update ความรู้เรื่องสุขภาพช่องปาก ปี 53 (2) แนวคิดการดำเนินงาน


 

ท่านผู้อำนวยการสำนักทันตสาธารณสุข มาเล่าให้ฟังถึงแนวคิด และทิศทางการดูแลดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ... น่าสนใจค่ะ

ถ้าดู ปิรามิดประชากร ประชากรผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้เห็นว่า อนาคต สังคมของเราจะมีผู้สูงอายุมาก วัยทำงานลดลง วัยเด็กลดลง ... เราจะเตรียมการกันอย่างไร ?

ตอนนี้ ต้องเอาจริงเอาจังว่า เมื่อผู้สูงอายุมากขึ้น ระบบจะเปลี่ยนไปอย่างไร จะรองรับอย่างไร ในเรื่องของคน จะต้องพัฒนาไปในทิศไหน ในเรื่องเครื่องมือ จะต้องมีการดัดแปลง หรือพัฒนาอะไรบ้าง

เรื่องสุขภาพ ถ้าดูจากค่า DALYs (Disability Adjusted Life Years) จะพบว่า อัมพาตเป็นอันดับหนึ่งที่สร้างความพิการมากที่สุด และโรคที่เกี่ยวข้องกับช่องปากที่มีผลต่อกัน ก็คือ โรคหัวใจ (ตอนนี้ชี้ชัดเจนมากขึ้น) โรคเบาหวาน (ตรงมาก) สมองเสื่อม (เกี่ยวในเรื่องสุขภาพช่องปากจะแย่ลง) ... ทำอย่างไรที่เราจะบูรณาการการรักษาโรคในช่องปาก ไปกับโรค หรืออาการของโรคด้านสุขภาพกายเหล่านี้ได้ ... จะช่วยในเรื่องคุณภาพชีวิตผู้ป่วยได้มาก

การสำรวจเรื่องของฟันแท้ 20 ซี่ ในกลุ่มผู้สูงอายุเมื่อปี 2550 พบว่า ผู้สูงอายุมีฟันอย่างน้อย 20 ซี่ อยู่ที่ 51% ผู้สูงอายุที่ใส่ฟันเทียมอยู่ มี 36% ที่เหลือยังไม่มีฟันอีกมาก ตัวเลขนี้บอกอะไร ... จะบอกเรื่องของคุณภาพชีวิต โดยองค์การอนามัยโลกได้กำหนดไว้ว่า การมีคุณภาพชีวิต การเคี้ยวอาหารได้ ต้องมีฟันอย่างน้อย 20 ซี่ขึ้นไป ถ้าเป็นฟันหลังก็ต้องมีอย่างน้อย 4 คู่สบ

ประเทศไทยมีแผนหลัก ในการจัดการกับวิกฤตที่จะมีผู้สูงอายุมากขึ้น ไม่เฉพาะแต่ด้านสุขภาพ จะเป็นทุกๆ เรื่อง เช่น เรื่องเบี้ยยังชีพ ก็เป็นแม่แบบหนึ่งทางเศรษฐกิจ หรือ ถ้าเป็นพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ก็จะคิดเรื่องผู้ดูแลหรือเปล่า หรือ ในสถานสงเคราะห์ จะดูเรื่องของบ้านสงเคราะห์คนชรา ... แต่ละภาคส่วนก็จะดูแลกันไป ... แล้ว กระทรวงสาธารณสุข จะดูอะไร ?

ในแผนฯ 11 (2555-2559) เรื่องของผู้สูงอายุ เขาทำกันอย่างไร

  • จังหวัดตอนนี้ของบประมาณเองได้แล้ว เพราะว่ามีการกระจายอำนาจไปที่จังหวัด
  • ก่อนแผนฯ 11 มีการวิเคราะห์ด้วยการระดมสมอง เรื่อง จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรค มีการวิเคราะห์เรื่องทุนทางสังคม เศรษฐกิจ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
  • พอแผนฯ 11 ได้นำไปวิเคราะห์ในรายละเอียด ชัดเจนขึ้น จึงขยายเป็นทุนตามธรรมชาติ ทุนทาง physical ทุนทาง social ทุนทางมนุษย์ เรื่องของเศรษฐกิจ และวัฒนธรรม
  • เมื่อเอามาวิเคราะห์ จะเห็นว่าแต่ละสาขาวิชาชีพก็จะมีเทคโนโลยีตามแบบของเขา เราทันตบุคลากรก็จะมีเทคโนโลยีในการทำงานแบบหนึ่ง นักเศรษฐศาสตร์ นักสังคมศาสตร์ นักวัฒนธรรมศาสตร์ หรือนักสถาปัตยกรรม เขาก็จะมีเทคโนโลยีอยู่ชุดหนึ่งในการทำงาน
  • เพราะฉะนั้น ผู้สูงอายุจะต้องมียุทธศาสตร์อะไร ที่จะทำให้ผู้สูงอายุอยู่ยืนยาว อยู่อย่างมีความสุข อยู่อย่างสมดุล
    - เขาพูดถึงเรื่อง ธุรกิจบริการ ธุรกิจการแพทย์
    - การดูแลเรื่องของสถานท่องเที่ยวซึ่งเป็น Long stay
    - เรื่องโลกร้อน
  • ในการวิเคราะห์ว่า
    - ถ้ามีผู้สูงอายุมากขึ้นเรื่อยๆ โครงสร้างประชากรเปลี่ยน วัยทำงานต้องดูแล ผู้สูงอายุมากขึ้น
    - ทำอย่างไรเศรษฐกิจขยายตัว เข้าช่องว่างคนชนบทมากขึ้น
    - คุณธรรม จริยธรรมลดลง
    - ครอบครัวอ่อนแอ
    - สังคมอ่อนแอ
    - ยุทธศาสตร์ที่เราจะใช้ น่าจะเน้นเรื่องนี้ Networking การสร้างภาคีเครือข่าย การทำงานในเชิงของการมีส่วนร่วมของสังคมมากขึ้น
    - ทำอย่างไรให้สังคมเข้มแข็งขึ้น

ระดับชาติ วิเคราะห์ว่า การดูแลผู้สูงอายุระยะยาว มี 5 ประเด็น

  • เรื่องที่หนึ่ง คือ ทำอย่างไรให้เขาดูแลตนเอง ให้ยาวที่สุด คือ delay ระยะเวลาที่จะทำให้เกิดอาการ ระยะเวลาที่ทำให้เกิดโรคให้นานที่สุด ... ยกตัวอย่างเช่น 60 ปี และคาดการณ์ว่า 70 ปี จะเกิดโรคสมองเสื่อม ทำอย่างไรที่จะยืดอายุที่คาดการณ์ว่า 70 ปี จะเกิดสมองเสื่อมให้ยาวเป็น 75, 76, 79, 80 ปี แล้วพอช่วงระยะที่ใกล้ๆ เป็นวาระสุดท้ายแล้ว ให้ช่วงระยะเวลานั้นสั้นที่สุด ... ก็จะเป็นเรื่องของการดูแลตนเอง
  • ทำอย่างไรที่เราจะดูแลผู้สูงวัยที่จะดูแลกันเองที่บ้าน
  • ทำอย่างไรในเรื่องของชุมชน ที่จะดูแลผู้สูงอายุ
  • เรื่อง สถานบริการ สาธารณสุขจะเข้าไปดูแลได้อย่างไร
  • เรื่อง การเพิ่มผู้ดูแลผู้สูงอายุ

ทำอย่างไรให้ผู้สูงอายุดูแลตนเองได้มากขึ้น

ปัจจุบัน มีการส่งเสริมให้ชมรมผู้สูงอายุมีการดูแลตนเอง ทันตฯ เราก็เข้าไปแล้ว และทำอย่างไรที่จะเกิดการรวมตัว และสร้างสรรค์ผลงาน ที่บ้านจะทำอย่างไร จัดเรื่องของการเยี่ยมบ้าน เรื่องสังคมสงเคราะห์ หรือการปรับปรุงสิ่งแวดล้อม

เรื่องชุมชน ... ต้องให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะว่า เป็นบทบาทที่ชัดเจนในการดูแลชุมชน

จัด facility ต่างๆ ในสถานบริการที่เราทำงาน มีนโยบายชัดเจน กำหนดองค์กรชัดเจนว่า ใครดูแล

มีการดูมาตรฐานที่จะเปิดเรื่องโรงเรียนในภาครัฐต่างๆ ให้ท้องถิ่นเข้ามาจัดร่วม และดูแลเรื่องมาตรฐาน เช่น CPG การดูแลผู้สูงอายุในเรื่องสุขภาพช่องปาก

มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (สช.) บอกว่า

  • รัฐ ต้องจัดการโดยใช้ชุมชน ครอบครัว เป็นฐานในการดูแลผู้สูงอายุ โดยมีสถานพยาบาลที่จะดูแลเป็นทั้งภาครัฐ และเอกชน
  • ท้องถิ่น เป็นเจ้าภาพหลักในการดูแลในชุมชน สนับสนุน ทั้งแผนฯ ทั้งงบประมาณ และจัดให้มีศูนย์ ที่พักพิง แต่ต้องสมดุล ในเรื่องของครอบครัว และชุมชน
  • ผู้รับผิดชอบงานผู้สูงอายุ คือ พวกเรา ต้องดูแลกันอย่างไร จัดมาตรฐานการดูแลอย่างไร
  • ต้องมีการผลิตบุคลากร หรือสร้างบุคลากรที่มีความรู้ ประสบการณ์เรื่องของผู้สูงอายุอย่างไร
  • สถานศึกษา ต้องมีหลักสูตร ผู้ดูแลผู้สูงอายุ
  • การจัดทำมาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วม เช่น เรื่องของอาสาสมัคร Home Health Care การดูแลที่บ้าน กองทุน ก็จะเป็นส่วนสำคัญ

ความสำเร็จก็จะต้องเกิดจาก การมีส่วนร่วมจากทั้งหมด ก็คือ ภาครัฐ เอกชน ท้องถิ่น ประชาชน อาสาสมัคร และประชาสังคม ที่จะมาร่วมทำกิจกรรมให้มีสุขภาพดีได้

ผู้สูงอายุ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ติดสังคม มีประมาณ 80% กลุ่มติดบ้านประมาณ 10 กว่า% กลุ่มที่ติดเตียง คือ กลุ่มที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ มีประมาณ 2% ซึ่งจะมีกิจกรรมในแต่ละกลุ่ม ชุดติดสังคมจะมีกิจกรรมอะไรบ้าง ติดบ้านจะมีกิจกรรมอะไรบ้าง ติดเตียงจะมีกิจกรรมอะไรบ้าง และต่อยอดว่า จะบูรณาการเข้าไปในงานสุขภาพองค์รวมได้อย่างไร

จากเกณฑ์ชี้วัดเรื่องผู้สูงอายุ วัดที่ สุขภาพร่างกาย จิตใจ สังคม รวมทั้งฟัน คือ การมีฟันอย่างน้อย 20 ซี่ (หรือ 4 คู่สบ) ... เราทำอะไรกันมาบ้าง

  • ตอนนี้ ในระดับตำบล เราลงกิจกรรมเรื่องชมรมผู้สูงอายุ
  • ใน PCU เราเริ่ม integrate งานทันตกรรมเข้าไป ที่อำเภอ จังหวัด
  • ในส่วนของส่งเสริมสุขภาพ ก็ทำเรื่องวัดส่งเสริมสุขภาพ Home Health Care, Long Term Care และเรื่องของเราก็จะมีเรื่อง ทันตกรรมป้องกัน เพื่อให้เกิดการดูแลทั้งระบบ

การบูรณาการเข้ากับเรื่อง แผนที่ยุทธศาสตร์ โดยหวังในประชากรผู้สูงอายุให้มีสุขภาพ และสุขภาพช่องปากดี เราะจะต้องทำอะไรบ้างในระดับประชาชน ภาคีเครือข่าย เราต้องทำงานกันอย่างไร เราจะต้องมีกระบวนสำคัญอย่างไร ในแง่ของการจัดการเรื่องข้อมูล เรื่องของรากฐานข้อมูลต่างๆ ทำอย่างไรที่จะทำเรื่องข้อมูล เฝ้าระวัง เรื่องของ M&E คือ การติดตามประเมินผล การที่จะทำเรื่องภาคีเครือข่าย จะร่วมมือกันอย่างไร มีองค์กรใดบ้าง ท้องถิ่น เราจะเข้าไปอย่างไร แล้วหน้าตาของผู้สูงอายุที่เราให้เกิดใน 5 หรือ 10 ปีข้างหน้า หน้าตาจะเป็นอย่างไร

นี่คือ สิ่งที่ ท่านผู้อำนวยการสำนักทันตฯ ทพ.สุธา ได้มาแลกเปลี่ยนกับผู้เข้าประชุมค่ะ

รวมเรื่อง update ความรู้เรื่องสุขภาพช่องปาก ปี 53

 

หมายเลขบันทึก: 369150เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2010 11:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท