  • อิอิ มันเป็นเรื่องธรรมชาติจ้า
  • เขาเรียกว่า ... เพื่อการต่อยอดกิจกรรม ละ อ้อ ช่วยกันทำมาหากินด้วย นิ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท